ชวนดูกฎคุมปาปารัสซี จากเหตุไล่กวดถ่ายภาพเจ้าชายแฮร์รี-เมแกน

Loading

    เจ้าชายแฮร์รีและเมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ ทรงถูกช่างภาพไล่ตามในนครนิวยอร์กเมื่อวันอังคาร โดยโฆษกของเจ้าชายกล่าวว่า เหตุดังกล่าวเป็น “เหตุขับรถไล่กวดขั้นเกือบหายนะ” ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างผู้มีชื่อเสียงและบรรดาช่างภาพ   อย่างไรก็ตาม ตำรวจในนครนิวยอร์กกล่าวว่าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาค่อนข้างสั้น ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ไม่มีเหตุรถชน และไม่มีการจับกุมผู้ใด   แม้รายละเอียดของเหตุไล่ตามถ่ายภาพครั้งนี้จะยังคลุมเครือ แต่ก็ได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศ และทำให้ผู้คนนึกถึงอุบัติเหตุรถชนที่คร่าชีวิตเจ้าหญิงไดอานา พระมารดาของเจ้าชายแฮร์รี หลังทรงถูกช่างภาพปาปารัสซีขับรถไล่ตามเมื่อปี 1997   ทั้งนี้ เจ้าชายแฮร์รี ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์รองในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และเมแกน พระชายา เคยตรัสว่า การถูกสื่อรุกล้ำเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทั้งสองทรงยุติการปฏิบัติพระกรณียกิจในฐานะราชวงศ์อังกฤษ และทรงย้ายมาประทับที่รัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2020   เมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 เจ้าชายและเมแกนยังทรงยื่นฟ้องช่างภาพปาปารัสซีที่ไม่เปิดเผยชื่อรายหนึ่ง โดยทั้งสองทรงกล่าวหาว่า เขาใช้โดรนและเฮลิคอปเตอร์ถ่ายภาพเจ้าชายอาร์ชี พระโอรสวัย 14 เดือน “อย่างผิดกฎหมาย” ที่บ้านพักส่วนพระองค์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่ทั้งสองจะทรงตกลงกับบริษัทภาพ X17 ได้ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน   รอยเตอร์สรุปกฎการถ่ายภาพผู้มีชื่อเสียงที่แตกต่างกันในอังกฤษและในสหรัฐฯ     อังกฤษ   ช่างภาพสามารถถ่ายภาพในสถานที่สาธารณะได้ทุกที่ รวมถึงภาพของผู้คนในที่สาธารณะ…

ติดฉลาก ‘National Cybersecurity’ บนอุปกรณ์ ‘ไอโอที’

Loading

    ณ ขณะนี้ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยว่า กระแสการป้องกันและรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   อย่างในสหรัฐหน่วยงานกำกับดูแลการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์เริ่มมีความพยายามในการกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น   องค์การอาหารและยา (FDA) ได้บังคับใช้ข้อกำหนดทางไซเบอร์สำหรับผู้ผลิต และเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มผู้นำในอุตสาหกรรมทางไซเบอร์ได้กล่าวเป็นนัยในการประชุม RSA เมื่อช่วงปลาย เม.ย. ที่ผ่านมาว่า จะมีประกาศจากทำเนียบขาวเกี่ยวกับแผนการพัฒนาโครงการติดฉลากความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ค.   แต่ที่น่าสนใจคือ จะมีการรวมกันของ OT และ IoT พร้อมกับการรักษาความปลอดภัยทั้งทางกายภาพและทางไซเบอร์ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องของมาตรฐานแต่เป็นข้อบังคับอีกด้วย   นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่เร่งด่วนในการสร้างและยกระดับวัฒนธรรมพื้นฐานในการออกแบบความปลอดภัยและความโปร่งใสของกระบวนการทำงาน เช่น กระบวนการสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพ   ฝ่ายบริหารของไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐได้ประกาศเป็นครั้งแรกถึงแผนการทำงานร่วมกับภาคเอกชน หน่วยงาน รัฐบาลกลางและสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการติดฉลากความปลอดภัยทางไซเบอร์บนอุปกรณ์ IoT   โดยระบุว่าแผนนี้มีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้อย่างแพร่หลายและการเติบโตของตลาดเพิ่มสูงขึ้น   โปรแกรมการติดฉลากนี้จึงช่วยทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีความปลอดภัยและเป็นการจูงใจให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์   โดยล่าสุดสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ได้นำร่องการติดฉลากผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ บนอุปกรณ์ IoT โดยทีมงาน NIST ได้เริ่มจากการปรับแต่งเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับความเสี่ยงเฉพาะและทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม  …

รู้ทันภัย Phishing ปลอดภัยได้แค่ไม่ด่วนเชื่อและกด link ซี้ซั้ว

Loading

    แม้ว่าจะมีข่าวที่ประกาศเตือนภัยมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ทุกวัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข่าวของคนที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพอยู่ทุกวันเช่นเดียวกัน มูลค่าความเสียหายก็มีตั้งแต่ไม่กี่บาท (มักไม่เป็นข่าว แต่เริ่มมีการเตือนกันเองในหมู่คนรู้จัก) ไปจนถึงหลักล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบก็เริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมากขึ้น มาตรการแบบวัวหายแล้วล้อมคอก เพราะขยับตัวออกเดินตามหลังมิจฉาชีพอยู่หลายก้าว เรียกได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางการเงินของภาครัฐที่ทำงานไม่ทันโจรเท่าไรนัก   อย่างไรก็ตาม มาตรการการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งจะมีการออกมาตรการที่ชัดเจนเมื่อไม่นานที่ผ่านมาก็ค่อนข้างที่จะมีช่องโหว่อยู่พอสมควร อย่างเช่นมาตรการการให้ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตนด้วย biometrics ในกรณีที่ลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน mobile banking ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อย่างการโอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ตรงจุดนี้ สำหรับคนหาเช้ากินค่ำที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพ จำนวนเงินที่ถูกโอนออกไปจากบัญชีอาจไม่มากถึง 50,000 บาท แต่มันก็เป็นเงินที่พวกเขาหามาอย่างยากลำบากและต้องเก็บไว้ใช้ดำรงชีพเหมือนกัน และมันอาจเป็นเงินสุทธิทั้งหมดที่พวกเขามีด้วย   นั่นหมายความว่าหากเหยื่อมีเงินในบัญชีไม่ถึง 50,000 บาท แล้วถูกมิจฉาชีพในกลโกงต่าง ๆ โอนเงินจำนวนนั้นออกไปทั้งหมด พวกเขาก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงมาตรการการยืนยันตัวตนก่อนที่เงินจะถูกโอนออกไป เพราะจำนวนเงินมันไม่ได้มากถึง 50,000 บาท ซึ่งเงินไม่ถึง 50,000 บาทที่โดนโกงไปนั้น มันก็ทำให้พวกเขาหมดตัวได้เช่นกัน…

การ์ทเนอร์เปิดผลสำรวจ ‘เทคคอมพานี’ บนภาวะวิกฤติ ขาดแคลน ‘คนไอที’

Loading

  หลังจากการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทำให้ผู้นำธุรกิจและเทคโนโลยีต่างสรุปว่า “ภาวะขาดแคลนบุคลากรไอทีที่มีทักษะสูง หรือ Tech Talent Crunch” นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่ปรากฏอาจเป็นเพียงภาพลวงตา   ผลวิจัยล่าสุดของ การ์ทเนอร์ พบว่า 86% ของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIOs) บอกว่า พวกเขากำลังเผชิญกับการชิงตัวบุคลากรที่มีคุณสมบัติอย่างที่ต้องการ และอีก 73% มีความกังวลกับประสิทธิภาพของบุคลากรไอทีที่ลดลง   เอ็มบูล่า เชิร์น ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ วิเคราะห์ว่า ปัญหาขาดแคลน Tech Talent ยังมีอยู่ต่อไป วิกฤติการขาดแคลนบุคลากรไอทีจะยังไม่จบสิ้นในวันนี้   เนื่องจากปัจจุบันยังมีอุปสงค์แรงงานด้านนี้มากกว่าอุปทานที่มีอยู่ในตลาดเป็นอย่างมาก การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบลากยาวไปถึงปี 2569 เป็นอย่างน้อย สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายด้านไอทีตามที่คาดการณ์   ‘งานสายไอที’ โอกาสยังคงเปิดกว้าง   การ์ทเนอร์ระบุว่า พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเลิกจ้างจำนวนมากนั้นอยู่ในสายงานธุรกิจไม่ใช่สายเทคโนโลยีและงานด้านไอทียังมีโอกาสอยู่อีกมากไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริษัทในสายเทคโนโลยี   จากการสำรวจพบว่า การปรับลดแรงงานจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ พยายามปรับให้ราคาหุ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพื่อลดค่าใช้จ่ายตามโจทย์ของผู้ถือหุ้น   ผลวิจัยการ์ทเนอร์พบด้วยว่า บริษัทที่อยู่เบื้องหลังการเลิกจ้างพนักงานที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่สุด…

เมื่อ “กูเกิล” ประกาศ “ลบ” บัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 ปี ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่ถูกลบ

Loading

  เมื่อ ‘กูเกิล’ ประกาศ ‘ลบ’ บัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 ปี ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่ถูกลบ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า “กูเกิล” บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของโลก ประกาศเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมว่า กูเกิล จะเริ่มการลบบัญชีที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมาอย่างน้อย 2 ปีทิ้ง โดยระบุว่า เป้าหมายเพื่อป้องกันเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ไม่ว่าเป็น จีเมล์ ดอกส์ ไดรฟ์ มีท คาเลนดาร์ ยูทูป และกูเกิล โฟโต้   โดยนโยบายดังกล่าวจะเริ่มมีผลในทันที แต่ทางกูเกิลระบุว่า จะยังไม่เริ่มการลบบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหว จนกว่าจะถึงเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งทางกูเกิลมีแผนที่จะส่งคำเตือนไปยังผู้ใช้งานต่าง ๆ และติดต่อไปยังบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นระยะ ๆ   ทั้งนี้ กูเกิลระบุว่า บัญชีแรก ๆ ที่จะถูกยกเลิก คือบัญชีที่ถูกสร้างขึ้น แล้วไม่เคยเข้ามาใช้งานเลย ซึ่งนโยบายนี้จะมีผลกับบัญชีส่วนบุคคลเท่านั้น ส่วนบัญชีขององค์กรต่าง ๆ อย่างโรงเรียน หรือภาคธุรกิจต่าง ๆ จะไม่มีผลแต่อย่างใด…

สังคมโลก : บัญญัติ 2630

Loading

    “บัญญัติ 2630” คือ กฎหมายฉบับใหม่ของบราซิล ซึ่งบรรดานักวิจารณ์เรียกว่าเป็น “กฎหมายการเซ็นเซอร์” ส่วนผู้เสนอยกย่องว่า มันเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกัน “ข่าวสารอันเป็นเท็จ” และพฤติกรรมสุดโต่งบนโลกออนไลน์ \ กฎหมายดังกล่าวได้รับการเสนอ เมื่อปี 2563 เพื่อจัดการกับข้อมูลเท็จทางออนไลน์จำนวนมาก โดยกฎหมายผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร   อย่างไรก็ตาม กฎหมายกลับมาป็นจุดสนใจอีกครั้ง หลังมวลชนฝ่ายสนับสนุน นายฌาอีร์ โบลโซนารู อดีตประธานาธิบดีฝ่ายขวาจัด ก่อการจลาจลในกรุงบราซิเลีย เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งพวกเขาถูกยุยงปลุกปั่นด้วยข้อมูลบิดเบือนบนสื่อสังคมออนไลน์ที่กล่าวอ้างว่า ประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ผู้นำบราซิลคนปัจจุบัน ฉ้อโกงการเลือกตั้งในปี 2565   แม้รัฐบาลฝ่ายซ้ายของลูลา และกลุ่มประชาสังคมหลายกลุ่ม สนับสนุนกฎหมายฉบับใหม่นี้ แต่บริษัทเทคโนโลยี, สมาชิกสภานิติบัญญัติซึ่งเป็นชาวคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ และกลุ่มผู้สนับสนุนโบลโซนารู แสดงท่าทีคัดค้าน โดยกล่าวว่า กฎหมายใหม่จะสร้าง “กระทรวงความจริง” เพื่อปิดกั้นความคิดเห็นของประชาชน   มาตรการข้างต้น กลายเป็นประเด็นใหญ่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลและศาลของบราซิล…