‘ยูเครน’ ยื่นศาลฟ้อง ‘รัสเซีย’ ข้อหาทำลายล้างสิ่งแวดล้อมระดับรุงแรง

Loading

“ยูเครน” เจอ “อีโคไซด์” (Ecocide) หรือ การทำลายสิ่งแวดล้อมในระดับรุนแรง จากสงคราม เกิดวิกฤติสิ่งแวดล้อม เกิดมลพิษในอากาศ สารพิษซึมเข้าไปในดินและในน้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายไป   “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” สร้างผลกระทบมากมาย ไม่ว่าจะทำให้ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก บ้านเรือนได้รับความเสียหาย กระทบเศรษฐกิจทั่วโลก รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมยังถูกทำลายในระดับรุนแรง หรือที่เรียกว่า “อีโคไซด์” (Ecocide)     ต่อให้ในอนาคตสงครามอาจยุติลง แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าความเสียหายจากสงครามจะยังคงอยู่ต่อไปอีกหลายทศวรรษ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ระบบนิเวศ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ไม่สามารถทำอาชีพต่าง ๆ ได้     สงครามรัสเซีย-ยูเครนเข้าสู่ปีที่ 4 ทางการยูเครนกำลังรวบรวมหลักฐาน ยื่นฟ้องคดีอาชญากรรมสงครามด้านสิ่งแวดล้อมต่อรัสเซีย 247 คดีกับศาลอาญาระหว่างประเทศ หลังจากเกิดถูกโจมตีทางสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ยูเครนระบุค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดตั้งแต่เกิดสงครามมีมูลค่ามากกว่า 85,000 ล้านดอลลาร์     นักข่าวของนิวยอร์กไทมส์ได้เดินทางไปยังพื้นที่สงครามในยูเครน เพื่อสำรวจความเสียหายของสิ่งแวดล้อม   น้ำปนเปื้อนสารพิษ ทุ่งนาเต็มไปด้วยหลุมระเบิด ดินปนเปื้อนด้วยสารตกค้างของวัตถุระเบิด ถังเชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ และไฟป่าลุกไหม้อย่างไม่หยุดยั้งในเขตสู้รบ น้ำจากอ่างเก็บน้ำไหลออกจากเขื่อนที่ถูกทำลาย ทำให้เกิดภัยแล้งบริเวณต้นน้ำและน้ำท่วมท้ายเขื่อน…

อินทรีเปิดหน้าชนพญามังกร สงครามภูมิศาสตร์เศรษฐกิจโลก

Loading

  ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน เป็นมากกว่าเรื่องการกำหนดอัตราภาษี   ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก จุดชนวนสงครามการค้าโดยตรงครั้งใหม่กับจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นคู่ต่อสู่สมน้ำสมเนื้อที่สุดกับสหรัฐ ในสงครามการค้า ซึ่งยืดเยื้อตั้งแต่รัฐบาลทรัมป์สมัยแรก และยังคงมีการสานต่อโดยรัฐบาลวอชิงตันของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ตุ๊กตาของเล่นเลียนแบบประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ วางขายอยู่ที่ร้านแห่งหนึ่ง ในเมืองอี้อวู๋ ของมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน มาตรการภาษีต่างตอบแทน หรือภาษีตอบโต้ ซึ่งสหรัฐต้องการใช้กับคู่ค้าที่ได้ดุลการค้าสูงสุด มีผลอย่างเป็นทางการ เมื่อเวลา 00.01 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา ตรงกับเวลา 11.01 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันเดียวกันในประเทศไทย จีนเผชิญกับอัตราภาษีต่างตอบแทนสูงที่สุด คืออย่างน้อย 145% ซึ่งรวมถึง 20% ที่มีการประกาศตั้งแต่เดือนก.พ. ที่ผ่านมา ตามด้วยอีก 34% ซึ่งผู้นำสหรัฐประกาศเมื่อวันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา และอีก 50% ที่ทรัมป์ประกาศภายในอีกไม่กี่วันต่อมา จากการที่จีนขึ้นภาษีตอบโต้อีก…

ทั่วโลกใช้ ‘พลังงานสะอาด’ ทะลุ 40% ‘โซลาร์เซลล์’ เติบโตมากสุด

Loading

รายงานฉบับใหม่จากกลุ่มสถาบันวิจัยด้านพลังงาน Ember ระบุว่าในปี 2024 การผลิตไฟฟ้าของโลกมากกว่า 40% มาจาก “พลังงานหมุนเวียน” แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการที่ทำให้ “โลกร้อน” กลับเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งทำให้ความต้องการพลังงานโดยรวมมากขึ้น ส่งผลให้ต้องใช้ “เชื้อเพลิงฟอสซิล” เพิ่มมากขึ้น

อิหร่านต้องการทำข้อตกลงนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ หรือไม่ อะไรคือแรงกดดัน ?

Loading

แม้ทรัมป์จะเตือนว่า การดำเนินการทางทหารยังคงเป็นไปได้หากการเจรจาทางการทูตล้มเหลว แต่การเกิดขึ้นของการเจรจาเพียงอย่างเดียวก็ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเป็นการริเริ่มจากทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ที่เคยถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านฉบับก่อนหน้านี้ หรือแผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมปี 2015 (2015 Joint Comprehensive Plan of Action – JCPOA)

DeepSeek มีเพื่อนร่วมทาง ‘ญี่ปุ่น’ หันมาพัฒนา AI ขนาดเล็กแต่ทรงพลัง

Loading

  KEY POINTS ญี่ปุ่นหันมาพัฒนาเอไอประสิทธิภาพสูงขนาดเล็กอย่างจริงจัง ตามแนวทาง DeepSeek แทนการลงทุนมหาศาลกับโมเดลใหญ่ Tsuzumi เอไอญี่ปุ่นใช้พารามิเตอร์เพียง 600 ล้าน แต่เอาชนะ ChatGPT-3.5 ในการประมวลผลภาษาญี่ปุ่น แซม อัลต์แมน ซีอีโอ OpenAI เชื่อว่า “AI แพงๆ ก็คุ้ม เพราะผลตอบแทนยิ่งใหญ่มาก” หลายบริษัทเริ่มเห็นว่าการลงทุนแบบไม่จำกัดอาจไม่ยั่งยืน แม้แต่ OpenAI เองก็ยังไม่มีกำไร และคาดว่าจะเริ่มมีกระแสเงินสดเป็นบวกก็ปี 2572     การเปิดตัวของ DeepSeek โมเดลเอไอขนาดกะทัดรัดจากจีน ที่ใช้ต้นทุน และทรัพยากรที่ต่ำกว่าโมเดลใหญ่ๆ แต่ให้ความสามารถเทียบเท่ากัน ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “ญี่ปุ่น” นำแนวคิดนี้มาปรับใช้อย่างจริงจัง บริษัทหลายแห่งหันหลังให้กับการแข่งขันสร้างโมเดลยักษ์แบบบริษัทในสหรัฐ มาเน้นพัฒนา “เอไอขนาดกะทัดรัด” ที่ตอบโจทย์ข้อจำกัดด้านทรัพยากร และพลังงานของประเทศ     ทากาโนบุ โอบะ (Takanobu Oba) ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ Human Insight Laboratory ของบริษัทโทรคมนาคม NTT กล่าวกับสำนักข่าว Nikkei Asia ว่า…

‘5 เทรนด์’ AI สำคัญที่ต้องจับตามองในปี 2025

Loading

    ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ปี 2025 จะเป็นปีที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องลงทุนในเอไอเพื่อ “ก้าวให้ทัน” มิฉะนั้นอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง     มองย้อนไปในปี 2024 ซึ่งเป็นปีที่โดดเด่นอย่างยิ่งสำหรับเอไอ ผมจึงขอใช้โอกาสนี้ในการทบทวนและคาดการณ์อนาคตจากจุดยืนของเราในฐานะศูนย์กลางของเอไอในภาคธุรกิจ โดยเรามองว่า 5 เทรนด์ต่อไปนี้ คือเทรนด์เอไอที่ภาคส่วนธุรกิจต้องจับตามองในปี 2025     1. การสร้างผลตอบแทนเชิงบวกด้วยเอไอ ผลตอบแทนจากการลงทุน ถือเป็นหัวข้อสำคัญเมื่อพูดถึงการนำเอไอมาใช้ แต่ด้วยต้นทุนที่สูง ความเสี่ยงในการเริ่มโครงการ ค่าใช้จ่ายจากผู้ให้บริการ ระบบเก่าที่ต้องปรับปรุงให้รองรับการใช้งาน รวมไปถึงโครงสร้างข้อมูลที่ยังไม่พร้อม และข้อจำกัดด้านเงินทุน ทำให้หลายโครงการเอไอถูกมองว่าน่าสนใจแต่ยังไม่จำเป็น และมีความเสี่ยงสูง สุดท้ายเอไอจึงถูกลดบทบาทเป็นเพียงพื้นที่สำหรับทดลอง และถูกมองว่าเป็นการเตรียมตัวสำหรับอนาคตที่ทุกคนเชื่อว่าจะมาถึง อย่างไรก็ตาม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จากผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ในปี 2024 การลดต้นทุนของระบบคลาวด์ การพัฒนาของเทคโนโลยี Generative AI การพัฒนาผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปในอุตสาหกรรม ล้วนช่วยพลิกโฉมการสร้างผลตอบแทนจากการใช้งานเอไอ ให้กลับมาน่าสนใจมากยิ่งขึ้น     2. Agentic AI Agentic AI เป็นการทำงานแบบบูรณาการที่เอไอสามารถดำเนินงานต่างๆ ด้วยตนเองได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้สามารถร่วมมือกับพนักงานในการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้ในทุกมิติ โดย Agentic AI มีศักยภาพที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า…