ธปท. แนะวิธีสแกน QR code – โอนเงินอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

Loading

    ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะวิธี สแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking อย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ซึ่งหากเราเผลอกรอกข้อมูลสำคัญหรือกด download จะโดนดูดเงินในบัญชีออกไป   ในปัจจุบัน “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” หรือมิจฉาชีพได้พัฒนารูปแบบการหลอกลวง ให้ผู้เสียหายสแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking เพื่อเข้าถึงข้อมูลและควบคุมโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ซึ่งหากคนร้ายสามารถรู้รหัสผ่านในการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคาร คนร้ายก็จะสามารถทำการถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของเหยื่อจนหมด   ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้โพสต์แนะนำวิธีสแกน QR code อย่างไรให้ปลอดภัยจาก #มิจฉาชีพ โดยระบุว่า   การสแกนจ่ายหรือโอนเงินผ่านแอป Mobile Banking ต้องตรวจสอบชื่อผู้รับโอนและยอดเงินทุกครั้ง ถ้าจะจ่ายหรือโอนเงินให้หน่วยงาน เช่น มูลนิธิ ราชการ ชื่อผู้รับควรเป็นชื่อหน่วยงานนั้นโดยตรง หากสแกนแล้วเป็นชื่อบุคคล ควรตรวจสอบหรือโทรถามให้แน่ใจก่อนกดโอน     หากสแกนเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น…

ปล้นครั้งประวัติศาสตร์! ทะลวงทุกระบบ “ขโมยเพชร” มหาศาล ตามของคืนไม่ได้จนวันนี้

Loading

    ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2003 มีข่าวครึกโครมดังไปทั่วโลกกับเหตุการณ์ “ขโมยเพชร” ที่นับได้ว่าเป็นการโจรกรรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และน่าจะบอกได้ว่าเป็นการโจรกรรมที่เกิดในพื้นที่ซึ่งมีระบบป้องกันดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก จนเคยเชื่อกันว่า “ไม่สามารถถูกเจาะได้”   แอนต์เวิร์ป ไดมอนด์ เซ็นเตอร์ (Antwerp Diamond Center) เป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์รวมเพชรของโลก ตั้งอยู่ในประเทศเบลเยียม ภายในมีตู้เซฟจำนวนเกือบ 200 ตู้ในห้องนิรภัย ซึ่งอยู่ลึกลงไปในใต้ดิน 2 ชั้น เก็บเพชรและเครื่องประดับอัญมณีของผู้เช่าตู้เซฟ มูลค่ารวมแล้วหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ มีระบบรักษาความปลอดภัยหลายชั้น   รายงานข่าวบางแห่งบ่งชี้ตัวเลขระดับชั้นของการรักษาความปลอดภัยว่ามีมากถึง 10 ชั้น และต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนกว่าจะไปถึงขั้นเปิดตู้เซฟได้ ทุกตู้ยังต้องเปิดด้วยรหัสและกุญแจเช่นเดียวกับประตูห้องนิรภัย ซึ่งทำให้เป็นที่มั่นใจในความปลอดภัยสำหรับผู้มาเช่าตู้เซฟ   สถานที่แห่งนี้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยแน่นหนาและทันสมัย แถมเพียบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีกล้องวงจรปิดทุกซอกทุกมุม มีสัญญาณเตือนภัยแทบทุกระบบที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาติดตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์จับความเคลื่อนไหวและการสั่นสะเทือน เซนเซอร์จับความร้อนจากร่างกายมนุษย์ เซนเซอร์จับแสง มีแม้กระทั่งอุปกรณ์ตรวจจับแบบแม่เหล็ก ซึ่งทันทีที่ประตูนิรภัยหนา 1 ฟุตเปิดในเวลาที่ไม่ควรเปิด สัญญาณเตือนภัยจะแจ้งเหตุทันที รวมทั้งมีเครื่องกีดขวางยานพาหนะยุคไฮเทค มีกลไกบังคับให้หุบหายลงใต้ดิน และโผล่กลับขึ้นมาทำหน้าที่ของมันได้ทุกเวลา   ที่สำคัญยังตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานีตำรวจนัก และเจ้าหน้าที่ก็พร้อมปฏิบัติการตลอด 24…

เงื่อนไขการใช้สิทธิและการบริหารจัดการสิทธิตาม PDPA

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA กำหนดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิหลาย ๆ ประการที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 30-36   ได้แก่ สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนา (Access) สิทธิขอให้โอนข้อมูล (Portability) สิทธิคัดค้าน (Object) สิทธิขอให้ลบ (Erasure) สิทธิขอให้ระงับการใช้ (Restriction) และสิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล (Rectification)   กฎหมายได้กำหนดเป็นหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีหน้าที่ดำเนินการตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วย (Responding to Data Subject Requests: DSRs)   สิทธิทั้ง 6 ประการดังกล่าวมีเงื่อนไขและขอบเขตการใช้บังคับหรือการดำเนินการตาม DSRs ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการใช้สิทธิแต่ละประเภท และฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (lawful basis) กับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล   European Data Protection Board (EDPB) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับการบังคับใช้ GDPR…

สังคมโลก : ไม่มีวี่แวว

Loading

    นับตั้งแต่การสู้รบในซูดานปะทุขึ้นอย่างฉับพลัน เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา กรุงคาร์ทูมในอีก 1 เดือนต่อมา คือพื้นที่สงครามอันอ้างว้าง ซึ่งยังมีหลายครอบครัวที่หวาดกลัวหลบอยู่ในบ้านของพวกเขา ท่ามกลางเสียงปืนที่ดังสนั่นบนท้องถนนด้านนอกที่รกร้างและเต็มไปด้วยฝุ่น   ทั่วกรุงคาร์ทูม ผู้รอดชีวิตต่างหลบภัยในบ้านที่เสริมการป้องกัน โดยหวังว่าพวกเขาจะไม่โดนลูกหลง และอดทนต่อการขาดแคลนอาหารและสิ่งของพื้นฐานที่สิ้นหวัง เช่นเดียวกับการเผชิญปัญหาไฟฟ้าดับ, การขาดเงินสด, การสื่อสารที่ขาดหาย และภาวะเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้   ขณะที่ทหารสองฝ่ายกำลังต่อสู้กัน บรรดาเจ้าหน้าที่รัฐที่เหลืออยู่ต่างถอยร่น ไปปักหลักที่เมืองพอร์ตซูดาน ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงคาร์ทูมประมาณ 850 กิโลเมตร และเป็นศูนย์กลางสำหรับผู้อพยพจำนวนมาก ทั้งชาวซูดานและพลเมืองชาวต่างชาติ     ซูดานมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับการรัฐประหารมาอย่างยาวนาน แต่ความหวังของประเทศเพิ่มขึ้นหลังเกิดการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาเชียร์ เมื่อปี 2562 แม้มีรัฐบาลพลเรือนในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่เป็นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารครั้งล่าสุด ในปี 2564   สำหรับชนวนเหตุของสงครามกลางเมืองในซูดานครั้งนี้ เป็นผลจากความตึงเครียดเกี่ยวกับการผนวกรวมกองกำลังเพื่อจัดตั้งกองทัพแห่งชาติ โดย พล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของซูดาน ซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำประเทศคนปัจจุบัน และ พล.อ.โมฮาเหม็ด…

Digital Footprint คืออะไร ทำไมคนรุ่นใหม่ต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์โซเชียล

Loading

    ดิจิทัลฟุตพริ้นท์ คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดความประพฤติของบุคคลที่กระทำบนโลกอินเทอร์เน็ต และผู้ใหญ่หลายคนถึงกับเตือนว่า “สิ่งที่เคยกระทำในอดีตจะส่งผลถึงปัจจุบัน” ดังนั้น คิดก่อนโพสต์   Digital Footprint (ดิจิทัลฟุตพริ้นท์) หรือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่จะเก็บประวัติทางพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการกรอกข้อมูลใส่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ การแชร์หรือแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถค้นหาได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างก็ค้นเจอบนโลกดิจิทัลแล้ว   นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องกังวลก็คือ ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน วัยทำงาน หรือเจ้าของกิจการก็ต้องรอบคอบเรื่องการโพสต์ข้อความใดๆ ก็ตามบนโซเชียลมีเดีย   มีข้อมูลจาก CareerBuilder ระบุว่า เรื่องดิจิทัลฟุตพริ้นท์เป็นหนึ่งในเหตุผลที่องค์กรจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพนักงานใหม่ในการเข้าทำงาน หากพนักงานคนนั้นมีพฤติกรรมการโพสต์ภาพ วิดีโอหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด เหยียดเพศ บูลลี่หรือแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองแบบรุนแรง เหยียดศาสนา เป็นต้น     เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่มีองค์กรกว่า 41.19% ให้ความเห็นพ้องตรงกับผลวิจัยว่า นำการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มาใช้ประกอบในการพิจารณาคุณสมบัติในการรับเข้าทำงาน  …

ถอดบทเรียนยูเครน จีนเล็งเสริมขีดความสามารถทำสงครามนอกแบบ

Loading

    นายพลจีนถอดบทเรียนวิกฤติยูเครน เรียกร้องหลอมรวมขีดความสามารถสมัยใหม่อย่างเอไอ เข้ากับยุทธวิธีสงครามตามแบบก่อนเผชิญหน้าตะวันตก   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน นายพลหวัง ไฮ่เจียง ผู้บัญชาการภาคตะวันตก กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (PLA) เขียนบทความพิเศษลงหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ทางการ Study Times ฉบับวันจันทร์ (15 พ.ค.) การทำสงครามลูกผสมรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในความขัดแย้งยูเครน มีการผสมผสานทั้ง “สงครามการเมือง สงครามการเงิน สงครามเทคโนโลยี สงครามไซเบอร์ และสงครามการรับรู้”   ในปัจจุบันและอนาคต ความขัดแย้งในท้องถิ่นและความวุ่นวายจะเกิดขึ้นบ่อย ปัญหาระดับโลกรุนแรง โลกเข้าสู่ความวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลงช่วงใหม่ เหตุการณ์แบบหงส์ดำ (เกิดขึ้นได้ยากมาก) และแรดสีเทา (สถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง แต่ผู้เกี่ยวข้องแยกแยะไม่ออก) อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยเฉพาะด้วยการสกัดกั้น โอบล้อม ตัดขาด กดขี่ และภัยคุกคามจากชาติตะวันตกบางชาติ”   รอยเตอร์ระบุว่า ในนามของความมั่นคงแห่งชาติและเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่รับรู้ได้จากตะวันตก ความพยายามเตรียมตัวรับมือความท้าทายด้านความมั่นคงของจีนไม่ได้ลดน้อยลง แม้เศรษฐกิจชะลอตัวและโควิด-19 ระบาด ปีนี้ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมส่อเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ซึ่งขนาดและขอบเขตการเตรียมการของกองทัพจีนไม่ได้มีแค่ตะวันตกที่จับตา แต่เพื่อนบ้านรวมถึงไต้หวันที่จีนอ้างว่าเป็นของตนก็จับตาอย่างใกล้ชิดด้วย   แต่แม้ทุ่มเทงบประมาณลงไปหลายแสนล้านดอลลาร์แต่กองทัพจีนไม่ได้ทำสงครามมานานมาก…