เมื่อ AI โคลน ‘เสียงมนุษย์’ เกือบ 100% นักพากย์เสี่ยงตกงาน-มิจฉาชีพใช้เรียกค่าไถ่

Loading

    เมื่อ AI สามารถเลียนแบบตัวตนของมนุษย์ อย่าง “เสียงพูด” ได้สำเร็จ ในระดับที่มนุษย์ไม่สามารถแยกแยะได้ สิ่งนี้จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อมนุษย์มากน้อยเพียงใด และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง   Key Points   -บริษัทจ้างมนุษย์พากย์เสียง 30 วินาที ราคา 2,000 ดอลลาร์หรือราว 70,000 บาท ในขณะที่เสียงพากย์จาก AI ราคาเพียงแค่ 27 ดอลลาร์หรือราว 1,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น   -นักพากย์เสียงหลายคนเซ็นสัญญาให้บริษัทลูกค้าสามารถใช้เสียงตัวเองได้ไม่จำกัด รวมถึงขายให้ฝ่ายที่สาม ซึ่งอาจใช้เสียงของมนุษย์ในการฝึก AI   -หากเสียงคนในครอบครัวทางโทรศัพท์ ขอให้เราโอนเงินผ่านช่องทางที่ไม่ใช่ธนาคาร ไม่สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ ก็ขอให้ระวังว่า อาจเป็นมิจฉาชีพ   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ในปัจจุบันกำลังเป็นดาบสองคม ด้านหนึ่งช่วยแบ่งเบาภาระมนุษย์ ประมวลข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็กำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ เมื่อ AI เข้าสู่จุดที่เรียกว่า “เลียนแบบเสียงพูดมนุษย์”…

เทียบปฏิบัติการระงับเหตุกราดยิงจากโคราชสู่เพชรบุรี

Loading

    นับตั้งแต่เหตุกราดยิงครั้งร้ายแรงที่ จ.นครราชสีมา มาจนถึงเหตุกราดยิงที่ จ. หนองบัวลำภู รวมทั้งกรณีล่าสุดที่ จ. เพชรบุรี ล้วนลงเองด้วยปฏิบัติการวิสามัญฆาตกรรม หรือไม่ก็ผู้ก่อเหตุฆ่าตัวตาย   แต่คำถามที่มักเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติการ คือ เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการทันสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบเพียงพอหรือไม่   ในกรณีกราดยิงที่ จ. เพชรบุรี ครั้งล่าสุด พล.ต.ท. ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 7 อธิบายกับสื่อมวลชนว่า   “การปฏิบัติการครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนยุทธวิธีจากเบาไปหาหนัก พยายามป้องกันประชาชน และดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ปลอดภัยทุกนาย ตามนโยบายที่ พ.ต.อ. ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. มอบหมาย เพราะสถานการณ์ยืดเยื้อ ไม่อยากให้เกิดการสูญเสีย พยายามให้โอกาสเกลี้ยกล่อมให้มอบตัวหลายครั้ง ทั้งให้แม่และเพื่อนพยายามเกลี้ยกล่อมแต่ไม่เป็นผล คนร้ายยังยิงต่อสู้อย่างต่อเนื่อง”   จากพฤติกรรมรุนแรงของผู้ก่อเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และผู้บาดเจ็บอีก 3 ราย ทั้งประชาชนและตำรวจ จึงจำเป็นต้องใช้ปฏิบัติการเด็ดขาด ขณะชุดจับกุมเข้าปฏิบัติการพบผู้กระทำผิดยังต่อสู้และยิงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ กระสุนถูกโล่กันกระสุนถึง…

6 ข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิด ‘การรั่วไหล’ ของข้อมูลบ่อยที่สุด

Loading

    วันนี้ผมจะขอสรุปรวมข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิดการละเมิดของข้อมูลและเปิดทางให้เหล่าแฮ็กเกอร์เข้าโจมตีระบบของผู้ใช้งานและปล่อยข้อมูลให้รั่วไหลกันครับ   1. ขาดการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (Multi-factor Authentication หรือ MFA) : ช่วยให้แฮ็กเกอร์เข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้ยากมากยิ่งขึ้น   2. การมองเห็นอย่างจำกัดในคลังเก็บข้อมูลทั้งหมด : ธุรกิจต่างๆ ต้องการ single dashboard solution ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสามารถด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่หลากหลายรวมถึงการค้นหาข้อมูล การจัดประเภท การตรวจสอบ การควบคุมการเข้าถึง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดการการปฏิบัติตามข้อกำหนด ระบบความปลอดภัยอัตโนมัติ การตรวจจับภัยคุกคาม และการรายงานการตรวจสอบ   3. นโยบายเกี่ยวกับรหัสผ่านที่ไม่ดี : ทุกบริษัทควรฝึกอบรมพนักงานเป็นประจำเกี่ยวกับความสำคัญของการไม่ใช้รหัสผ่านซ้ำหรือแบ่งรหัสผ่านกับเพื่อนร่วมงาน คู่ค้า หรือผู้ขาย   4. โครงสร้างพื้นฐานทางข้อมูลที่กำหนดค่าไม่ถูกต้อง : โครงสร้างพื้นฐานที่จัดการบนคลาวด์ในแต่ละรายการนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และต้องใช้ชุดทักษะเฉพาะเพื่อจัดการอย่างเหมาะสม การมองเห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งหมดที่จัดการบนคลาวด์ผ่านแดชบอร์ดเดียวจะช่วยลดความจำเป็นในการดูแลเรื่องการกำหนดค่าสำหรับการมองเห็นข้อมูล   5. การป้องกันช่องโหว่ที่จำกัด : ช่องโหว่แบบ Zero-day ในโค้ดที่ได้รับความนิยมอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยสำหรับองค์กรหลายแห่ง การป้องกันรันไทม์ช่วยรักษาความปลอดภัยให้แอปพลิเคชันจากช่องโหว่โดยไม่ปล่อยให้แอปพลิเคชันเสี่ยงต่อการถูกโจมตี   6. ไม่เรียนรู้จากการละเมิดข้อมูลในอดีต…

‘เทคนิคโจร’ ก็พัฒนา ‘ปล้นออนไลน์’ อาวุธ ‘จุดอ่อนเหยื่อ’

Loading

  นอกจาก “ภัยโฆษณาเกินจริง” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้ชี้ให้เห็น “อันตราย” ไปแล้ว…กับ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” อย่างการ “ขโมยข้อมูล-ต้มตุ๋นออนไลน์” ก็เป็นอีกภัยที่ใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ   ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของไทย ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยอ้างอิงผลสำรวจของ Identity Theft Resource Center ที่พบว่า…ปี 2565 ทั่วโลกมีการโจมตีด้านข้อมูลส่วนบุคคลมากมาย โดยมีผู้เสียหายที่ถูกขโมยข้อมูลมากถึง 442 ล้านคน!!! ซึ่งแน่นอนว่าในจำนวนนี้ก็ย่อมมี “เหยื่อคนไทย” รวมอยู่ด้วย   ตัวเลขนี้ฉายชัด “สถานการณ์ปัญหา”   ที่โลกยุคใหม่ต้องเผชิญ “โจรไซเบอร์”   อีกหนึ่ง “ภัยคุกคามที่น่ากลัว” ในยุคนี้   “การแฮ็กข้อมูล การถูกเจาะระบบ กำลังเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะข้อมูลส่วนบุคคลได้กลายเป็นแหล่งทำเงินของแฮกเกอร์ไปแล้ว โดยแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลเหล่านี้ไปจะนำไปขายต่อเพื่อหาเงิน หรือแม้แต่สวมรอยแทนตัวตนของคนที่ถูกขโมยข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้” …เป็น “อันตราย”…

สรุป อุตสาหกรรม Cybersecurity ฉบับภาษาคน

Loading

  เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของคนไทย 55 ล้านบัญชี ถูกแฮก โดยแฮกเกอร์ที่ชื่อ “9Near”   ข้อมูลเหล่านั้นประกอบไปด้วย ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ รวมถึงเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งถ้าข้อมูลจำนวนมากนี้หลุดออกไป ก็ถือเป็นความอันตรายต่อคนไทยทั้งประเทศ และอาจสร้างความเสียหายเป็นหลักพันล้านบาท   หากดูในภาพรวมจะพบว่า ในปีที่ผ่านมา Cyberattack หรือการโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลก มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 350,000 ล้านบาท..   สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้อุตสาหกรรม “Cybersecurity” หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ เติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว   Cyberattack และ Cybersecurity คืออะไร   และมีรูปแบบไหนบ้าง​ ?   ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง   เรามาเริ่มกันที่ Cyberattack หรือ การโจมตีทางไซเบอร์ กันก่อน ภาษาบ้าน ๆ เลยก็คือ โจรที่พยายามจะเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา   โดยทั่วไปแล้วคนเหล่านี้…

ห้ามพูด! มีระเบิด-เครื่องบินจะตก คำต้องห้ามใน “สนามบิน” ฝ่าฝืนติดคุก 5 ปี

Loading

    พูดเล่นไม่ได้! “ระวังมีระเบิด-ก่อการร้าย-เครื่องบินจะตก” เหล่านี้เป็นตัวอย่างของ “คำต้องห้าม” ที่ห้ามพูดในสนามบินและบนเครื่องบิน หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท   จากกรณีอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังเอ่ยคำต้องห้ามในสนามบิน แม้เพื่อนๆ ในกลุ่มจะเตือนแล้วแต่ก็ยังพูดต่อ เมื่อคลิปเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็เกิดดราม่าในโลกโซเชียลแทบจะทันที   รู้หรือไม่? ในสนามบินหรือบนเครื่องบิน เป็นสถานที่ที่มีความเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัยสูง ดังนั้นการกระทำหรือคำพูดต่างๆ ที่สื่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปในทางที่เป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องของคำพูดที่แม้จะเป็นเพียงการพูดเล่น แต่นั่นอาจทำให้คุณทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว   โดยสาเหตุที่มีกฎหมายควบคุมไม่ให้ผู้โดยสารเผลอพูด “คำต้องห้าม” บางคำในสนามบินหรือบนเครื่องบินนั้น ก็ด้วยเหตุผลสำคัญหลายข้อ ได้แก่   1. เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและระเบียบวินัยอันดีภายในสนามบินและบนเครื่องบิน   2. เพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดการกระทำดังกล่าวอันเป็นการแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการบินลดลง   3. เพื่อจัดการกับบุคคลที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมภายในสนามบินและบนเครื่องบิน เช่น ใช้คำพูดลวนลามหรือข่มขู่ให้กลัว   4. เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้แก่เครื่องบิน สนามบิน บุคคล และทรัพย์สินต่างๆ บนเครื่องบินหรือที่สนามบิน     ส่วนคำพูด…