แรนซัมแวร์ ‘HardBit’ แฮ็กข้อมูลประกันเรียกเงินค่าไถ่

Loading

    วันนี้ผมขอพูดถึงแรนซัมแวร์ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า HardBit ซึ่งตอนนี้ได้รับการพัฒนาเป็นเวอร์ชัน 2.0 และเวอร์ชันนี้เองที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ใช้โน้มน้าวเหยื่อให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันทั้งหมด   เพื่อให้แฮ็กเกอร์สามารถจัดการกับข้อมูลและการกำหนดเงินค่าไถ่เพื่อช่วยให้บริษัทประกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามคำกล่าวอ้างของแฮ็กเกอร์   HardBit Ransomware เวอร์ชันแรกมีการเปิดตัวช่วงเดือนต.ค. 2565 ขณะที่เวอร์ชัน 2.0 ออกตามมาโดยใช้เวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้น โดยหลักการทำงานของ HardBit Ransomware จะมีความแตกต่างการแรนซัมแวร์ส่วนใหญ่ตรงที่จะไม่ใช่ฟีเจอร์ที่ทำให้ข้อมูลในไซต์รั่วไหล   ถึงแม้ว่าแฮ็กเกอร์จะขโมยข้อมูลของเหยื่อและขู่ว่าจะปล่อยข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีการจ่ายเงินค่าไถ่ก็ตาม นอกจากนี้ HardBit 2.0 ยังสามารถปรับเปลี่ยนการลงทะเบียนเพื่อปิดใช้งานการตรวจสอบพฤติกรรมแบบเรียลไทม์ของ Windows Defender กระบวนการในการสแกน และการป้องกันการเข้าถึงไฟล์ เป็นต้น   มัลแวร์ยังมีการกำหนดเป้าหมายทั้งหมด 86 กระบวนการที่จะทำให้ไฟล์ที่มีความละเอียดอ่อนนั้นมีความพร้อมและสามารถรองรับการเข้ารหัส โดยการเพิ่มโฟลเดอร์ “Startup” และลบสำเนา Volume Shadow เพื่อทำให้การกู้คืนข้อมูลยากขึ้น   โดยองค์ประกอบที่น่าสนใจเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารหัสคือ แทนที่จะเขียนข้อมูลที่เข้ารหัสเพื่อคัดลอกไฟล์และลบต้นฉบับเหมือนที่แรนซัมแวร์ตัวอื่นๆ แต่ HardBit 2.0 เลือกที่จะเปิดไฟล์และเขียนทับเนื้อหาด้วยข้อมูลที่เข้ารหัส วิธีการนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญกู้คืนไฟล์ต้นฉบับได้ยากมากขึ้น และทำให้การเข้ารหัสเร็วขึ้น   HardBit…

ยอดภัยคุกคามทางเว็บไม่แผ่ว! พบในไทยกว่า 17.5 ล้านรายการ แนะคนไทยระวัง!

Loading

    แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของรัสเซีย เปิดรายงานล่าสุด ความปลอดภัยทางไซเบอร์ประจำปี สำหรับประเทศไทย ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บต่างๆ จำนวนเกือบ 17.3 ล้านรายการที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในไทย!!!   Key Points :   –  ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 17,295,702 รายการในไทย – ผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 29.1% ถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางออนไลน์ ทำให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 109 ของโลก – เปิด 10 เคล็ดลับเลี่ยงถูกหลอกลวงทางออนไลน์   ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 17,295,702 รายการบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่เข้าร่วม Kaspersky Security Network หรือ KSN ในประเทศไทย ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าปีที่แล้ว 0.46% (17,216,656 รายการ) คิดเป็นผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 29.1% ที่จะถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางออนไลน์ ทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 109 ของโลก  …

จากเรื่องเทคโนโลยีใหม่เอื้อให้เข้าสหรัฐสะดวก

Loading

  สหรัฐเข้ายากสำหรับคนไทย เริ่มจากกระบวนการอันยาวนานของการขอวีซ่า จนกระทั่งตอนสุดท้ายเมื่อเดินทางไปถึง ซึ่งมักจะต้องต่อแถวยาวเหยียดเพื่อรอรับการตรวจหนังสือเดินทางและวีซ่า ตามด้วยการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ศุลกากร   ผมเดินทางเข้าสหรัฐนับร้อยครั้งหลังไปอาศัยอยู่ที่นั่นกว่า 50 ปี กระบวนการดังกล่าวนี้แทบไม่เปลี่ยน เนื่องจากผมยังถือหนังสือเดินทางไทยแม้หลังเป็นผู้สูงวัยจะได้รับ “ใบเขียว” หรือวีซ่าถาวรแล้วก็ตาม จนกระทั่งเมื่อผมมาเมืองไทยครั้งล่าสุดและเพิ่งเดินทางกลับไปสหรัฐเมื่อวันที่ 4 มี.ค.   การเดินทางเข้าสหรัฐครั้งนี้ผมจำใจต้องไปเข้าที่เมืองแอตแลนตา ทั้งที่พยายามเลี่ยงที่นั่นเนื่องจากท่าอากาศยานมีขนาดใหญ่และสายการบินใช้บริการมากไม่ต่างกับท่าอากาศยานของมหานครนิวยอร์ก ทั้งนี้เพราะสายการบินทำผิดพลาดส่งผลให้ผมหมดโอกาสเลือก   ผมแปลกใจเมื่อไปถึงเนื่องจากแถวที่รอตรวจหนังสือเดินทางไม่ยาวตามคาด ทั้งที่เป็นช่วงก่อนเที่ยงวัน ซึ่งสายการบินเข้ามากและมีเจ้าหน้าที่ตรวจหนังสือเดินทางนั่งทำงานอยู่เพียง 3 คน ยิ่งกว่านั้น ผมนำกระเป๋าสัมภาระเดินผ่านด่านศุลกากรได้โดยไม่มีการตรวจตรา   ในความสะดวกเกินคาดนั้น ผมสังเกตเห็นความแตกต่าง 2 ด้านระหว่างครั้งนี้และครั้งที่แล้วๆ มา ซึ่งล่าสุดผมมาเมืองไทยเมื่อปีที่แล้วและกลับสหรัฐในเดือน มิ.ย. นั่นคือการใช้กล้องมองหน้าผู้เดินทางในระหว่างตรวจหนังสือเดินทาง   เจ้าหน้าที่ให้ผมมองกล้องโดยไม่ต้องเปิดหนังสือเดินทางให้ดูแล้วถามผมความว่า “ไสวใช่ไหม?” หลังผมตอบว่าใช่ เขาถามต่อว่า “เอาใบเขียวมาด้วยใช่ไหม?” ผมตอบว่าใช่ พร้อมกับจะแสดงให้เขาดู   เขาบอกผมว่า “คุณไปได้” ผมสังเกตว่า คนข้างหน้าผม นานๆ จึงจะถูกเขาถามมากกว่านั้น หรือให้แสดงเอกสารเดินทาง แต่ละคนน่าจะใช้เวลาเฉลี่ยราว…

‘จีน’ นำหน้า ‘สหรัฐฯ’ ใน ‘เทคโนโลยีสำคัญ’ ถึง 37 จากทั้งหมด 44 แขนง รายงานวิจัยจากออสเตรเลียระบุ

Loading

    หน่วยงานคลังสมองในเครือของรัฐบาลออสเตรเลียระบุในรายงานการวิจัยว่า จีนเป็นผู้นำหน้าใครๆ ในโลกเทคโนโลยีแขนงปัญญาประดิษฐ์ ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก โดรน และแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ขณะที่สหรัฐฯ ยังครองแชมป์ในแขนงการทำชิป และการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง   ประเทศจีนเวลานี้เป็นผู้นำหน้าใครๆ ทั่วโลกในเทคโนโลยีสำคัญๆ ถึง 37 แขนง จากทั้งสิ้น 44 แขนง รวมทั้งทางด้านขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดรน และแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ทั้งนี้ ตามรายงานวิจัยของออสเตรเลียที่นำออกเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้   จีนยังเป็นอันดับ 1 ของโลกในพวกเทคโนโลยีกลาโหม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ เมื่อพิจารณาจากแง่ของการทำวิจัยซึ่งมีผลกระทบอย่างสูง สถาบันนโยบายทางยุทธศาสตร์ของออสเตรเลีย (Australian Strategic Policy Institute หรือ ASPI) ระบุในรายงานฉบับดังกล่าว   ทั้งนี้ ASPI เป็นหน่วยงานคลังสมองด้านกลาโหมและนโยบายทางยุทธศาสตร์ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในกรุงแคนเบอร์รา ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลออสเตรเลีย และได้รับเงินทุนจากพวกรัฐบาลต่างประเทศ ตลอดจนพวกบริษัทด้านกลาโหมและเทคโนโลยีด้วย   รายงานฉบับนี้ของ ASPI ระบุอีกว่า จีนยังมีความยอดเยี่ยมในแขนงอื่นๆ…

จริงหรือที่ TikTok ส่งข้อมูลผู้ใช้ให้รัฐบาลจีน จนหลายประเทศรุมแบน

Loading

    ในช่วงที่ผ่านมา TikTok แพลตฟอร์มสัญชาติจีน เผชิญการปิดกั้นจากหลายประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่ออกมาตรการห้ามใช้งาน TikTok บนอุปกรณ์ของรัฐ รวมถึงการห้ามไม่ให้มีบัญชีทางการของเจ้าหน้าที่รัฐบนแพลตฟอร์ม   การแบน TikTok ลามไปถึงประเทศอื่น ๆ อย่าง แคนาดาและไต้หวัน ที่ออกมาตรการในลักษณะเดียวกัน ขณะที่ เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ที่ก็กำลังหารือแนวทางการแบน TikTok เช่นกัน ซึ่งกระแสต่อต้าน TikTok จากนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศมีมากขึ้นทุกวัน     แต่ที่หนักหน่วงที่สุดเห็นทีจะเป็นอินเดียที่แบน TikTok ตั้งแต่ปี 2020 และเป็นการแบนชนิดที่เรียกว่าถอนรากถอนโคน ควบคุมไปยังประชาชนด้วย ไม่เฉพาะแต่ในอุปกรณ์ของรัฐเท่านั้น   เพราะเหตุใดแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมอย่างผู้คนกว่า 1,000 ล้านคนจากทั่วโลกถึงตกเป็นเป้าจากรัฐบาลทั่วโลก   ทำไมถึงแบน TikTok   ประเด็นหลักที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ให้เหตุผลในการแบน TikTok ก็คือข้อห่วงกังวลด้านความปลอดภัย สำคัญที่สุดคือความกลัวว่า TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของจีน…

ทำไม เมืองบักห์มุต มีความสำคัญ? รัสเซีย-ยูเครนปะทะเดือดเกือบ 8 เดือน

Loading

    ทำไมเมืองบักห์มุตจึงกลายเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ลากยาวมานานเกือบ 8 เดือน หลังจากปูตินเปิดฉากทำสงครามในยูเครนเมื่อ 24 ก.พ. 2565 ก่อนสงครามจะอุบัติขึ้น เมืองบักห์มุต ทางภาคตะวันออกของยูเครน เป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางการผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ แต่แล้วเมืองอุตสาหกรรมเล็กๆ แห่งนี้ ได้กลับกลายเป็นสมรภูมิรบดุเดือดที่สุด จนทำให้เมืองบักห์มุต กลายสภาพเป็น ‘เมืองผี’ ร้างไร้ผู้คนจนน่าวังเวง ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญบางคน มองว่าเมืองบักห์มุต ไม่ได้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์การรบแต่อย่างใด แต่เหตุผลที่รัสเซียโหมโจมตี โดยมอบหมายให้กลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์ เป็นหัวหอกบุกทะลวงยึดบักห์มุต เนื่องจากต้องการได้ลิ้มรสชัยชนะในสงคราม แม้จะเป็นเพียงชัยชนะใน ‘เชิงสัญลักษณ์’ ก็ตาม   สื่อทรงอิทธิพลในสหรัฐฯ อย่างวอชิงตันโพสต์ชี้ว่าหากมีเมืองใดเมืองหนึ่งที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการห้ำหั่นบดขยี้กันอย่างดุเดือดมากที่สุดแล้วล่ะก็ เมืองนั้น คือ บักห์มุต   เพราะเมืองบักห์มุต ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของยูเครน ได้กลายเป็นศูนย์กลางการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ลากยาวมานานถึงราว 8 เดือนแล้ว และทำให้เมืองบักห์มุตแห่งนี้ กลายสภาพเป็น ‘เมืองผี’ ร้างไร้ผู้คนจนน่าวังเวง   ตลอดเกือบ 8 เดือนที่ผ่านมา รัสเซียได้ระดมส่งกำลังทหารระลอกแล้วระลอกเล่า โดยมีกลุ่มทหารรับจ้างจากบริษัท ‘แวกเนอร์’ ในรัสเซียเป็นแกนนำในสมรภูมิรบที่นี่ บุกโจมตีเพื่อพยายามยึดเมืองบักห์มุตอย่างไม่รามือ จนทำให้ รัสเซียกำลังใกล้จะได้ชัยชนะ จ่อยึดเมืองบักห์มุตได้แล้วเต็มที…