เมื่อบัตรประชาชนใบเดียวถูกแอบอ้าง นำไปเปิดซิมการ์ดมากกว่า 30 เบอร์!

Loading

  ในวันที่ 25 มิถุนายน 2566 ผู้ใช้งาน Facebook รายหนึ่งได้ออกมาโพสต์เรื่องราวที่ตนเองได้ไปลงทะเบียนเพื่อใช้งานสิทธิพิเศษของเบอร์มือถือกับผู้ให้บริการเครือข่ายคือ AIS ก่อนพบว่าบัตรประชาชนของตนถูกลงทะเบียนซิมการ์ดไปแล้วถึง 34 เบอร์ โดยเกิดจากการลงทะเบียนของตนเองเพียง 2 เบอร์เท่านั้น     ส่วนอีก 32 เบอร์นั้นที่เหลือ ถูกลงทะเบียนโดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัตรประชาชนตัวจริง! ซึ่งแบไต๋ได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ AIS แล้ว ก็ได้คำตอบว่า “เอไอเอสประสานงานกับลูกค้าเพื่อตรวจสอบกรณีนี้แล้ว” ซึ่งหากมีความคืบหน้าจากทาง AIS เราจะนำเสนอข่าวต่อไป   คนโดนสวมรอยอาจซวยได้ เบอร์ที่จดทะเบียนด้วยบัตรประชาชนของคนอื่นอาจถูกนำไปใช้แอบอ้างหรือก่ออาชญากรรมได้สารพัดวิธีอย่างการเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การส่ง SMS ต้มตุ๋น ไปจนถึงการนำเบอร์ไปใช้ในการติดต่อประสานงานเพื่อก่ออาชญากรรม หรือไปจนถึงการก่อการร้าย   ซึ่งเมื่อกระบวนการสืบสวนเริ่มต้นขึ้นแล้ว คนที่จะซวยหนักที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเจ้าของเลขประจำตัวประชาชนที่ถูกนำไปใช้ในการจดเบอร์เถื่อนนั่นเอง   การถูกแอบอ้างนำข้อมูลส่วนตัวไปลงทะเบียนซิมการ์ด นอกจากต้นเรื่องแล้ว ยังมีอีกหลายคนที่โดน บางคนโดนตั้งแต่ 1 เบอร์ ไปจนถึง 50 กว่าเบอร์เลยทีเดียว!   นี่ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีการสวมรอยใช้ข้อมูลส่วนตัวไปลงทะเบียนหรือไม่ และเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อการลงทะเบียนจำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนตัว…

ทำความเข้าใจ ‘ระบบราชการดิจิทัล’ คู่ ‘เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

Loading

  หลังจากที่ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้การให้บริการของหน่วยงานราชการเริ่มเปลี่ยนไป หลายหน่วยงานให้บริการผ่านระบบออนไลน์ ยกเลิกการใช้เอกสารแบบกระดาษ ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วขึ้น   การสร้างจุดเปลี่ยนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเคยจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขับเคลื่อนโดย 4 หน่วยงานสำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติ   ขณะเดียวกัน เพื่อผลักดันให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐทุกๆ ระดับเปลี่ยนวิถีการทำงานเป็นดิจิทัลนั้น ทั้ง 4 หน่วยงาน ย่อมต้องปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ ETDA ที่มีบทบาทสำคัญเป็นทั้งผู้ร่วมขับเคลื่อน และหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว   “พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” ลดข้อจำกัด เร่งสปีด ราชการดิจิทัล   จุดประสงค์หลักของการทำ ‘พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565’ นี้คือ การปรับเปลี่ยนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงานราชการในรูปแบบออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น เพื่อส่งต่อการให้บริการแก่ประชาชนได้ดีกว่าที่เคย   เมื่อระบบการทำงานของหน่วยงานราชการเปลี่ยนสู่ e-Government…

กฎหมาย Digital Platform คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร ก่อนบังคับใช้ 21 สิงหาคม 2566

Loading

ภาพ : กรุะทรวงดีอีเอส กฎหมาย Digital Platform คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร โดยกระทรวงดิจิทัลฯ หรือ ดีอีเอส ประกาศ กฎหมาย Digital Platform จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ พร้อมประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลาง อาทิ โซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ sharing economy บริการสืบค้น (search engine) บริการรวบรวมข่าว โฮสติ้ง คลาวด์ แจ้งการประกอบธุรกิจต่อสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ด้วย   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เพื่อรองรับ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย Digital Platform ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล…

“เทคโนโลยี” ที่ใช้ค้นหาแอตแลนติส และวัตถุโบราณใต้ทะเลทราย

Loading

  ในเทพนิยาย “หนึ่งพันหนึ่งราตรี” (One Thousand and One Nights) ซึ่งเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านของชาวอาหรับ และในคัมภีร์กุรอ่านของชาวมุสลิม ต่างก็กล่าวถึงเมือง Ubar ว่า เคยตั้งอยู่ในอาณาจักรอาหรับโบราณเมื่อ 5,000 ปีก่อน และเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก เพราะเป็นศูนย์กลางการค้ากำยาน อันเป็นยางไม้ที่มีกลิ่นหอม จึงเป็นที่นิยมใช้ในพิธีบวงสรวงทางศาสนาและพิธีศพ ตลอดจนถึงการใช้เป็นยาอายุวัฒนะด้วย การมีสรรพประโยชน์เช่นนี้ จึงทำให้กำยานมีคุณค่ามากประดุจทองคำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนิยมปลูกกันมากในบริเวณเทือกเขา Al Qarah ของ Saudi Arabia และแม้แต่คัมภีร์ไบเบิลก็ยังกล่าวถึงปราชญ์จากเมือง Ubar ว่า ได้นำกำยานไปถวายเป็นของขวัญแด่ทารกเยซู เมื่อพระองค์ทรงประสูติใหม่ ๆ     ประวัติศาสตร์อาหรับยังได้จารึกอีกว่า Ubar เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงทางการค้าของชนชาติต่าง ๆ ในเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ประชากรแห่งเมือง Ubar จึงมีฐานะร่ำรวย แต่ในเวลาต่อมา พฤติกรรมของชาวเมืองตลอดจนถึงเจ้าเมืองได้เสื่อมลงมาก ความต่ำทรามของผู้คนในลักษณะนี้ได้ทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงพิโรธ จึงทรงบันดาลให้พายุทะเลทรายพัดถล่มเมือง จนหายสาบสูญไปอย่างที่ไม่มีใครได้พบเห็นเมืองอีกเลย     เรื่องเล่าขานนี้ได้จุดประกายให้บรรดานักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และนักผจญภัยทั้งหลายพยายามค้นหานคร…

สิบปีในดินแดนลี้ภัยรัสเซียของ ‘เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน’

Loading

AFP   เมื่อสิบปีก่อน เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนเปิดโปงปฏิบัติการจารกรรมของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ จากนั้นเขาต้องซ่อนตัว ลี้ภัยไปยังรัสเซีย และตอนนี้ได้ฉลองวันเกิดครบรอบ 40 ปีที่นั่น   ก่อนหน้านั้นเขาเคยยื่นเรื่องขอลี้ภัยไปลาตินอเมริกาและยุโรปด้วยเหมือนกัน แต่ไม่มีประเทศไหนรับประกันความปลอดภัยของเขาได้ รัสเซียมองเห็นประโยชน์จากกรณีของสโนว์เดนในการกล่าวหาสหรัฐฯ ว่า “สองมาตรฐาน” จึงอ้าแขนต้อนรับเขา เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ประเทศซึ่งอ้างตัวเป็นต้นแบบของเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่กลับข่มเหงทางการเมืองกับสโนว์เดนและคนอื่น ๆ   วันพุธที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา สโนว์เดนฉลองวันเกิดครบรอบ 40 ปีพร้อมกับการได้สัญชาติรัสเซีย วันศุกร์เมื่อสิบปีก่อนเขาเดินทางถึงมอสโกด้วยเครื่องบินของสายการบินแอโรฟลอต เขาใช้เวลานานถึง 40 วันในเขตทรานสิตที่สนามบินเชเรเมเตียโว ท่ามกลางสื่อมวลชนทั่วโลกที่พยายามเข้าถึงตัวเขา ก่อนหน้านั้นไม่นานเขาได้ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับการสอดแนมของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ และ GCHQ ของอังกฤษให้กับสื่อมวลชน   ตามคำบอกเล่าของสโนว์เดน เขาต้องการเดินทางไปยังเอกวาดอร์ โดยผ่านฮ่องกง แต่แล้วเขาต้องไปติดอยู่ที่สนามบินเชเรเมเตียโวในมอสโก หลังจากที่สหรัฐฯ ยกเลิกหนังสือเดินทางของเขา เขาไม่มีวีซ่าผ่านแดน และดูเหมือนไม่มีประเทศไหนอยากยุ่งกับสหรัฐฯ เหลือแต่รัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเท่านั้นที่กล้าเปิดประตูบ้านต้อนรับเขา ถึงตอนนั้นสโนว์เดนก็นิ่งเงียบเกี่ยวกับการเมืองของรัสเซีย แลกกับแหล่งพักพิงที่ถูกปกปิดเป็นความลับ   หลังจากครบรอบหนึ่งปีของการลี้ภัย สโนว์เดนให้สัมภาษณ์กับเกลนน์ กรีนวัลด์-นักข่าวสหรัฐฯ ยืนยันว่าข้อมูลเกี่ยวกับการซ้อมรบที่รั่วไหลจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ…

แอปฯ “แทนใจ” เช็กตำรวจจริง-ปลอม ได้ใน 3 วินาที

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนาแอปพลิเคชัน “แทนใจ” นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรของตำรวจ ขณะที่ประชาชนใช้ตรวจสอบได้ว่าคนนี้เป็นตำรวจจริงหรือไม่ เพียงสแกนคิวอาร์โค้ด รู้ผลภายใน 3 วินาที   พล.ต.ท.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ ผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล (ผบช.สกพ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า แอปพลิเคชัน “แทนใจ” นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในเวอร์ชันแรกเปิดตัวใช้งานเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข อดีต ผบ.ตร. เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าและขับเคลื่อนไปอย่างทันสมัยในยุคเทคโนโลยี 5G จึงได้นำข้อมูลด้านกำลังพล สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการเข้าสู่ระบบดิจิทัล เพื่อแสดงผลผ่านแอปฯ แทนใจ อีกทั้งยังจับมือกับองค์กรพันธมิตรอื่น ๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), Shopee, LINE MAN Wongnai และ Minor group เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่พี่น้องข้าราชการตำรวจ และอีกก้าวของการพัฒนาด้านการสื่อสารด้วยระบบ Notification เพื่อแจ้งเตือนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจหรือข่าวสารที่สำคัญ ทำให้มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรอย่างสร้างสรรค์…