รู้จักระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot ที่สหรัฐฯ เตรียมส่งให้ยูเครน ช่วยรับมือรัสเซียได้แค่ไหน?

Loading

  การเยือนสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีแห่งยูเครน ถือเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรก นับตั้งแต่สงครามรุกรานยูเครนโดยรัสเซียปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์   สถานการณ์สู้รบตลอดระยะเวลากว่า 300 วันที่ผ่านมา ยังดำเนินไปอย่างยืดเยื้อ แม้ว่าในภาคพื้นดิน กองทัพยูเครนจะช่วงชิงหลายเมืองที่ถูกยึดไปคืนมาได้อย่างต่อเนื่อง แต่กองทัพรัสเซียก็ไม่ละความพยายาม และระดมโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วงตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นถล่มเป้าหมายโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค รวมถึงระบบไฟฟ้า เพื่อสร้างความลำบากและแรงกดดันให้ยูเครนในการรบช่วงฤดูหนาว   ความหวังสำคัญของทริปการเยือนวอชิงตัน ดี.ซี. ของเซเลนสกีครั้งนี้ หนีไม่พ้นความช่วยเหลือเพิ่มเติมทางการทหารที่เขาเรียกร้องมาตลอด   โดย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าสหรัฐฯ จะอยู่เคียงข้างยูเครนตราบนานเท่านาน ในขณะที่สัญญาว่าจะมอบแพ็กเกจช่วยเหลือทางทหารรอบใหม่แก่รัฐบาลเคียฟ วงเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์   ซึ่งสิ่งที่หลายฝ่ายจับตามองในแพ็กเกจช่วยเหลือรอบใหม่ดังกล่าว คือระบบมิสไซล์ Patriot อันเป็นระบบป้องกันขีปนาวุธเคลื่อนที่จากพื้นสู่อากาศที่มีเทคโนโลยีล้ำยุคและมีความแม่นยำสูง ถึงขั้นเรียกได้ว่าเป็น ‘มาตรฐานทองคำ’ ของการป้องกันภัยทางอากาศ   ประสิทธิภาพของระบบขีปนาวุธ Patriot จะสูงสมคำร่ำลือแค่ไหน และจะเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยให้ยูเครนสามารถพลิกสถานการณ์หรือสร้างความแตกต่างในสงครามอันยืดเยื้อนี้ได้หรือไม่?     ระบบมิสไซล์ Patriot คืออะไร?  …

นายกฯ มอบนโยบายหน่วยงาน กอ.รมน. และส่วนราชการด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติ หวังผลสัมฤทธิ์ที่สูงยิ่งขึ้นในงานรักษาความมั่นคง และงานพัฒนา โดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

Loading

  นายกฯ มอบนโยบายหน่วยงาน กอ.รมน. และส่วนราชการด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติ หวังผลสัมฤทธิ์ที่สูงยิ่งขึ้นในงานรักษาความมั่นคง และงานพัฒนา โดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ทำให้ประเทศไทยปลอดภัย   นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า วันนี้ (22 ธ.ค. 65) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ครั้งที่ 1/2565 และเป็นประธานสรุปผลการปฏิบัติงานและแถลงแผนการปฏิบัติงานประจำปีของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อให้ผู้บริหาร กอ.รมน. (ส่วนกลาง) กอ.รมน.ภาค กอ.รมน.จังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง รับทราบผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และนำนโยบายนายกรัฐมนตรียึดเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านความมั่นคง คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร คณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐวุฒิสภา หัวหน้าส่วนราชการด้านความมั่นคง ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จังหวัด และผู้บริหารของ…

Cybersecurity Predictions 2023: มุมมองใหม่ของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือแนวทางด้านการรักษาความปลอดภัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์การเมืองโลก ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความมั่นคง และภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทำให้เกิดการรับรู้เชิงลบมากมายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากพาดหัวข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้เรารับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   การรักษาความปลอดภัยยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทักษะความสามารถ (soft skills) พอ ๆ กับทักษะทางเทคนิคเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ จากงานวิจัยของ Information Systems Audit and Control Association (ISACA) พบว่าทักษะความสามารถในการสื่อสาร ความยืดหยุ่น และความเป็นผู้นำ แสดงถึงช่องว่างทักษะที่สำคัญที่สุด ซึ่งระบุโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์   การคาดการณ์เป็นเรื่องที่ยากในสภาพแวดล้อมแบบไดนามิกเช่นนี้ แต่เราสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอนาคตของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2023 และอนาคต     การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นรากฐานที่สําคัญของทุกสิ่ง   ในช่วงที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องรับมือกับการหยุดชะงักของธุรกิจ เช่น ผลกระทบของการทำงานระยะไกล เป็นต้น การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญเสมอสำหรับบางองค์กร แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาผู้นำด้านความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงต้องจัดการกับการกู้คืนและการต่ออายุ ทำให้เราจะได้เห็นการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น…

