มาตรการทางกฎหมายเพื่อการใช้งานยานไร้คนขับ

Loading

  เป็นที่ทราบกันดีว่า น่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันนั้น ถูกใช้ประโยชน์จากกิจกรรมทางทะเลหลากหลายส่วนแตกต่างกันไป   ตามความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ และประเพณีทางการค้า บ้างเป็นพื้นที่รัฐชายฝั่งที่มีอำนาจการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจทางน้ำ บ้างก็เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐ   เมื่อมีการใช้ประโยชน์ทางทะเล ประเด็นในเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากจะปรากฏการเข้าออกของเรือ รวมถึงพาหนะรูปแบบอื่นในแต่ละรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ   เมื่อพิจารณาประเด็นในด้านความมั่นคงทางทะเล จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมา อัตราส่วนของการใช้งานเรือ พาหนะทางทะเลรูปแบบอื่น และวัตถุเคลื่อนที่ทางน้ำ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานทางด้านการทหารและความมั่นคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเหตุเพราะสถานการณ์ความมั่นคงและภาวะสงครามที่มีอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน   ในบทความนี้จะพิจารณาถึงยานไร้คนขับทางน้ำ (Unmanned vehicle) ในมิติของภัยหรือความมั่นคงทางทะเล โดยจะพิจารณาถึงความหมาย บทนิยาม ประเภท การใช้งานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง   แต่อย่างไรก็ดีการใช้งานของวัตถุเคลื่อนที่ชนิดนี้ยังมีความคลุมเครือของวัตถุประสงค์การใช้งาน แม้ว่าในจุดเริ่มต้นจะมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจกรรมทางทหาร (Military Purpose)   ต่อมาถูกพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติก็ดี การถ่ายภาพก็ดีและเพื่อวัตถุในการขนส่งในอนาคต แม้กระนั้นการใช้งานวัตถุเคลื่อนที่ทางน้ำ ยังคงถูกรบกวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและปกป้องสเถียรภาพและความมั่นคงของรัฐ   ยานไร้คนขับเองนั้น (Unmanned Vehicles) มีปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ (Ancient Greek) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชื่อ…

เปิด ภัยไซเบอร์ ปี 66 “แฮ็กเกอร์ตามสั่ง” มาแน่ ยิ่งผสมความสามารถ AI ยิ่งน่ากลัว

Loading

  ปี 2565 นับเป็นปีของภัยไซเบอร์ ภัยคุกคามที่สร้างความเสียหายต่อโลกธุรกิจเป็นมูลค่ามหาศาล แต่ปี 2566 ความเข้มข้นของภัยไซเบอร​์จะยิ่งเพิ่มดีกรีความรุนแรง และซับซ้อนมากขึ้น จับตากระบวนการฟอกเงิน ที่อาศัยพลังของ “แมชชีนเลิร์นนิง”!   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจําประเทศไทยของ “ฟอร์ติเน็ต” ผู้เชี่ยวชาญโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดข้อมูลของ ศูนย์วิเคราะห์ภัยฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ (FortiGuard Labs) รวบรวมข้อมูล Threat Intelligence และมอนิเตอร์ภัยต่างๆ จากลูกค้าและภัยคุกคามทั่วโลก มองภัยคุกคามที่ต้องระวังปีนี้ รวมถึงไทย และแนวโน้มภัยไซเบอร์ปี 2566     แนวโน้มภัยไซเบอร์ปี 66   ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ วิเคราะห์ภาพรวมของภัยคุกคามบนไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า และต่อไปในอนาคตที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกว่า จากการโจมตีแบบ Cybercrime-as-a-Service (CaaS) หรือ อาชญากรรมไซเบอร์ตามสั่ง ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ไปจนถึงการใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่จากเป้าหมายใหม่ๆ เช่น ระบบการประมวลผล (Edge) ที่ปลายทาง หรือโลกออนไลน์ต่างๆ   จะเห็นได้ว่าปริมาณ…

ข้อมูลเชิงลึกเกือบ 20 ปี วันที่ “ซัดดัม ฮุสเซน” ถูกจับ

Loading

  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ปี 2546 ซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีของอิรัก ถูกหน่วยรบพิเศษ Delta Force ของสหรัฐฯ ดึงขึ้นมาจากหลุมลึก 8 ฟุต ที่เขาใช้หลบซ่อนตัวตอนที่กองทัพสหรัฐฯ บุกอิรัก และแม้จะผ่านมาเกือบ 20 ปี แต่ก็ไม่มีใครรู้ความจริงว่าในวันนั้นเกิดอะไรขึ้น   เหตุการณ์วันที่ ซัดดัม ฮุสเซน ถูกหน่วยรบพิเศษ Delta Force บุกจับขณะซ่อนตัวในหลุมลึก 8 ฟุต ห่างจากเมืองทิกริตบ้านเกิดของเขาไม่ถึง 10 กิโลเมตร ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยเควิน ฮอลแลนด์ อดีตสมาชิก Delta Force ที่ร่วมปฏิบัติการในวันนั้นผ่านทางรายการ Danger Close ที่ออกอากาศทาง Podcast ที่จัดโดยแจ็ค คาร์ อดีต Navy SEAL โดยมีเพื่อนร่วมอาชีพของพวกเขาคือ แดเนียล วิงค์เลอร์ ร่วมรายการด้วย  …

ข้อเสีย 6 ประการของ ‘ระบบเอไอ’ ที่ต้องตระหนักถึง

Loading

  ต้นปี 2022 วงการไอทีต่างจับตามองเทคโนโลยีหลาย ๆ ดังเช่น บล็อกเชน คริปโทเคอเรนซี่ เอไอ เมตาเวิร์ส และไอโอที ว่าในช่วงปี 2022 จะมีความก้าวหน้ามากแค่ไหน แต่ก็ปรากฏว่าบางอย่างกลับไม่เป็นไปตามคาด โดยเฉพาะด้านคริปโทเคอเรนซี่ ที่เกิดผลกระทบทางลบอย่างรุนแรง   ต้นปี 2022 วงการไอทีต่างจับตามองเทคโนโลยีหลาย ๆ ดังเช่น บล็อกเชน คริปโทเคอเรนซี่ เอไอ เมตาเวิร์ส และไอโอที ว่าในช่วงปี 2022 จะมีความก้าวหน้ามากแค่ไหน แต่ก็ปรากฏว่าบางอย่างกลับไม่เป็นไปตามคาด โดยเฉพาะด้านคริปโทเคอเรนซี่ ที่เกิดผลกระทบทางลบอย่างรุนแรง ทำให้เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บล็อกเชน หรือแม้แต่ เมตาเวิร์ส ไม่สามารถเติบโตได้อย่างที่คาดการณ์ไว้   แต่ก็ยังมีเทคโนโลยีบางตัวที่โดดเด่นไปอย่างมากโดยเฉพาะด้านเอไอ ที่ทำให้เทคโนโลยีไอทีอื่น ๆ ต้องนำมาใช้งานร่วมกัน โดยเราเห็นได้ว่าผู้คนให้ความสนใจทั้งในแง่ของการลงทุนและการทำวิจัยด้านนี้มากขึ้น ประสิทธิภาพของเอไอก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เอไอสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ดีกว่ามนุษย์   นอกจากนี้ยังมีบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมาใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี…

9 แนวโน้มนวัตกรรมยุคใหม่แห่งปี 2023(3)

Loading

  เปรียบเทียบกับตอนอื่นนี่น่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่หลายคนเพิ่งตระหนักความน่ากลัว ความก้าวล้ำของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ สู่นวัตกรรมที่อาจพลิกโฉมมนุษยชาติไปตลอดกาล   เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของแนวโน้มนวัตกรรมแห่งปี 2023 ที่ขาดไปไม่ได้ย่อมต้องเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของปัญญาประดิษฐ์ที่นำไปสู่ข้อถกเถียงขนานใหญ่ในสังคม     7. พัฒนาการจากความขัดแย้งของเซมิคอนดักเตอร์ ท่ามกลางวิกฤติโควิดหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกที่สุดคือ เซมิคอนดักเตอร์ ชิปขนาดจิ๋วที่สร้างผลกระทบแก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ และกลายเป็นตัวแปรสำคัญในความขัดแย้งภายใต้เขตปกครองพิเศษไต้หวัน   ช่วงที่ผ่านมาการพัฒนาของชิปและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากมายหยุดชะงัก จากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์จากบริษัท TSMC เมื่อรวมกับสงครามเทคโนโลยีระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน แล้วจึงกลายเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ ที่นำไปสู่การแตกหักของสองมหาอำนาจ   ล่าสุดจีนเริ่มทุ่มเม็ดเงินกว่า 5 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ เช่นเดียวกับสหรัฐฯที่ออกกฎหมาย CHIPS Act ดึงดูดบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากทั่วโลกเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศด้วยงบสนับสนุนกว่า 1.8 ล้านล้านบาท โดยมีเงื่อนไขห้ามตั้งโรงงานผลิตในจีน 10 ปี   แม้ความขัดแย้งจะทำให้การพัฒนาหยุดชะงักไปขั่วคราว แต่เมื่อเม็ดเงินมหาศาลไหลเวียนเซมิคอนดักเตอร์จะได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น การแข่งขันจะผลักดันการพัฒนาให้ถีบตัว เมื่อรวมกับความตื่นตัวในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ในปี 2023 เราอาจมีชิปที่พัฒนาก้าวกระโดดขึ้นมาได้เช่นกัน     8.…

9 แนวโน้มนวัตกรรมยุคใหม่แห่งปี 2023(2)

Loading

  จากตอนแรกเราพูดถึงเทคโนโลยีที่เป็นเรื่องรอบตัว ไปจนอวกาศซึ่งได้รับความสนใจมากขึ้นหลายปีหลัง คราวนี้เรามาดูการต่อยอดเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริมจากปัจจุบันว่ามีนวัตกรรมอะไรในปี 2023 ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้บ้าง   หลังจากพูดถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ บล็อกเชน และเทคโนโลยีอวกาศในตอนก่อน คราวนี้เรามาพูดถึงด้านการแพทย์และสิ่งแวดล้อม สองประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง มาดูกันว่าแนวโน้มนวัตกรรมแห่งปี 2023 จะมีเทคโนโลยีใดได้รับความสนใจบ้าง     4. การก้าวกระโดดของวัคซีน ย้อนกลับไปในช่วงปี 2020 – 2021 ที่ผ่านมา หากถามว่าเทคโนโลยีด้านใดได้รับการส่งเสริมสูงสุดย่อมหนีไม่พ้นการแพทย์ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด นำไปสู่ความพยายามในการคิดค้นวัคซีนเพื่อนำมาป้องกัน จนสามารถพาเราผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติได้สำเร็จ   ปัจจุบันเราอาจพูดว่ากลับสู่ภาวะปกติได้ไม่เต็มปากแต่ทุกคนได้กลับมาใช้ชีวิต แต่ผลพวงจากการทุ่มเทงบประมาณเพื่อผลักดันวัคซีน นำไปสู่ความล้ำหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีวัคซีน mRNA ที่ไม่ได้ถูกใช้งานแค่ในการป้องกันโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด แต่รวมถึงวงการแพทย์นับจากนี้   ล่าสุดความพยายามในการพัฒนาวัคซีน mRNA รุ่นใหม่เกิดขึ้นโดยบริษัทยาที่เราคุ้นชื่อกันดีอย่าง Moderna กับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเริม, งูสวัส จนถึงโรคมะเร็ง ที่อาจกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังอีกหลายชนิด   นั่นทำให้ในปี 2023 บริษัทยาอาจมีการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคต่างๆ มากขึ้น ทั้งบริษัทยาที่เราคุ้นตากันดีอย่าง Pfizer, Moderna, Astrazeneca ไปจนบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon…