เงื่อนไขการใช้สิทธิและการบริหารจัดการสิทธิตาม PDPA

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA กำหนดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิหลาย ๆ ประการที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 30-36   ได้แก่ สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนา (Access) สิทธิขอให้โอนข้อมูล (Portability) สิทธิคัดค้าน (Object) สิทธิขอให้ลบ (Erasure) สิทธิขอให้ระงับการใช้ (Restriction) และสิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล (Rectification)   กฎหมายได้กำหนดเป็นหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีหน้าที่ดำเนินการตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วย (Responding to Data Subject Requests: DSRs)   สิทธิทั้ง 6 ประการดังกล่าวมีเงื่อนไขและขอบเขตการใช้บังคับหรือการดำเนินการตาม DSRs ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการใช้สิทธิแต่ละประเภท และฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (lawful basis) กับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล   European Data Protection Board (EDPB) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับการบังคับใช้ GDPR…

สังคมโลก : ไม่มีวี่แวว

Loading

    นับตั้งแต่การสู้รบในซูดานปะทุขึ้นอย่างฉับพลัน เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา กรุงคาร์ทูมในอีก 1 เดือนต่อมา คือพื้นที่สงครามอันอ้างว้าง ซึ่งยังมีหลายครอบครัวที่หวาดกลัวหลบอยู่ในบ้านของพวกเขา ท่ามกลางเสียงปืนที่ดังสนั่นบนท้องถนนด้านนอกที่รกร้างและเต็มไปด้วยฝุ่น   ทั่วกรุงคาร์ทูม ผู้รอดชีวิตต่างหลบภัยในบ้านที่เสริมการป้องกัน โดยหวังว่าพวกเขาจะไม่โดนลูกหลง และอดทนต่อการขาดแคลนอาหารและสิ่งของพื้นฐานที่สิ้นหวัง เช่นเดียวกับการเผชิญปัญหาไฟฟ้าดับ, การขาดเงินสด, การสื่อสารที่ขาดหาย และภาวะเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้   ขณะที่ทหารสองฝ่ายกำลังต่อสู้กัน บรรดาเจ้าหน้าที่รัฐที่เหลืออยู่ต่างถอยร่น ไปปักหลักที่เมืองพอร์ตซูดาน ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงคาร์ทูมประมาณ 850 กิโลเมตร และเป็นศูนย์กลางสำหรับผู้อพยพจำนวนมาก ทั้งชาวซูดานและพลเมืองชาวต่างชาติ     ซูดานมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับการรัฐประหารมาอย่างยาวนาน แต่ความหวังของประเทศเพิ่มขึ้นหลังเกิดการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาเชียร์ เมื่อปี 2562 แม้มีรัฐบาลพลเรือนในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่เป็นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารครั้งล่าสุด ในปี 2564   สำหรับชนวนเหตุของสงครามกลางเมืองในซูดานครั้งนี้ เป็นผลจากความตึงเครียดเกี่ยวกับการผนวกรวมกองกำลังเพื่อจัดตั้งกองทัพแห่งชาติ โดย พล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของซูดาน ซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำประเทศคนปัจจุบัน และ พล.อ.โมฮาเหม็ด…

Digital Footprint คืออะไร ทำไมคนรุ่นใหม่ต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์โซเชียล

Loading

    ดิจิทัลฟุตพริ้นท์ คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดความประพฤติของบุคคลที่กระทำบนโลกอินเทอร์เน็ต และผู้ใหญ่หลายคนถึงกับเตือนว่า “สิ่งที่เคยกระทำในอดีตจะส่งผลถึงปัจจุบัน” ดังนั้น คิดก่อนโพสต์   Digital Footprint (ดิจิทัลฟุตพริ้นท์) หรือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่จะเก็บประวัติทางพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการกรอกข้อมูลใส่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ การแชร์หรือแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถค้นหาได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างก็ค้นเจอบนโลกดิจิทัลแล้ว   นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องกังวลก็คือ ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน วัยทำงาน หรือเจ้าของกิจการก็ต้องรอบคอบเรื่องการโพสต์ข้อความใดๆ ก็ตามบนโซเชียลมีเดีย   มีข้อมูลจาก CareerBuilder ระบุว่า เรื่องดิจิทัลฟุตพริ้นท์เป็นหนึ่งในเหตุผลที่องค์กรจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพนักงานใหม่ในการเข้าทำงาน หากพนักงานคนนั้นมีพฤติกรรมการโพสต์ภาพ วิดีโอหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด เหยียดเพศ บูลลี่หรือแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองแบบรุนแรง เหยียดศาสนา เป็นต้น     เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่มีองค์กรกว่า 41.19% ให้ความเห็นพ้องตรงกับผลวิจัยว่า นำการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มาใช้ประกอบในการพิจารณาคุณสมบัติในการรับเข้าทำงาน  …

ถอดบทเรียนยูเครน จีนเล็งเสริมขีดความสามารถทำสงครามนอกแบบ

Loading

    นายพลจีนถอดบทเรียนวิกฤติยูเครน เรียกร้องหลอมรวมขีดความสามารถสมัยใหม่อย่างเอไอ เข้ากับยุทธวิธีสงครามตามแบบก่อนเผชิญหน้าตะวันตก   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน นายพลหวัง ไฮ่เจียง ผู้บัญชาการภาคตะวันตก กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (PLA) เขียนบทความพิเศษลงหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ทางการ Study Times ฉบับวันจันทร์ (15 พ.ค.) การทำสงครามลูกผสมรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในความขัดแย้งยูเครน มีการผสมผสานทั้ง “สงครามการเมือง สงครามการเงิน สงครามเทคโนโลยี สงครามไซเบอร์ และสงครามการรับรู้”   ในปัจจุบันและอนาคต ความขัดแย้งในท้องถิ่นและความวุ่นวายจะเกิดขึ้นบ่อย ปัญหาระดับโลกรุนแรง โลกเข้าสู่ความวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลงช่วงใหม่ เหตุการณ์แบบหงส์ดำ (เกิดขึ้นได้ยากมาก) และแรดสีเทา (สถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง แต่ผู้เกี่ยวข้องแยกแยะไม่ออก) อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยเฉพาะด้วยการสกัดกั้น โอบล้อม ตัดขาด กดขี่ และภัยคุกคามจากชาติตะวันตกบางชาติ”   รอยเตอร์ระบุว่า ในนามของความมั่นคงแห่งชาติและเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่รับรู้ได้จากตะวันตก ความพยายามเตรียมตัวรับมือความท้าทายด้านความมั่นคงของจีนไม่ได้ลดน้อยลง แม้เศรษฐกิจชะลอตัวและโควิด-19 ระบาด ปีนี้ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมส่อเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ซึ่งขนาดและขอบเขตการเตรียมการของกองทัพจีนไม่ได้มีแค่ตะวันตกที่จับตา แต่เพื่อนบ้านรวมถึงไต้หวันที่จีนอ้างว่าเป็นของตนก็จับตาอย่างใกล้ชิดด้วย   แต่แม้ทุ่มเทงบประมาณลงไปหลายแสนล้านดอลลาร์แต่กองทัพจีนไม่ได้ทำสงครามมานานมาก…

