มิล้าสมัยแม้จะห้ามใช้โทรศัพท์

Loading

  โทรศัพท์อัจฉริยะ เป็นเครื่องใช้ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบัน ถึงขั้นขาดไม่ได้จนกลายเป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 แล้ว   แต่รัฐบาลและโรงเรียนเนเธอร์แลนด์เพิ่งประกาศว่า ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปโรงเรียนจะห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์ในห้องเรียน ยกเว้นสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นจำพวกด้านสุขภาพและในวิชาที่เกี่ยวกับการเพิ่มทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล โรงเรียนแต่ละแห่งจะนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติตามแนวที่ตนเห็นว่าเหมาะสม   นโยบายใหม่นี้ยังไม่มีกฎหมายใช้บังคับ หลังจากเวลาผ่านไป 1 ปีจึงจะมีการประเมินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปรวมทั้งการจะตรากฎหมายใหม่ออกมาบังคับใช้หรือไม่ด้วย เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศยุโรปล่าสุดที่ประกาศนโยบายแนวนี้หลังจากฟินแลนด์ทำล่วงหน้าไป 1 สัปดาห์ มีรายงานว่าอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังพิจารณาว่าจะทำเช่นนั้นด้วยหรือไม่   ประเทศต่าง ๆ อ้างผลการวิจัยที่สรุปว่า การอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเรียนขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ เพราะมันทำลายสมาธิของนักเรียน ข้อสรุปนี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์มานานก่อนการวิจัยแล้ว   โรงเรียนจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา จึงห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน ตั้งแต่ครั้งโทรศัพท์จำพวกนี้เริ่มมีใช้อย่างแพร่หลาย ก่อนที่จะกลายมาเป็นโทรศัพท์อัจฉริยะ   รัฐบาลกลางอเมริกันไม่มีคำสั่ง หรือนโยบายจากส่วนกลางว่าโรงเรียนจะต้องทำอย่างไร เนื่องจากการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นงานของรัฐบาลท้องถิ่น   ในปัจจุบัน โรงเรียนอเมริกันใช้แนวปฏิบัติต่อการใช้โทรศัพท์ในโรงเรียนต่างกันโดยส่วนใหญ่ห้ามใช้ อย่างไรก็ตาม ความเข้มงวดของการห้ามมีความแตกต่างกัน เช่น ในย่านนอกกรุงวอชิงตันอันเป็นเมืองหลวง บางโรงเรียนเข้มงวดมากถึงกับยึดโทรศัพท์และกักตัวนักเรียนผู้ละเมิดข้อห้าม   แม้เด็กจะทำผิดครั้งแรกก็ตาม จนกว่าผู้ปกครองจะไปลงชื่อรับรู้ความผิดของเด็กและรับเด็กกลับบ้านด้วยตัวเอง ตัวอย่างนี้น่าจะชี้ว่า นักเรียนอเมริกันมิได้มีอิสระสารพัดที่จะทำอะไรก็ได้ดังชาวไทยมักเข้าใจกัน การบังคับใช้ข้อห้ามต่าง ๆ เขาทำกันอย่างเข้มงวด   สำหรับประเทศในยุโรป เช่น…

สู้ภัยกลโกงการเงินด้วยระบบไบโอเมตริก หลอกระบบด้วยรูปภาพ-สวมหน้ากากไม่ได้!

Loading

  เปิดเหตุผลทำไมการเสริมการป้องกันกลโกงการเงิน จึงทำได้ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยแบบไบโอเมตริก? โดยหนึ่งในเหตุผลนั้น คือระบบไบโอเมตริกวันนี้เฉลียวฉลาดสุด ๆ และไม่สามารถ “หลอก” ด้วยรูปภาพ หรือการสวมหน้ากากใด ๆ   นายธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การใช้ระบบสแกนแบบไบโอเมตริกเพื่อป้องกันกลโกงต่าง ๆ ถือเป็นแนวทางการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่แนะนำสำหรับการปกป้องเงินของผู้บริโภค และแนวทางรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่ว่าก็จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับแนวคิดซีโรทรัสต์ (Zero Trust) ด้วยเช่นกัน   “ธนาคารต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เบื้องต้น เช่น ไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ไม่ป้อนข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น”   ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์   พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ประเมินสถานการณ์วันนี้ว่ากลโกงของมิจฉาชีพมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ตลอดเวลา เช่น Smishing (การล่อลวงแบบฟิชชิงด้วย SMS) และ Vishing (การการล่อลวงแบบฟิชชิงด้วยการโทร.) เป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อจนเกิดความสูญเสียนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน และเงินในบัญชีของหลายคนถึงกับกลายเป็นศูนย์   เนื่องจากอาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง…

ภาครัฐเร่งพัฒนาจริยธรรม เทคโนโลยี AI หลังเอกชนตื่นตัวลงทุนมากขึ้น

Loading

  ETDA ร่วมกับ สวทช. เผยความพร้อมองค์กรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI สำหรับบริการดิจิทัล เตรียมวางหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาล   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กร เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม   การใช้ดัชนีการวัด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร 2. ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านเทคโนโลยี 5. ด้านธรรมาภิบาล   ผลที่ได้จากการประเมินตามด้านต่าง ๆ จะนำไปสู่การแบ่งความพร้อมขององค์กรได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับ Unaware = ยังไม่มีความตระหนัก/ อยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้ Aware = มีความตระหนักและเริ่มนำ…

เอไอเอสชูขุมพลัง 5จี อวดโฉม ‘โดรน เอไอ’ ครั้งแรกในไทย

Loading

  บนความเชี่ยวชาญของทีมวิศวกร ผนวกกับคลื่นความถี่ที่มีมากที่สุด 1460 เมกะเฮิรตซ์ และโซลูชันที่มีความหลากสำหรับภาคอุตสาหกรรม เอไอเอส และ ARV ได้ยกระดับการทำงานของโดรน ด้วยการเปิดตัว 5G AI Autonomous Drone System ในชื่อ “Horrus” ครั้งแรกในไทย   หลังจากที่ปลุกปล้ำกับโปรเจ็ค โดรน เอไอ ไร้คนบังคับ ที่วิ่งบนคลื่นความถี่ 26 กิกะเฮิรตซ์มาเกือบ 3 ปี ล่าสุด เอไอเอสและพันธมิตรกลุ่ม ปตท. ร่วมกันส่งนวัตกรรมใหม่ AI Autonomous Drone System บนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ครั้งแรกในไทยพร้อมเชื่อมต่อสู่การทำงานจริงในภาคอุตสาหกรรม พร้อมผลักดันสู่การแสวงหาโอกาสที่ลุยธุรกิจในพื้นที่ EECi ที่ต้องการสร้าง New S-Curve ด้วยนวัตกรรมและดิจิทัลเทคโนโลยี       พื้นที่วังจันทร์แซนด์บ็อกซ์แหล่ง R&D   นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร…

UNAI, Finder, Skyller เทคโนโลยีช่วยเหลือฉุกเฉิน ยามเกิดภัยในรูปแบบต่างๆ

Loading

  UNAI, Finder, Skyller เทคโนโลยีช่วยเหลือฉุกเฉิน ผู้คนยามเกิดภัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อค้นหาผู้บาดเจ็บและช่วยเหลือผู้ที่ยังติดค้างอยู่ใต้ซาก ปรักหักพัง และนี่คือนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดปัญหาที่เกิดซ้ำขณะเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือผู้คน   อยู่ไหน (UNAI)   เทคโนโลยีจีพีเอส (GPS) เพื่อช่วยติดตามและค้นหาสิ่งของที่อยู่ในอาคารแบบเรียลไทม์ และช่วยนำทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในอาคาร   อยู่ไหน 3 มิติ พัฒนาโดย เนคเทค และ สวทช. เป็นระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วยเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำ ที่ให้บริการข้อมูลตำแหน่งหรือข้อมูลเส้นทางการเคลื่อนที่ของคนหรือวัตถุสิ่งของภายในอาคารแบบออนไลน์   ที่มา : Nectec       Finder เทคโนโลยีช่วยเหลือฉุกเฉินจาก NASA   นาซ่า พัฒนาอุปกรณ์เพื่อช่วยค้นหาคนที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง เพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้คนทั่วโลก นวัตกรรมนี้ทำงานผ่านอุปกรณ์เรดาห์แบบเคลื่อนที่ เพื่อตรวจค้นหาเหยื่อที่หมดสติและติดอยู่ใต้ซากอาคารที่เสียหาย ได้ลึกถึงสิบเมตร ด้วยการตรวจจับสัญญาณการเคลื่อนไหวของเหยื่อ แม้จะมีสัญญานชีพเพียงเล็กน้อยก็ตาม   ทั้งนี้ Finder ทำงานด้วยการส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟความถี่ต่ำ ทำให้คลื่นสามารถเดินทางผ่านซากอาคารลงไป แล้วสะท้อนกลับมาหากกระทบกับร่างกายของเหยื่อแม้เพียงเคลื่อนไหวหรือมีแรงขยับขึ้นลงแบบอ่อนๆ…

เผย 3 แกนหลัก ยกระดับองค์กร รับมือ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์”

Loading

  ปัจจุบันโลกเทคโนโลยีได้ถูกคิดค้นและพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายของผู้ใช้งาน ในขณะที่เทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เข้ามาในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิเช่น การพัฒนา Hardware หรือ Software เป็นต้น   อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางไซเบอร์นั้นมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้การใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถป้องกันองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP ได้รวบรวมความรู้จากประสบการณ์ในการเป็นผู้จัดการดูแลระบบและที่ปรึกษาให้กับองค์กรชั้นนำ เพื่อยกระดับองค์กรในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่จำเป็นต้องมีการบริหารและจัดการความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการนำ 3 แกนหลักมาใช้ คือ People , Process และ Technology โดยมีรายละเอียดดังนี้ People (คน)       ตามสถิติด้านการโจมตีทางไซเบอร์ พบว่าหนึ่งในสาเหตุหลักนั้นเกิดจากความผิดพลาดหรือตัดสินใจของ “คน” ที่ขาดความรู้ในการเตรียมพร้อมสำหรับรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งองค์กรสามารถป้องกันและลดช่องโหว่ของข้อผิด พลาดนี้ได้ด้วยวิธี ดังนี้ 1. Awareness Training การฝึกอบรมสำหรับบุคลากรเพื่อเตรียมพร้อมความรู้ความเข้าใจด้านความมั่นคงปลอดภัยในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศภายในองค์กรที่มีส่วนช่วยให้สามารถลดโอกาสที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ได้มากขึ้น 2. Specialist skill , experience and…