จีนทุ่มทุน 6,300 ล้านดอลลาร์สำหรับสงครามข่าวสารข้อมูลระดับโลก

Loading

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว YouTube ประกาศปิดช่อง YouTube 210 ช่องที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยเรื่องการทำงานอย่างประสานกันเพื่ออัพโหลดวิดีโอเกี่ยวกับการประท้วงในฮ่องกง โดย YouTube สันนิษฐานว่าช่องทางเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ด้านข่าวสารข้อมูลที่ปักกิ่งหนุนหลังอยู่เพื่อครอบงำมติมหาชนเกี่ยวกับการประท้วงในฮ่องกง ก่อนหน้านี้ราวหนึ่งสัปดาห์ Twitter กับ Facebook ก็ได้สั่งระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่มีแนวทางบิดเบือน เช่นเปรียบเทียบกลุ่มที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในฮ่องกงว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายของรัฐอิสลาม โดย Twitter ได้ปิดบัญชี 936 บัญชีที่เริ่มส่งข้อความจากในประเทศจีน และ Facebook ก็ได้ยกเลิก 27 เพจ 3 กลุ่ม และอีก 5 บัญชีซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ Facebook เรียกว่าเป็นพฤติกรรมเสแสร้งและมีการทำงานอย่างประสานสอดคล้องกันด้วย ถึงแม้ว่าการตัดสินใจของบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ใหญ่ทั้งสามจะไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อก็เตือนว่ายังมีงานที่รอให้ต้องทำอยู่อีกมาก เพราะขณะนี้การรณรงค์ระดับโลกของจีนเพื่อควบคุมข่าวสารข้อมูลไร้พรมแดนเป็นไปอย่างกว้างขวางทั้งยังคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาธิปไตยทั่วโลกด้วย โดยคุณ Cedric Alviani ผู้อำนวยการของหน่วยงานผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนประจำเอเชียตะวันออกที่กรุงไทเปเรียกร้องให้สาธารณชนให้ความสนใจเป็นพิเศษกับแหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูลที่ได้รับ รวมทั้งช่วยรายงานเนื้อหาที่เห็นว่านำเสนอภาพหรือเหตุการณ์ที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริงอย่างจงใจ เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนดังกล่าวได้ออกรายงานเกี่ยวกับความพยายามของจีนเพื่อสร้างระเบียบความสัมพันธ์ของสื่อในโลกยุคใหม่ และชี้ว่าการโฆษณาชวนเชื่อรวมทั้งการบิดเบือนความจริงนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลกรุงปักกิ่งที่ใช้กับผู้ตำหนิวิจารณ์ตน อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งของจีนด้านปฏิบัติการข่าวสารข้อมูลระดับโลกก็คือ ในขณะที่สื่อสังคมออนไลน์ที่สำคัญของสหรัฐ เช่น Facebook, Twitter และ YouTube นั้นไม่สามารถใช้งานอย่างเป็นทางการได้ในประเทศจีน สื่อสังคมของจีนเองเช่น Weibo และ WeChat สามารถมีบทบาทได้ทั่วโลกและมักได้รับอิทธิพลด้านเนื้อหาจากสื่อต่างๆ…

การบินไทยไม่ให้นำ MacBook Pro 15 นิ้ว ที่อยู่ในขั้นเรียกสินค้าคืนขึ้นเครื่อง เสี่ยงเกิดแบตร้อนจนเกิดอัคคีภัย

Loading

การบินไทยออกประกาศแจ้งเตือนคนเดินทาง ห้ามนำ MacBook Pro ขนาด 15 นิ้ว ที่จำหน่ายระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งอยู่ในโปรแกรมการเรียกคืนแบตเตอรี่ของผู้ผลิตขึ้นเครื่องบิน ทั้งในสัมภาระติดตัวหรือสัมภาระที่โหลดใต้ท้องเครื่องบิน เพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของ EASA (องค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป) ตามที่ EASA ได้ออกประกาศให้สายการบินที่ทำการบินเข้าและออกจากสหภาพยุโรปปฏิบัติตาม Safety Information Bulletin SIB 2017-01 เรื่องมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการส่งหรือนำแบตเตอรี่ลิเธียม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแบตเตอรี่ลิเธียมเป็นส่วนประกอบ โดยแบตเตอรี่นั้นมีการชำรุด มีข้อบกพร่อง หรือถูกเรียกคืนจากผู้ผลิต ซึ่ง Mac Book Pro 15 นิ้ว เข้าข่ายเกณฑ์ดังกล่าว ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบสถานะ Mac Book ของตัวเองได้ที่ support.apple.com ซึ่งทางแอปเปิลระบุว่า MacBook Pro 15 นิ้วรุ่นเก่าบางเครื่องอาจเกิดภาวะร้อนเกินไปและเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ———————————————————– ที่มา : blognone / 21 August 2019 Link…

ฐานข้อมูลระบบควบคุมประตูอิเล็กทรอนิกส์รั่วไหล ภาพลายนิ้วมือ, ภาพใบหน้า, รหัสผ่าน ของผู้ใช้นับล้านหลุด

Loading

นักวิจัยจากบริษัท vpnmentor ในอิสราเอลรายงานถึงฐานข้อมูล Elasticsearch ของบริษัท Suprema ที่ให้บริการควบคุมการเข้าอาคารและลงเวลาทำงานรั่วไหล โดยนักวิจัยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต บริการนี้ชื่อว่า Biostar 2 เป็นระบบลงเวลาที่ให้บริการ 1.5 ล้านจุดจาก 5,700 องค์กรใน 83 ประเทศทั่วโลก รวมข้อมูลที่นักวิจัยพบทั้งหมด 27.8 ล้านรายการ ข้อมูลเกือบทั้งหมดไม่มีการเข้ารหัสหรือแฮช ทำให้ผู้ที่เข้าถึงจะได้ ภาพลายนิ้วมือ, ภาพใบหน้า, ชื่อผู้ใช้, รหัสผ่านที่ไม่ได้เข้ารหัส, ระดับสิทธิ์การเข้าอาคาร, ข้อมูลส่วนตัว, และประวัติการใช้งาน ลูกค้าของ Suprema นั้นมีตั้งแต่ธนาคาร, ตำรวจสหราชอาณาจักร, co-working space, ไปจนถึงยิม ทางนักวิจัยติดต่อ Suprema หลายครั้งแต่ไม่ได้รับการตอบกลับ อย่างไรก็ดีช่องโหว่ถูกปิดไปเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ข้อมูลชีวมาตรอย่างลายนิ้วมือหรือใบหน้านั้นแม้จะเป็นข้อมูลที่สะดวกต่อการยืนยันตัวตน แต่เป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เมื่อข้อมูลภาพลายนิ้วมือหลุดออกไป คนร้ายสามารถนำภาพไปสร้างลายนิ้วมือเทียมเพื่อยืนยันตัวตน ปลดล็อกโทรศัพท์และอุปกรณ์อื่นโดยผู้เสียหายไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ได้ตลอดชีวิต —————————————————— ที่มา : Blognone / 15 August 2019…

เดนมาร์กเพิ่มการควบคุมชายแดนติดต่อสวีเดน หลังมือระเบิดข้ามแดนเข้ามาก่อเหตุที่เมืองหลวง

Loading

นายกรัฐมนตรีเมตเต เฟรเดอริกเซน แห่งเดนมาร์ก ประกาศให้เพิ่มมาตรการควบคุมชายแดน หลังจากที่เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้งในกรุงโคเปนเฮเกน และตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัย 2 คนซึ่งเป็นชาวสวีเดน อายุ 22 และ 23 ปี นายกรัฐมนตรีเฟรเดอริกเซน กล่าวว่า การปกป้องชายแดนต้องมีความรัดกุมมากกว่าเดิม และจะเน้นไปที่การตรวจสอบผู้มีประวัติอาชญากรรม เพราะชาวเดนมาร์กไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่คนร้ายสามารถเดินทางจากสวีเดนมายังเดนมาร์กแล้วลอบวางระเบิดไดนาไมต์ในพื้นที่เป้าหมายกลางเมืองหลวง สำหรับเหตุระเบิดที่กรุงโคเปนเฮเกนเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ด้านหน้าของสำนักงานสรรพากร จากนั้นอีก 3 วันก็เป็นเหตุระเบิดที่ด้านหน้าสถานีตำรวจ สวีเดนและเดนมาร์กเชื่อมต่อกันด้วยสะพานเออเรซุนด์ที่มีระยะทาง 16 กิโลเมตร ซึ่งจากการที่ทั้ง 2 ประเทศเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปและเขตการเดินทางเชงเก้น ทำให้พลเมืองเดินทางข้ามแดนได้โดยที่ไม่ต้องใช้หนังสือเดินทางของเชงเก้น แต่จากวิกฤติผู้อพยพลี้ภัยในปี 2559 สวีเดนออกมาตรการควบคุมชายแดนด้วยการกำหนดให้ตรวจสอบหมายเลขประจำตัวตามบัตรประชาชนก่อน ขณะที่เดนมาร์กมีการใช้มาตรการเดียวกันทางฝั่งพรมแดนที่ติดต่อกับเยอรมนี —————————————————- ที่มา : จส.100 / 15 สิงหาคม 2562 Link : https://www.js100.com/en/site/news/view/76055