ระวัง! คำพูดต้องห้ามในสนามบิน แม้พูดเล่นก็ผิด

Loading

  ระวัง! คำพูดต้องห้ามในสนามบิน แม้พูดเล่นก็ผิด สนามบินหรือในเครื่องบิน เป็นสถานที่ที่มีความเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัยสูง ดังนั้นการกระทำหรือคำพูดต่าง ๆ ที่สื่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปในทางที่เป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินจึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องของคำพูดที่แม้ไม่ระวังหรือคิดว่าพูดเล่น แต่นั่นอาจทำให้คุณทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นลองตามเราไปดูกันว่า คำพูดต้องห้ามในสนามบิน มีอะไรบ้าง และจะมีบทลงโทษอย่างไรหากฝ่าฝืน   คำที่ไม่ควรพูดเล่นในสนามบิน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้ข้อมูลที่เป็นการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ทั้งคำพูด ลักษณะท่าทาง หรือการสื่อสาร ดังนี้   คำพูดที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นเหตุให้ผู้อื่นตื่นตกใจ 1. ระเบิด (Bomb, Explosive) เช่น พูดว่า มีระเบิด, เปิดกระเป๋าระวังเจอระเบิด, จะระเบิดสนามบิน, จะระเบิดเครื่องบิน 2. การก่อการร้าย (Terrorist Attack) เช่น พูดว่า นี่คือการก่อการร้าย 3. จี้เครื่องบิน ปล้นเครื่องบิน (Hijack) เช่น พูดว่า นี่คือการจี้เครื่องบิน, Hijack  …

Space Race: จับตาการแข่งขันด้านอวกาศปี 2023 ประเทศไหนมีโครงการน่าสนใจบ้าง

Loading

  การแข่งขันด้านอวกาศเป็นที่สนใจของนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจเสมอมา เพราะมันบ่งบอกถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะกลายมาเป็น ‘บารมี’ และ ‘เครดิต’ ให้ชาติอื่นเกรงใจ โดยเฉพาะชาติที่เป็นคู่ขัดแย้งกัน   ไปสำรวจดูว่าในปี 2023 มีโครงการด้านอวกาศอะไรบ้างที่น่าจับตา     ในปี 2023 ทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโครงการอวกาศใหม่ ๆ ที่ออกมาแข่งขันกันอย่างน่าสนใจ เริ่มจากบริษัท SpaceX ของมหาเศรษฐี อีลอน มัสก์ ที่จะมี 2 โครงการใหญ่เป็นจุดเด่นของปีออกมาให้ตื่นเต้นกัน   โครงการแรกคือ ‘โพลาริส ดอว์น’ ที่จะส่งชาวอเมริกันที่เป็นบุคคลธรรมดา 4 คน ชาย 2 หญิง 2 ขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นเวลานาน 5 วันกับยานลูกเรือดรากอน   ส่วนโครงการที่ 2 ก้าวไปไกลกว่านั้นมาก นั่นคือส่งมหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น คือ ยูซากุ มาเอซาวา” (前澤 友作) พร้อมผู้โดยสารที่ได้รับการคัดเลือกเป็นพิเศษอีก…

8 หน่วยงานเร่งหนุนคนไทยใช้ “ดิจิทัล ไอดี”

Loading

  กระทรวงดีอีเอส โดย เอ็ตด้า จับมือ 7 หน่วยงาน บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน เร่งเครื่องคนไทยพัฒนาและใช้ Digital ID อย่างเต็มขั้น   นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า เปิดเผยว่า เอ็ตด้า เตรียมสร้างการรับรู้ถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานในการผลักดันเรื่อง การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล  ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) ของประเทศ   หลังจากเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการรายงานความคืบหน้าเรื่อง ดิจิทัล ไอดี ของประเทศต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว  เพื่อเป็นการช่วยให้ ทุกการทำธุรกรรมออนไลน์มีความมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ หลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเร่งเครื่องส่งเสริมให้คนไทยเกิดการพัฒนาและเกิดการใช้งาน ดิจิทัล ไอดี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมสากล   “พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. …. ที่กำลังจะประกาศใช้ในเร็ว ๆ นี้ รวมไปถึง การร่างกฎหมายลูกฉบับอื่น ๆ…