ครม.เคาะแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ – ร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารของรัฐ

Loading

  ครม. เห็นชอบแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566-2580 และร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ ที่รัฐเป็นเจ้าของบริหารจัดการเอง   นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ว่า ครม.เห็นชอบร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566-2580 (National Space Master Plan 2023 – 2037) และเห็นชอบหลักการร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายอวกาศของรัฐบาลให้เป็นรูปธรรม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้   ร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566 – 2580 (National Space Master Plan 2023 – 2037) มีวิสัยทัศน์ คือ “มุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากกิจการอวกาศเพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน” ดำเนินพันธกิจ เช่น พัฒนาและส่งเสริมความมั่นคงอวกาศ พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอวกาศ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศ ติดตาม เฝ้าระวัง วิจัยและสำรวจอวกาศ…

รู้ทัน Darknet ตลาดค้าข้อมูล ชุมชนอาชญากรไซเบอร์

Loading

    ทำไมข้อมูลถึงเป็นสิ่งมีค่า ? ทำไมยุโรปต้องออกกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำไมองค์กรธุรกิจที่ปล่อยข้อมูลหลุดถึงต้องโดนปรับหลายพันล้าน บทความนี้มีคำตอบครับ   Techhub อยากพาทุกคนเข้าใจเรื่อง Darknet ตลาดค้าข้อมูล ที่สร้างรายได้ให้กับใครก็ได้สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวมาได้ นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมเราถึงมักได้ยินรายงานข่าวเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลจากบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Twitter , Facebook และอื่น ๆ   ข้อมูลใน Darknet เปรียบเสมือนกับสินค้าถูกกฏหมายอื่น ๆ มีห่วงโซอุปทาน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้บริโภค ซึ่งจะเชื่อมโยงกับกันหว่างองค์กรอาชญากรรมหลายแห่ง   จุดเริ่มส่วนใหญ่จะมาจากแฮกเกอร์ที่สามารถหาช่องโหว่ภายในองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นั้นเพื่อขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร และหมายเลขประกันสังคม รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ (อันนี้เรียกผู้ผลิต)   เมื่อได้ข้อมูลมา ส่วนใหญ่แล้วแฮกเกอร์จะไม่ได้เป็นคนขายข้อมูลนั้นเอง ข้อมูลจะถูกส่งต่อให้กับผู้ค้าส่งข้อมูล และถูกส่งไปยังผู้จำหน่ายข้อมูลรายย่อย สุดท้าย ข้อมูลจะถูกซื้อโดยมิจฉาชีพที่ต้องการนำข้อมูลนั้นไปเพื่อทำการฉ้อโกงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฟิชชิ่ง หรือการหลอกให้โอนเงิน โดยเฉพาะกับแก๊งคอลเซนเตอร์ที่เราเจอกันอยู่ทุกวันนี้  …

ใคร ๆ ก็ใช้ Digital ID

Loading

  เรากำลังก้าวข้ามไปสู่ยุคดิจิทัล ที่อะไร ๆ ก็ทำผ่านออนไลน์ได้ วันนี้การให้บริการประชาชนของประเทศไทยที่ทำผ่านออนไลน์ได้แล้วก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น การเช็กสิทธิ การจองคิวเพื่อเข้าไปรับบริการ หรือที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ ยื่นภาษีออนไลน์ที่มีมานับ 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีบริการอีกมากมายที่หน่วยงานรัฐกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดให้บริการแแก่ประชาชน   ด้วยงานให้บริการประชาชนที่มีหลายรูปแบบ บางอย่างเป็นเรื่องทั่วไปไม่ต้องแสดงตนก็ได้ แต่บางอย่างจำเป็นต้องแสดงตนเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นคน ๆ นั้นจริง จึงต้องมีการพบเห็นต่อหน้า มีการตรวจสอบตัวบุคคล และตรวจสอบหลักฐานแสดงตนควบคู่กันไป ตัวอย่างเช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น   ถ้าจำกันได้ตอนสมัครขอรับสิทธิสวัสดิการของรัฐโครงการคนละครึ่ง ต้องดาวน์โหลดแอป “เป๋าตัง” มาไว้ในมือถือด้วย เอาไว้สแกนจับจ่ายซื้อของ ซึ่งตอนลงทะเบียนแอปเป๋าตังก็ต้องยืนยันตัวตนเพื่อใช้งาน G-Wallet ที่จะต้องเติมเงินของเราเข้าไปไว้ใช้ร่วมกับเงินอีกครึ่งที่รัฐบาลออกให้นั้น จะต้องมีการสแกนใบหน้าซึ่งก็จัดว่าเป็นการยืนยืนตัวตนที่ต้องแสดงตน แต่แสดงผ่านออนไลน์     3 ขั้นตอน เตรียมก้าวสู่โลกดิจิทัล   ถ้าถามว่าหน่วยงานรัฐต้องทำอะไรบ้าง มีหลักการสั้น ๆ ง่าย ๆ คือ   –  สำรวจบริการ ไปดูว่างานให้บริการประชาชนมีอะไรบ้าง…

Digital ID คืออะไร? ใช้อย่างไร?

Loading

  ทุกวันนี้เราใช้ Social Media ใช้ Mobile Banking และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน จนอาจจะลืมไปแล้วว่าก่อนที่จะใช้งานได้เช่นทุกวันนี้ เราต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง นั่นก็คือ ต้อง “สมัคร” หรือลงทะเบียนผู้ใช้งาน จากนั้นก็จะสามารถ “เข้าใช้งาน” ได้ ซึ่งการสมัครและการเข้าใช้บริการก็คือ การสร้าง Digital ID   เช่นเดียวกันกับการเข้าใช้บริการของหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัล ก็ต้องมีการลงทะเบียน มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วย โดยการสร้าง Digital ID เพื่อใช้บริการของภาครัฐจะมีความเข้มงวดและรัดกุมกว่าการใช้บริการแพลตฟอร์มทั่ว ๆ ไป     สมัคร+ใช้บริการ = สร้าง Digital ID   “การสมัคร” หรือการลงทะเบียน ทำแค่ครั้งแรกครั้งเดียว โดยผู้ที่จะเข้าใช้บริการจะต้องสมัคร ซึ่งต้องกรอกข้อมูลให้แก่ผู้ให้บริการ ส่วนผู้ให้บริการก็ต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าเป็นบุคคลคนนั้นจริงหรือไม่   “การใช้บริการ” หลังจากสมัครแล้ว เมื่อจะเข้าใช้บริการ ก็ต้องพิสูจน์ตัวตน และยืนยันตัวตน ซึ่งจะมี…

e-Signature ว่าด้วยเรื่องประโยชน์และความปลอดภัย

Loading

  เมื่อโลกเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการจัดกลยุทธ์ระบบสารสนเทศแบบองค์รวมที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานได้อย่างเหมาะสมและรองรับการให้บริการต่อประชาชนและหน่วยงานภายนอกได้ในอนาคต   สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ยกระดับภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานมีการทำงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง” และมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน e-Signature เป็นวงกว้างในหน่วยงานของภาครัฐ     บทบาทของ e-Signature ในหน่วยงานภาครัฐ   หน่วยงานรัฐเป็นองค์กรที่ใช้งานเอกสารกระดาษเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ มีลำดับขั้นของกระบวนการทำงาน การอนุมัติงานที่ซับซ้อน ทำให้ต้องใช้เวลานานในการจัดการเอกสาร และต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับจัดเก็บงานเอกสารโดยเฉพาะ แต่เมื่อจะเรียกใช้งานข้อมูลที่จัดเก็บไว้กลับต้องใช้เวลาในการค้นหา หากเราสามารถย่นระยะเวลาในส่วนนี้ลงไปได้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมหาศาล และยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดบริการออนไลน์รูปแบบใหม่ๆ ของภาครัฐ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและภาคประชาชนได้อย่างตรงจุดด้วย   การนำ e-Signature มาใช้จะช่วยให้ระบบงานนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารกระดาษอีกต่อไป เพราะเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะได้รับการรับรองทางกฎหมายเสมือนเป็นเอกสารกระดาษทั่วไป     เอกสารประเภทไหนควรใช้ e-signature แบบใด   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานในหน่วยงานภาครัฐถูกจำแนกออกเป็น 6 ชนิด ตามข้อ 10 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ…

การใช้ e-Signature ในประเทศไทย

Loading

  ปัจจุบัน กฎหมายรองรับ e-Signature ทำหน้าที่เหมือนลายเซ็นบนกระดาษ แต่เมื่อเป็นเรื่องใหม่จึงจำเป็นต้องระบุให้ได้ว่า e-Signature นั้นมีหน้าที่อะไรอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถระบุได้สองประการที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ   ประการแรก ต้องระบุตัวตนเจ้าของ e-Signature ได้ เพื่อเป็นหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้   ประการที่สอง ทำให้เกิดหลักฐานการแสดงเจตนาของเจ้าของลายเซ็นเกี่ยวกับเอกสารที่ได้เซ็นไว้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การอนุมัติ เห็นชอบ หรือยอมรับข้อความ การรับรองหรือยืนยันความถูกต้อง การตอบแจ้งการเข้าถึงหรือการรับข้อความ และการเป็นพยานให้กับการลงลายชื่อของผู้อื่น     e-Signature ที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย   กฎหมายไม่ได้ระบุให้ e-Signature มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดกว้างให้มีความครอบคลุมภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วข้างต้น และเพื่อรองรับหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) ที่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ใช้งานมีความยืดหยุ่น สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมกับความเสี่ยงของธุรกรรมนั้น ๆ แต่เพื่อให้เป็น e-Signature ที่สมบูรณ์และได้รับการรับรองด้วยกฎหมายแล้วนั้น e-Signature จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้   1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นคือใคร…