เจาะลึก!! กฎหมาย Digital Platform Services ใครได้ ใครเสียประโยชน์

Loading

  พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 นี้ เป็นอีกหนึ่งกฏหมายที่ถูกปรับมาให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ คนที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลควรต้องรู้ !!!!   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอรนิกส์ หรือ ETDA เปิดข้อมูลอินไซต์ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าในมุมของผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างผู้ให้บริการ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพตลฟอร์มดิจิทัลนั้น คงติดตามความเคลื่อนไหวและมีการทำความเข้าใจกับกฎหมายฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง   กฎหมายฉบับนี้ ได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เปิดรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนรวบรวมประเด็นเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกฎหมายซึ่งได้มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง     จาก…

การ์ทเนอร์ เปิด 5 เทรนด์ กำหนดอนาคต ยก ‘AI Cloud Data science’ สะเทือนโลก

Loading

  การ์ทเนอร์ เผยแนวโน้มสำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตของวิทยาศาสตร์ข้อมูลและแมชีนเลิร์นนิ่ง ผลจากวิวัฒนาการและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยของข้อมูลในปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจโฟกัสการลงทุน Generative AI   ปีเตอร์ เครนสกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า แมชีนเลิร์นนิ่งยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขณะเดียวกัน DSML (Data Science and Machine Learning) กำลังพัฒนาจากเดิมที่มุ่งเน้นโมเดลการคาดการณ์ (Predictive Models) ไปเป็นให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้างขึ้น ไดนามิก และเน้นข้อมูลเป็นหลัก   รวมถึงได้รับแรงหนุนจาก Generative AI แม้อาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้น แต่ก็มีความสามารถและช่วยสร้างยูสเคสการใช้งานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและองค์กร     เดินหน้าสู่ ยุคใหม่แห่งข้อมูล   การ์ทเนอร์รวบรวม 5 แนวโน้มสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของ DSML ไว้ดังนี้   เทรนด์ที่ 1: Cloud Data Ecosystems : Data…

ใต้ฝุ่นตลบหลังบึ้มมูโนะ สะท้อนภาพ “ภัยแทรกซ้อน” โยงกลุ่มป่วนใต้

Loading

  จากเหตุการณ์โกดังเก็บพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟระเบิด ที่ชุมชนตลาดมูโนะ หมู่ 1 ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 29 ก.ค.66 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 206 ราย และบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายกว่า 600 หลังคาเรือนนั้น   เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่มูโนะ และมีการเปิดโปงเกี่ยวกับ “ส่วยดอกไม้ไฟ” และสภาพความเป็น “พื้นที่สีเทา” ของนราธิวาส โดยเฉพาะ อ.สุไหงโก-ลก จนมีการโยกย้ายและเรียกสอบข้าราชการที่เกี่ยวข้องบางส่วนนั้น ปรากฏว่าในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และถี่ผิดสังเกต สรุปไล่เรียงได้ดังนี้   31 ก.ค.66 – คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายอุสมาน นิอิงเจ๊ะแฮ ได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดบริเวณสามแยกบ้านปงมูชู หมู่ 1 ต.บาตง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส   1 ส.ค. 66 – คนร้ายใช้อาวุธปืนยิง…

สุดเสี่ยง!!! เอเชียแปซิฟิก’ พื้นที่เป้าหมายภัยคุกคามออนไลน์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) ของไตรมาสที่สองของปี 2023 ขณะที่ ‘เอเชียแปซิฟิก’ ยังเป็นพื้นที่ ถูกคุกคามจากภัยออนไลน์ตัวใหม่ ๆ   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) หรือ การโจมตีแบบระบุเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นการโจมตีของภัยคุกคามขั้นสูง ของไตรมาสที่สองของปี 2023   นักวิจัยแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ รวมไปถึงการสร้าง มัลแวร์ สายพันธุ์ใหม่ และการใช้เทคนิคใหม่ๆ ของ อาชญากรไซเบอร์ โดยเฉพาะ เรื่องสำคัญคือแคมเปญการโจมตีที่มีความซับซ้อน ชื่อว่า “Operation Triangulation” ที่ดำเนินการใช้แพลตฟอร์มมัลแวร์ iOS มายาวนานโดยไม่มีใครรู้จักมาก่อน   ข้อมูลสำคัญจากรายงาน APT ไตรมาส 2 ได้แก่   •  เอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่ถูกคุกคามตัวใหม่ “Mysterious Elephant”…

