NASA FINDER เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรีย

Loading

    จากสถานการณ์แผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรียที่ยังคงมีการค้นหาผู้รอดชีวิตกันอยู่เรื่อย ๆ วันนี้เลยจะพาไปชมการพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาผู้ประสบภัยที่น่าสนใจจากนาซา เป็นเครื่องตรวจสัญญาณชีพผู้รอดชีวิตใต้ซากปรักหักพัง ที่ช่วยให้เราหาผู้รอดชีวิตได้ง่ายขึ้น   ในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ใต้ซากตึก อย่างเช่นกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ‘ความไว’ คือปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะยิ่งใช้เวลาค้นหานาน จำนวนผู้รอดชีวิตก็อาจจะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยี ที่ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตในสถานการณ์ลักษณะนี้หลายชิ้นด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือชื่อว่า ไฟน์เดอร์ (FINDER)     ไฟน์เดอร์ (FINDER) เป็นอุปกรณ์เรดาร์คลื่นไมโครเวฟ ที่ใช้ตรวจจับการเต้นของหัวใจมนุษย์ โดยมันจะส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟพลังงานต่ำ ทะลุผ่านเศษซากกองปรักหักพังได้ถึงประมาณ 9 เมตร หรือถ้าเป็นคอนกรีตแข็งจะอยู่ประมาณ 6 เมตร เมื่อเรดาร์ตรวจเจอสัญญาณชีพของผู้รอดชีวิต จากจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือแม้แต่จังหวะการหายใจ การขยับตัว ซึ่งจะท้อนกลับมายังเรดาร์ตรวจจับ ตัวเครื่องก็จะคำนวณหาระยะห่างของตำแหน่งของผู้รอดชีวิตได้     ซึ่งทีมพัฒนาระบุว่า ตัวอุปกรณ์สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนไหว ที่เกิดจากคนและเครื่องจักร และแม้กระทั่งความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนไหวของคนกับสัตว์ ลดความสับสนที่จะขัดขวางภารกิจกู้ภัย นอกจากนี้ ข้อดีคือ ตัวอุปกรณ์มีขนาดกะทัดรัด สามารถบรรจุลงกระเป๋าเดินทางได้ อีกทั้งยังกันน้ำ สามารถพกพาไปกับทีมนักกู้ภัย ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตในตึกต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น…

วิเคราะห์: ‘วัตถุปริศนา’ กระตุ้นสหรัฐฯ ยกระดับความมั่นคง

Loading

  ไม่กี่สัปดาห์มานี้ สหรัฐฯ ยิง 4 อากาศยานไม่ระบุประเภทที่เคลื่อนผ่านน่านฟ้าอเมริกาเหนือ ทั้งดินแดนสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งแม้ว่าการวิเคราะห์ซากชิ้นส่วนของอากาศยานเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบอยู่ แต่เรื่องนี้ได้สร้างความกังวลด้านความมั่นคงในอเมริกาเหนือรวมทั้งทำให้ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนตึงเครียดขึ้นอีก   อากาศยานทั้ง 4 มีอะไรบ้าง?   ประเด็นอากาศยานปริศนาเริ่มต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม เมื่อบอลลูนขนาดใหญ่ของจีน ที่ทางการสหรัฐฯ เรียกว่าเป็นอากาศยานสอดแนม ลอยเหนือน่านฟ้าอเมริกันมาหลายวัน ก่อนสหรัฐฯ จะนำเครื่องบิน F-22 ยิงบอลลูนดังกล่าวตกไปนอกชายฝั่งรัฐเซาท์แคโรไลนา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งฝั่งจีนยืนกรานมาตลอดว่าบอลลูนนี้ใช้เพื่อการสำรวจสภาพอากาศ   ด้านกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ เพนตากอน ระบุว่าบอลลูนยักษ์นี้มีขนาดเท่ากับรถบัส 3 คัน และมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตัน โดยมีเสาอากาศหลายต้น พร้อมแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่เพียงพอสำหรับเป็นแหล่งพลังงานของเซนเซอร์เก็บข้อมูลด้านข่าวกรอง   หลังจากนั้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ ยิงอากาศยานไม่ระบุประเภท ที่พบทางตอนเหนือของรัฐอลาสกา ตามการเปิดเผยของกองทัพสหรัฐฯ ที่ระบุว่าอยู่ “ภายในน่านฟ้าและน่านน้ำของสหรัฐฯ” แต่วัตถุชิ้นที่สองนี้ไม่มีระบบขับเคลื่อนหรือระบบควบคุมใด ๆ เลย   ต่อมาในวันที่…

รู้จัก HeroRATS หนูกู้ภัย ผสานเทคโนโลยีเข้ากับสัตว์ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์

