e-Signature กับ ตราประทับนิติบุคคลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำยังไง ? ใช้แทนกันได้ไหม ??

Loading

    ปัจจุบันการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจดทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเท่านั้น แต่เราสามารถเลือกวิธีที่สะดวกสบายกว่า อย่างการจดทะเบียนนิติบุคคลออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย   อีกทั้งหลายบริษัทเริ่มทำเอกสารเป็นอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเพราะทำได้ง่ายและสะดวกในการรับส่งมากกว่า แต่ก็ทำให้เกิดคำถามอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะนิติบุคคลที่ต้องการใช้งานทั้งการเซ็นเอกสารและใช้งานตราประทับว่าแบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องทำยังไง ? 2 อย่างนี้สามารถใช้แทนกันได้ไหม ?   ดังนั้นบทความนี้ จะขอเล่าถึงภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และนำไปสู่คำถามในเรื่องความเกี่ยวข้องของการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และการประทับตราของนิติบุคคลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะแยกประเด็นสำคัญในการตอบคำถามนี้ออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้   ภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์   เมื่อบุคคลต้องการแสดงเจตนาที่จะผูกพันตามข้อความ เช่น รับรองความถูกต้องของข้อความหรือยอมรับเงื่อนไขตามข้อความที่ปรากฏในข้อตกลง บุคคลดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษซึ่งเป็นวิธีการทั่วไปที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน หรือการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ร.บ. ธุรกรรมฯ)   ? สิ่งสำคัญของการลงลายมือชื่อ คือ การทำให้เกิดหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความดังกล่าว โดยวัตถุประสงค์หรือเหตุผลของการลงลายมือชื่อนั้นอาจแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์และการทำธุรกรรมแต่ละประเภท   ประเด็นแรก:   ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ธุรกรรมฯ คืออะไร ?   ??คำตอบ สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ…

คำถามนี้ “ดี” พี่ตอบให้: ความน่าเชื่อถือของ e-Signature และการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

กลับมาอีกครั้งกับคำถามที่ทุกคนต้องถาม ! “e-Signature” คำดี คำเดิม !!   ถึงแม้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะบอกชัดเจนว่า การเซ็นด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับลายเซ็นลงบนกระดาษ… แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่ามันน่าเชื่อถือจริงๆ หรือเปล่า ? ต้องเป็นข้อมูลแบบไหน / ลายเซ็นอิเล็กทรอนิก์แบบไหนกันนะ ถึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ ?? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของทุกคนกันค่ะ   1. ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ? ตอบ : ได้ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 วรรคแรก ระบุไว้ว่า “ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์… ”   แต่การที่ศาลจะเชื่อถือในพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือความพยายามหลักฐาน โดยศาลอาจพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น การสร้าง การเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ศาลอาจพิจารณาถึงความครบถ้วน…

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! รวมคำถามฮิต e-Signature / Digital Signature

Loading

1. “รูปลายเซ็น ตัด แปะ” ลงในไฟล์ PDF และส่งทางอีเมลถือเป็น e-Signature หรือไม่ ? ตอบ : ก่อนอื่นต้องมาทบทวนความหมายของ e-Signature กันก่อน เนื่องจาก e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ถูกสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น   ดังนั้น จากคำถามข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปลายเซ็นที่ตัดแปะลงในไฟล์ PDF สามารถเป็น e-Signature ตามมาตรา 9 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งจะเรียกกันว่า “e-Signature แบบทั่วไป” นั่นเอง โดย e-signature ดังกล่าวตามกฎหมายจะต้องระบุองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้ ดังนี้ 1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นลายเซ็นคือใคร 2. สามารถระบุเจตนาตามข้อความที่เซ็นได้ ว่าเป็นการเซ็นเพื่ออะไร…

สจล.เปิดบ้านจัดเอ็กซ์โปโชว์นวัตกรรม 1,111 ชิ้น

Loading

    สจล.หนุนนวัตกรรมไทยสู่ระดับโลก เตรียมจัดงาน KMITL INNOVATION EXPO 2023 วันที่ 27-29 เมย.นี้ โชว์พลังสิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทย 1,111 ชิ้น เผยโฉม ‘แบตเตอรี่กราฟีน’ เปลี่ยน EV ให้โลกยั่งยืน   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ.ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการอธิการบดี ผนึกความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และพันธมิตรนานาชาติ แถลงเตรียมจัดงาน “KMITL Innovation EXPO 2023” ในวันที่ 27 – 29 เม.ย. 2566 ที่ สจล.   การแสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 1,111 ชิ้น เผยตัวอย่าง 4 นวัตกรรมสุดว้าว แบตเตอรี่กราฟีนสำหรับยานยนต์ EV ในอนาคต ผ้าไหมไทยย้อมกราฟีนแบบใส่ในเมืองร้อนและเมืองหนาว เม็ดพลาสติกกราฟีน และระบบตรวจจับ…

เอกชน-รัฐ เช็คด่วน! ระบบประชุมออนไลน์ e-Meeting ที่ใช้อยู่ ผ่านมาตรฐาน ปลอดภัยไหม และมาดูการรับรองระบบในปัจจุบันโดย ETDA

Loading

    “การประชุมออนไลน์” หรือ e-Meeting กลายเป็นสิ่งที่หลายคน หลายองค์กรต่างใช้งานและคุ้นชินไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการประชุมออนไลน์ภายในองค์กรหรือนอกองค์กร ที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้าหรือหุ้นส่วนใดๆ ก็ตาม และดูเหมือนว่าการประชุมออนไลน์จะยังคงเป็นส่วนสำคัญของทุกการทำงานและธุรกิจต่อไป เพราะหลายธุรกิจต่างปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid ที่การทำงานไม่จำกัดอยู่แค่ภายในออฟฟิศเท่านั้น เห็นได้จากข้อมูลของ World Economic Forum ระบุว่า พนักงานทั่วโลกเลือกทำงานนอกสถานที่ทำงาน เพิ่มขึ้นสองเท่า จากเดิมปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 16.4 เพิ่มเป็นร้อยละ 34.4 ในปี 2564 โดยใช้แพลตฟอร์มในการประชุมออนไลน์ที่หลากหลาย อาทิ Microsoft Teams, Google Meet, ZOOM และ Cisco WebEx เป็นต้น   แม้ทุกวันนี้การประชุมออนไลน์ จะเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ได้รับความนิยม ที่จะช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น แต่เมื่อหลายองค์กรมีการจัดประชุมและกิจกรรมออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญระหว่างกันทางออนไลน์ “เราจะมั่นใจได้อย่างไร? ว่าระบบการประชุมออนไลน์ ที่เราเลือกใช้งานมีความปลอดภัยและเป็นระบบที่สอดคล้องเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด”   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า)…

“หลอกเชือดหมู” ลวงรักสาวเอเชียจากฐานใหญ่ในกัมพูชา

Loading

    ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วโลกได้สูญเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับแก๊ง “หลอกเชือดหมู” ซึ่งเป็นขบวนการโรมานซ์สแกมที่ต้มตุ๋นให้เหยื่อหลงรัก โดยเริ่มจากการปลอมตัวเป็นคนแปลกหน้าทรงเสน่ห์ที่ส่งข้อความเป็นมิตร สานสัมพันธ์ให้เหยื่อตกหลุมรักก่อนหลอกชวนลงทุนแล้วเชิดเงินหนีไป   เบื้องหลังภาพโปรไฟล์อันหรูหราที่ใช้หลอกล่อเหยื่อคือความจริงอันดำมืดที่ตัว “สแกมเมอร์” หรือนักต้มตุ๋นหลายคนที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ถูกบังคับให้ทำงานหลอกเงินผู้คนจากสถานที่ที่ไม่ต่างจากคุกในประเทศต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น กัมพูชา และไทย   การตรวจสอบของทีมข่าวบีบีซี เวิลด์เซอร์วิส ได้เปิดโปงสภาพชีวิตในสถานที่ทำงานของอาญชากรเหล่านี้ และได้พูดคุยกับอดีตหัวหน้าแก๊งเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการอันแยบยลในการหลอกเอาเงินจากเหยื่อ   *คำเตือน* บทความนี้มีการบรรยายเหตุการณ์ที่รุนแรงซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านบางคนรู้สึกไม่สบายใจ   ตอนที่ “เสี่ยว จุ้ย” (นามสมมุติ) ทำงานเป็นสแกมเมอร์ เขามองว่าเสียงอันแหบลึกของเขาเป็นคุณสมบัติอันโดดเด่นที่สุดในตัว เพราะมันช่วยให้เขาพูดกล่อมเหยื่อให้ทำในสิ่งที่เขาต้องการได้   เขาเรียกเหยื่อเหล่านี้ว่า “หมู” ลับหลังพวกเธอ และเป้าหมายของเขาคือการ “ขุน” แล้ว “เชือด” เหยื่อในท้ายที่สุด ซึ่งหมายถึงการใช้กลวิธีต่าง ๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์ให้เหยื่อหลงรัก ก่อนจะหลอกให้ร่วมในการลงทุนสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่มีอยู่จริงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   “กุญแจสำคัญของการหลอกเชือดหมูคืออารมณ์ความรู้สึก” เสี่ยว จุ้ย ชาวจีนวัย 20 ตอนปลายให้สัมภาษณ์กับบีบีซีจากเซฟเฮาส์แห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ…