ภัยไซเบอร์ยังน่ากลัว!ชี้ธุรกิจไทยโดนคุกคามทางเว็บ 5,811 รายการต่อวัน

Loading

    “แคสเปอร์สกี้” ชี้ธุรกิจไทยโดนภัยคุกคามทางเว็บเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน! เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1.4 แสนต่อวัน   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ (web threat) หรือภัยคุกคามที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต (internet-born threat) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นทั้งศูนย์กลางการเติบโตและเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์   โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โซลูชันความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บในภูมิภาคมากกว่า 26 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วนับเป็นความพยายามโจมตีทางเว็บ 146,944 รายการต่อวัน ประเทศไทยพบความพยายามโจมตีทางเว็บทั้งหมด 1,057,732 รายการ คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดจากช่องโหว่ของผู้ใช้ ผู้พัฒนา ผู้ดำเนินการบริการเว็บ รวมถึงตัวบริการเว็บเอง ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือสาเหตุใด ภัยคุกคามทางเว็บอาจสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและองค์กร     บริษัทและองค์กรธุรกิจในมาเลเซียอยู่ในอันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ 19,615,255 รายการ…

กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับโกหก และช่วยสอบสวนคดีความ

Loading

  กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับ “โกหก” และช่วยสอบสวนคดีความ   “การโกหก” เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงนิสัยของมนุษย์อย่างหนึ่ง คือ ช่างเรียนรู้และช่างปรับตัว เมื่อใดก็ตามที่โกหก เราสามารถสังเกตโดยวิธีง่าย ๆ ด้วยการสังเกตสีหน้าและกิริยาท่าทาง หากพยายามจะปกปิดความจริง จะมีอาการหัวใจเต้นแรงหรือเลือดลมสูบฉีด อาการเหล่านี้เกิดจากความกลัวที่อาจถูกจับเท็จได้   หากแม้โกหกสำเร็จไปแล้วโดยเข้าใจว่าไม่มีผู้ใดทราบว่าตนพูดเท็จ ก็อาจจะหายใจแรงอย่างโล่งอก แต่ถ้าถูกจับเท็จได้ก็อาจรู้สึกร้อนหน้า กัดริมฝีปาก หลบสายตา พูดเสียงอ่อย หรือฝืนหัวเราะ ตลอดจนเคลื่อนไหวมือหรือเท้าที่มีลักษณะแสดงความไม่สบายใจ   มนุษย์ (ที่ชอบโกหก) เมื่อทราบว่ากิริยาอาการเหล่านั้น เป็นอาการ “เลิ่กลั่ก” จนทำให้ “โป๊ะแตก” เขาก็เรียนรู้และปรับตัว พยายามควบคุมสติ ควบคุมร่างกาย เพื่อปิดบังอาการเหล่านั้น และเมื่อไม่สามารถจับเท็จด้วยวิธีการดังนี้ได้แล้ว มนุษย์ก็เรียนรู้ได้ว่าจะต้องหากลวิธีใหม่มาจับเท็จ นั่นจึงนำไปสู่การสร้าง “เครื่องจับเท็จ” (Lie-Detector)   ตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อพิสูจนผู้ต้องสงสัยว่าใคร “โกหก” ใครเป็นผู้กระทําความผิด หรือเป็นผู้บริสุทธิ์   ตุลาการจีนเคยใช้ “สรีรวิทยา”…

ไทยเข้าวิน! เจ้าภาพประชุม AI โลก วางกรอบถกจริยธรรม-ความยั่งยืน

Loading

    ยูเนสโกเลือกไทย! จัดประชุมถกจริยธรรม AI ระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก รวมพลผู้นำ-ผู้เชี่ยวชาญ 194 ประเทศ แห่ร่วมงาน มิ.ย.68 ตั้งเป้าผู้เข้าร่วม 800 คน   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเดินหน้าสร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2567   รายงานจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 73.3% สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 20% สะท้อนถึงความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม   ทั้งนี้ รัฐบาลยังผลักดันแนวทางสำคัญในการกำกับดูแล AI ด้วย “คู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล” และ…

