เช็ก 6 สถานที่ปลอดภัยที่สุด หากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 : สงครามนิวเคลียร์

Loading

    เปิดรายงานการศึกษาครั้งใหม่จากมหาวิทยาลัยนิโคเซีย ในไซปรัส ซึ่งมุ่งไปที่ผลลัพธ์เลวร้าย หากเกิดความขัดแย้งจนเป็น “สงครามนิวเคลียร์” โดยหลายประเทศอาจเผชิญภาวะอดอยากครั้งใหญ่ แล้วประเทศไหนปลอดภัยที่สุด   ขณะที่บางประเทศ เช่น อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และไอซ์แลนด์ จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ท่ามกลางความตึงเครียดทั่วโลกยังคงทวีความรุนแรงขึ้น ส่วนสถานที่หลบภัย ได้รับการพิจารณาว่า มีความปลอดภัยที่สุด เช่น นิวซีแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์   ถึงอย่างไรการทำความเข้าใจกับความเสี่ยงเหล่านี้ และการเตรียมพร้อม เพื่อความอยู่รอดจากสงครามนิวเคลียร์ จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่   ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น และความเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้งนิวเคลียร์ กลายเป็นปัญหาที่น่าวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ ในรายงานการศึกษาล่าสุด ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food ได้เน้นย้ำถึงผลที่ตามมาอันเลวร้ายจากสงครามนิวเคลียร์ อาจมีผลต่อแหล่งอาหารของโลก นอกเหนือจากการทำลายล้างที่เป็นผลทันทีจากนิวเคลียร์ ซึ่งมาจากรังสี ความร้อน และผลกระทบแรงระเบิด   รายงานนี้สร้างขึ้นจากการจำลองสงครามนิวเคลียร์สร้างผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและพื้นที่เกษตรกรรม เผยให้เห็นผลคาดการณ์ชัดเจนว่า แหล่งผลิตอาหารทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ผู้คนกว่า 6.7 พันล้านคนทั่วโลกต้องอดอยาก   นิวเคลียร์ทำลายแหล่งผลิตอาหารโลก   หากสงครามนิวเคลียร์ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลกต้องเผชิญความเลวร้าย การศึกษาฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศต่างๆ…

วิกฤตขาดบุคลากร ช่องโหว่ใหญ่เหตุ ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

  “ฟอร์ติเน็ต” เผย วิกฤติขาดแคลนบุคลากร เพิ่มช่องโหว่การละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำรวจพบองค์กรในไทยเกินกว่าครึ่งต่างเคยประสบกับปัญหานี้มาแล้ว ด้านผลกระทบมีตั้งแต่ปัญหาด้านการเงิน การดำเนินงานหยุดชะงัก ตลอดจนปัญหาการเสื่อมเสียชื่อเสียง   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต เผยว่า การมีบุคลากรด้านไซเบอร์ที่ได้รับการฝึกอบรมและผ่านการรับรองถือเป็นปราการป้องกันด่านแรกสำหรับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   ฟอร์ติเน็ตพบว่า 92% ขององค์กรในประเทศไทย พบว่าการละเมิดข้อมูลในปีที่ผ่านมามีส่วนมาจากการขาดทักษะทางไซเบอร์ และ 72% มาจากความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นจากช่องว่างด้านทักษะ โดยรวม 68% ขององค์กรในประเทศไทย ต่างเคยประสบกับการละเมิดเนื่องจากมีช่องว่างด้านทักษะทางไซเบอร์   รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเป้าหมายหลักของการโจมตีด้วยวิธีการที่ซับซ้อน   ตั้งแต่การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ตลอดจนช่วงโหว่ในซัพพลายเชน ทำให้องค์กรมากมายต้องตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงักและเกิดความไม่ปลอดภัยกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน   ช่องว่าง ‘ทักษะทางไซเบอร์’ กระทบหลายบริษัททั่วโลก   รายงานการศึกษาช่องว่างด้านทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทั่วโลก (Global Cybersecurity Skills Gap Report) ของฟอร์ติเน็ตประจำปี…

เปิดหลักการ ‘6 ข้อ’ เสริมความปลอดภัย ‘OT Cybersecurity’

Loading

    คู่มือเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 ข้อเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและจัดการดูแลสภาพแวดล้อม OT ของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย   สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) ร่วมกับหน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จากออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร เผยแพร่คู่มือเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 ข้อเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและจัดการดูแลสภาพแวดล้อม OT ของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย   1.ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ: นอกจากการเปลี่ยนแปลงของระบบไอทีมีผลกับความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจขององค์กรแล้ว สภาพแวดล้อม OT ก็มีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอาจนำไปสู่ภัยคุกคามและสามารถสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับอุปกรณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องได้ หากโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบประปาและพลังงานถูกโจมตี อาจทำให้เกิดหายนะกับชุมชนและบุคคลทั่วไปได้ และเพื่อความปลอดภัย ผู้ดูแลด้าน OT ควรพิจารณาวิธีการที่จะทำให้ระบบสามารถรีสตาร์ท สำรองข้อมูลเพื่อลดโอกาสที่ระบบจะหยุดทำงานและคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในทุกระบบงานไม่เว้นแม้แต่งานด้าน cyber-hygiene   2.ความรู้ทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ: ทีมเจ้าหน้าที่ควรรู้ว่าสิ่งใดที่ต้องปกป้องดูแล รวมถึงความเสี่ยงและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพราะจะทำให้ระบบภายในดีขึ้น ในทางปฏิบัติอาจมีการสร้าง Playbooks เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีข้อมูลที่เพียงพอ เช่น การกำหนดรหัสสีของสายเคเบิลประเภทต่างๆ และการระบุฟังก์ชันเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน   3.ข้อมูล OT มีความสำคัญที่ต้องปกป้อง: เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐาน OT ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง…

สกมช.- สดช. ตั้งการ์ดสูงป้องภัยไซเบอร์ เน้นมาตรฐานใช้งาน ‘คลาวด์’ ทั้งระบบ

Loading

  สกมช.เอ็มโอยูร่วม สดช. สร้างมาตรการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ทุกมิติ มุ่งยกระดับ
การป้องกันภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของไทยให้เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เพื่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้ครอบคลุม จึงได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือสกมช. และสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สดช.   โดยถือเป็นก้าวสำคัญในยุคที่มีการนำเทคโนโลยีคลาวด์เข้ามามีบทบาทสำคัญ ระบบคลาวด์ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แต่ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น   เพื่อให้การใช้ระบบคลาวด์ในประเทศไทยเป็นไปอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีมาตรฐาน สกมช. และ สดช. ได้ร่วมกันพัฒนามาตรการ และแนวทางต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลบนระบบคลาวด์ เช่น การกำหนดมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านไซเบอร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างความพร้อมให้กับหน่วยงานต่างๆในการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น   ในวันนี้จึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของ นโยบาย Cloud First Policy ของรัฐบาล ซึ่งเป็นแนวทางที่หน่วยงานภาครัฐต้องพิจารณาการใช้ระบบคลาวด์เป็นลำดับแรกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนต่อการดำเนินงาน ตลอดจนรองรับการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่รัดกุม และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างเต็มศักยภาพ   สกมช. ได้ออกประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของระบบคลาวด์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของการใช้บริการคลาวด์สาธารณะในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบาย Cloud…

ความพินาศจากสงครามโลกครั้งที่ 3 นั้นขึ้นอยู่ที่หัวรบของขีปนาวุธโดยแท้

Loading

    ความพินาศจากสงครามโลกครั้งที่ 3 นั้นขึ้นอยู่ที่หัวรบของขีปนาวุธโดยแท้   เมื่อวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้อนุญาตให้ยูเครนสามารถใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลของสหรัฐอเมริกาที่มอบให้ยูเครนทำการโจมตีในพื้นที่ลึกเข้าไปในรัสเซียได้ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐได้ปฏิเสธคำขอของทางการยูเครน และไม่อนุญาตให้ยูเครนโจมตีเข้าไปดินแดนรัสเซียด้วยการใช้ขีปนาวุธ ATACMS ของสหรัฐ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้สงครามลุกลามบานปลาย ซึ่งถือว่าเป็นการทิ้งทวนของโจ ไบเดน ที่พลิกนโยบายของสหรัฐต่อสงครามรัสเซีย-ยูเครน เพราะนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคมปีหน้านี้ และอาจทำให้อนาคตการสนับสนุนยูเครนของสหรัฐสะดุดหยุดลงก็ได้   ครับ ! ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายนนี้เอง ยูเครนยิงขีปนาวุธเชิงยุทธวิธีกองทัพบก ATACMS (Army Tactical Missile System) ของสหรัฐอเมริกา 6 ลูก เข้าใส่แคว้นบรีแยนสก์ของรัสเซีย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่กองทัพยูเครนใช้ขีปนาวุธโจมตีระยะไกลเข้าไปในรัสเซีย นับตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้น และในวันเดียวกันนี้ยูเครนยังใช้ขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Storm Shadows ของอังกฤษโจมตีเข้าไปในดินแดนรัสเซียอีกด้วย   ทันทีทันใดเช่นกัน ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ว่า รัสเซียได้ใช้ขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลางรุ่นใหม่ชื่อโอเรชนิค โจมตีเมืองดนิโปรในภาคตะวันออกของยูเครนเพื่อตอบโต้แบบทันควัน…

วิธีบล็อกคนอื่นแชร์ไฟล์บน Google Drive เพื่อความปลอดภัย

Loading

  วิธีบล็อกคนอื่นแชร์ไฟล์บน Google Drive เพื่อความปลอดภัย เชื่อว่าทุกท่านส่วนใหญ่เคยใช้และใช้ Google Drive ในการแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ให้ผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย แต่คุณสมบัตินี้ก็อาจดึงดูดสแปม มัลแวร์ และการพยายามฟิชชิ่งด้วยเช่นกัน     มิจฉาชีพอาจใช้คุณสมบัติการแชร์ของ Google Drive เพื่อส่งไฟล์ที่เป็นอันตราย ซึ่งจะปรากฏใน Google Drive ของคุณโดยอัตโนมัติ หรือคนอื่นที่เคยทำงานร่วมกันบน Google Drive มาปัจจุบันนี้เค้าไปทำงานที่ใหม่แล้วแต่ข้อมูลที่เคยแชร์ไฟล์นั้นยังอยู่ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลที่เราทำงานหรือบริษัทที่เราทำงานนั้นอาจรั่วไหลได้ ในบทความนี้ มาดูวิธีหยุดปัญหานี้กัน   ผลกระทบของการบล็อกผู้ใช้บน Google Drive   ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่ไม่ต้องการได้เพียงไม่กี่คลิก คุณสมบัตินี้ยังมีประโยชน์เมื่อคุณไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่แชร์ไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อคุณบล็อกใครบางคนบน Google Drive คุณจะมีตัวเลือกให้เลือกสามตัวเลือก:   1. บล็อกผู้ใช้ไม่ให้แชร์ไฟล์กับคุณในอนาคต ตัวเลือกนี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณได้รับสแปมหรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมจากบุคคลนั้น นอกจากนี้ หลังจากที่คุณบล็อกผู้ใช้รายอื่นใน Google Drive แล้ว คุณจะไม่สามารถส่งไฟล์ให้พวกเขาได้อีกจนกว่าคุณจะปลดบล็อก    2.ลบไฟล์ทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ที่ผู้ใช้แชร์ไว้ เมื่อคุณบล็อกใครบางคนใน Google Drive…