ChatGPT คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง คนจะอยู่ได้ยังไง? ถ้า AI ทำงานคล้าย ๆมนุษย์

Loading

    ChatGPT คืออะไร วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาอธิบายสั้น ๆ ให้คุณสามารถเข้าใจได้ และปัจจุบัน ChatGPT ทำอะไรได้บ้าง เชื่อถือได้ไหม และอนาคตมันจะมาแย่งงานเราได้หรือเปล่า   ChatGPT (Chat Generative Pre-trained Transformer) คือ แชทบอทที่สามารถพิมพ์คำถามหรือคำสั่งเข้าไปและสามารถตอบได้ในรูปแบบบทสนทนา     ซึ่ง ดร.ปรัชญา บุญขวัญ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้อธิบายที่มาของ ChatGPT ว่าเป็นการทำงานคล้ายกับว่าเป็นการเดาคำและจับคู่คำที่ทำได้อย่างแม่นยำ โดยเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ChatGPT จึงดูเก่งและฉลาดมาก     ChatGPT ทำอะไรได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยงานเขียนวิจัย ร่างฟอร์มอีเมลหรือจดหมาย รวมถึงการหาข้อมูลต่าง ๆ ในเชิงลึกที่รวดเร็วกว่าการค้นหากูเกิล ทำได้แม้กระทั่งการเขียนโปรแกรม   ChatGPT เบื้องหลังมี 3 ส่วนเล็ก ๆ ได้แก่   1.Transformer Model ทาง AI…

พบ Malicious Code เป็นภัยคุกคามไซเบอร์อันดับหนึ่ง แนะรับมือก่อนถูกโจมตี

Loading

    พบ Malicious Code เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์สูงถึง 54% เป็นอันดับหนึ่งในปี 65 พร้อมแนะองค์กร และประชาชนทั่วไปรับมือก่อนถูกโจมตี สร้างความเสียหายมหาศาล   ศูนย์ปฏิบัติการ Cybersecurity Operations Center หรือ CSOC ของ NT cyfence ได้รวบรวมสถิติภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศในปี 2565 โดยระบุว่า กว่า 54% ของภัยคุกคามทั้งหมด มาจาก 1.Malicious Code ที่เป็นการถูกโจมตีอันดับหนึ่ง   โดยเป็นภัยคุกคามที่เกิดจากโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อส่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์กับผู้ใช้งาน หรือระบบ (Malicious Code) เพื่อทำให้เกิดความขัดข้อง หรือเสียหายกับระบบที่โปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่มีมัลแวร์ติดตั้งอยู่ โดยปกติมัลแวร์ประเภทนี้ต้องอาศัยผู้ใช้งานเป็นผู้เปิดโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ก่อน จึงจะสามารถติดตั้งตัวเองหรือทำงานได้   เช่น Virus, Worm, Trojan หรือ Spyware ต่างๆ ส่วนช่องทางที่จะทำให้มัลแวร์เข้าสู่ระบบคือ พนักงานในองค์กรขาดความตระหนักด้าน Cybersecurity…

เมื่อศาลสูงสหรัฐฯ ต้องตีความมาตรา 230 กับคดีพิพาท Google ที่อาจพลิกโฉมโลกอินเทอร์เน็ตที่เรารู้จัก

Loading

  ในวันอังคารนี้ (28 กุมภาพันธ์) ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาจะเริ่มพิจารณาคดีที่มีชื่อว่า Gonzalez v. Google ซึ่งใจความหลักของคดี คือ การตีความข้อกฎหมายที่เรียกว่า Section 230 ว่ามีขอบข่ายในการปกป้องบริษัทในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตมากแค่ไหน และผลคำตัดสินในคดีนี้อาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมนี้ไปโดยสิ้นเชิง   กฎหมายมาตรา 230 (Section 230) คืออะไร   ในช่วงต้นทศวรรษ 90 ที่อินเทอร์เน็ตกำลังก่อร่างสร้างตัว ชาวอเมริกันต่างก็ตื่นเต้นกับเทคโนโลยีนี้มาก โดยที่ทุกคนมองว่านี่คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ ทุกคนมองถึงโอกาสทางเศรษฐกิจอันจะเกิดจากการเชื่อมคนทุกคนบนโลกไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดีชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีแนวคิดแบบอนุรักษนิยมมองเทคโนโลยีใหม่นี้ด้วยสายตาเป็นกังวล เพราะพวกเขามองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไร้กฎหมายควบคุม ซึ่งอาจจะทำให้เนื้อหาในอินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยสิ่งที่ผิดศีลธรรมทั้งเรื่องเพศ ความรุนแรง และยาเสพติด   ในที่สุดกลุ่มอนุรักษนิยมก็ได้ผลักดันให้วุฒิสภาออกกฎหมายที่มีชื่อว่า Communication Decency Act of 1996 ซึ่งร่างกฎหมายนั้นเน้นไปที่การควบคุมเนื้อหาโป๊เปลือย โดยระบุให้การอัปโหลดหนังโป๊หรือภาพโป๊เปลือยเป็นความผิดตามกฎหมาย   แต่อย่างไรก็ดี เมื่อร่างกฎหมายได้ลงมาพิจารณาที่สภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. 2 คน คือ คริสโตเฟอร์ คอกซ์ และ รอน ไวเดน ได้ออกความเห็นว่าการออกบทลงโทษคนโพสต์อย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอ…

โพลล์การเมืองและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

    ในช่วงนี้ สิ่งที่ผู้คนในประเทศไทยให้ความสนใจที่สุด คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการเมือง ว่าบุคคลใดหรือพรรคใดจะขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ และในช่วงของการเลือกตั้งก็จะเห็นโพลล์การเมืองต่างๆ ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ   ไม่ว่าจะเป็นผลสำรวจความนิยมด้านการเมืองของผู้คนในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือแม้กระทั่งในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง จึงมีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าการสำรวจความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งจะถือเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือไม่   ประเด็นแรกที่ควรพิจารณา คือ “ความคิดเห็นทางการเมือง” เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ จะใช้กับกรณีที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องเท่านั้น   ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญในการพิจารณาว่าข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นทางการเมืองที่องค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยนั้นสามารถจัดเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” ได้หรือไม่ หากพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ จะเห็นคำว่า “ความคิดเห็นทางการเมือง” ปรากฏอยู่ในมาตรา 26 ที่กำหนดถึงฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (sensitive data) แต่ไม่ได้มีการอธิบายขยายความเพิ่มเติม     อีกทั้งในส่วนของความหมายของคำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ก็ได้ให้คำนิยามไว้กว้างๆ ในมาตรา 6 ว่าหมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม…

จาก “ไปป์บอมบ์” สู่ “บอลบอมบ์” พัฒนาการระเบิดแสวงเครื่องแบบขว้าง

Loading

  เหตุการณ์ปาระเบิดแสวงเครื่องแบบขว้าง โจมตีฐานปฏิบัติการหมวดเฉพาะกิจหน่วยปฏิบัติการพิเศษยะลา 1 (มว.นปพ.ยะลา 1) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมทางหลวงหมายเลข 4082 ในพื้นที่บ้านเปาะยานิ หมู่ 3 ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 66 ระเบิดทำงาน 1 ลูก และไม่ทำงาน 1 ลูก แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บนั้น   ระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายใช้ขว้างใส่ฐานในครั้งนี้ มีรูปร่างที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นทรงกระบอก กลายมาเป็นโลหะรูปทรงกลมสีดำ มองเผิน ๆ คล้ายลูกระเบิดขว้างแบบมาตรฐานทางทหาร หรือ “ระเบิดลูกเกลี้ยง”   แต่เมื่อทางเจ้าหน้าที่เข้าทำการเก็บกู้และตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว จึงพบว่าระเบิดดังกล่าว เป็นระเบิดแสวงเครื่องที่มีส่วนประกอบต่าง ๆ เหมือนระเบิดแสวงเครื่อง “ไปป์บอมบ์” ที่คนร้ายเคยใช้ก่อเหตุในหลาย ๆ ครั้งก่อนหน้านี้ แต่ได้เปลี่ยนรูปทรงของระเบิดจากเดิมที่ใช้ท่อเหล็กทรงกระบอก มาใช้ “บอลกลมร้อยท่อโลหะ” ที่ใช้ในงานตกแต่งประตูรั้ว ราวบันไดเหล็ก แล้วใส่ดินระเบิดกับ “บอล แบริ่ง” หรือ “ลูกเหล็ก” ที่ใช้เป็นสะเก็ดระเบิดสังหารเข้าไป…

แนวโน้มสงครามยูเครนในปี 2023 | สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

  สงครามยูเครนเดินทางมาถึง 1 ปีอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะหากดูอำนาจกำลังรบแล้ว กองทัพยูเครนไม่อยู่ในสถานะที่จะรับมือกับการโจมตีขนาดใหญ่ของกองทัพรัสเซียได้เลย   ดังจะเห็นได้จากตัวเลขก่อนสงครามว่า กองทัพบกยูเครนมีกำลังเพียง 145,000 นาย ในขณะที่กองทัพบกรัสเซียมีกำลังมากถึง 280,000 นาย หรือยูเครนมีรถถังหลักเพียง 854 คัน ส่วนรัสเซียมีมากถึง 2,750 คัน กองทัพบกรัสเซียใหญ่เป็น 2 เท่า และมีรถถังมากกว่าประมาณ 3 เท่าของกองทัพบกยูเครน   ปีแรกของสงคราม   หากคิดในมุมของการเปรียบกำลังรบแล้ว จึงแทบมองไม่เห็นหนทางที่ยูเครนจะอยู่รอดได้ถึง 1 ปีเลย เว้นแต่กองทัพรัสเซียมีปัญหาในตัวเอง และไม่มีความพร้อมรบในการทำสงครามขนาดใหญ่ ซึ่งภาวะเช่นนี้ ส่งผลให้กองทัพรัสเซียต้องใช้อำนาจทางทหารกระทำต่อเป้าหมายพลเรือนมากขึ้น เพื่อให้สังคมยูเครนอ่อนล้าจนรบต่อไปไม่ได้ แต่สภาพดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริง รัฐบาลและกองทัพยูเครนยังคงดำรงความสามารถทางทหารที่ยังทำการรบต่อไปได้ แม้สังคมยูเครนในปีแรกจะบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามของรัสเซีย   อย่างไรก็ตาม ถ้าแผนการสงครามเดินไปตามความคาดหวังของประธานาธิบดีปูตินแล้ว การบุกคีฟเพื่อยึดเมืองหลวงของยูเครนน่าจะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากการเปิดสงคราม แต่เมื่อ “ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร” (special military operations) ไม่ประสบความสำเร็จได้จริงแล้ว สงครามจึงพลิกไปในอีกแบบหนึ่ง     หากย้อนกลับไปเมื่อสงครามเริ่มต้นในวันที่…