มองไฟป่าฮาวาย แล้วย้อนมาดูตัว ไทยพร้อมไหมรับมือภัยโลกร้อน

Loading

    แม้ว่าฮาวายจะมีระบบเตือนภัยธรรมชาติก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่จากโศกนาฎกรรมไฟป่าเผาวอดเมือง Lahaina ชี้ว่า แม้แต่ระบบเตือนภัยที่ล้ำหน้ายังตามภัยพิบัติโลกร้อนไม่ทัน   ไฟป่าฮาวาย จากเหตุไฟป่าเผาเมือง Lahaina บนเกาะ Maui ในมลรัฐฮาวาย ที่ต้องประสบกับไฟป่าโหมรุนแรงจนเป็นผลให้ทั้งเมืองถูกไฟเผาวอด คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 111 ชีวิต หนึ่งในข้อกังขาที่หลายคนต่างตั้งคำถามภายหลังเกิดเหตุ นั่นก็คือ ทำไมจึงไม่มีการเตือนภัยแก่ประชาชนในเมือง Lahaina อย่างทันท่วงที จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมไฟป่าที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา   ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว เฮอร์แมน อันดายา ผู้บริหารหน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินเมาวี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขาไม่เสียใจเลยที่ไม่ใช้ไซเรน เนื่องจากไซเรนส่วนใหญ่จะใช้เพื่อเตือนเมื่อคลื่นสึนามิเข้าใกล้เกาะ และหากพวกเขาเปิดสัญญาณไซเรน ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากคงจะไปที่เชิงเขา ซึ่งเป็นจุดที่เกิดไฟไหม้รุนแรงที่สุด   ไฟป่าเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เผาเมือง Lahaina เมืองหลวงเก่าของฮาวายจนวอดเกือบทั้งเมือง ที่มาภาพ: รอยเตอร์   อันดายา กล่าวเสริมว่า ระเบียบปฏิบัติสำหรับเหตุเพลิงไหม้คือการส่งประกาศผ่านข้อความ ข้อความเสียง และโทรศัพท์บ้าน และการแจ้งเตือนไปผ่านโทรทัศน์และวิทยุ อย่างไรก็ตามไฟได้ทำลายเครือข่ายการสื่อสารอย่างรวดเร็ว จนระบบการแจ้งเตือนนี้ไม่สามารถทำงานได้   ไชยณรงค์…

พ่อแม่ระวังให้ดี! มิจฉาชีพใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนจับเรียกค่าไถ่

Loading

  กลใหม่ มิจฉาชีพใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนเรียกค่าไถ่ พ่อแม่ – ผู้ปกครอง ต้องระวังให้ดีก่อนตกเป็นเหยื่อเสียเงินไม่รู้ตัว จากกรณีที่ มิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กำลังระบาดอย่างหนัก มีหลอกลวงให้หลงเชื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น อ้างชื่อหน่วยงานภาครัฐ หรือการส่ง SMS หลอกลวง ล่าสุดมิจฉาชีพมีการหลอกลวงรูปแบบใหม่ มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial intelligence) เลียนเสียงนักศึกษาหรือผู้เสียหาย หลอกให้ผู้ปกครองหลงเชื่อว่านักศึกษาถูกเรียกค่าไถ่ พร้อมขู่โอนเงินเรียกค่าไถ่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนภัยขอให้ผู้ปกครองอย่าหลงเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้รูปแบบพฤติการณ์เรียกค่าไถ่เสมือน โดยมิจฉาชีพจะโทรศัพท์หาพ่อแม่หรือผู้ปกครอง พร้อมส่งรูปบุตรหลานไปยังพ่อแม่หรือผู้ปกครอง และมิจฉาชีพจะหลอกว่าลูกหลานถูกเรียกค่าไถ่ โดยกลุ่มเป้าหมายของกลมิจฉาชีพ AI เลียนเสียง มี 2 กลุ่ม 1. นักศึกษาที่ตั้งใจเรียนดี อยู่เพียงลำพัง ในระดับชั้นอุดมศึกษา 2. ผู้ปกครอง   วิธีการของคนร้าย ใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนเรียกค่าไถ่ ทำยังไง ?…

สังคมโลก : มุดจีมา

Loading

  มือมีดที่บุกแทงคนในรถไฟใต้ดินที่แน่นขนัด หรือคนร้ายที่ไล่แทงผู้อื่นอย่างดุเดือดกลางถนน ฝันร้ายเหล่านี้ปรากฏขึ้นในจิตใจของชาวเกาหลีใต้จำนวนมาก หลังเกิดเหตุแทงประชาชนหลายคนอย่างน้อย 2 เหตุการณ์ ภายในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา   ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ชายคนหนึ่งใช้มีดไล่แทงประชาชนที่สัญจรไปมาในเมืองหลวง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 3 คน โดยในภายหลัง ผู้ก่อเหตุบอกกับตำรวจว่า เขาใช้ชีวิตอย่างทนทุกข์ และอยากทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เหมือนกัน   หลังจากนั้นในวันที่ 3 ส.ค. ชายคนหนึ่งในเมืองซองนัม ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงโซล ขับรถพุ่งชนคนเดินถนน บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินแห่งหนึ่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 คน ก่อนลงจากรถแล้ววิ่งเข้าไปในห้างสรรพสินค้า และก่อเหตุไล่แทงประชาชน 9 คน หนึ่งในนั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาซึ่งหลักฐานเผยให้เห็นว่า เหตุอุกอาจครั้งนี้อาจเป็นการเลียนแบบชายคนก่อนหน้า   KOREA NOW   ในเกาหลีใต้ “มุดจีมา” ซึ่งมีความหมายว่า “อย่าถาม” สื่อถึงการกระทำความรุนแรงที่ไม่สามารถอธิบายได้ต่อคนแปลกหน้า โดยผู้ก่อเหตุไม่มีความเชื่อมโยงส่วนตัวกับเหยื่อ หรือแรงจูงใจที่ชัดเจน   ชาวเกาหลีใต้เรียกอาชญากรรมเหล่านี้ว่า มุดจีมา (Mudjima)…

รวมเรื่องที่นายจ้างต้องรู้ ถ้าพนักงานใช้ AI ช่วยทำงาน ก่อนข้อมูลบริษัทรั่ว

Loading

  รวมเรื่องที่นายจ้างต้องรู้ ก่อนข้อมูลรั่วไม่รู้ตัว ถ้าพนักงานใช้ AI ช่วยทำงาน เพราะผลสำรวจล่าสุดบอกพนักงานเริ่มใช้ปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น   ผลสำรวจของ Reuters/Ipsos พบว่า พนักงานจำนวนมากทั่วสหรัฐฯ เริ่มหันไปใช้ ChatGPT เพื่อช่วยงานพื้นฐาน ได้แก่ การร่างอีเมล การสรุปเอกสาร และการทำวิจัยเบื้องต้น   โดยการสำรวจความคิดเห็นของ Reuters/Ipsos มาจากผู้ใหญ่ 2,625 คนทั่วสหรัฐอเมริกามีช่วงความน่าเชื่อถือซึ่งเป็นการวัดความแม่นยำประมาณ 2 จุดเปอร์เซ็นต์   จากการทำแบบสำรวจออนไลน์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม พบว่า •  28% บอกว่าพวกเขาใช้ ChatGPT ในที่ทำงานเป็นประจำ •  25% ไม่ทราบว่าบริษัทของพวกเขาอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีนี้หรือไม่ •  22% นายจ้างอนุญาตให้ใช้ืหากเป็นอุปกรณ์ภายนอกอย่างชัดเจน •  10% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าเจ้านายของพวกเขาห้ามเครื่องมือ AI ภายนอกอย่างชัดเจน   ChatGPT กลายเป็นแอปที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์หลังจากเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565…

รวม 7 ข้อมูลสำคัญที่รัฐบาลจีนปกปิด กังวลเสียเปรียบให้สหรัฐ

Loading

  บลูมเบิร์ก รวบรวม 7 ข้อมูลสำคัญที่รัฐบาลจีนปกปิด เมื่อเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจ และอาจทำให้จีนเสียเปรียบสหรัฐ   สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า การระงับเปิดเผยข้อมูลอัตราการว่างงานคนหนุ่มสาวจีนในสัปดาห์นี้ เป็นการระงับข้อมูลล่าสุดของประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชีย ที่มักปกปิดข้อมูลอ่อนไหว โดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง   จีนประสบกับภัยคุกคามมากมาย ที่ส่งผลต่อการขยายเศรษฐกิจให้เติบโตตามเป้าในปีนี้ จึงเริ่มไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญต่อสาธารณะ และการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง กับสหรัฐ ทำให้รัฐบาลปักกิ่งหวงข้อมูลมากขึ้น เพราะเชื่อว่าอาจสร้างความได้เปรียบให้กับรัฐบาลโจ ไบเดนได้   7 ข้อมูลสำคัญของจีนที่ถูกระงับเผยแพร่ มีดังนี้   1. ปกปิดอัตราว่างงานคนหนุ่มสาว อัตราการว่างงานคนหนุ่มสาวช่วงอายุ 16-24 ปี แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 21.3% เมื่อเดือนมิ.ย. ซึ่งหนุ่มสาวจีน 1 ใน 5 ไร้งาน ถือเป็นปัญหาต่อพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ต้องการสร้างเสถียรภาพทางสังคม   การระงับข้อมูลชนิดนี้ รัฐบาลอ้างว่ามีความจำเป็นต้องหาวิธีประเมินใหม่ เพราะการคำนวณอัตราการว่างงานมีความซับซ้อน รัฐบาลคิดว่าธรรมชาติของเศรษฐกิจ และรูปแบบแรงงานเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การคำนวณอัตราการว่างงานคนกลุ่มนี้ไม่สะท้อนความเป็นจริง จึงเกิดข้อสงสัยมากมายต่อความเคลื่อนไหวนี้   อย่างไรก็ตาม…

รู้จัก N-Day ไวรัสแฝงบน Chrome ที่ Google แก้เผ็ดด้วยการอัปเดตทุกสัปดาห์

Loading

  จำนวนผู้ใช้งาน Chrome ที่มีกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก กลายเป็นเรื่องสำคัญ Google จำเป็นต้องเพิ่มความปลอดภัย ล่าสุด Google เรียกความมั่นใจจากผู้ใช้งานว่า Chrome ปลอดภัยจากช่องโหว่ Zero-day และ n-day แล้ว   การใช้ประโยชน์จาก N-day คืออะไร   Amy Ressler ทีมรักษาความปลอดภัยของ Chrome เล่าว่า ช่องโหว่ N-day คือการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของโปรแกรมระหว่างที่กำลังแก้ไขปัญหา ผ่านทางโครงการที่ชื่อ Chromium ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์สที่เปิดให้ทุกคนแอบดูซอร์สโค้ดเพื่อนำไปใช้ในการร่วมกันปรับปรุงและแก้ไขไวรัส   แต่มีคนดีก็ต้องมีคนร้าย ซึ่งคนร้ายแอบนำซอร์สโค้ดเหล่านี้ไปใช้แทรกซึมและแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ในช่วงที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์กำลังแก้ไขปัญหาและผู้ใช้งานรุ่นเบต้า จะฟีดแบ็กปัญหาต่าง ๆ กลับมา เมื่อได้รับการแก้ไข ก็ค่อยปล่อยออกสู่สาธารณะ   ซึ่งระหว่างนี้ อาชญากรไซเบอร์และผู้คุกคาม จะเอารุ่นเบต้าไปแอบปล่อยด้วยข้อความดึงดูดและหลอกลวงเพื่อหาผลจากช่องโหว่นั่นเอง   เมื่อมีการเปิดแพตช์ หรือตัวปรับปรุงแก้ไขสู่สาธารณะ ก็กลายเป็นช่องโหว่ให้กับผู้ใช้งานที่ไม่ได้ติดตั้งแพตช์ แฮ็กเกอร์ก็สามารถหาประโยชน์จากแพตช์ที่มีปัญหาเหล่านี้ได้อีก   นั่นจึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “การแสวงหาผลประโยชน์แบบ…