แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์ ‘PayPal’ ส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตราย

Loading

  ปัจจุบันภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกท่านจะเห็นข่าวภัยไซเบอร์ได้จากทั่วทุกมุมโลก หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยของเราเองก็มีการนำเสนอจากสื่ออยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแฮ็กเพื่อโจรกรรมเอาข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ให้ความสนใจในการปฏิบัติโจมตีเพราะผลตอบแทนสูงและสามารถเข้าถึงในคนหมู่มากเลยก็ว่าได้   ในวันนี้ผมอยากพูดถึงกรณีของ PayPal ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รู้จักกันดีและมีผู้ใช้บริการจำนวนมากทั่วโลกได้ถูกแฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์โดยการแฝงตัวส่งใบแจ้งหนี้ปลอมไปยังผู้ใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มโดยตรง   ทาง PayPal ได้ออกประกาศแจ้งลูกค้าหลายพันรายในสหรัฐว่า การเข้าสู่ระบบถูกบุกรุกเมื่อช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยว่า การโจมตีครั้งนี้มีความแตกต่างจากการโจมตีครั้งก่อน ๆ   การที่ทีมนักวิจัยค้นพบเพราะครั้งนี้คือการปลอมแปลงและส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตรายซึ่งมาจาก PayPal ผ่านอีเมลฟิชชิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีครั้งนี้โดยเนื้อหาระบุว่า ผู้ใช้บริการมีบัญชีที่มีการฉ้อโกงและขู่ปรับสูงถึง 699.99 ดอลลาร์ หากเหยื่อไม่ดำเนินการ   อย่างไรก็ตาม หากมีการสังเกตเนื้อหาของอีเมลจะพบว่า เราสามารถเตือนผู้ใช้งานบางคนที่มีความระมัดระวังได้ว่า อีเมลนั้นไม่ใช่อีเมลของจริงจาก PayPal เพราะรูปแบบประโยคไม่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์และมีการสะกดคำผิดอยู่หลายจุดในเนื้อความของอีเมล อีกทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้ในอีเมลไม่มีความเกี่ยวข้องกับ PayPal เลย   ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานบางคนอาจยังคงตัดสินใจโทรไปที่หมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเมลที่ได้รับ เพราะเจตนาของการทิ้งเบอร์โทรให้เหยื่อติดต่อกลับเพื่อที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์จะได้ทราบหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเหยื่อและนำหมายเลขโทรศัพท์นี้ไปใช้ในการโจมตีอื่น ๆ เพิ่มเติมซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ในการหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์   หากเรามองในแง่ว่าทำไมเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ถึงเลือกใช้ PayPal ในการโจมตี เราจะพบว่าประโยชน์ของการใช้ PayPal ที่เด่นชัดมากคือความสามารถในการส่งใบแจ้งหนี้จำนวนมากในแต่ละครั้งและทำให้ดูเป็นมืออาชีพอย่างมาก   อีกทั้งอีเมลที่มาจาก PayPal โดยตรง ตัวอีเมลเองไม่ได้เป็นอันตรายและยังมีใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมายจำนวนนับไม่ถ้วนที่ส่งผ่าน…

ChatGPT : กฎหมาย AI และอนาคต (ภาคแรก)

Loading

  นับจากการเปิดตัวของ ChatGPT ในปลายปี 2565 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์ ผู้เขียนจึงหยิบยกมาอธิบายและวิเคราะห์ในมุมมองของผู้เขียน แต่ด้วยเนื้อหาที่มีค่อนข้างมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอน   ChatGPT คืออะไร?   หากเราลองคีย์ถาม ChatGPT ให้อธิบายคุณลักษณะของตัวเอง ก็จะได้คำตอบทำนองว่า ChatGPT คือ Chatbot ที่ใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของบริษัท OpenAI ที่ใช้วิธีการประมวลผลภาษาธรรมชาติในการทำงาน   ดังนั้น ChatGPT คือ การทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาของมนุษย์ จนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างข้อความอย่างที่มนุษย์ใช้สื่อสารได้   หากได้ลองใช้งาน จะทราบว่า ChatGPT ไม่ใช่แชตบอตธรรมดาที่ตอบคำถามแบบบอตอื่นๆ ที่เราเคยใช้งานมา แต่คำตอบที่ได้มานั้นผ่านการวิเคราะห์ รวบรวม และประมวลผลออกมาเป็นภาษาธรรมชาติคล้ายกับภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน     ChatGPT กับ การแทนที่งานในปัจจุบัน   ความกังวลในการแทนที่งานปัจจุบันของ ChatGPT เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมาโดยตลอด ซึ่งหากวิเคราะห์จากความสามารถของ ChatGPT ก็พบว่าสามารถประยุกต์ใช้ในงานที่ต้องการการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้   ดังนั้น ผู้เขียนขอจัดแบ่งกลุ่มงานที่อาจได้รับผลกระทบจาก ChatGPT…

วิธีตั้งเวลาลบไฟล์ ในโฟลเดอร์ Download โดยอัตโนมัติ บน Windows11

Loading

      วิธีตั้งเวลาลบไฟล์ ในโฟลเดอร์ Download โดยอัตโนมัติ สำหรับผู้ใช้คอมใหม่หรือ Windows11 เชื่อว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องเคยดาวน์โหลด รูปภาพ เอกสาร เพลง อย่างแน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดบนบน Downloads ของ Windows แล้วไม่ค่อยได้ลบ และอาจไม่ค่อยได้เปิดดูบ่อย ๆ ทำให้มีไฟล์จำนวนมากอยู่ในโฟลเดอร์ดาวน์โหลด ซึ่งรกน้อยกว่า Desktop ที่เป็นไอคอนเยอะ ๆ แต่ก็กินเนื้อที่ไม่น้อยหากไฟล์ดาวน์โหลดนั้นเป็นไฟล์ขนาดใหญ่    บทความนี้จะเป็นการบอกเคล็ดลับการลบไฟล์ในโฟลเดอร์ Download โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องคอยลบเอง   วิธีตั้งเวลาลบไฟล์ ในโฟลเดอร์ Download โดยอัตโนมัติ บน Windows11     ไปที่ หน้า Settings > เลือก System > เลือก Storage > เลือก Storage Sense  …

ส่อง“สมาร์ทซิตี้”ในไทย…ลงทุนยกระดับชีวิตคนท้องถิ่น

Loading

    การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทย   การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ ที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน!?!   ซึ่งทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2564-2565 ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแล้ว 30 เมือง!?!   ทิศทาง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร? หาคำตอบได้ด้านล่างนี้?!?   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)” บอกว่า รัฐบาลมีนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้ยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เมืองเจริญทันสมัย และน่าอยู่ ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างทั่วถึง   “ภายในสิ้นปี 66 นี้มีเป้าหมายจะส่งเสริมเเมืองอัจฉริยะ เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 15 เมืองรวมเป็น 45 เมือง และประเมินว่าการพัฒนา เมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนรวม มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท และจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต”     อย่างไรก็ตาม…

‘ChatGPT’ ดาบสองคม เขย่าสมรภูมิไซเบอร์

Loading

    ความพยายามของมนุษย์ในการจำลองและถอดรหัสความนึกคิดของมนุษย์ทำให้วันนี้โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่ง “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ” สมองกลอัจฉริยะสุดล้ำที่กำลังเข้ามาพลิกโฉมการทำงานและการใช้ชีวิต…   ฌอน ดูก้า รองประธาน และหัวหน้าหน่วยระบบรักษาความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ แสดงทัศนะว่า การค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ควรเป็นเรื่องที่ไม่มีพิษไม่มีภัย แต่ในความเป็นจริงทุกสิ่งอาจดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้นำไปใช้   ในมุมของเอไอที่เป็นที่ฮือฮาอย่างมากขณะนี้หนีไม่พ้น “ChatGPT” บอตเอไอแบบข้อความซึ่งอาศัยความสามารถของเอไอขั้นสูง ที่ทำได้ทั้งการแก้บั๊กในการเขียนโค้ด การเขียนสูตรอาหาร การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ ไปจนถึงการแต่งเพลงใหม่ได้ทั้งเพลง     เรียกได้ว่า ChatGPT ได้แสดงศักยภาพของเอไอที่น่าตกใจในการปลดล็อกความสามารถใหม่ ๆ ที่เหลือเชื่ออีกทางหนึ่งหลายคนก็มองว่าเอไอเป็นดาบสองคม   อันตรายยิ่งกว่าฝีมือมนุษย์   ต่อคำถามที่ว่า แชตบอตยุคใหม่สร้างปัญหาจริงหรือไม่ นับตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT เมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจารณ์ด้านเทคโนโลยีต่างกังวลถึงผลกระทบของเครื่องมือสร้างคอนเทนต์จากเอไอ   โดยเฉพาะในด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ว่าซอฟต์แวร์เอไอจะทำให้อาชญากรรมทางไซเบอร์กระจายไปทั่วหรือไม่   เหตุเพราะว่า แม้แต่แฮ็กเกอร์มือสมัครเล่นก็อาจใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพัฒนาโปรแกรมมัลแวร์อัจฉริยะและลอบโจมตีเป้าหมายโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน  …

เพราะอะไรถามคำถาม AI แล้วได้คำตอบผิด ๆ ในบางครั้ง

Loading

    จากการเปิดตัวเสิร์ชเอนจิน Bing เวอร์ชันใหม่ล่าสุดของ Microsoft ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สิ่งที่มีความแตกต่างจากเสิร์ชเอนจินเจ้าอื่น ๆ ในตลาด คือ มีระบบแชตบอตที่สามารถให้คำตอบที่บรรยายเป็นคำพูดพร้อมกับความชัดเจน และกระชับเข้าใจได้อย่างง่ายยิ่งขึ้น   แต่หลังจากเปิดให้ใช้งานแชทบอทผู้ใช้ก็ได้สังเกตเห็นบางสิ่งบางอย่างที่แชทบอทยังให้คำตอบที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้   เพื่อทำความเข้าใจทั้งหมดว่ามันเกิดอะไรขึ้น เราก็ต้องมารู้ว่าหลักการทำงานของแชตบอตมันทำงานได้อย่างไรเสียก่อน     1. เรานับว่าแชตบอต AI ทั้งหลายมีชีวิตหรือไม่ ?   คำตอบก็คือ ไม่มีชีวิต   ก็ดูแล้วเมื่อเราได้ถามคำถามไปยังแชตบอต แล้วรูปประโยคที่แชตบอตให้คำตอบออกมาก็ดูมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ตอบกลับมา สิ่งที่แชตบอตทำงานได้เพราะมีการขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โครงประสาทเทียม หรือ Neural Network ที่ฟังดูแล้วก็เหมือนสมองคอมพิวเตอร์ แต่คำนี้แหละที่ทำให้คนเข้าใจผิดไปกันใหญ่   โครงสร้างประสาทเทียม หรือ Nerual Network เป็นระบบคณิตศาสตร์ที่มีการเรียนรู้ทักษะจากการได้รับข้อมูลดิจิทัลที่มีการป้อนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา   ในชีวิตประจำวันมนุษย์มีการใช้งานโครงข่ายประสาทเทียมอยู่ทุกวันโดยที่ไม่รู้ตัวเช่น เทคโนโลยีระบุตัวบุคคล, สัตว์ และสิ่งของที่อยู่ใน Google Photos, ผู้ช่วยคำสั่งเสียง Siri และ Alexa…