เปิดใจเจ้าหน้าที่ความมั่นคงรัสเซีย ผู้แปรพักตร์และหนีออกนอกประเทศ

Loading

  อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยงานป้องกันกลางเปิดเผยเรื่องราวการหลบหนีออกจากประเทศหลังทนไม่ไหวกับสงครามยูเครน พร้อมเรื่องเล่าเกี่ยวกับปูติน   นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเดือน ก.พ. 2022 มีชาวรัสเซียหลายคนที่ตัดสินใจหลบหนีออกจากประเทศตัวเอง อาจจะด้วยเหตุผลเพื่อหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร เพื่อหนีจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ หรืออาจจะลี้ภัยเพื่อความปลอดภัย โดยจากการประเมินเชื่อว่ามีชาวรัสเซียมากถึง 900,000 คนที่หนีออกจากประเทศตัวเอง   ที่น่าสนใจคือ ในจำนวนชาวรัสเซียที่หลบหนีออกมา มีส่วนเล็ก ๆ ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐด้วย หนึ่งในนั้นคือ “เกล็บ คาราคูลอฟ” วิศวกรผู้ตัดสินใจหอบภรรยาและลูกหลบหนีไปยังตุรกี     แต่คาราคูลอฟไม่ใช่ผู้แปรพักตร์ธรรมดา เพราะเขายังมีสถานะเป็นถึง “เจ้าหน้าที่หน่วยงานป้องกันกลาง (FSO)” ของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานย่อยของหน่วยความมั่นคงกลางรัสเซีย โดยเป็นผู้รับผิดชอบด้านการสื่อสาร ซึ่งรู้รายละเอียดในชีวิตของปูตินและข้อมูลที่อาจเป็นความลับ   คาราคูลอฟหนีไปยังตุรกีเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2022 พร้อมกับภรรยาและลูกสาว เขาปิดโทรศัพท์เพื่อปิดกั้นข้อความที่ส่งมาหาเขาด้วยความเกรี้ยวกราด   คาราคูลอฟเล่าว่า เขาตัดสินใจออกมา เพราะเขาต่อต้านการรุกรานยูเครน รวมกับความกลัวที่จะตาย ทำให้เขาต้องออกมา และเลือกที่จะออกมาพูดแม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อตัวเขาเองและครอบครัวก็ตาม   เขาบอกว่า เขาหวังว่าตัวเองจะเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวรัสเซียคนอื่น ๆ ออกมาพูดเช่นกัน…

สังคมโลก : นิวเคลียร์รัสเซีย

Loading

  ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศว่า รัฐบาลมอสโกบรรลุข้อตกลงกับเพื่อนบ้านอย่างเบลารุส ในการเตรียมประจำการอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ โดยไม่ได้ละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับใดก็ตาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์   รัสเซีย ซึ่งรับมรดกอาวุธนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต มีคลังเก็บหัวรบนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สถิติเมื่อปี 2565 ระบุจำนวนหัวรบประมาณ 5,977 ลูก เมื่อเทียบกับ 5,428 ลูก ที่ควบคุมโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ตามข้อมูลของสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน (เอฟเอเอส)   จากจำนวนข้างต้นของรัสเซีย แม้ว่าหัวรบประมาณ 1,500 ลูก จะถูกปลดประจำการแล้ว แต่มันน่าจะยังมีสภาพที่สมบูรณ์ ขณะที่หัวรบสำรองมีอยู่ราว 2,889 ลูก และเป็นหัวรบที่ติดตั้งประจำการแล้วประมาณ 1,588 ลูก   อย่างไรก็ตาม จำนวนหัวรบที่ทั้งรัสเซียและสหรัฐมี บ่งชี้ว่า รัฐบาลมอสโก กับรัฐบาลวอชิงตัน สามารถทำลายโลกได้หลายครั้ง ซึ่งกุญแจสำคัญ คือ วิธีการส่งอาวุธไปให้ถึงเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น ขีปนาวุธ, เรือดำน้ำ และเครื่องบินทิ้งระเบิดที่บรรทุกหัวรบ   รัสเซียดูเหมือนจะมีขีปนาวุธข้ามทวีป…

นิวเคลียร์สหรัฐฯ อยู่ที่ไหนบ้าง ในชาตินาโต

Loading

    ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศจะนำอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีไปติดตั้งในดินแดนเบลารุส ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านและเป็นพันธมิตรทางการทหารที่สำคัญที่สุดชาติหนึ่งของรัสเซีย   ความเคลื่อนไหวของรัสเซียถูกมองว่า เป็นความพยายามตอบโต้สหรัฐฯ และพันธมิตรนาโต ที่ยังคงเดินหน้าส่งอาวุธช่วยยูเครน   โดยมีหลายฝ่ายแสดงความไม่เห็นด้วย เช่น โฆษกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) ชี้ว่า นี่เป็นการกระทำที่อันตรายและไร้ความรับผิดชอบ พร้อมกับระบุว่านาโตกำลังเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด   ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรปก็ออกมาเรียกร้องให้เบลารุสยกเลิกข้อตกลงกับรัสเซีย โดยเตือนว่า ความเคลื่อนไหวนี้อาจทำให้เบลารุสต้องเผชิญกับการคว่ำบาตรเพิ่มเติม   อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ ออกมาเพิ่มเติมจากฝั่งรัสเซีย หลังจากที่ปูตินออกมาแถลงเมื่อวันเสาร์ (25 มี.ค.) โดยอ้างว่า แผนการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย ไม่ใช่การละเมิดสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และเป็นเรื่องปกติ แบบเดียวกับที่สหรัฐฯ ทำในชาติพันธมิตรอื่น ๆ   จากคำกล่าวอ้างของปูติน สำนักข่าว TODAY จะพาไปดูว่าตอนนี้สหรัฐฯ มีคลังอาวุธนิวเคลียร์อยู่ที่ประเทศใดบ้างในยุโรป     ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและไม่แพร่ขยายอาวุธ (Center for Arms Control and…

เด็กๆ ชายแดนใต้ “ชูหนึ่งนิ้ว” ภัยความมั่นคง?

Loading

    มุมมองที่แตกต่างเกี่ยวกับ “อัตลักษณ์มลายู” ระหว่างพี่น้องมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับฝ่ายความมั่นคงของรัฐ ถือเป็นปัญหามาโดยตลอด   และกลายเป็น “ความไม่เข้าใจ” จนบานปลายเป็นชนวนของความขัดแย้งแตกแยกในดินแดนปลายด้ามขวาน ทั้งยังเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของ “ไฟใต้” ที่คุกโชนมานานกว่า 100 ปี โดยเฉพาะใน 2 ทศวรรษมานี้ที่เต็มไปด้วยเหตุรุนแรงรายวัน   “อัตลักษณ์มลายู” ที่ชาวบ้าน ประชาชนคนในพื้นที่มองเป็นเรื่องปกติ ก็เช่น การแต่งกายแบบมลายู, ภาษา ซึ่งคนพื้นที่ใช้ “ภาษามลายูถิ่น” ในการสื่อสาร ตลอดจนประเพณีต่างๆ อย่างการสร้างประตูเมือง และการทำสัญลักษณ์มือ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ   เรื่องแบบนี้คนในพื้นที่มองว่า “ปกติ” แต่คนต่างถิ่น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐอาจมองเป็น “ภัยความมั่นคง” หรือมีความพยายามปลุกกระแส “แบ่งแยกดินแดน” ได้เหมือนกัน นี่คือมุมมองที่แตกต่าง จนกลายเป็น “ความไม่เข้าใจ”   อย่างล่าสุด มีรายงานแจ้งเตือนของ “หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่” โดยอ้างอิงถึงกิจกรรมขบวนพาเหรดการแข่งขันกีฬาสีของ “ตาดีกา” แห่งหนึ่งใน อ.จะแนะ จ.นราธิวาส  …

