รู้จัก 6 สถานที่ “เขตห้ามบิน” บนโลก

Loading

      องค์การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เปิดเผย 6 สถานที่สำคัญในโลกที่เป็นเขตห้ามบิน หรือ เขตที่ไม่ให้เครื่องบินบินผ่านอย่างเด็ดขาด เนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ความสำคัญทางด้านศาสนา สภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม เป็นต้น   แน่นอนว่าการขึ้นเครื่องบินไปนั้น จะได้เห็นมุมมองในสถานที่ใหม่ ๆ หลายคนอาจพยายามสังเกตจากหน้าต่างเครื่องบินในช่วงที่เครื่องบินบินขึ้นหรือลง ว่าจะมีโอกาสได้เห็นสถานที่ที่คุ้นเคย หรือสถานที่ที่มีชื่อเสียงหรือไม่   แต่ทราบหรือไม่ว่า มี 6 สถานที่ชื่อดังของโลก ที่องค์การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International air travel organization) ประกาศว่าเป็น “เขตห้ามบิน” หรือ No-fly zones เนื่องด้วยเหตุผลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความจำเป็นทางด้านศาสนา ภูมิภาค ประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่ง หลีกเลี่ยงการก่อวินาศกรรมเพราะมีการรวมตัวกันของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เช่น ดิสนีย์แลนด์   เปิดชื่อ 6 สถานที่ที่ห้ามเครื่องบินบินผ่าน   1. ดิสนีย์แลนด์ ดิสนีย์แลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ที่ไม่ว่าทั้งเด็กหรือผู้ใหญ่…

เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮ็ก ดูดเงินในบัญชี พร้อมวิธีแก้

Loading

    เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮก ข้อมูล – ดูดเงินในบัญชี หลังเหยื่อ เงินหาย แค่ชาร์จ โทรศัพท์มือถือ วางไว้เฉย ๆ   กลโกงของมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างปรับรูปแบบใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลของเหยื่อ โดยล่าสุด มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรายหนึ่ง ตกเป็นเหยื่อ เพราะเพียงแค่ชาร์จมือถือวางทิ้งไว้ แต่จู่ ๆ เครื่องดับ เมื่อเปิดโทรศัพท์ขึ้นมาอีกครั้ง กลับมีข้อความจากแอปธนาคารแจ้งว่า มีเงินออกไปจำนวนกว่า 1 แสนบาท ทั้งที่ไม่มีการโทรเข้า-โทรออก และ ไม่มีใครส่งลิงก์ให้ยืนยันข้อมูล   ผู้เสียหาย เล่าว่า ปกติเค้ามีโทรศัพท์ 2 เครื่อง คือ เครื่องแอนดรอยด์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้เล่นเกมอย่างเดียว ส่วนเครื่องหลัก คือ ไอโฟน ซึ่งเป็นเครื่องที่ชาร์จโทรศัพท์ทิ้งไว้ แล้วโดนแฮก จนดูดเงินหาย   ณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ชำนาญการ…

ร้ายแรงแค่ไหน กรณีพบเอกสารชั้นความลับที่ ปธน.ไบเดน ซุกไว้หลายฉบับ

Loading

    ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ กำลังถูกตั้งคำถาม กรณีมีการพบเอกสารชั้นความลับของรัฐบาลที่สำนักงานส่วนตัวและบ้านพักของเขาในเมืองเดลาแวร์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังโดนสอบสวนเรื่องซุกเอกสารลับของทางราชการพอดี   คณะกรรมาธิการตุลาการ ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ขีดเส้นตายว่าในวันที่ 27 มกราคมนี้ จะต้องมีการเปิดเผยเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกรณีเอกสารลับทั้ง 3 ชุด ของประธานาธิบดีไบเดน ซึ่งผลการตรวจสอบล่าสุดยังพบว่า เอกสารบางฉบับในเอกสารลับชุดแรกประทับตราว่า “ลับที่สุด”   เอกสารลับชุดแรกจำนวน 10 ฉบับ เป็นเอกสารสมัยที่นายไบเดน ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในรัฐบาลบารัค โอบามา ถูกพบเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว ใน เพ็นน์ ไบเดน เซนเตอร์ สำนักงานเก่าส่วนตัวของนายไบเดน ใกล้กับทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตันดีซี โดยไบเดนใช้สำนักงานแห่งนี้เป็นสถานที่ทำงานในช่วงหลังพ้นจากการเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ จนถึงปี 2563   จากการสอบสวนพบว่า เอกสารลับบางฉบับของชุดแรก อยู่ในชั้นความลับ ระดับ “ลับสุดยอด” (top secret) ซึ่งเป็นเอกสารชั้นความลับระดับสูงสุด จากทั้งหมด 3 ระดับ ซึ่งรองลงมาระดับ…

