บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

ส่องเทรนด์ ‘ภัยคุกคาม’ รับมือ อาชญากรรมไซเบอร์ทวีคูณ

Loading

  ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เป็นสิ่งที่องค์กรต้องรับมืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การขับเคลื่อนป้องกันต้องมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ People, Process และ Technology   ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด   ขณะเดียวกัน มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการตลาด ทำความเข้าใจลูกค้า อีกทางหนึ่งการทำงานของคนก็เปลี่ยนไปเป็นแบบรีโมทมากขึ้น ส่งผลทำให้องค์กรทุกขนาดต้องปรับตัววางแผนการทำงานผ่านคลาวด์   ข้อมูลโดยบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ ระบุว่า ปี 2568 องค์กรทั่วโลกจะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4% ขณะที่ประเทศไทยจะเติบโตขึ้นถึง 36.6%   ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด เปิดมุมมองว่า ไซเบอร์ซิเคียวริตี้จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในอนาคต   เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ระบบซิเคียวริตี้จะยื่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ     รับมือภัยคุกคามไร้ขอบเขต   องค์กรที่จะย้ายไปสู่คลาวด์ จะต้องมีการวางแผนและพร้อมวางรากฐานด้านความปลอดภัยไว้ตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมเตรียมรับมือความท้าทายใหม่ๆ ด้านซิเคียวริตี้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ดังนี้…

พร้อมหรือยังกับการรับมือ Top SaaS CyberSecurity (1)

Loading

    สำหรับปี 2566 เหล่าบรรดาแฮกเกอร์ก็ยังคงเดินหน้าโจมตีอย่างเช่นเคย และดูเหมือนที่มาในรูปแบบที่เราทุกคนไม่ค่อยให้ความสำคัญระมัดระวังกันมากสักเท่าไหร่   วันนี้ผมจะมานำเสนอ “Top SaaS Cybersecurity” 4 วิธีที่จะช่วยรักษาความปลอดภัย ตรวจสอบระบบภายในองค์กรและปกป้องข้อมูลขององค์กรตลอดทั้งปี แต่ก่อนอื่น เราจะมาทำความรู้จักกับ SaaS กันก่อน   Software as a Service (SaaS) คือ ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลได้ตามความต้องการ โดยที่ซอฟต์แวร์จะทำงานอยู่บนคลาวด์   จุดอ่อนของ Web application เว็บแอปพลิเคชันเป็นส่วนสำคัญของบริษัทผู้ให้บริการ Software-as-a-service (SaaS) ที่ดำเนินการอยู่และใช้เป็นที่จัดเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้า   โดย SaaS App มักจะมีคนใช้งานที่หลากหลาย ทำให้การปกป้องแอปพลิเคชันของผู้ใช้งานให้ปลอดภัยจากการโจมตีและผู้ใช้งานรายอื่นให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ใช่ของตนเองได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ   เพราะ Web App อาจจะมีข้อบกพร่องในการควบคุมการเข้าถึงซึ่งแฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้และทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายเมื่อมีการเขียนโค้ด   นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบความปลอดภัยด้วยเครื่องสแกนหาช่องโหว่แบบอัตโนมัติร่วมกับการทดสอบแบบปกติ ซึ่งสามารถช่วยออกแบบและสร้าง Web App ให้มีความปลอดภัยโดยการประสานรวมเข้าด้วยกันกับสิ่งที่มีอยู่เดิม และยังสามารถตรวจจับช่องโหว่ตลอดทั้งวงจรการพัฒนาอีกด้วย…

รู้จักกับ Phishing การขโมยข้อมูลทางไซเบอร์

Loading

    รู้จักกับ Phishing การขโมยข้อมูลทางไซเบอร์และวิธีการรับมือรูปแบบต่าง ๆ   ปัจจุบันความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลบนโลกไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของบุคคลนั้น ๆ เช่น การทำงานและการเงิน เมื่อข้อมูลอยู่บนโลกออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจใช้ช่องทางดังกล่าวแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การหลอกให้โอนเงินและการขโมยเงินในบัญชีธนาคาร     ช่องทางการขโมยข้อมูลทางไซเบอร์   1. ปลอมอีเมล วิธีการปลอมอีเมลติดต่อให้ดูเหมือนเป็นอีเมลของธนาคารหรือบริษัทที่ถูกแอบอ้าง หากได้รับอีเมลแปลก ๆ ให้สังเกตชื่อที่อยู่ด้านหลังของอีเมลว่าเป็นชื่อของเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น ๆ จริงหรือไม่   2. เว็บไซต์ปลอมหลอกให้กรอกข้อมูล การปลอมเว็บไซต์และข้อมูลใหม่ทั้งระบบโดยลอกเลียนแบบมาจากเว็บไซต์ของธนาคารหรือบริษัทที่ถูกแอบอ้าง อย่างไรก็ตามจุดสังเกตเว็บไซต์ปลอมมีหลายจุด เช่น เมนูที่คลิกไม่ได้ การออกแบบที่ไม่สมส่วนหรือกระจัดกระจายไม่มีระเบียบ รวมไปถึง URL ชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อแปลก ๆ   3. โทรศัพท์ (Call Center) รูปแบบการหลอกขอข้อมูลและโอนเงินที่ระบาดมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มักใช้วิธีปลอมตัวเป็นธนาคารและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โทรมาสอบถามและแจ้งเหตุด่วนให้เหยื่อรีบโอนเงินกลับไป   4. ข้อความสั้น SMS การส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ของเหยื่อโดยตรงเพื่อหลอกให้คลิกลิงก์แปลก ๆ และกรอกข้อมูลต่าง ๆ…

คนงานสหรัฐฯ ไม่พร้อมสำหรับการทำงานใช้เทคโนโลยีล้ำยุคแห่งเจเนอเรชันหน้า

Loading

    อุตสาหกรรมการผลิตสหรัฐฯ แห่งเจเนอเรชันหน้าคือเรื่องของเทคโนโลยีระดับสูง ทว่าคนงานอเมริกันนั้นขาดแคลนทั้งเครื่องมือ และปัญญาในการทำงานเช่นนี้ให้สำเร็จลุล่วง   กองทัพเรือสหรัฐฯ กำลังเริ่มต้นต่อเรือดำน้ำนิวเคลียร์ระดับล้ำยุคที่สุดจำนวน 12 ลำ [1] โดยที่ลำแรกมีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2027 แต่มันกำลังขาดแคลนส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งยวดอย่างหนึ่ง ได้แก่ คนงานมีทักษะฝีมือที่จะมาทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วง โดยที่ประมาณการกันว่าจะต้องใช้คนงานเช่นนี้ราวๆ 50,000 คน ทว่ายังขาดอยู่เป็นจำนวนมาก [2] อันที่จริงแล้ว ไม่เพียงเรื่องคนงานมีฝีมือเท่านั้น โครงการนี้ยังขาดแคลนห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ที่ไว้วางใจได้ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการต่อเรือขนาดใหญ่มหึมาเหล่านี้   ทั่วทั้งอเมริกาเวลานี้ อุตสาหกรรมต่างๆ กำลังเผชิญปัญหาห่วงโซ่อุปทานอยู่ในอาการชะลอตัวกันอย่างมากมาย เช่นเดียวกันอยู่ในภาวะขาดแคลนทั้งคนงานและสถานที่ซึ่งจะใช้ก่อสร้าง สืบเนื่องจากระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมามีการเน้นหนักให้บริษัทต่างๆ โยกย้ายโรงงานไปทำการผลิตในต่างแดน หรืออาศัยโรงงานในต่างประเทศเป็นผู้ผลิตให้ รวมทั้งภายในสหรัฐฯ เองก็หย่อนยานไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการวิจัย การศึกษา และการฝึกอบรมทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต   ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอกำลังประสบกับภาวะขาดแคลนคนงานถึงราว 20% [3] ส่วนอุตสาหกรรมเชื่อมประกอบและแปรรูปโลหะ คาดหมายว่าภายในปี 2024 จะขาดแคลนคนงานเป็นจำนวนถึง 400,000 คน [4] เฉพาะช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21…

ผ่าแผนแม่บท ‘เอไอ’ แห่งชาติ ปลุกเศรษฐกิจดิจิทัล-ดันจีดีพี

Loading

      ผ่าแผนแม่บท ‘เอไอ’ แห่งชาติ กลไกใหญ่ปลุกเศรษฐกิจดิจิทัล รัฐวางโรดแมป 6 ปี ยกระดับดัชนีความพร้อมด้านเอไอของไทย ไม่ต่ำกว่าลำดับที่ 50 ของโลก เกิดการลงทุนด้านเอไอเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี สร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำกว่า 30,000 คน ไอบีเอ็ม ชี้ เอไอ เทรนด์ใหญ่ธุรกิจต้องมอง “นักวิชาการ” หวั่น ‘เอไอ’ อาจสร้างผลลบ โดยเฉพาะ “แรงงาน” หากไม่สร้างความตระหนักรู้ให้ดี   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ คือ หนึ่งในเมกะเทรนด์โลกยุคใหม่ มีความสำคัญมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ หลายสิบปีก่อนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเข้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วันนี้โลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ทำให้จินตนาการของเรา ที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์ในอดีตเป็นจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ไร้คนขับ ร้านค้าไร้พนักงาน ระบบการเงิน การธนาคารที่ใช้เอไอวิเคราะห์แทนพนักงาน ไปจนถึงการบริการลูกค้าผ่านแชตอัจฉริยะ รวมไปถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์   ขณะที่…