วอยแท็ก พลทหารหมี แห่งสงครามโลกครั้งที่ 2

Loading

    วอยแท็ก (Wojtek) เจ้าหมีผู้ส่งมอบความสุขแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2  ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เหล่าพลทหารล้วนมีจิตใจห่อเหี่ยว และแล้วสัตว์ตัวหนึ่งก็เข้ามาในชีวิตของเหล่าทหารกองร้อยปืนใหญ่ที่ 22 แห่งทัพโปแลนด์ที่ 2 ทำให้พวกเขากลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้ง นั่นคือ เจ้าหมีวอยแท็ก (Wojtek)   หลังสหภาพโซเวียตถูกเยอรมนีลอบโจมตี โซเวียตจึงปล่อยนักโทษชาวโปแลนด์ออกจากค่ายแรงงานที่ไซบีเรียใน ค.ศ. 1942 เพื่อเข้าร่วมหน่วยสนับสนุนกองกำลังพันธมิตรในแอฟริกาเหนือ จัดตั้งกองทัพโปแลนด์ใหม่ในตะวันออกกลาง นั่นคือ กองร้อยปืนใหญ่ที่ 22 แห่งกองพลโปแลนด์ที่ 2   ระหว่างการเดินทางข้ามตะวันออกกลาง เหล่าทหารได้พบกับเด็กหนุ่มคนหนึ่งจากจังหวัดฮามาดัน ประเทศอิหร่าน เขาได้แลกเจ้าหมีน้อยซีเรียสีน้ำตาลกับอาหารและของจิปาถะอื่น ๆ เพื่อประทังชีวิตในช่วงสงคราม เหล่าทหารจึงรับเลี้ยงหมีน้อย และตั้งชื่อให้ว่า วอยแท็ก (Wojtek) มาจากภาษาโปแลนด์ แปลว่านักรบผู้นำความสุขมาให้     กองร้อยฯ cด้วยนมข้นผสมน้ำ โดยใช้ขวดวอดก้าเก่า ๆ แทนขวดนม แต่สิ่งเจ้าหมีวอยแท็กชอบกินมากที่สุด คือแยมส้ม นอกจากนี้เจ้าหมียังชอบแอบเข้าไปในครัว เพื่อขโมยน้ำผึ้งและผลไม้   ด้วยนิสัยชอบกินเป็นชีวิตจิตใจ…

แก้เกมโจรออนไลน์! ‘ดีอี’ ฉีดยาแรงแก้กฎหมายคืนเงินเหยื่อ

Loading

    กระทรวงดีอี ออกโรงเร่งแก้กม.ปราบโจรออนไลน์ คลอดกฎหมายใหม่ โหดขึ้น 5 เท่า ฟันคนขายข้อมูล เช็กบิลแบงก์-ค่ายมือถือ ยันเร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่กับประชาชน   วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึง การแก้ไขกฎหมายเพื่อยกระดับการแก้ปัญหาภัยออนไลน์ ว่า กระทรวงดีอี ได้เสนอร่างกฎหมาย ที่แก้ไขเพิ่มเติมของ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เพื่อให้ การแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   ซึ่งจะมีการเร่งรัดคืนเงินให้ผู้เสียหาย โดยเฉพาะกรณีที่มีการระงับหรืออายัดบัญชีม้าที่มีเงินในธนาคาร และการเพิ่มโทษ การซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล โดยถือว่า เป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อประชาชน เศรษฐกิจ และสังคม โดยจะเพิ่มอัตราโทษจำคุกเพิ่มขึ้นจาก 1 ปี เป็น 5 ปี นอกจากนี้ ยังเพิ่มความรับผิดชอบของสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ในความเสียหายของผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงออนไลน์ หากผู้ประกอบการละเลย หรือไม่ดูแลระบบอย่างดีพอ รมวถึงและมีการการป้องกันการโอนเงินแบบผิดกฎหมายของคนร้ายโดยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลด้วย   “รองนายกฯ…

วิเคราะห์สาเหตุประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ประกาศกฎอัยการศึก!

Loading

  นักวิชาการด้านเกาหลีศึกษา วิเคราะห์สาเหตุประธานาธิบดีเกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก เป็นเรื่องการเมืองภายใน หลังกระแสความนิยมของพรรครัฐบาลลดลงเรื่อย ๆ   จากเหตุการณ์ ประธานธิบดี ยุน ซอกยอล ประกาศกฎอัยการศึก ไปจนถึงเหตุการณ์ชุลมุนหน้ารัฐสภาของเกาหลี ที่มีประชาชนออกมาช่วยกันต้านทหารที่ออกมาปิดรัฐสภาด้วยการกันทหาร เปิดทางให้ สส.ฝ่ายค้านเข้าสภาไปโหวตคว่ำกฎอัยการศึก ซึ่งเหตุการณ์จบภายในเวลาไม่กี่ ชม. นั้น   ล่าสุดวันนี้ 4 ธ.ค. 2567 รายการเปิดโต๊ะข่าว เลยได้พูดคุยกับ ดร.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเหตุผลของการประกาศกฎอัยการศึกดังกล่าว   โดย ดร.ไพบูลย์ ระบุว่า อาจเกิดจากประธานาธิบดีมีคะแนนความนิยมลดลงเรื่อย ๆ และสส. จากรัฐบาลก็ได้รับเลือกน้อยลง ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ในมือฝ่ายค้าน และทำให้ฝ่ายบริหารไม่พอใจ เพราะไม่สามารถผ่านกฎหมายหลายฉบับได้ โดยเฉพาะร่างกฎหมายงบประมาณต่างๆ จึงอาจเป็นที่มาของการประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้   “ตั้งแต่ประธานาธิบดี ยุน คนปัจจุบัน เข้ารับตำแหน่งมาจนปัจจุบัน เข้ามาครึ่งวาระ ประมาณ 2 ปีครึ่งแล้วก็ปรากฎว่าคะแนนความนิยมที่ทำก็ลดลงเรื่อยๆ เห็นได้ชัดเลยคือจำนวน…