“เนปาล” ประเทศที่การนั่งเครื่องบินอันตรายที่สุดในโลก

Loading

  อุบัติเหตุเครื่องบินตกเป็นเรื่อง “ปกติ” ที่เกิดขึ้นเฉลี่ยปีละครั้งในเนปาล จนได้สมญานาม “ประเทศที่เสี่ยงเกิดเหตุเครื่องบินตกมากที่สุดในโลก”   เวลามีคนบอกว่ากลัวการขึ้นเครื่องบินเพราะกังวลว่า “เครื่องบินจะตก” เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นชินกับการโน้มน้าวด้วยการเปรียบเทียบที่ว่า “โอกาสที่จะเกิดเหตุเครื่องบินตก ยังน้อยกว่าโอกาสที่รถจะชนเสียอีก”   ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า โอกาสที่คนเราจะเสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตกอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 11 ล้าน ส่วนโอกาสเสียชีวิตจากเหตุรถชนนั้นสูงกว่า อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 5,000   อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินนั้นดูจะสูงเป็นพิเศษในประเทศ “เนปาล” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ประเทศที่เสี่ยงเกิดเหตุเครื่องบินตกมากที่สุดในโลก”   และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (15 ม.ค.) ที่ผ่านมา ก็ดูจะยิ่งตอกย้ำชื่อเสียงในด้านนี้ของเนปาล เมื่อเครื่องบินโดยสาร ATR 72 สองเครื่องยนต์ของสายการบินเยติแอร์ไลน์ส ซึ่งกำลังมุ่งหน้าจากกาฐมาณฑุ เมืองหลวงเนปาล ไปยังโปขรา (Pokhara) หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง เกิดตกระหว่างทาง จนล่าสุดมีผู้เสียชีวิตแล้ว 68 ราย เป็นอุบัติเหตุทางเครื่องบินครั้งใหญ่สุดในรอบ 30 ปีของเนปาล  …

คำถามที่ยังไม่มีคำตอบกรณีพบเอกสารลับของไบเดน

Loading

  จะเป็นแค่เรื่องน่าขายหน้า หรือจะส่งผลกระทบร้ายแรงทางการเมือง นี่คือคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกรณีการพบเอกสารลับทางราชการที่บ้านของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในรัฐเดลาแวร์ และสำนักงานในกรุงวอชิงตันดีซีที่เขาเคยใช้ทำงาน   ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ม.ค. ทำเนียบขาวออกมาบอกว่าพบเอกสารลับเพิ่มอีก 5 หน้า ที่บ้านของผู้นำสหรัฐฯ ในเดลาแวร์ โดยทีมทนายความของนายไบเดนบอกว่าเอกสารชุดนั้นมาจากตอนที่เขาเป็นรองประธานาธิบดีสมัยบารัค โอบามา   ตอนนี้ได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาพิเศษด้านกฎหมายเพื่อสอบสวนเรื่องนี้แล้ว และนี่คือ 4 คำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับกรณีนี้     เนื้อหาในเอกสาร   นายไบเดนบอกว่าเขาไม่รู้ว่าเนื้อหาในเอกสารลับที่เจอคืออะไร   หากเรายังไม่รู้เนื้อหาในเอกสารเหล่านี้ ก็ยากที่จะบอกได้ว่านี่เป็นเรื่องร้ายแรงแค่ไหน แหล่งข่าวบอกกับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ว่า เอกสารลับชุดแรกมีข้อมูลเรื่องประเทศต่างๆ รวมถึงยูเครน อิหร่าน และสหราชอาณาจักร จากสมัยที่นายไบเดนเป็นรองประธานาธิบดี   ซีเอ็นเอ็นระบุว่า เอกสารเหล่านี้ไปปะปนอยู่กับเอกสารอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นความลับ อาทิ เอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับงานศพของโบ ไบเดน ลูกชายของนายไบเดนที่เสียชีวิตเมื่อปี 2015   อย่างไรก็ดี ซีเอ็นเอ็นก็บอกด้วยว่าเอกสารบางส่วนเป็นข้อมูลลับสุดยอด (top secret) ซึ่งจัดว่าเป็นระดับขั้นความลับสูงสุด     ใครสามารถเข้าถึงเอกสารเหล่านี้ได้…

แนวทางในการคัดเลือก เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

Loading

  เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer:DPO) ถือเป็นบุคคลสำคัญในการกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดหน้าที่ในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ โดยให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มี DPO ในกรณีดังต่อไปนี้   (1) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน่วยงานของรัฐตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด หรือ   (2) การดำเนินกิจกรรมของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบอย่างสม่ำเสมอโดยเหตุที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด หรือ   (3) “กิจกรรมหลัก” ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 26   ในปัจจุบัน คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังไม่ได้มีการออกประกาศตามข้อ (1) และ (2) ดังกล่าวข้างต้น   ในส่วนของบุคคลที่จะทำหน้าที่ DPO กฎหมายกำหนดว่าอาจเป็นพนักงานของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นผู้รับจ้างให้บริการตามสัญญาก็ได้เช่นกัน   หน้าที่หลัก ๆ ของ DPO คือ การให้คำแนะนำและตรวจสอบองค์กรนั้น ๆ ในการปฏิบัติและดำเนินการให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ…