มุ่งสู่ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

Loading

    ประเทศไทยมีความคืบหน้าเชิงประจักษ์ให้เห็น ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีความท้าทายหลายประการในการกำกับดูแลข้อมูลของภาครัฐ ที่ต้องได้รับการแก้ไข   เพื่อให้แน่ใจว่าพลเมืองทุกคนจะถูกรวมอยู่ในการสำรวจระดับชาติ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย   รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในปี 2565 ได้เสนอประเด็นสำคัญที่รัฐบาลไทยสามารถปรับปรุงได้ไว้หลายประการ รวมถึงมีเสียงสะท้อนจากผู้ใช้ข้อมูลของภาครัฐทั้งจากภาคเอกชน ประชาชน รวมถึงข้าราชการต่างกรมต่างกระทรวงกัน   ปัญหาหลักของข้อมูลไทยมีหลายประการ เฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล   ในปัจจุบัน คุณภาพของข้อมูลที่รวบรวมโดยหน่วยงานของรัฐต่างๆ นั้นยังไม่สอดคล้องกัน บางแห่งมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือยังทำความสะอาดข้อมูลไม่มากพอ ทำให้ยากต่อการนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย   ประเทศไทยยังขาดการเชื่อมต่อของฐานข้อมูล และมีการแบ่งปันข้อมูลอย่างจำกัดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากการทำงานแยกกันในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล   ทำให้ยากสำหรับผู้กำหนดนโยบายภาคธุรกิจและประชาชนในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายตามหน่วยงานอย่างสะดวกและทันท่วงที   ปัญหาอีกประการที่สำคัญ คือ การเข้าถึงข้อมูลที่จำกัด ในขณะที่ไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการเผยแพร่ข้อมูลสู่ภาคสาธารณะผ่านโครงการ Open Data Thailand แต่ยังพบว่าหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งยังไม่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ   ปัจจุบันมีชุดข้อมูลเพียง 8,180 ชุดข้อมูล เมื่อเทียบกับการเปิดเผยข้อมูลของสหรัฐเมริกา ผ่าน Data.gov ที่มีปริมาณชุดข้อมูล 335,000 ชุดข้อมูล หรือเทียบว่าไทยเปิดข้อมูลเพียงร้อยละ…

‘ยูจีน แคสเปอร์สกี้’ ปลุกโลกให้มี ‘Cyber Immunity’ สกัดภัยไซเบอร์

Loading

    แคสเปอร์สกี้ เผย จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยังคงเพิ่มขึ้นทวีคูณ เช่นเดียวกับความสนใจของ “อาชญากรไซเบอร์” ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้ เช่น ความเสียหายต่อโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกด้านพลังงาน ระบบเมืองอัจฉริยะ   Key Points :   – “ยูจีน แคสเปอร์สกี้” ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ แคสเปอร์สกี้ ยักษ์ใหญ่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์สัญชาติรัสเซีย เยือนไทย หนุน “Cyber Immunity” หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ สกัดภัยคุกคามออนไลน์   -ภัยคุกคาม เป้าโจมตี ภาคไอที โทรคมนาคม สุขภาพ บริการทางการเงิน โรงงานอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   -ปี 2022 พบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน เพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122 ล้านไฟล์   อุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยข้อมูล กำลังสร้างเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น…

ติ๊กต๊อก : ทำไมโลกตะวันตกมองว่าบริษัทไอทีจีนเป็นภัยต่อความมั่นคง

Loading

    สภาคองเกรสของสหรัฐฯ เพิ่งเสร็จสิ้นการไต่สวนอย่างเคร่งเครียดกับนายโชว ซื่อ ชิว ซีอีโอของติ๊กต๊อก (Tik Tok) แอปพลิเคชันดูวิดีโอยอดนิยม หลังเกิดความระแวงสงสัยเรื่องความปลอดภัยของสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มนี้ ซึ่งหลายประเทศกังวลว่าติ๊กต๊อกอาจมีสายสัมพันธ์ลับกับรัฐบาลจีน   ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯขู่ว่า หากติ๊กต๊อกไม่ยอมขายกิจการในสหรัฐฯ ให้กับทางการ หรือยังคงยืนกรานจะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัทแม่ที่จีนต่อไป รัฐบาลสหรัฐฯ จะออกคำสั่งแบนติ๊กต๊อก โดยห้ามชาวอเมริกันใช้งานแอปพลิเคชันนี้อย่างเด็ดขาด   ชาติตะวันตกหลายประเทศได้ดำเนินมาตรการสกัดกั้นบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน โดยนอกจากติ๊กต๊อกแล้วยังมีแอปพลิเคชันและสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจีนถูกสั่งแบนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเกรงว่าการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้ความลับสำคัญรั่วไหล จนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ   มีมาตรการอะไรบ้างที่จำกัดการใช้งานติ๊กต๊อก   ติ๊กต๊อกเป็นสื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและเผยแพร่คลิปวิดีโอสั้น ๆ โดยบริษัทแม่ของติ๊กต๊อกคือ “ไบต์แดนซ์” (ByteDance) บริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน   ติ๊กต๊อกเริ่มดำเนินกิจการในปี 2016 และได้กลายมาเป็นหนึ่งในสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมสามอันดับแรกของโลก โดยมีผู้ใช้งานถึงกว่า 1,000 ล้านคนต่อเดือน   อย่างไรก็ตาม ชาติตะวันตกและพันธมิตรหลายประเทศได้เริ่มจำกัดการใช้งานติ๊กต๊อกเมื่อไม่นานมานี้ โดยแคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ไต้หวัน สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ออกคำสั่งให้ลบแอปพลิเคชันดังกล่าวออกจากสมาร์ทโฟนของหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ…

กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร ทำไมรัสเซียขู่ตอบโต้หากส่งให้ยูเครน?

Loading

  รัฐบาลของสหราชอาณาจักรประกาศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พวกเขาจะส่งกระสุนปืนเจาะเกราะที่มีส่วนผสมของ แร่ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ ไปให้ยูเครนเพื่อใช้รับการรุกรานจากรัสเซีย ทำให้ฝ่ายรัสเซียออกมาแสดงความต่อต้านทันที โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศจะตอบโต้หากเรื่องนี้เกิดขึ้น   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และอาวุธนิวเคลียร์ มันยังปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา แม้จะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดข้อถกเถียงมาตลอดว่า อาวุธชนิดนี้มีอันตรายมากเกินไปหรือไม่   ประเทศอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ชื่อว่า กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นเครื่องมือที่ดีในการทำลายรถถังในปัจจุบัน โดยที่อังกฤษระบุในคู่มือการใช้ของพวกเขาว่า การสูดดมฝุ่นยูเรเนียมเข้าไปในปริมาณมากเกิดการบาดเจ็บเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก สวนทางกับรัสเซียที่บอกว่า กระสุนนี้เป็นอันตรายต่อทั้งคนและสิ่งแวดล้อม   ด้านนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกระบุว่า ในกรณีทั่วไป แร่ชนิดนี้มีความเสี่ยงต่ำมาก เว้นแต่เกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่มียูเรเนียมเสื่อมสภาพมาอยู่รวมกันมากๆ ก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้     ยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร?   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ (depleted uranium) คือผลพลอยได้ที่เหลือจากกระบวนการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมสำหรับใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรืออาวุธนิวเคลียร์ แม้จะเสื่อมสภาพแล้ว ยูเรเนียมประเภทนี้ยังคงเป็นสารกัมมันตรังสี แต่มีไอโซโทป U-235 กับ U-234 ต่ำกว่าในแร่ยูเรเนียมที่พบตามธรรมชาติมาก ลดการปล่อยกัมมันตภาพรังสีของมัน และไม่สามารถทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ใดๆ ได้   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพถูกนำไปใช้ในอาวุธเพราะคุณสมบัติความหนาแน่นสูงของมัน ทำให้มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่วที่มีขนาดเท่ากัน เมื่อนำมาทำหัวกระสุนจึงมีความต้านทานของอากาศน้อยกว่าเวลายิงออกไป และสามารถทะลวงเข้าไปในวัสดุได้ดีเนื่องจากจุดที่ตกกระทบมีแรงกดดันสูงกว่า…

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Documents Digital Platform Services : DPS       ความเป็นมา ปัจจุบันมีการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ซึ่งมีลักษณะเป็นสื่อกลางทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนตอบสนองรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยมีการให้บริการที่หลากหลายประเภทธุรกิจ เช่น บริการด้านการเงิน การขายสินค้าออนไลน์ การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงเห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นให้เป็นไปอย่างหมาะสม มีความโปร่งใสและเป็นธรรม   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ผลักดันการจัดทำ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ เสริมสร้างความน่าเชื่อถือและยอมรับในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเพื่อป้องกัน ความเสียหายแก่สาธารณชนหรือประชาชนที่ใช้บริการ ให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และต่อมาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ…

ธุรกิจบริการ Digital ID

Loading

    มาทำความรู้จัก Digital ID กันเถอะ   Digital Identity (ดิจิทัลไอดี) คือ อัตลักษณ์ (identity) ที่ถูกรวบรวมและบันทึกในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งใช้บ่งบอกหรือจำแนกบุคคลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยอัตลักษณ์ (identity) จะหมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคลซึ่งสามารถบ่งบอกหรือจำแนกได้โดยคุณลักษณะหรือชุดของคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลนั้น   ตัวอย่างคุณลักษณะ (attribute) ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดา เช่น เลขประจำตัว ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ ภาพใบหน้า อีเมล หรือข้อมูลระบุอุปกรณ์ที่บุคคลใช้งาน เป็นต้น ส่วนตัวอย่างคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล ชื่อนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ชื่อกรรมการของนิติบุคคล เป็นต้น       การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล   การพิสูจน์ตัวตน (identity proofing)  เป็นกระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Provider: IdP) รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ และตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับอัตลักษณ์นั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าอัตลักษณ์ที่กล่าวอ้างเป็นอัตลักษณ์ของบุคคลนั้นจริง…