ความสำคัญที่หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการกรอก รปภ.1 (ประวัติบุคคล)

Loading

เนื่องจากบุคคลมีความสำคัญที่สุดต่อการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัย ถึงแม้จะมีการจัดระบบควบคุม ตรวจสอบ หรือกำหนดมาตรการใด ๆ ขึ้นอย่างรอบคอบ และมีประสิทธิภาพก็ตาม แต่หากบุคคลที่อยู่ภายใต้ระบบหรือมาตรการเหล่านั้น เป็นบุคคลที่ปราศจากสำนึก ขาดระเบียบวินัย หรือขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐแล้ว บุคคลประเภทนี้อาจกลายเป็นผู้ก่อให้เกิดภัยอันตรายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่สังกัดอยู่ ฉะนั้น การคัดกรองบุคคลจึงนับ เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต้องสนใจดำเนินการเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และสามารถปฏิบัติงานราชการให้สำเร็จลุล่วงอย่างดีที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ วิธีการเบื้องต้นในการคัดกรองบุคคล ที่จะรับเข้ามาปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ คือการกรอก รปภ.1 เนื่องจากเอกสารนี้เป็นแบบสอบถามข้อมูลประวัติและพฤติกรรมโดยทั่วไปของบุคคล ที่จะได้รับการบรรจุเข้าปฏิบัติงาน นับเป็นการพิสูจน์ทราบเบื้องต้นถึงประวัติ-ความประพฤติส่วนตัวของบุคคลนั้น อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐที่บุคคลนั้นจะเข้ามาสังกัด เนื่องจาก รปภ.1 ถือเป็นการรายงานตัวต่อทางราชการที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่ง ซึ่งเจ้าของประวัติสมควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วนตามความเป็นจริง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบของราชการ หากบุคคลใดไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแล้ว อาจหมายถึงพิรุธของบุคคลนั้นว่าเคยมีประวัติหรือพฤติกรรมที่ไม่ต้องการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก ซึ่งสิ่งที่ต้องการปกปิดดังกล่าวอาจกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภัยอันตราย ต่อส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้ในภายหลัง

ความผิดลหุโทษ คืออะไร

Loading

เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหมวด ๑ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้จะได้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้โดยไม่มีเจตนา ก็ต้องรับโทษ ซึ่งแตกต่างจากการกระทำผิดอาญาอื่นๆ ที่ต้องรับโทษ เมื่อกระทำโดยเจตนาเท่านั้น การกระทำผิดอาญาในขั้นพยายามหรือการเป็นผู้สนับสนุน ต้องรับโทษอาญาลดหลั่นกันไปตามลักษณะความผิดที่เกิดขึ้น แต่ความผิดลหุโทษถือเป็นความผิดอาญาที่ไม่ต้องรับโทษ เพราะประมวลกฎหมายอาญาได้กำหนดมิให้ต้องรับโทษฐานพยายามทำผิดลหุโทษหรือฐานเป็นผู้สนับสนุน ความผิดลหุโทษนี้เน้นการป้องกันและระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลมิให้ลุกลาม ไม่ให้เกิดการใช้สิทธิของตนที่ก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อป้องปราบมิให้ความผิดอาญาขยายหนักเกินเหตุจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ตัวอย่างลักษณะความผิดลหุโทษ ๑.มาตรา ๓๖๗ ผู้ใดเมื่อเจ้าพนักงานถามชื่อหรือที่อยู่เพื่อปฎิบัติตามกฎหมาย ไม่ยอมบอกหรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑oo.-บาท ๒.มาตรา ๓๗o ผู้ใดส่งเสียง ที่ให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จนทำให้ประชาชนจกใจหรือเดือดร้อน  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑oo.-บาท ๓.มาตรา ๓๗๑ ผู้ใดพกอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุอันควร หรือพาไปชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้น เพื่อนมัสการ การรื่นเริง หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑oo.-บาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น ๔.มาตรา ๓๗๒ ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕oo.-บาท ๕.มาตรา ๓๗๔…

ภูมิลำเนา หมายถึงอะไร

Loading

ตามกฎหมาย ภูมิลำเนาของบุคคลมี ๒ ประเภทคือ ๑. ถิ่นที่อยู่อันบุคคลธรรมดาแสดงเจตนาว่าให้เป็นภูมิลำเนา ๒. ภูมิลำเนาของบุคคลประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นการเฉพาะ ภูมิลำเนาตามกฎหมายไทย ๑. ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ๑.๑ องค์ประกอบ ถิ่นใดจะเป็นภูมิลำเนาของบุคคลใดนั้น ต้องมีองค์ประกอบดังนี้ ๑.๑.๑ ถิ่นนั้นเป็นแกล่งพักพิงของบุคคลนั้น โดยพิจารณาตามความเป็นจริง ถิ่นเช่นว่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นถิ่นที่อยู่ตามทะเบียนสำมะโนครัว ถิ่นที่อยู่ถาวร ถิ่นอันตั้งรกรากถาวร หรือถิ่นที่อยู่หรือที่ทำงานเป็นการประจำแต่ต้องไม่ใช่ถิ่นที่อยู่เป็นการชั่วคราวหรือเพียงระยะสั้นๆ ซึ่งสามารถกะเวลาที่อยู่ชั่วคราวหรือสั้นๆนั้นได้แน่นอน เช่น หอพักของนักศึกษาไม่ถือเป็นภูมิลำเนา แม้ว่ามีการย้ายสำมะโนครัวมายังหอพักนี้แล้วกตาม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗) ๑.๑.๒ บุคคลนั้นแสดงเจตนาให้ถิ่นดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของตน โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ใดๆที่บุคคลนั้นแสดงออกให้บุคคลอื่นรับรู้ได้ว่า ตนต้องการให้ถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของตน (ประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา ๓๘) ๒. การเปลี่ยนภูมิลำเนา บุคคลสามารถกระทำได้ โดยการเปลี่ยนหรือย้ายถิ่นที่อยู่ และ/หรือแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา ทั้งนี้ ให้คำนึงว่า บุคคลดังกล่าวต้องมิใช่บุคคลพิเศษ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น คนไร้ความสามารถ ผู้เยาว์ ฯลฯ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๑) ๓.…