ย้อนอดีตรถไฟสายชายแดนใต้ฝ่าดงระเบิด

Loading

  เหตุการณ์โจมตีรถไฟและลอบวางระเบิดรางไฟเกิดขึ้นมาแล้วนับร้อยครั้ง ตั้งแต่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา   ข้อมูลที่รวบรวมโดย “ศูนย์ภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา” ระบุว่า ตลอด 18 ปีไฟใต้ มีเจ้าหน้าที่และพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เสียชีวิตจากเหตุการณ์โจมตีรถไฟทุกรูปแบบมาแล้ว จำนวน 8 ราย บาดเจ็บ 48 ราย โดยจำนวนนี้นับรวมเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดระเบิดรางรถไฟล่าสุดสายชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ด้วย   ประเด็นที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งก็คือ เส้นทางรถไฟสายชายแดนใต้มี 2 สายหลัก ๆ ถ้านับจากชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กล่าวคือ   1.เส้นทางรถไฟที่ไปจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จนถึง สถานีสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร มีสถานี 27 สถานี มีจุดล่อแหลมหรือจุดเสี่ยงรวมทั้งสิ้น 12 จุด ส่วนใหญ่เป็นช่วงจากสถานียะลาถึงสถานีสุไหงโก-ลก (ผ่าน อำเภอรือเสาะ เจาะไอร้อง ระแงะ และสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส)…

เผย 5 รูปแบบภัยไซเบอร์จ่อรอโจมตีในปีหน้า!!

Loading

    เมื่อโลกเข้าสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ คนหันมาใช้ชีวิตโดยพึ่งพาออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ “อาชญากรรมไซเบอร์” ก็ขยายตัวสูงตามไปด้วย   เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆที่เตรียมโจมตีโดยมีเป้าหมาย คือ ผู้ใช้งานทั่วไป หรือถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ซึ่งแนวโน้มภัยคุกคามบนไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้าและต่อไปในอนาคต จะเป็นอย่างไร ทาง ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร ได้เผยผลการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์จาก ฟอร์ติการ์ด แล็บส์ (FortiGuard Labs)     โดยแนวโน้มภัยคุกคามใหม่ในปี 2023 หรือ ปีหน้า และต่อไปในอนาคต ที่ต้องเฝ้าระวัง คือ   1. การเติบโต แบบถล่มทลายของการให้บริการอาชญากรรมบนไซเบอร์ตามสั่ง หรือ Cybercime-as-a-Service (CaaS) จากความสำเร็จของอาชญากรไซเบอร์กับการให้บริการแรนซัมแวร์ในรูปแบบ as-a-service (RaaS) ทางฟอร์ติเน็ตคาดการณ์ว่าจะมีกระบวนการหรือเทคนิคการโจมตีแบบใหม่ๆ จำนวนมากที่จะมาในรูปแบบของ as-a-service ผ่านทางเว็บมืด (dark web) และยังเป็นจุดเริ่มต้นของโซลูชั่นให้บริการแบบ a-la-carte หรือให้เลือกได้จากเมนูอีกด้วย   ภาพ pixabay.com   หนึ่งในวิธีการป้องกันการโจมตีใหม่ ๆ นี้ คือการให้การศึกษาและอบรมเรื่องของความตื่นรู้ ทางด้านความ ปลอดภัยไซเบอร์ โดยในหลายองค์กรสร้างโปรแกรมฝึกอบรมด้านความปลอดภัยพื้นฐานสำหรับพนักงาน และเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้รับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน เช่น ภัยคุกคามที่ใช้ เอไอ ในการทำงาน   2. บริการสอดแนมตามสั่ง (Reconnaissance-as-a-Service) การโจมตีทุกวันนี้ มีการล็อคเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น ผู้คุกคามจึงหันไปจ้าง “นักสืบ” จากเว็บมืดให้รวบรวมข้อมูลเชิงลึก หรือข่าวกรองที่เกี่ยวกับเป้าหมายก่อน ที่จะทำการโจมตีมากขึ้นเหมือนการจ้างนักสืบเอกชน บริการ นี้ ยังอาจเสนอสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นพิมพ์เขียว หรือ blueprint ของการโจมตี ที่จะให้มาพร้อมกับข้อมูลโครงสร้างระบบความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กร บุคลากรที่เป็นแกนหลักด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ จำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่องค์กรมีอยู่ รวมไปถึงช่องโหว่ภายนอกที่รู้กัน ตลอดจนจำนวนเซิร์ฟเวอร์หรือช่องโหว่ภายนอกที่มี แม้กระทั่งข้อมูลการถูกบุกรุก หรืออื่นๆ เพื่อช่วยให้อาชญากรไซเบอร์สามารถโจมตีเป้าหมายได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ   การล่อหลอกอาชญากรไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีลวงจะให้ประโยชน์ นอกจากจะช่วยตอบโต้การทำงานของ RaaS แล้วยังรวมถึง CaaS ในขั้นตอนของการสอดแนมไปด้วย จะช่วยให้องค์กรสามารถรู้ทันศัตรู เพื่อสร้างความได้เปรียบในการป้องกัน   ภาพ pixabay.com   3. กระบวนการฟอกเงินที่อาศัยพลังของแมชชีนเลิร์นนิง โดยจะมีการฟอกเงินที่แยบยลมากขึ้น โดยอาศัยการทำงานของระบบอัตโนมัติ ซึ่งในอดีตการจะล่อลวงให้คนเข้ามาติดกับได้นั้นต้องผ่าน กระบวนการที่ใช้ระยะเวลานาน จากการสำรวจพบว่า อาชญากรไซเบอร์เริ่มใช้แมชชีนเลิร์นนิง (ML) ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อสรรหาบุคคล ซึ่งช่วยให้ระบุตัว ล่อที่มีศักยภาพได้ดีขึ้น  …

วิธีป้องกันบัญชี LINE ถูกแฮกด้วยวิธีตั้งค่าการตรวจสอบยืนยันสองระดับ Two-factor authentication

Loading

  วิธีป้องกันบัญชี LINE ถูกแฮกด้วยวิธีตั้งค่าการตรวจสอบยืนยันสองระดับ คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยในกรณีการล็อกอินผ่านเว็บไซต์ด้วยบัญชี LINE ของคุณได้ โดยเปิดใช้การตรวจสอบยืนยัน 2 ระดับ เพื่อตรวจสอบได้ว่าเราใช้บัญชี LINE นี้ในการเข้าสู่ระบบจริง ๆ ไม่ได้สวมรอยแอบใช้บัญชี LINE ของเราในการ Login โดยมีขั้นตอนการเปิด Two-factor authentication บนแอป LINE ดังนี้     วิธีป้องกันบัญชี LINE ถูกแฮกด้วยวิธีตั้งค่าการตรวจสอบยืนยันสองระดับ Two-factor authentication   iT24Hrs   แตะที่ไอคอน การตั้งค่า บนแอป LINE   iT24Hrs   เลือกที่บัญชี และเลื่อนเปิดที่ การตรวจสอบยืนยัน 2 ระดับ เท่านี้ก็เรียบร้อย   iT24Hrs   คราวนี้เมื่อ Login คลิกปุ่ม LINE บนเว็บเบราว์เซอร์…

Smart Device หรือ Cyber Spy? นักล้วงข้อมูลเรียลไทม์ที่ต้องระวัง

Loading

  8 ปีที่แล้ว Gartner เคยพยากรณ์ว่าบ้านแต่ละหลังจะมีอุปกรณ์ Smart Device มากถึง 500 ชิ้น ซึ่งฟังดูแล้วทีมวิจัยคงอ่านนิยายวิทยาศาสตร์มากไปสักหน่อย แต่มาถึงวันนี้แล้วเราอาจไม่คาดคิดว่าตัวอุปกรณ์ดิจิทัลรอบตัวเราถ้านับแล้วมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน่าตกใจ   ถ้าไม่นับคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำ เราจะพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดา ๆ ในบ้านอย่างทีวี เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องดูดฝุ่น เครื่องฟอกอากาศ พัดลม หม้อหุงข้าว กล้องวงจรปิด หลอดไฟ ฯลฯ ล้วนแปลงร่างเป็นอัจฉริยะหรือ Smart Device กันหมดแล้ว     นั่นหมายความว่าอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ตลอดเวลา อยากรู้ว่าอากาศที่บ้านเป็นยังไง อยากรู้ว่าลืมปิดพัดลมหรือเปล่าก็รู้ได้ทันที จะสั่งเปิดปิด ตั้งเวลาทำงานล่วงหน้า ก็ใช้มือถือสั่งการได้ตลอดเวลา   อุปกรณ์หลาย ๆ อย่างที่เราไม่เคยคิดจินตนาการว่ามันจะมีความจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น หวี ไม้แคะหู (ส่องเห็นทุกอณูของรูหู ราคาอันละไม่ถึงพัน ซื้อได้ทางเว็บออนไลน์) ต่างก็พาเหรดมาเป็น Smart…

กลาโหมสหรัฐฯ เปิดตัวเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบล่องหนรุ่นใหม่ล่าสุด

Loading

Future Bombers   สหรัฐฯ เปิดตัวเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบล่องหนรุ่นใหม่ล่าสุด หลังซุ่มพัฒนามาหลายปี เล็งเป็นยุทโธปกรณ์เตรียมรับมือความขัดแย้งกับจีนในอนาคต ตามรายงานของเอพี   เครื่องบินรุ่น บี-21 ไรเดอร์ นี้ถูกเปิดตัวหลังสหรัฐฯ ไม่มีเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่มาแล้วกว่า 30 ปี โครงการผลิตเครื่องบินรุ่นนี้แทบทั้งหมดอยู่ในชั้นความลับ โดยมีเพียงการเปิดเผยภาพวาดเครื่องบินรบโดยศิลปินเท่านั้นก่อนที่จะมีการเปิดตัวเครื่องบินรบที่ฐานทัพของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในเมืองปาล์มเดล รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันศุกร์   การผลิตเครื่องบินรบนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่ต้องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์หลักทั้งสามด้านให้ทันสมัย รวมทั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยไกลและหัวรบที่ยิงจากเรือดำน้ำ เพื่อปรับยุทธศาสตร์จากการต่อต้านการก่อการร้ายในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ เป็นการรับมือกับกองทัพจีนที่มีความทันสมัยขึ้นอย่างรวดเร็ว   ทั้งนี้ จีนวางแผนสั่งสมหัวรบนิวเคลียร์ 1,500 ลูกภายในปี 2035 โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า แต้มต่อของจีนทางด้านอาวุธความเร็วเหนือเสียง สงครามไซเบอร์ ความสามารถในอวกาศและด้านอื่น ๆ เป็น “ความท้าทายที่ต่อเนื่องและเป็นระบบที่สุดต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และระบบระหว่างประเทศที่เสรีและเปิดกว้าง”   เดโบราห์ ลี เจมส์ อดีตรัฐมนตรีทบวงทหารอากาศสหรัฐฯ เมื่อครั้งที่มีการประกาศสัญญาผลิตเครื่องบินรุ่น บี-21 ไรเดอร์เมื่อปี 2015 กล่าวในขณะนั้นว่า สหรัฐฯ ต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนขึ้น เช่น…

บทสรุป “6 คำทำนายการคาดการณ์ภัยคุกคามปี 2023” ข้อมูลโดยทาง ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย

Loading

  ฟอร์ติเน็ต ได้จัดงานแถลงข่าว โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงแนวโน้มประเด็นด้านภัยคุกคามที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2023 ที่จะมาถึงนี้ โดยผู้ที่ขึ้นมาแถลงในคราวนี้ก็คือ ดร.รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต   ก่อนที่เขาจะเล่าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 นั้น เขาได้ท้าวความไปถึงคำทำนายของปี 2022 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ภัยของการปลอมแปลงอย่าง Deep Fake ที่มีการใช้ AI ได้อย่างน่ากลัวมากขึ้น, เรื่องของการปล้นพวก กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงประเด็นการขโมยตัวทรัพย์สินแบบ NFT ก็เพิ่มมากขึ้น   พอมาถึงปี 2023 นี้เขาได้ยกตัวอย่างคำทำนายเอาไว้ 6 ประการ ที่อาจจะส่งผลกระทบในเรื่องของภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยทางทีมงาน Enterprise ITPro ได้สรุปเฉพาะส่วนสำคัญมาให้อ่าน ดังนี้   1. เรื่องของ Wiper Malware – จะเป็นภัยที่น่ากลัวมากขึ้น มีการผสมผสานระหว่างแรนซั่มแวร์และมัลแวร์ ผนึกรวมกัน ทำให้มันแพร่กระจายรวดเร็ว…