‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดบทสรุป อุบัติภัยไซเบอร์ปี 2565

Loading

  แคสเปอร์สกี้ เปิดรายงานเชิงวิเคราะห์กิจกรรมบนไซเบอร์สเปซ การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่น่าจับตามองในโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประจำปี 2565   ผู้เชี่ยวชาญของ “แคสเปอร์สกี้” รายงานว่า ปีนี้เป็นปีที่มีความขัดแย้งทางทหารแบบศตวรรษที่ 20 นำมาซึ่งความไม่แน่นอนและความเสี่ยงร้ายแรงที่กระจายไปทั่วทวีป   จากการวิเคราะห์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของความขัดแย้งในยูเครนในวงกว้างพบว่า เหตุการณ์ทางไซเบอร์จำนวนหนึ่งได้เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   ผู้เชี่ยวชาญพบสัญญาณสำคัญและการเพิ่มขึ้นของสงครามไซเบอร์อย่างรวดเร็วในช่วงก่อนการปะทะกันทางทหารในวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา รวมถึงแรนซัมแวร์ปลอมและการโจมตีไวเปอร์คลื่นลูกใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อหน่วยงานของยูเครนอย่างไม่เจาะจง   ทั้งนี้ บางส่วนมีความซับซ้อนสูง แต่ปริมาณของการโจมตีไวเปอร์และแรนซัมแวร์ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากระลอกแรก โดยมีรายงานเหตุการณ์ที่น่าสังเกตในจำนวนจำกัด กลุ่มที่มีแรงจูงใจในอุดมการณ์ซึ่งนำเสนอตัวเองในการโจมตีระลอกแรกดูเหมือนจะไม่เคลื่อนไหวในขณะนี้     สงครามไซเบอร์รูปแบบใหม่   สำหรับเหตุการณ์ที่เป็นไฮไลต์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญบางประการที่กำหนดถึงการเผชิญหน้าทางไซเบอร์ในปี 2565 มีดังนี้   นักเจาะระบบและการโจมตี DDoS : ความขัดแย้งในยูเครนได้สร้างแหล่งเพาะกิจกรรมสงครามไซเบอร์ใหม่ ๆ จากกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงอาชญากรไซเบอร์และนักแฮกข้อมูล ที่ต่างเร่งรีบที่จะสนับสนุนฝ่ายที่ตนชื่นชอบ   บางกลุ่มเช่นกองทัพไอทีของยูเครนหรือ Killnet ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล และช่องโทรเลขมีสมาชิกหลายแสนคน   ขณะที่การโจมตีโดยนักเจาะระบบมีความซับซ้อนค่อนข้างต่ำ ผู้เชี่ยวชาญพบว่ากิจกรรม…

ดีอีเอส จับมือ ETDA ลุย 10 จังหวัดทั่วไทย สร้างภูมิคนไทยรู้ทัน ปัญหาออนไลน์

Loading

  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) จัดงานแถลงข่าว Kick off เปิดตัวโปรเจค “1212 ETDA Workshop : สร้างภูมิคนไทยรู้ทัน ปัญหาออนไลน์” จับมือพาร์ทเนอร์ลุยพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันโลกออนไลน์และกระบวนการช่วยเหลือหากต้องตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ แก่เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ และผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ 10 จังหวัดทั่วประเทศ เริ่มจังหวัดแรก 25 มกราคมนี้   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกกิจกรรมขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและการทำธุรกรรมออนไลน์กันแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงช่วยอำนวยความสะดวก ให้เราสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ติดต่อสื่อสาร ทำงาน ตลอดจนทำธุรกิจได้รวดเร็ว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นเท่านั้น   เพราะสิ่งที่ตามมา คือ ภัยหรือปัญหาที่แฝงมากับโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การฉ้อโกงและอาชญากรรมออนไลน์, แก๊ง Call Center, บัญชีม้า, การหลอกลวงลงทุน-ระดมทุนออนไลน์และหลอกลวงทางการเงิน, การพนันออนไลน์, การหลอกลวงซื้อขายสินค้าและเว็บไซต์ผิดกฎหมาย เป็นต้น…

ไอโฟนถูกขโมย ทำอย่างไรดี อย่าลบ iPhone ออกจาก Apple ID ให้ทำวิธีนี้แทน

Loading

iT24Hrs   ไอโฟนถูกขโมย ทำอย่างไรดี อย่าลบ iPhone ออกจาก Apple ID    ทั้งนี้ iPhone มีคุณสมบัติป้องกันการถูกขโมยหรือการโจรกรรมที่ยอดเยี่ยม ซึ่งทำให้โจรขโมยไอโฟนยึดเป็นเจ้าของเองยาก แม้ว่าจะมีใครบางคนล้างข้อมูลในไอโฟนของคุณ ก็ยังต้องใช้ Apple ID และรหัสผ่านของคุณเพื่อเข้าถึงข้อมูล และปิด “ค้นหาของฉัน หรือ Find My ” ซึ่งโจรต้องดำเนินการเอาหากต้องการนำไปขายต่อ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในโทรศัพท์ของคุณไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทั้งหมด เนื่องจากการป้องกันของ Apple นั้นดีพอที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมูลของคุณถูกแฮก พวกโจรสแกมเมอร์จึงมุ่งไปยังจุดที่เปราะบางที่สุดซึ่งก็คือตัวคุณที่ทำไอโฟนหายเอง     การหลอกลวงนี้ทำงานอย่างไร   ลักษณะการหลอกลวงนี้เกิดขึ้นในไทยแล้วด้วย โดยหลังไอโฟนถูกโจรขโมย คุณจะได้รับการติดต่อจากใครบางคนที่แสร้งทำเป็นพลเมืองดี โดยบอกว่าเขาได้ซื้อโทรศัพท์ที่ดูเหมือนจะถูกขโมยในตลาด Facebook หรือตลาดมือสอง และเปิดเครื่องและพบว่าข้อมูลส่วนตัวของคุณเต็มไปด้วยข้อมูล พวกเขาเขียนจดหมายถึงคุณเพื่อแจ้งให้คุณทราบและขอให้คุณลบอุปกรณ์ออกจาก Apple ID ของคุณ ผู้ที่ทำไอโฟนหายมักจะเครียดและยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ไอโฟนกลับคืนมา   การลบ Apple ID ของคุณออกจาก iPhone ทำให้โจรสามารถปลดล็อก…

รู้จักระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot ที่สหรัฐฯ เตรียมส่งให้ยูเครน ช่วยรับมือรัสเซียได้แค่ไหน?

Loading

  การเยือนสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีแห่งยูเครน ถือเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรก นับตั้งแต่สงครามรุกรานยูเครนโดยรัสเซียปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์   สถานการณ์สู้รบตลอดระยะเวลากว่า 300 วันที่ผ่านมา ยังดำเนินไปอย่างยืดเยื้อ แม้ว่าในภาคพื้นดิน กองทัพยูเครนจะช่วงชิงหลายเมืองที่ถูกยึดไปคืนมาได้อย่างต่อเนื่อง แต่กองทัพรัสเซียก็ไม่ละความพยายาม และระดมโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วงตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นถล่มเป้าหมายโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค รวมถึงระบบไฟฟ้า เพื่อสร้างความลำบากและแรงกดดันให้ยูเครนในการรบช่วงฤดูหนาว   ความหวังสำคัญของทริปการเยือนวอชิงตัน ดี.ซี. ของเซเลนสกีครั้งนี้ หนีไม่พ้นความช่วยเหลือเพิ่มเติมทางการทหารที่เขาเรียกร้องมาตลอด   โดย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าสหรัฐฯ จะอยู่เคียงข้างยูเครนตราบนานเท่านาน ในขณะที่สัญญาว่าจะมอบแพ็กเกจช่วยเหลือทางทหารรอบใหม่แก่รัฐบาลเคียฟ วงเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์   ซึ่งสิ่งที่หลายฝ่ายจับตามองในแพ็กเกจช่วยเหลือรอบใหม่ดังกล่าว คือระบบมิสไซล์ Patriot อันเป็นระบบป้องกันขีปนาวุธเคลื่อนที่จากพื้นสู่อากาศที่มีเทคโนโลยีล้ำยุคและมีความแม่นยำสูง ถึงขั้นเรียกได้ว่าเป็น ‘มาตรฐานทองคำ’ ของการป้องกันภัยทางอากาศ   ประสิทธิภาพของระบบขีปนาวุธ Patriot จะสูงสมคำร่ำลือแค่ไหน และจะเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยให้ยูเครนสามารถพลิกสถานการณ์หรือสร้างความแตกต่างในสงครามอันยืดเยื้อนี้ได้หรือไม่?     ระบบมิสไซล์ Patriot คืออะไร?  …

นายกฯ มอบนโยบายหน่วยงาน กอ.รมน. และส่วนราชการด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติ หวังผลสัมฤทธิ์ที่สูงยิ่งขึ้นในงานรักษาความมั่นคง และงานพัฒนา โดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

Loading

  นายกฯ มอบนโยบายหน่วยงาน กอ.รมน. และส่วนราชการด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติ หวังผลสัมฤทธิ์ที่สูงยิ่งขึ้นในงานรักษาความมั่นคง และงานพัฒนา โดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ทำให้ประเทศไทยปลอดภัย   นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า วันนี้ (22 ธ.ค. 65) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ครั้งที่ 1/2565 และเป็นประธานสรุปผลการปฏิบัติงานและแถลงแผนการปฏิบัติงานประจำปีของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อให้ผู้บริหาร กอ.รมน. (ส่วนกลาง) กอ.รมน.ภาค กอ.รมน.จังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง รับทราบผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และนำนโยบายนายกรัฐมนตรียึดเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านความมั่นคง คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร คณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐวุฒิสภา หัวหน้าส่วนราชการด้านความมั่นคง ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จังหวัด และผู้บริหารของ…

Cybersecurity Predictions 2023: มุมมองใหม่ของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือแนวทางด้านการรักษาความปลอดภัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์การเมืองโลก ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความมั่นคง และภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทำให้เกิดการรับรู้เชิงลบมากมายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากพาดหัวข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้เรารับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   การรักษาความปลอดภัยยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทักษะความสามารถ (soft skills) พอ ๆ กับทักษะทางเทคนิคเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ จากงานวิจัยของ Information Systems Audit and Control Association (ISACA) พบว่าทักษะความสามารถในการสื่อสาร ความยืดหยุ่น และความเป็นผู้นำ แสดงถึงช่องว่างทักษะที่สำคัญที่สุด ซึ่งระบุโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์   การคาดการณ์เป็นเรื่องที่ยากในสภาพแวดล้อมแบบไดนามิกเช่นนี้ แต่เราสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอนาคตของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2023 และอนาคต     การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นรากฐานที่สําคัญของทุกสิ่ง   ในช่วงที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องรับมือกับการหยุดชะงักของธุรกิจ เช่น ผลกระทบของการทำงานระยะไกล เป็นต้น การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญเสมอสำหรับบางองค์กร แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาผู้นำด้านความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงต้องจัดการกับการกู้คืนและการต่ออายุ ทำให้เราจะได้เห็นการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น…