เทรนด์พลังงานนิวเคลียร์ 2025 นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมโลก

Loading

  ในปี 2025 ความต้องการแหล่งพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน ทำให้ภาคพลังงานนิวเคลียร์กำลังเติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะเป็นพลังงานที่มีเสถียรภาพและปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ว่า การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกจะเติบโตขึ้นเกือบ 3% ต่อปีจนถึงปี 2026 พลังงานนิวเคลียร์ฟื้นตัวในบางประเทศ เช่น จีนตั้งเป้าที่จะมีความสามารถผลิตพลังงานนิวเคลียร์สูงถึง 100 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2025 ขณะที่อินเดียยังคงเพิ่มจำนวนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก (SMRs) ในยุโรป หลายประเทศกำลังพิจารณานโยบายยกเลิกการยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เช่น ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์อันดับสองของโลกได้ประกาศว่าจะขยายพลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่ เยอรมนี ซึ่งเคยมีแผนที่จะยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ก็ได้เลื่อนการยุติออกไปเพื่อรักษาความเสถียรของกริดไฟฟ้าและความมั่นคงด้านพลังงาน ขณะที่ประเทศไทยก็กำลังดำเนินการในภาคพลังงานนิวเคลียร์เช่นกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่กว้างขึ้น โดยโฟกัสไปที่ศักยภาพของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMRs) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2065 อย่างไรก็ตาม การพิจารณาด้านกฎระเบียบและความปลอดภัย ความปลอดภัยยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์ ฟุกุชิมะ ในปี 2011 ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่เชื่อมั่นต่อพลังงานนิวเคลียร์ยังคงมีอยู่ แต่รัฐบาลหลายๆ ประเทศ ก็ได้ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่ามีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ดี ผลิตพลังงานนิวเคลียร์เพิ่ม 3 เท่า แรงผลักดันที่สำคัญ คือ…

เปิดประตูสู่เกาหลีเหนือ นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษพบเจออะไร หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 5 ปี

Loading

อย่าดูหมิ่นผู้นำ อย่าดูหมิ่นอุดมการณ์ และอย่าไปตัดสินใด ๆนี่คือกฎที่ไกด์ทัวร์อ่านให้นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกฟังขณะที่พวกเขากำลังเตรียมตัวขับรถข้ามพรมแดนเข้าไปยังประเทศเกาหลีเหนือ ดินแดนที่ลี้ลับและเผด็จการที่สุดในโลก

ฟอร์ติเน็ต ชี้ องค์กร 61% กังวลเรื่องความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อบังคับในการใช้คลาวด์

Loading

    ฟอร์ติเน็ต เผยผลศึกษาของรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2025 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มล่าสุด ความท้าทาย และการกำหนดกลยุทธ์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้ระบบคลาวด์   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวถึง การนำคลาวด์มาใช้ ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล ช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการแข่งขันในตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   การแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องอาศัยการพัฒนาหลายด้าน ทั้งการสร้างประสบการณ์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละราย การปรับใช้นโยบายเพื่อให้ ทำงานได้จากทุกที่    (work-from-anywhere) อย่างจริงจัง ปรับกระบวนการทำงานให้คล่องตัวขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงการดำเนินงานในลักษณะกระจายศูนย์ให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถรองรับการขยายได้ดียิ่งขึ้น   แม้ว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ทีมรักษาความปลอดภัยต้องตระหนักและจัดการให้ได้ ซึ่งความท้าทายเหล่านี้รวมถึงการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน   การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ ในขณะที่ยังคงสามารถมองเห็นความเป็นไปพร้อมทั้งควบคุมการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมคลาวด์แบบไฮบริดและมัลติคลาวด์ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้   ประเด็นที่น่าสนใจจากผลศึกษาของรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2025 มีการนำกลยุทธ์คลาวด์แบบไฮบริดและมัลติคลาวด์มาใช้มากขึ้น: โดยกว่า 78% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการคลาวด์สองรายขึ้นไป ซึ่งเน้นให้เห็นว่าแนวทางด้านมัลติคลาวด์มีความสำคัญมากขึ้น โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและให้ประโยชน์ด้านความสามารถเฉพาะทาง ในขณะที่ 54%…