เปิดสถิติภัยคุกคามแบบออฟไลน์ ปี 65 พบธุรกิจในอาเซียนถูกโจมตี 50 ล้านครั้ง

Loading

    แคสเปอร์สกี้สกัดเหตุโจมตีธุรกิจในอาเซียนเกือบ 50 ล้านครั้งในปี 2565 เป็นโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งพบโดยตรงในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และอุปกรณ์แบบถอดได้ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ พบไทยถูกโจมตีเป็นอันดับ 3   ข้อมูลล่าสุดจากแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก แสดงให้เห็นว่าภัยคุกคามทั่วไป (local threat) ที่จ้องโจมตีธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด 49,042,966 ครั้ง ถูกบล็อกโดยโซลูชันสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ในปีที่ผ่านมา   ภัยคุกคามประเภทนี้แพร่หลายมากขึ้นโจมตีธุรกิจต่างๆ มากที่สุดในอินโดนีเซีย (19,614,418 ครั้ง) เวียดนาม (17,834,312 ครั้ง) และไทย (5,838,460 ครั้ง) ตามด้วยฟิลิปปินส์ (3,841,548 ครั้ง) และสิงคโปร์ (328,844 ครั้ง)     สถิติเหล่านี้เป็นตัวเลขภัยคุกคามทั่วไป เป็นโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งพบโดยตรงในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และอุปกรณ์แบบถอดได้ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ (แฟลชไดรฟ์ การ์ดหน่วยความจำของกล้อง โทรศัพท์ ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก) รวมถึงโปรแกรมที่เข้าสู่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่แรกในรูปแบบที่ไม่ได้เปิดใช้งาน (เช่น โปรแกรมในโปรแกรมติดตั้งที่ซับซ้อน ไฟล์ที่เข้ารหัส เป็นต้น)   แม้ว่าจำนวนภัยคุกคามทั่วไปที่พุ่งเป้าโจมตีธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสูงกว่าจำนวนการโจมตีทางออนไลน์ที่แคสเปอร์สกี้ตรวจสอบและบล็อกไปในปีที่แล้ว แต่ก็ยังพบว่า…

วิเคราะห์ความปลอดภัยสำหรับฮิโรชิมาเมืองเจ้าภาพจัดประชุม G7

Loading

    เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางมาของผู้นำและบุคคลสำคัญระดับโลกในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ชาติหรือ G7 ในเดือนพฤษภาคม ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้มาเยือนรวมถึงผู้คนในท้องถิ่น อาริมะ มาโมรุจาก NHK World พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความเสี่ยงได้ไปสำรวจดูว่า มีมาตรการด้านความปลอดภัยอะไรบ้าง   อิตาบาชิ อิซาโอะ หัวหน้านักวิเคราะห์จากสภานโยบายสาธารณะแห่งประเทศญี่ปุ่น ศึกษาการต่อต้านการก่อการร้ายและการจัดการวิกฤต เขาให้คำแนะนำแก่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและองค์กรเอกชน และเคยมีส่วนร่วมในงานขนาดใหญ่ รวมถึงการประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ที่อิเสะ-ชิมะเมื่อปี 2559 และโตเกียวโอลิมปิก   การประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 19-21 พฤษภาคมที่โรงแรม Grand Prince ฮิโรชิมาซึ่งเป็นจุดเริ่มของการสำรวจ   สถานที่ประชุมตั้งอยู่บนเกาะ เช่นเดียวกับการประชุมสุดยอดที่อิเสะ-ชิมะ อิตาบาชิกล่าวว่า นั่นเป็นข้อได้เปรียบด้านความปลอดภัย เนื่องจากการเป็นเกาะทำให้มีทางเข้าจำกัด   ลาดตระเวนริมทะเล   อิตาบาชิกล่าวว่า การรักษาความปลอดภัยทางทะเลมีความสำคัญมากกว่าตอนที่จัดที่อิเสะ-ชิมะ เนื่องจากสถานที่ประชุมอยู่ใกล้ทะเลเปิดมากกว่า   อิตาบาชิอธิบายว่า “หน่วยตำรวจน้ำจะใช้เจ็ตสกีลาดตระเวนในพื้นที่ประชิดกับที่ประชุม และหน่วยยามฝั่งของญี่ปุ่นจะป้องกันพื้นที่รอบนอก”   พื้นที่ที่เป็นภูเขา   ภูมิประเทศของอูจินาจิมะซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งของสถานที่ประชุมยังได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ…