มข. ผลิตหลักสูตรเพิ่มแรงงานรับมือ ความปลอดภัยโลกไซเบอร์

Loading

    ม.ขอนแก่น ผนึก ฟอร์ทิเนท พัฒนาหลักสูตรที่มีความทันสมัยตอบโจทย์กระแสโลก ผลิตแรงงาน รับมือความท้าทาย ด้านความมั่นคงปลอดภัยโลกไซเบอร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัท ฟอร์ทิเนท ซีเคียวริตี้ เน็ทเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด จัดพิธีลงนามความร่วมมือ ( MOU ) ระหว่างรองศาสตราจารย์สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ และคุณภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ทิเนท โดยมีรองศาสตราจารย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานและกล่าวต้อนรับ ณ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ อาคารวิทยวิภาส มหาวิทยาลัยขอนแก่น   หลักสูตรการศึกษา กับทรัพยากรบุคคลด้านไซเบอร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำยุทธศาสตร์ระดับชาติ และแนวโน้มกระแสคลื่นด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่สำคัญ โดยเฉพาะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มาเป็นกรอบแนวคิดและจัดทำยุทธศาสตร์ และมอบหมายนโยบายสำคัญ ให้วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ (College of Computing) ได้มีการพัฒนาหลักสูตรที่มีความทันสมัยตอบโจทย์กระแสโลกด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์   รองศาสตราจารย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น…

อยู่ไหนกันบ้าง? สำรวจฐานทัพสหรัฐทั่วโลก

Loading

    การเมืองไทยหลังเลือกตั้งยังไม่ลงตัว แต่คนไทยบางกลุ่มกังวลไปถึงความสัมพันธ์กับมหาอำนาจสหรัฐ กลัวว่าจะถูกแทรกแซงโดยเฉพาะประเด็นการตั้งฐานทัพ กรุงเทพธุรกิจชวนสำรวจฐานทัพสหรัฐทั่วโลกว่าอยู่ที่ไหนกันบ้าง   เว็บไซต์ thesoldiersproject.org รายงานว่า สหรัฐเป็นหนึ่งในประเทศท็อปไฟว์ ที่มีกองทัพใหญ่สุดและอาวุธดีสุดของโลก จึงไม่ต้องแปลกใจที่สหรัฐมีฐานทัพมากมายในต่างประเทศ ราว 750 แห่งใน 80 ประเทศ รองลงมาคือสหราชอาณาจักรแต่มีเพียง 145 แห่งเท่านั้น ตามด้วยรัสเซียราว 36 แห่ง ส่วนจีนมีเพียง 5 แห่ง นั่นเท่ากับว่า สหรัฐมีฐานทัพมากกว่าอีกสามประเทศรวมกันถึงสามเท่า ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้     หน่วยบัญชาการรบ (ขึ้นตรงกับสำนักงานใหญ่เพนตากอน)   สหรัฐมีหน่วยบัญชาการรบ 11 แห่ง ได้แก่   – หน่วยบัญชาการแอฟริกา คุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์สหรัฐในประเทศแอฟริกา   – หน่วยบัญชาการกลาง เน้นตะวันออกกลาง   – หน่วยบัญชาการไซเบอร์   – หน่วยบัญชาการยุโรป เน้นยุโรป ยูเรเชีย…

สกมช. ร่วมกับ โคลสเตอร์สติลมีเดียร์ นำ 500 ผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งจากประเทศไทยและเอเชีย-แปซิฟิค ร่วมเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกผ่าน Smart Cybersecurity Summit Thailand

Loading

    สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมมือกับ โคลสเตอร์สติลมีเดียร์ และ เอ็กซโปซิส เปิดสุดยอดการประชุมและนิทรรศการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ “Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023” ที่รวบรวมเหล่าผู้นำและผู้ใช้งานจริงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งจากภาครัฐและเอกชนกว่า 500 ท่าน พร้อมด้วยบริษัทชั้นแนวหน้าในอุตสาหกรรมกว่า 30 บริษัทจากทั้งประเทศไทยและทั่วภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ที่มาอัปเดตข่าวสารล่าสุด รวมไปถึงเทรนด์ในอุตสาหกรรม พร้อมกับข้อมูลเชิงลึก ความรู้ประสบการณ์ กรณีศึกษา และแนวทางในการจัดการกับเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่ผ่านมา   จากสถิติพบว่าในประเทศไทย มีภัยคุกคามจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ประเทศไทยประสบกับการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จาก 135 เหตุการณ์ในปี 2564 เป็นมากกว่า 772 ครั้งในปี 2565 การโจมตีทางไซเบอร์ 44,144 ครั้ง เป็นจำนวนที่น่าตกใจอย่างยิ่ง และเชื่อมโยงกับการทำงานจากระยะไกล และเกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาเพียงสี่เดือนของปีที่แล้ว การโจมตีเหล่านี้สร้างความเสียหายหลายพันล้านบาทในแต่ละปี และไม่มีอุตสาหกรรมใดที่ปลอดภัย เนื่องจากภาคการศึกษา หน่วยงานรัฐบาล…

มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีโรงพยาบาล: ไซเบอร์ฆ่าคนได้จริง

Loading

    คืนวันที่ 11 กันยายน ของปี 2020 คงเป็นหนึ่งในค่ำคืนอันโศกเศร้ามากที่สุดของครอบครัวของผู้ป่วยวัย 78 ปีรายหนึ่ง ซึ่งป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่ต้องมาจบชีวิตลง เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟได้ เพราะระบบขัดข้องจากการมัลแวร์เรียกค่าไถ่     หญิงสูงวัยผู้นี้ต้องไปจบชีวิตบนรถพยาบาลระหว่างเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในเมืองวุพเพอร์ทาลที่อยู่ไกลออกไปกว่า 30 กิโลเมตร ทำให้การรักษาล่าช้าไปเป็นชั่วโมง   หากไม่มีแฮกเกอร์หิวเงินที่ปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าสู่ระบบโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟ ผู้ป่วยรายนี้ก็คงได้รับการรักษาจนกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวได้อีกครั้ง   แฮกโรงพยาบาลกระทบถึงชีวิตคนไข้   ระบบการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งหันมาพึ่งพาระบบไอทีเพิ่มมากขึ้น ทั้งระบบคลาวด์ เครือข่ายฐานข้อมูลภายใน ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับการทำงาน ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ารับการรักษาให้มากขึ้น   แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ โดยเฉพาะมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่ไม่เฉพาะแต่สร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังสร้างความสูญเสียให้เกิดกับคนไข้ที่มารับการรักษาด้วย   เนื่องจากการโจมตีแต่ละครั้งทำให้โรงพยาบาลต้องหันกลับใช้ระบบการทำงานด้วยมือ กระดาษ และปากกา ทำให้ระบบการทำงานช้าลง และแบกรับภาระคนไข้ไม่ได้เท่าที่เคย   ในกรณีโศกนาฎกรรมที่ดึสเซิลดอร์ฟ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำให้โรงพยาบาลรับคนไข้ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งจากที่เคยรับได้ถึงวันละมากกว่า 1,000 คน และยังไม่สามารถรับคนไข้ใหม่ได้อีกด้วย   บางโรงพยาบาลอย่างในฝรั่งเศส แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นต้องส่งคนไข้ที่อยู่ในการดูแลไปโรงพยาบาลอื่น ๆ…

‘การ์ทเนอร์’ เปิด 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ เขย่าลงทุนไอที ‘ภาครัฐ’

Loading

    การ์ทเนอร์ เผย 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ที่มีความสำคัญต่อกิจการภาครัฐปี 2566 แนวทางที่ผู้นำองค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (Post-Digital Government)   อาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ เปิดมุมมองถึง ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ว่า ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น   แต่ยังให้โอกาสสำคัญสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไป   พิทักษ์ ‘ซิเคียวริตี้’ องค์กร   สำหรับเทคโนโลยีที่ ซีไอโอ ภาครัฐควรพิจารณาและนำมาปรับใช้ เพื่อปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำ และสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น ประกอบด้วย     Adaptive Security : การ์ทเนอร์คาดว่า ปี 2568 ราว 75% ของซีไอโอในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัย โดยจะมีทั้งเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ เทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร   รวมไปถึงการผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…

‘Royal ransomware’ โจมตีระบบไอทีเมืองแดลลัส

Loading

  ในวันนี้ ผมขอหยิบยกข่าวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐเกี่ยวกับกรณีที่เมืองแดลลัส (Dallas) รัฐเท็กซัส ถูกโจมตีจาก “Royal ransomware” ทำให้ต้องปิดระบบไอทีบางส่วนชั่วคราวเพื่อเป็นการสกัดการแพร่กระจายของการโจมตีในครั้งนี้   อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า เมืองแดลลัส เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของสหรัฐ มีประชากรประมาณ 2.6 ล้านคน ซึ่งจุดนี้เองน่าจะเป็นสาเหตุที่ให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลือกเมืองแดลลัสเป็นเป้าหมายในการโจมตี   โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่า ระบบการสื่อสารของตำรวจและระบบไอทีของเมืองถูกชัดดาวน์ เนื่องจากมีความสงสัยว่ามีการบุกโจมตีของแรนซัมแวร์   จากสถานการณ์นี้มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ของ 911 ต้องจดบันทึกรายงานเหตุต่าง ๆ ที่ประชาชนแจ้งเข้ามาและส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแทนการส่งผ่านระบบสั่งการทางคอมพิวเตอร์โดยตรง และมีการปิดเว็บไซต์ของกรมตำรวจแดลลัสเพื่อความปลอดภัยก่อนกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งในเวลาต่อมา   นายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลเมืองได้รับการแจ้งเหตุการณ์การโจมตีตามแผนการตอบสนองภัยคุกคาม (IRP) โดยเครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยของแดลลัสได้แจ้งเตือนไปยังศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (SOC) ว่ามีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์และได้รับการยืนยันว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนหนึ่งถูกแฮ็กซึ่งส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ  รวมถึงเว็บไซต์กรมตำรวจอีกด้วย   โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดการแยกแรนซัมแวร์เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เริ่มจากการลบแรนซัมแวร์ออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่ติดไวรัสและกู้คืนบริการต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาใช้งานได้อย่างปกติ และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็เร่งประเมินผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับประชาชน   กล่าวคือ หากประชาชนพบกับปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการสามารถโทรติดต่อ 311 แต่ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินให้โทรติดต่อ 911 และมีผลกระทบกับระบบศาลของเมืองแดลลัสที่ต้องยกเลิกการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนเพราะระบบไอทีใช้งานไม่ได้   มีรายงานเกี่ยวกับการออกปฏิบัติการของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์พบว่า รัฐบาลท้องถิ่นถูกแรนซัมแวร์บุกโจมตีเพิ่มเรื่อย ๆ…