Loading

    รู้จัก HeroRATS หนูกู้ภัย หนึ่งในทางเลือกใหม่สำหรับกู้ภัยในอนาคต เพราะเมื่อเกิดภัยพิบัติ หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เล็กและไปได้ทุกที่มากกว่า “สุนัข” ก็ “หนู” นี่แหละ นักวิจัยจึงพัฒนาอุปกรณ์และฝึกหนูให้ช่วยกู้ภัยขึ้น   HeroRATS คือ หนูกู้ภัย โดยเป็นหนูยักษ์แอฟริกันที่ถูกฝึกฝนด้านการค้นหาโดยเฉพาะ พัฒนาโดย องค์กร Apopo ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรจากประเทศแทนซาเนีย   ที่ผ่านมาองค์กร Apopo ได้ทำงานร่วมกับหนูมานานกว่าทศวรรษเพื่อใช้สำหรับ “ตรวจจับทุ่นระเบิด” ในแอฟริกา โดยอาศัยประสาทรับกลิ่นที่ไม่ธรรมดาของหนูมาเป็นข้อได้เปรียบในการค้นหาระเบิด และต่อมาในช่วงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ GEA (กลุ่มอาสาสมัครค้นหาและกู้ภัยจากภัยพิบัติ) ซึ่งเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรม ได้ติดต่อกับ Apopo เพื่อเสนอให้ฝึกหนูสำหรับทำงานในภารกิจค้นหาและกู้ภัยด้วย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการฝึกฝน   ผสานเทคโนโลยีเข้ากับสัตว์ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์   อุปกรณ์สำคัญที่ต้องมีติดตัวเจ้าหนูกู้ภัยเหล่านี้ไปด้วยเสมอก็คือ “กระเป๋าเป้ที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่” ซึ่งสามารถส่งภาพวิดีโอไปยังโทรศัพท์ของผู้ช่วยชีวิตที่อยู่ด้านนอก นอกจากนี้ยังมีไมโครโฟนแบบสองทาง ทำให้ทีมกู้ภัยสามารถพูดคุยกับเหยื่อได้ด้วย   โดยหนูเหล่านี้จะถูกฝึกให้ดึงสวิตช์ไมโครโฟนบนเสื้อกั๊กเมื่อพวกมันค้นพบใครบางคน เมื่อครูฝึกได้รับเสียงสัญญาณว่ามีการค้นพบผู้รอดชีวิต ครูฝึกก็จะส่งเสียงบี๊บกลับไปยังหนู เพื่อบอกให้พวกมันกลับออกมา พร้อมรับรางวัลเป็นถั่วลิสง อะโวคาโด หรือกล้วย  …

วิวัฒนาการของเทคนิค การเตือนภัยแผ่นดินไหว

Loading

    แต่ไหนแต่ไร เวลาเกิดเหตุการณ์ “แผ่นดินไหว” ผู้คนมักจะแตกตื่นกลัว เพราะคิดว่าโลกกำลังจะแตก ปฐพีจะถล่มทลาย และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความหายนะ คือ พฤติกรรมชั่วของมนุษย์ ที่ได้ทำให้เทพเจ้าทรงพิโรธ พระองค์จึงทรงบันดาลให้พื้นดินสั่นไหวอย่างรุนแรง จนอาคารบ้านเรือนพังพินาศ และผู้คนจำนวนมาก (อาจจะนับแสน) ต้องเสียชีวิต ตลอดจนถึงสภาพแวดล้อมก็จะถูกทำลายจนเสียหาย ซึ่งการสูญเสียที่มากจนประมาณค่ามิได้นี้ เป็นบทเรียนให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนการดำรงวิถีชีวิต และภัยหายนะนี้ มีส่วนผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์พยายามหาวิธีป้องกันภัย และหาวิธีทำนายภัยล่วงหน้าเป็นเวลานาน ๆ เพื่อให้รู้ชัดว่า แผ่นดินไหวจะเกิด ณ ที่ใด ณ เวลาใด และจะรุนแรงเพียงใดด้วย ประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้รู้ว่า เรามีความรู้เกี่ยวกับอวกาศนอกโลกดียิ่งกว่าความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับเหตุการณ์ใต้โลกเสียอีก     อันที่จริงโลกมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน แต่การสั่นสะเทือนในบางครั้งก็น้อยมาก จนไม่มีใครรู้สึก และบางครั้งแผ่นดินก็สั่นไหวในบริเวณที่ห่างไกลผู้คน จึงไม่มีใครเห็นหรือสัมผัสเหตุการณ์ แต่นักประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้แทบทุกครั้ง เช่น ที่เมือง Alexandria ในอียิปต์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 365 ซึ่งในครั้งนั้นจุดศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนอยู่ในทะเล Mediterranean ทำให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีขนาดมโหฬารจนชาวเมืองคิดไปว่า น้ำกำลังจะท่วมโลกเป็นครั้งที่สอง…

เตือนภัย ‘ออนไลน์’ ทริกโจรไซเบอร์ดูดเงิน

Loading

    ปัจจุบัน ‘ภัยออนไลน์’ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิต กลับกันเทคโนโลยีก็นำมาสู่ภัยร้าย หากมีคนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดี หรือเรียกว่า ‘มิจฉาชีพ’ นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหากำไรในทางมิชอบ   ซึ่งความเสียหายขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2565 มีคดีความออนไลน์กว่า 181,466 เรื่อง เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน รวมมูลค่าความเสียหาย 27,305 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเปอร์เซ็นต์สำเร็จยังสูง   เรื่องนี้ ‘กิตติ โฆษะวิสุทธิ์’ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือทีบี-เซิร์ต เปิดเผยว่า จากแนวโน้มภัยไซเบอร์ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรูปแบบหลากหลายเพื่อล่อลวงเอาข้อมูลสำคัญจากผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หวังโจรกรรมเงินจนนำมาสู่ความเสียหายทางทรัพย์สิน   สำหรับรูปแบบการล่อลวงเอาข้อมูลที่พบมากขึ้นในระยะหลัง คือ การหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน มีบริการที่เรียกว่า Accessibility…