ทวิตเตอร์ออกกฎจัดการ deepfake แสดงข้อความเตือนและลดการมองเห็นของทวีต เริ่มเดือนหน้า

Loading

ทวิตเตอร์ออกกฎใหม่สำหรับจัดการกับสื่อประเภท deepfake อย่างเป็นทางการ โดยนโยบายใหม่นี้จะจำกัดไม่ให้แชร์ข้อมูลปลอมที่อาจสร้างผลกระทบหรือความเสียหายได้ ทวิตเตอร์มีปัจจัยในการพิจารณาทวีตอยู่ 3 ข้อ ว่าจะทำเครื่องหมาย, แสดงข้อความเตือนหรือลบทวีตเหล่านั้นหรือไม่ ดังนี้ สื่อถูกสังเคราะห์หรือเปลี่ยนแปลงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นลำดับ, เวลา, เฟรม ไปจนถึงข้อมูลว่าถูกลบหรือสร้างขึ้นมาหรือไม่ และมีคนจริงถูกจำลองหรือปลอมขึ้นมาหรือไม่ สื่อถูกแชร์ในลักษณะตั้งใจให้โกหกหลอกลวงหรือไม่? พิจารณาจากข้อความในทวีต, เมตะดาต้าที่อยู่ในสื่อ, ข้อความบนโปรไฟล์ของผู้ที่แชร์ และเว็บไซต์ที่ลิงก์ในโปรไฟล์หรือในทวีต คอนเทนต์มีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อประชาชน หรืออาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างหนักหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล, ความเสี่ยงในความรุนแรงหรือความไม่สงบในวงกว้าง และภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ ทวิตเตอร์จะนำมาพิจารณาในการใส่ข้อความเตือนลงในทวีต, ใส่เครื่องหมาย, ลดการมองเห็นของทวีตโดยไม่ขึ้นเป็นทวีตแนะนำ และเพิ่มรายละเอียดในแลนดิ้งเพจ โดยทวิตเตอร์จะเริ่มใช้มาตรการนี้ในวันที่ 5 มีนาคม เป้าหมายของการออกกฎจัดการ deepfake ก็เพื่อรับมือกับข้อมูลปลอมก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีนี้ โดยกฎนี้กำหนดขึ้นจากแบบร่างที่ทวิตเตอร์ได้เสนอก่อนหน้าและรับฟังความเห็นกว่า 6,500 ความเห็นจากผู้ใช้ทั่วโลกผ่านแฮชแท็ก #TwitterPolicyFeedback เพื่อนำมาปรับปรุงให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ———————————————————————- ที่มา : Blognone / 5 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114529

อนามัยโลกจับมือ ‘กูเกิล’ ต่อสู้การปล่อยข่าวเท็จออนไลน์กรณีโคโรนาไวรัส

Loading

Passengers arrive at LAX from Shanghai, China, after a positive case of the coronavirus was announced in the Orange County suburb of Los Angeles, California, U.S., January 26, 2020. องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำลังทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี Google เพื่อรับรองว่า เมื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโคโรนาไวรัส ประชาชนจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจาก WHO ก่อนเป็นที่แรก ผอ.ใหญ่ขององค์การอนามัยโลก เทดรอส อัทนอม เกเบรเยซุส กล่าวในพิธีเปิดการประชุมของ WHO ในวันจันทร์ว่า สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Twitter, Facebook, Tencent และ TikTok ต่างใช้มาตรการหลายอย่างในการจำกัดการกระจายข้อมูลผิด…

YouTube ออกมาตรการ แบนคลิปที่จงใจให้ข้อมูลเลือกตั้งผิด รับมือการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020

Loading

หลังจากทวิตเตอร์เปิดให้ผู้ใช้รายงานบัญชีและโพสต์ที่แนะนำข้อมูลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แบบผิดๆ ล่าสุด YouTube ก็ออกมาตรการแบนวิดีโอที่พยายามชี้นำการเลือกตั้งที่มีข้อมูลผิดด้วย YouTube ระบุว่า จะลบวิดีโอที่ละเมิดกฎแพลตฟอร์มดังนี้ วิดีโอที่ถูกปลอมแปลงในลักษณะที่ทำให้คนดูเข้าใจผิด เช่น deepfake เนื้อหาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ผู้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงคะแนน หรือให้ข้อมูลผิดเกี่ยวกับวันลงคะแนนเสียง เนื้อหาที่ผู้บรรยายอ้างสิทธิ์ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานเลือกตั้ง ที่ไม่เป็นความจริง YouTube ยังบอกด้วยว่าได้ระงับช่องที่พยายามปลอมตัว ปลอมแปลงประเทศที่สังกัด หรือหรือปกปิดความสัมพันธ์กับรัฐบาล และระงับช่องที่ใช้ระบบอัตโนมัติเพิ่มยอดวิว ยอดไลค์ หรือใช้ระบบอัตโนมัติสร้างคอมเม้นท์ เป็นต้น —————————————————- ที่มา : Blognone / 4 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114493

สหประชาชาติโดนแฮ็กระบบแต่ปิดข่าว สาเหตุมาจากไม่ยอมอัพเดตแพตช์ SharePoint

Loading

มีเอกสารภายในขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) หลุดออกมาทางเว็บไซต์ข่าวด้านสิทธิมนุษยชน The New Humanitarian ว่าระบบเครือข่ายของ UN ในเจนีวาและเวียนนา โดนแฮ็กในช่วงเดือนกรกฎาคม 2019 และมีข้อมูลถูกขโมยออกมาจำนวนหนึ่ง แต่ UN ปิดข่าวเรื่องนี้ไว้ แม้แต่พนักงานของ UN เองก็ไม่ทราบเรื่องนี้ หลังจาก The New Humanitarian รายงานข่าวนี้ โฆษกของ UN ก็ยอมรับว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่บอกว่ายังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ชัด ทำให้ UN ตัดสินใจไม่เปิดเผยเรื่องนี้ต่อสาธารณะ ในเอกสารที่หลุดออกมาระบุว่าไฟล์ log ถูกแฮ็กเกอร์ลบทิ้งไป และคาดว่ามีข้อมูลประมาณ 400GB ถูกนำออกไปจากเซิร์ฟเวอร์ของ UN ซึ่งข้อมูลที่น่าเป็นกังวลมาจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights – OHCHR) ซึ่งมีข้อมูลลับของคนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายได้หากถูกเผยแพร่ว่าเป็นใครบ้าง แต่แถลงการณ์ของ UN…

ระวังภัย พบมัลแวร์เรียกค่าไถ่แพร่กระจายผ่านอีเมลโดยอ้างชื่อไวรัสโคโรน่า

Loading

เป็นเรื่องปกติที่ผู้ประสงค์ร้ายมักจะฉวยโอกาสนำเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น ข่าวอุบัติเหตุ หรือข่าวโรคระบาด มาใช้ในการหลอกลวงขโมยข้อมูลหรือแพร่กระจายมัลแวร์ เมื่อปลายเดือนมกราคม 2563 มีรายงานการแพร่กระจายมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Emotet โดยใช้วิธีส่งอีเมลเรื่องไวรัสโคโรน่า พร้อมกับแนบไฟล์ที่มีมัลแวร์มาด้วย ผู้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่าได้รับอีเมลที่อ้างว่าส่งมาจากกระทรวงสาธารณสุข มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า โดยอีเมลฉบับดังกล่าวแนบไฟล์ Microsoft Word มาด้วย หากเปิดไฟล์แนบจะพบว่ามีสคริปต์ macro ซึ่งหากอนุญาตให้รันสคริปต์ดังกล่าว มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Emotet จะถูกดาวน์โหลดมาติดตั้งลงในเครื่องทันที และยังถูกใช้ส่งอีเมลแพร่กระจายมัลแวร์ต่อไปยังเครื่องอื่นๆ ด้วย เทคนิคการโจมตีในลักษณะนี้จะมีมาอยู่เรื่อยๆ ผู้ใช้ควรระมัดระวังการเปิดไฟล์แนบหรือคลิกลิงก์จากอีเมลที่น่าสงสัย ไม่ควรเปิดใช้งาน macro ใน Microsoft Office หากไม่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือของไฟล์ดังกล่าว ไม่ควรล็อกอินด้วยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ สำรองข้อมูลสำคัญ อัปเดตแอนติไวรัสและแพตช์ของระบบปฏิบัติการ รวมถึงหมั่นติดตามข่าวสารด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ————————————————- ที่มา : ThaiCERT / 30 มกราคม 2563 Link : https://www.thaicert.or.th/newsbite/2020-01-30-02.html?fbclid=IwAR2MElzcGqOwQqmHPUa_xXmo82gCztbVq2rKS0sQxgIS5PdCHuLO_tQ7cu4#2020-01-30-02

เอกสารหลุดเผย Avast Free Antivirus เก็บข้อมูลผู้ใช้ขายให้บริษัทโฆษณา เสี่ยงละเมิดความเป็นส่วนตัว

Loading

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 สำนักข่าว Motherboard ร่วมกับ PCMag ได้เผยแพร่รายงานผลการสืบสวนกรณีโปรแกรมแอนติไวรัสของบริษัท Avast เก็บข้อมูลของผู้ใช้แล้วนำไปขายต่อให้กับบริษัทอื่น ข้อมูลหลายอย่างที่ถูกเก็บไปขาย (เช่น ประวัติการเข้าชมเว็บไซต์หรือประวัติการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต) อาจละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ทาง Motherboard และ PCMag พบเอกสารหลุดที่ระบุว่า Avast มีบริษัทลูกชื่อ Jumpshot เพื่อขายข้อมูลผู้ใช้ให้กับบริษัทขนาดใหญ่หลายราย ถึงแม้ในเอกสารจะระบุว่าทาง Avast นั้นเก็บเฉพาะข้อมูลจากผู้ใช้ที่เลือก opt-in (ยินยอมให้เก็บข้อมูลการใช้งานได้) แต่ผู้ใช้จำนวนหนึ่งก็บอกว่าไม่เคยทราบว่ามีการแจ้งขอความยินยอมในเรื่องนี้ จากรายงาน ตัวอย่างข้อมูลที่ถูกเก็บไปขาย เช่น ประวัติการค้นหาใน Google และ Google Maps, คลิปที่เข้าชมผ่าน YouTube, รวมถึงประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งในกรณีหลังนั้นมีการเก็บประวัติข้อความที่ค้นหาและประเภทวิดีโอที่รับชมด้วย ถึงแม้ในบรรดาข้อมูลที่ถูกเก็บไปนั้นจะถูกทำให้เป็นนิรนาม (anonymization) เช่น ไม่มีข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้ชัดเจน แต่ผู้เชี่ยวชาญก็วิเคราะห์ว่าทาง Jumpshot ยังจัดการกับข้อมูลได้ไม่ดีพอ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะตรวจสอบย้อนกลับเพื่อระบุตัวตนเจ้าของข้อมูลดังกล่าวได้ ไทยเซิร์ตได้ทดลองติดตั้งโปรแกรม Avast Free Antivirus เวอร์ชัน…