ระเบียบโลกใหม่ท่ามกลางทรัมป์ 2.0? เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แรงกดดัน

Loading

ยุคทรัมป์ 2.0 เริ่มปรากฏชัดว่าอาจนำไปสู่การเกิดระเบียบโลกใหม่ หรือแม้แต่โลกใหม่ไร้ระเบียบ ที่แยกตัวออกจากคุณค่าดั้งเดิมของสหรัฐฯ ทรัมป์ได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะล้มล้างพันธมิตรเก่า สานสัมพันธ์กับกลุ่มผู้นำที่เคยถูกกีดกัน และใช้นโยบายต่างประเทศแบบ ‘เจรจาเชิงธุรกรรม’ ภายใต้นโยบาย ‘อเมริกาต้องมาก่อน’

อนาคตของความช่วยเหลือระดับโลก เมื่อสหรัฐฯ จากไป จีนจะเข้ามาแทนหรือไม่ ?

Loading

การยุติความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ อย่างกะทันหันสร้างความกังวลไปทั่วโลกว่าใครจะก้าวเข้ามาเติมเต็มช่องว่างนี้ขณะที่หน่วยงานให้ความช่วยเหลือในต่างประเทศหลักของรัฐบาลสหรัฐฯ ถอยออกจากพันธกิจที่มีมาอย่างยาวนาน หลายฝ่ายในแวดวงนโยบายและภาคการให้ความช่วยเหลือกำลังจับตาดูว่ารัฐบาลจีน ซึ่งมองว่าการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาเป็นซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่ง จะเข้ามามีบทบาทหรือไม่

“อุยกูร์” คือใคร ? รากเหง้าประวัติศาสตร์พันปีสู่ความขัดแย้งร่วมสมัย

Loading

      “อุยกูร์” ชาติพันธุ์ที่มีรากเหง้าลึกในเอเชียกลาง ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลัง “ซินเจียง” ถูกรวมเข้ากับจีน ทั้งนโยบายควบคุมประชากร ศาสนา อัตลักษณ์ จุดชนวนความขัดแย้ง ที่นานาชาติต่างร่วมประณามนี่คือการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม” ชาวอุยกูร์ (Uyghur) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีรากเหง้ามาจากชนเผ่าเร่ร่อนในแถบเอเชียกลางที่มีรากเหง้ามาจากชนเผ่าตุรกีโบราณ ที่เคยอาศัยอยู่ในแถบเอเชียกลาง พวกเขามีความเกี่ยวข้องกับเผ่าซงหนู (Xiongnu) และเผ่าตูเจวี๋ย (Tujue) ซึ่งเคยมีอิทธิพลในบริเวณที่ราบสูงมองโกเลียและทะเลทรายทากลามากัน ในช่วงศตวรรษที่ 8 ชาวอุยกูร์ได้สถาปนาอาณาจักรของตนเองที่เรียกว่า “อุยกูร์คานาเต” (Uyghur Khaganate) ซึ่งปกครองพื้นที่กว้างขวางและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชวงศ์ถังของจีน อย่างไรก็ตาม อาณาจักรอุยกูร์ล่มสลายในศตวรรษที่ 9 หลังจากถูกกองกำลังคีร์กีซโจมตี ทำให้ชาวอุยกูร์จำนวนมากต้องอพยพลงใต้สู่ดินแดนที่ปัจจุบันคือ “เขตปกครองตนเองซินเจียง” ของจีน หลังจากการอพยพ ชาวอุยกูร์ได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ใน “ซินเจียง” และกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบทบาทสำคัญในเส้นทางสายไหม พวกเขาค้าขายกับชาวเปอร์เซีย อาหรับ และจีน ทำให้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากหลายอารยธรรม ในช่วงศตวรรษที่ 10 ชาวอุยกูร์เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามที่แพร่หลายแทนที่ศาสนาเทียนไถและศาสนาพุทธ วัฒนธรรมของอุยกูร์เริ่มแยกออกจากวัฒนธรรมของจีนและกลุ่มชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ๆ ในเอเชียกลาง โดยมีภาษาอุยกูร์ที่ใช้ตัวอักษรอาหรับและมีวรรณกรรม ศิลปะ และดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง   “ซินเจียง”…