พรรคร่วมรัฐบาลฝ่ายขวาจัดส่งเสริมพลเมืองอิสราเอลครอบครองอาวุธปืนมากขึ้น

Loading

    ชีมอน มิซราฮี ชี้จากระเบียงอะพาร์ตเมนต์ให้ทีมข่าวบีบีซีดูโบสถ์ยิวที่อยู่อีกฟากของถนนใหญ่สองเลน ซึ่งเป็นจุดที่มือปืนชาวปาเลสไตน์สังหารลูกชายและลูกสะใภ้ของเขา   ชายวัยเกษียณผู้นี้อาศัยอยู่ในย่านเนเว ยาคอฟ นิคมชาวยิวในเขตที่อิสราเอลยึดครอง ทางตะวันออกของนครเยรูซาเล็ม ซึ่งถือเป็นการตั้งถิ่นฐานที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ   เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน ซึ่งรวมถึง เอลี และนาตาลี มิซราฮี ลูกชายและลูกสะใภ้ของนายมิซราฮี   “ชายคนนั้น (มือปืน) ยืนอยู่ตรงทางแยก แล้วเปิดฉากยิงไปทุกทิศทาง เป็นไปได้ว่าลูกชายผมอยู่ตรงนั้นพอดี” นายมิซราฮี เล่า   “ยาก ยากเหลือเกิน เหมือนผมไม่ได้อยู่ในโลกแห่งความจริง ผมไม่มีกลางวันกลางคืน ผมกินไม่ได้ ผมไม่รู้สึกอะไรเลย”     เหตุกราดยิงดังกล่าวถือเป็นเหตุนองเลือดที่สุดในรอบหลายปีของอิสราเอล และยิ่งทำให้ชาวอิสราเอลมองว่ารัฐบาลไม่ช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้พวกเขา   “ผมโทษนายกรัฐมนตรี (เบนจามิน เนทันยาฮู) เขามีหน้าที่รับผิดชอบกองทัพ และความมั่นคง”   “ผมโทษพวกเขา” นายมิซราฮี กล่าว   นายมิซราฮีและครอบครัว…

การโจมตีทางไซเบอร์ที่ป้องกันได้ยากยิ่ง คือการโจมตีที่จุดอ่อนของมนุษย์

Loading

    หากเปรียบการต่อสู้กับภัยไซเบอร์เหมือนกับสงคราม ก็นับว่าเป็นสงครามที่ไม่สมมาตร (Asymmetric Warfare) กล่าวคือทางฝั่งเราขาดแคลนบุคลากร ขาดแคลน งบประมาณ และไม่มีเวลาเพียงพอในการรับมือกับภัยไซเบอร์   เพราะเราต้องใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่ไปในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรเป็นหลักก่อน ในขณะที่ฝั่งแฮ็กเกอร์มีอุปกรณ์ เครื่องมือ และมีบุคลากรที่มีเวลาอย่างเหลือเฟือเพื่อดำเนินการพุ่งเป้าโจมตีและเจาะระบบของเราเป็นหลัก   ดังนั้น ฝั่งเราจะต้องสมบูรณ์แบบ พลาดไม่ได้แม้แต่ก้าวเดียว ส่วนฝั่งแฮ็กเกอร์ก็ทดลองหาช่องโจมตีเจาะระบบเราไปได้เรื่อย ๆ ขอเพียงสักหนึ่งครั้งที่ทำสำเร็จ สามารถหลุดเข้ามาในระบบเราได้ก็พอ แฮ็กเกอร์ก็จะสามารถสร้างความเสียหายให้กับเราได้   นอกจากนี้ สงครามไซเบอร์ก็เหมือนสงครามทั่วไปที่มีการใช้กลลวง (Deception) รวมถึงยุทธวิธีต่าง ๆ ที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งตกหลุมพลางที่ดักล่อไว้   น่าหนักใจที่กลลวงส่วนใหญ่จะเป็นทางฝั่งแฮ็กเกอร์เป็นผู้ใช้ และจุดอ่อนทีสุดก็คือพนักงานของเรานั่นเองที่จะเป็นฝ่ายตกหลุมพลางไปซะก่อน   เทคนิคสำคัญที่แฮ็กเกอร์ใช้โจมตีจุดอ่อนของมนุษย์คือ social engineering (ขอทับศัพท์ไปก่อน ไม่อยากใช้คำแปลว่า “วิศวกรรรมสังคม”)   จากสถิติบอกไว้ว่าประมาณ 82% ของปัญหาการรั่วไหลของข้อมูล* เกิดจากจุดเริ่มที่พนักงานขององค์กร และในแต่ละวันจะมี phishing email ถูกส่งออกมาไม่ต่ำกว่า 3.4 พันล้านครั้ง  …