แอปที่ควรมีติดมือถือก่อนไปจีน มีอะไรบ้าง สมัครยังไง

Loading

  แอปที่ควรมีติดมือถือก่อนไปจีน มีอะไรบ้าง หลายท่านคงทราบดีว่าประเทศจีนนี้จะใช้บัตรเครดิตทั่วไปอย่างที่ประเทศไทยและทั่วโลกใช้อย่างบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต VISA , MASTERCARD ไม่ได้ ส่วนใหญ่จะใช้บัตรของ UNIONPAY , เงินสด และ 2 แอปจ่ายเงินในจีน รวมถึงการใช้แอปเรียกรถ และแอปแผนที่นั้น Google ก็ไม่สามารถใช้ในจีนได้ ดังนั้น ก่อนไปจีนต้องเตรียมตัวโหลดแอปนี้ไว้ก่อนเที่ยวจีน หากโหลดไว้เรียบร้อย การเที่ยวในจีนจะง่ายขึ้นมาก   แอปที่ควรมีติดมือถือก่อนไปจีน มีอะไรบ้าง       AliPay กับ Wechat เพราะ ทั้ง 2 แอปนี้เป็นแอปที่ใช้ในการจ่ายเงินได้ทุกอย่าง และนิยมกว่าเงินสดด้วย คุณรู้ว่ายังสามารถใช้เงินสดจีนในการชำระเงิน แต่คุณไม่สามารถใช้บัตร VISA , MASTERCARD ในการรูดจ่ายได้     BAIDU MAPS เพื่อใช้เป็นแผนที่นำทางในประเทศจีน ไม่ควรใช้แอป Google Maps เพราะข้อมูลจะไม่ถูกต้อง และ สถานที่ต่าง ๆ…

สรุปไทม์ไลน์จากต้นจนจบ ความขัดแย้งเครมลิน-แวกเนอร์ สู่การก่อกบฏและถอนกำลังของพริโกซิน

Loading

  เยฟกินี พริโกซิน ผู้นำกลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์ ที่ปรากฏเป็นข่าวและครองพื้นที่สื่อทั่วโลกในช่วง 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา เคยเป็นผู้สนับสนุนที่ซื่อสัตย์ของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย มาอย่างยาวนาน ก่อนที่จะถูกตั้งข้อหากบฏ หลังจากเขาประกาศสั่งทหารรับจ้างที่กำลังปักหลักต่อสู้กับยูเครนให้เคลื่อนพลสู่มอสโก   ก่อนหน้านี้ พริโกซินหลีกเลี่ยงการวิจารณ์ปูตินโดยตรงมาโดยตลอด แม้เขาใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือโจมตีกองทัพของรัสเซีย โดยกล่าวหาว่าผู้นำกองทัพเป็นกบฏ และกล่าวโทษกองทัพรัสเซียที่ไม่สามารถจัดหาอาวุธกระสุนและเสบียงให้กลุ่มนักรบแวกเนอร์ได้อย่างเพียงพอ   แต่ในช่วงสองวันที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่เขาออกมาโจมตีเหตุผลของปูตินในการรุกรานยูเครน จากนั้นความตึงเครียดเพิ่มขึ้น หลังพริโกซินส่งกองกำลังแวกเนอร์เข้ายึดเมืองรอสตอฟออนดอน ทางตอนใต้ของรัสเซีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางทหาร พร้อมสั่งให้กลุ่มนักรบของเขาเคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กรุงมอสโก ส่งผลให้ปูตินตอบโต้โดยสั่งระดมทหารรัสเซียเพื่อปราบปรามการเคลื่อนไหวของพริโกซินที่ถูกตราหน้าว่าเป็นการก่อกบฏติดอาวุธ   และนี่คือจุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับพริโกซิน ซึ่งขมวดปมนำไปสู่เหตุการณ์ตึงเครียดในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ก่อนคลี่คลายได้หวุดหวิด   ธันวาคม 2016   สหรัฐอเมริกาประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อบุคคลและนิติบุคคลของรัสเซีย 15 ราย หนึ่งในนั้นรวมถึง เยฟกินี พริโกซิน จากการที่เขาทำธุรกิจในไครเมีย ซึ่งเป็นดินแดนของยูเครนที่รัสเซียผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอย่างผิดกฎหมายในปี 2014 และมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครน กระทรวงการคลังสหรัฐฯ มุ่งเป้าแซงก์ชันไปที่นักธุรกิจซึ่งเป็นบุคคลใกล้ชิดกับปูติน หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ช่วยเหลือรัสเซียทำลายเสถียรภาพของยูเครน   กุมภาพันธ์ 2018…

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย สิ่งสำคัญของการใช้เทคโนโลยี

Loading

    ตอนนี้เทคโนโลยี อย่าง AI, Blockchain และ Cloud เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้น ความเป็นส่วนตัวและการป้องกันความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่ตามมา ซึ่งเทคโนโลยีถ้าไม่มีการให้ความรู้กับผู้ใช้งาน ก็จะไร้ประโยชน์   ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวในงาน Digital Life Forum 2023 : นวัตกรรม เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนโลก จัดขึ้นโดย สปริงนิวส์ ว่า บทบาทของเราทำหน้าที่ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผมอยากให้สิ่งที่ Drive คือความต้องการของคน เพราะเทคโนโลยีดียังไงแต่ไม่มีคนใช้ มันก็ไปไม่รอด เราพยายามผลักดัน SME ให้เทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีใช้เวลาน้อยลงในการเปลี่ยนวัฎจักร ซึ่งโควิดมาความต้องการเปลี่ยนก็ทำให้เทคโนโลยีเปลี่ยน ยกตัวอย่าง เวลาเราขึ้นตึกแล้วต้องแลกบัตรประชาชน เราก็กลัวข้อมูลรั่วไหล ก็ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ     ปัจจุบันเรื่องของ Data มีความสำคัญและมี Value มาก ดังนั้นจึงมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับ…

ดิจิทัลและความเป็นส่วนตัว

Loading

  วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันล้วนพึ่งพาอาศัยระบบดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือใช้ชีวิตส่วนตัวเราล้วนอาศัยบริการดิจิทัลช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงข้อมูลองค์กรอาจหลุดรั่วออกไปได้มากขึ้นเช่นกัน   ในยุคที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุด รวมถึงการถือกำเนิดของเงินสกุลดิจิทัล เราจึงคุ้นเคยกับคำว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่ยังพัฒนาตามมาไม่ทันคือแนวคิดแบบดิจิทัล ที่ต้องตระหนักในเรื่องความปลอดภัยและใส่ใจต่อข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่านี้   เริ่มจากประการแรกคือต้องเข้าใจว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แม้ว่าบริการดิจิทัลที่เปิดใช้อยู่ในปัจจุบันหลายแพลตฟอร์มจะไม่เสียค่าใช่จ่ายใด ๆ แต่เราต้องเข้าใจว่าบริการเหล่านี้ล้วนได้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของผู้ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ไม่ได้ใจดีเปิดให้ใช้ฟรีอย่างที่หลาย ๆ คนคิด   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้ รวมไปถึงข้อมูลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานว่าเข้ามาดูข้อมูลหรือค้นหาสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ ซึ่งระบบเอไอก็จะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าตัวตนของเรานั้นเป็นอย่างไร เหมาะกับสินค้าและบริการแบบไหน เราจึงได้เห็นโฆษณาสินค้าที่เรากำลังมีความสนใจอยู่บ่อย ๆ   ซึ่งนี่เป็นเรื่องพื้นฐานเท่านั้น เพราะในปัจจุบันแพลตฟอร์มต่าง ๆ เริ่มพยากรณ์ความต้องการของผู้ใช้ได้แม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ได้ละเอียดมากขึ้นเช่นกัน   ประเด็นที่สองที่ต้องขบคิดให้ดีก่อนจะสมัครใจใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ก็คือความน่าเชื่อถือของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะทุกวันนี้มีบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เปิดตัวมากมายแทบจะทุกนาทีซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกแฟลตฟอร์มจะถูกตรอจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น   ในโลกแห่งความเป็นจริงเราจึงเห็นแอปพลิเคชันบางตัว ขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากเกินไป รวมไปถึงบางแอปพลิเคชันที่ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อเอาข้อมูลจากผู้ใช้ และที่หนักที่สุดคือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ผู้ใช้โหลดโดยตรงเพื่อนำเงินออกจากธนาคารตามที่เป็นข่าวครึกโครมในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา   ก่อนจะใช้บริการจากแพลตฟอร์มใด ๆ เราจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแอปพลิเคชันเหล่านั้นมีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลของเรามากเพียงใด…

เปิดเทคนิคการโจมตี ด้วย ‘ChatGPT’ แบบใหม่

Loading

  ปัจจุบัน ChatGPT ได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานเป็นวงกว้างและคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจุดนี้เองนี้ที่ทำให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์มองเห็นโอกาสและช่องโหว่ในการบุกเข้าโจมตีเหยื่อ   ในวันนี้ผมจะขออธิบายเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่นี้เพื่อเป็นการตั้งรับกับสิ่งที่เราต้องเผชิญในเร็ว ๆ นี้กันนะครับ   ก่อนอื่นเลยผมขอพูดถึงเรื่องเทคนิคการโจมตีทางไซเบอร์แบบใหม่ที่ได้รับการขนานนามในวงการว่า “AI package hallucination” โดยได้รับการเปิดเผยจากทีมนักวิจัยว่า มีการใช้โมเดลภาษา OpenAI ChatGPT ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถปล่อยสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าไปในระบบที่นักพัฒนาทำงานอยู่   ChatGPT จะสร้างสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น URL ตัวอย่างอย่างอิงอ้าง (Reference) ไลบรารีโค้ด (Library code) และฟังก์ชันที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมาใหม่ โดยการปลอมแปลงโมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM ซึ่งได้มีการรายงานแจ้งเตือนและอาจเป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการเทรนนิ่งก่อนหน้านี้แล้ว   ทั้งนี้แฮ็กเกอร์จะใช้ความสามารถสร้างรหัสของ ChatGPT และใช้ประโยชน์จากไลบรารีโค้ดที่สร้างขึ้นเป็นแพ็กเกจเพื่อหลอกลวงและเผยแพร่ออกสู่โลกไซเบอร์ผ่าน typosquatting หรือ masquerading   เทคนิคนี้จะดำเนินการผ่านการตั้งคำถามกับ ChatGPT เพื่อขอแพ็คเกจการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโค้ดและขอคำแนะนำแพ็กเกจที่หลากหลาย รวมไปถึงการขอบางแพ็คเกจที่ไม่ได้เผยแพร่ในที่เก็บข้อมูลที่ถูกกฏหมาย   จากนั้นจะเริ่มกระบวนการต่อไปคือการแทนที่แพ็กเกจเหล่านี้ทั้งหมดด้วยแพ็คเกจปลอมต่าง ๆ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะหลอกล่อผู้ที่มีแนวโน้มจะใช้ตามคำแนะนำของ ChatGPT   ทั้งนี้ จากการทำ…

Google Bard ปลอม! วิธีสังเกต Google Bard จริงหรือปลอม ระวังเป็นเหยื่อลิงก์ปลอม

Loading

ตัวอย่างเว็บปลอม และเพจปลอม   Google Bard ปลอม! วิธีสังเกต Google Bard จริงหรือปลอม หลังสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สกมช. ออกเตือนผู้ใช้ที่สนใจ AI จาก Google อย่าง Google Bard ระวังอย่าคลิกลิงก์หรือแนบไฟล์ที่มาจากเว็บไซต์ Google Bard AI ปลอม ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์หรือทำให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณถูกเปิดเผยโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยมิจฉาชีพสร้างเว็บไซต์ปลอมและมีการส่งลิงก์หรือยิงโฆษณาบน Facebook แนะนำ Google Brad ปลอม ซึ่งจะพาไปยังเพจ Google Bard ปลอม และนี่คือตัวอย่าง Google Bard ปลอมทั้งหมด   ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ Google Bard ของจริง   สำหรับหน้าตาจริงต้องแบบนี้ โดยเข้าผ่าน bard.google.com เท่านั้น การเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และเข้าเว็บไซต์ที่ถูกต้องเท่านั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ข้อมูลของคุณปลอดภัย โปรดระมัดระวังทุกครั้งเมื่อใช้งานเว็บไซต์ สกมช. ให้คำแนะนำในการสังเกตเว็บไซต์ก่อนคลิกดังนี้…