“สดช.”เร่งรับรองอีก 70 หลักสูตร พัฒนาทักษะดิจิทัลให้บุคลากรรัฐ

Loading

  ตั้งเป้าหมายรับรองหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ให้ได้ 70 หลักสูตรในปีนี้ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม   นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เปิดเผยว่า สดช .ได้เร่งกำหนดมาตรฐานของหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ให้ได้  70 หลักสูตรในปีนี้ หลังจากที่ผ่านมารับรองไปแล้ว 104 หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย  6 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี และผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นกลไกการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับในสาขาที่เกี่ยวข้อง   สำหรับการดำเนินงานในปีนี้มุ่งเน้นหลักสูตรที่มีเนื้อหาหรือเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำคัญ ได้แก่ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม ความเข้าใจใน เทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย ความเข้าใจในสถาปัตยกรรมองค์กร การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล รวมถึงหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการทำงานและการให้บริการ การวางแผนกลยุทธ์ด้านดิจิทัล การบริหารจัดการโครงการ ความสามารถด้านผู้นำด้านดิจิทัล การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร การปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านดิจิทัล ความเข้าใจในเทคโนโลยีคลาวด์ และฐานข้อมูล   จึงเชิญหน่วยงานและสถาบันอบรมต่าง ๆ ตลอดจนผู้พัฒนาหลักสูตรที่มีเนื้อหาด้านดิจิทัล เข้ามาขอยื่นรับรองหลักสูตรฯ กับ สดช.     นายภุชพงค์ กล่าวต่อว่า ผลการดำเนินโครงการนี้จะช่วยให้เกิดระบบการรับรองหลักสูตรและฐานข้อมูลหลักสูตร ด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งหน่วยงานภาครัฐสามารถสืบค้นและพิจารณาก่อนวางแผนการพัฒนาให้กับข้าราชการ และบุคลากรให้ได้รับการอบรม พัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม ได้รับมาตรฐาน และการรับรอง จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ และ สามารถนำทักษะและสมรรถนะที่ได้รับ การพัฒนาไปใช้กับการปฏิบัติราชการ รวมถึงการให้บริการแก่ทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :             …

วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม เช็กเพจให้ดีก่อนจอง

Loading

  วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม โดยเฉพาะเพจร้านค้า และเพจโรงแรม ที่เปิดจองโรงแรมต่าง ๆ หลังมีเพจปลอมแอบเนียนเปลี่ยนชื่อมาหลอกขายผ่านทาง Facebook และมีผู้ถูกหลอกจำนวนมาก ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีว่าเพจนั้นเป็นเพจจริงหรือไม่ด้วยวิธีการดังนี้   วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม ยกตัวอย่างโดยข้อมูลจากเพจ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เผยแพร่ภาพว่าเพจโรงแรมจริง กับเพจโรงแรมปลอมนั้นแตกต่างกันอย่างไร โดยทำตามขั้นตอนดังนี้   iT24Hrs   เข้าไปที่เพจของโรงแรม แล้วคลิก เกี่ยวกับ >> เลือก ความโปร่งใสของเพจ >> แล้วเลือกที่ ดูทั้งหมด   iT24Hrs   จะปรากกฎข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชื่อเพจ และคนจัดการเพจ จะเห็นได้ว่าเพจปลอม มีการเปลี่ยนชื่อเป็นเพจอื่น ไม่ได้ใช้ชื่อโรงแรมตั้งแต่แรก และดูคนจัดการเพจนี้ไม่ใช่คนไทย แต่มาจากเมียนมา เป็นต้น   iT24Hrs   ซึ่งจากเพจจริงก็ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ต้น ปี 2012 และระบุจากประเทศไทยตั้งแต่แรก   และยังพบโรงแรมอื่น ๆ ที่ถูกเพจปลอมแอบอ้างเป็นโรงแรมจำนวนมาก ดังนั้นนอกจากตรวจสอบเพจแล้ว อาจลองโทรสอบถามกับทางโรงแรมโดยตรงก็ได้ มิฉะนั้นอาจเสียเงินฟรีโดยไม่ได้พักในโรงแรมเลย…