กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสหรัฐเป็นอย่างไร?

Loading

  การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่รัฐบาลหลาย ๆ ประเทศให้ความสำคัญ และเป็นแนวคิดที่มีมาหลายสิบปีแล้ว   พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ของประเทศไทย มีผลใช้บังคับอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งต้องยอมรับว่าภาคเอกชนหลาย ๆ บริษัทนั้นมีความตื่นตัวและเตรียมความพร้อมกันอย่างเต็มที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด   หลายประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเวียดนาม ก็กำลังเตรียมตัวเพื่อออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน ในส่วนประเทศญี่ปุ่น มีการบังคับใช้กฎหมายเกินกว่า 15 ปีแล้ว แต่ก็มีการพัฒนาแก้ไขกฎหมายอยู่เป็นระยะเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคม     ในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในประชาคมโลก และมีความก้าวล้ำในเรื่องของกฎหมายและเทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง   หลาย ๆ ท่านก็คงคาดหมายว่า สหรัฐนั้นก็น่าจะมีความก้าวหน้าในส่วนของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยที่สหรัฐมีกฎหมายหลายฉบับที่กำกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในเฉพาะส่วน เช่น The Privacy Act of 1974 ซึ่งเป็นกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกจัดเก็บโดยหรืออยู่ภายใต้การครอบครองของรัฐบาล   Health Insurance Portability and Accountability Act of 1996 (HIPAA) ซึ่งเป็นกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประเภทข้อมูลสุขภาพของคนไข้ หรือผู้ใช้บริการสาธารณสุข…

ยอมเถื่อน! แคสเปอร์สกี้พบธุรกิจขนาดกลาง 24% ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หวังลดต้นทุน

Loading

  ผลสำรวจแคสเปอร์สกี้ เผยธุรกิจขนาดกลาง 24% เลือกใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อลดต้นทุน   นายอเล็กซานเดอร์ ชลิคคอฟ หัวหน้าทีมการตลาดผลิตภัณฑ์ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การขาดทรัพยากรเป็นสถานการณ์ทั่วไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกแฮกควรได้รับการยกเว้นหากองค์กรให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย ชื่อเสียง และรายได้ขององค์กร   “ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มักจะมาพร้อมกับโทรจันและไมเนอร์และไม่มีโปรแกรมแก้ไขหรือแพตช์ที่ออกโดยนักพัฒนาเพื่อปิดช่องโหว่ที่อาจถูกโจมตีโดยอาชญากรไซเบอร์ การใช้ซอฟต์แวร์ทางเลือกแบบฟรีอย่างเป็นทางการเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามากสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดงบด้านไอที”   รายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดเผยว่า บริษัทขนาดกลางที่มีพนักงาน 50 ถึง 999 คน จำนวนหนึ่งในสี่ หรือ 24% พร้อมที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านไอที สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (พนักงานน้อยกว่า 50 คน) มีจำนวนเพียง 8% เท่านั้นที่พร้อมที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว       ผู้ไม่หวังดีสามารถกระจายไฟล์ที่เป็นอันตราย โดยปลอมแปลงตัวเป็นซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่ใช้งาน   สิ่งที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร เนื่องจากผู้ไม่หวังดีจะกระจายไฟล์ที่เป็นอันตรายโดยปลอมแปลงตัวเป็นซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่ใช้งาน   จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network (KSN) ในช่วงเวลาเพียง 8…

เสาอัจฉริยะ (Smart Pole) คือกุญแจสำคัญสู่เมืองอัจฉริยะจริงหรือ?

Loading

    มีคำจำกัดความและแนวคิดเกี่ยวกับ smart city ที่น่าสนใจหลายมุมมองจากบุคลากรทั้งภาครัฐเอกชนหลากหลายท่านที่มาร่วมกันนำเสนอทั้งแนวคิดและนวัตกรรมอัจฉริยะ ภายในงาน Thailand Smart City: Bangkok Model โดย Post Today และเครือเนชั่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา   หนึ่งในหัวข้อมากมายที่น่าสนใจในเซสชั่นต่างๆ ก็มีเรื่องของ Smart Poles ในหัวข้อ Infrastructure Technology in Smart City โดยคุณปรเมศวร์ ปรีชญางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด เทคโนโลยี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (UTE)   น่าสนใจตรงที่ โครงการ Smart Poles นี้เป็นเหมือน Infra ของ Infra ที่จะช่วยให้คำว่า Smart City มีความสมาร์ทขึ้นจริงๆ ซึ่งก็คงจะไม่ใช่เมืองที่มีเสาไฟฟ้ารกรุงรังอีกต่อไป เพราะหากเราอยากเห็นกรุงเทพฯ หรือ เมืองต่างๆในประเทศไทยอัจฉริยะขึ้นจริงๆ นอกจากเริ่มที่คนสมาร์ทๆ ที่คุณชัชชาติ…

ข่าวลวง

Loading

  จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา สอดส่ายสายตาหาข้อบกพร่องของพวกที่อยู่คนละฝ่ายกับตะวันตก เพื่อกระจายขยายข่าวอยู่เป็นประจำ ทันทีที่เห็นข่าวจากอินสตาแกรมเป็นรูปผู้หญิงถือธงอิหร่านพร้อมกับแคปชัน ‘อิหร่านประหารชีวิตผู้ประท้วง 1.5 หมื่นคน เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับผู้ต่อต้าน’ ทรูโดอ่านปุ๊บก็แชร์ปั๊บ ทวีตที่ว่าอยู่หน้าบัญชีของแกนานถึง 12 ชั่วโมง   ต่อมาอินสตาแกรมแท็กโพสต์ดังกล่าวว่าเป็น ‘False Information’ หรือ ‘ข้อมูลเท็จ’ ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระยืนยันแล้วว่า ข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง ทำเอานายทรูโดต้องรีบลบข้อความออกจากบัญชีทวิตเตอร์ของตนเองอย่างด่วนจี๋ไปรษณีย์จ๋า   ‘จิตวิทยาบิดเบือน’ เป็นหัวเรื่องของเปิดฟ้าส่องโลกฉบับวันอังคาร 22 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งข้อมูลที่ปล่อยโดยโลกตะวันตกจำนวนไม่น้อยมีการสร้างขึ้นมาทั้งหมด หวังให้คนที่บริโภคข่าวไวๆ และไม่มีพื้นฐานด้านการต่างประเทศนำไปแชร์ต่อ ประสงค์ให้พวกคอลัมนิสต์ทั้งหลายนำไปวิเคราะห์พอข่าวที่ว่าแพร่ขยายกระจายไปแล้ว ต้นโพสต์ก็จะลบข่าวที่ว่าทิ้ง   ระยะหลังหน่วยงานของรัสเซียและจีนก็ลุกขึ้นมาโต้กลับพวกจิตวิทยาบิดเบือน ทำให้สหรัฐฯ และตะวันตกหน้าแหก พอถูกจับได้ก็วิ่งหาแพะมาลงโทษ   สัปดาห์ที่แล้ว สื่อโปรตะวันตกกระโจมโหมข่าวว่า รัสเซียยิงขีปนาวุธไปตกในดินแดนโปแลนด์ ทำให้มีคนโปแลนด์ตาย 2 ศพ หลังจากนักการเมืองโปแลนด์ออกมาโวยวายขายปลาช่อนว่าข่าวที่พวกเอ็งเล่นกันมันไม่จริง ขีปนาวุธที่ว่ามาจากอูเครน ทำให้สำนักข่าวตะวันตกอึกอักกึกกัก และสอดส่ายสายตาหาเหยื่อ   Associated Press หรือสำนักข่าวเอพี…

“เมืองอัจฉริยะ” มีมากกว่า ชีวิต-เทคโนโลยีและนวัตกรรม

Loading

  “เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City” เป็นหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี   คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต รายได้ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความปลอดภัยของทุกคนในเมืองนั้น หรือประเทศนั้นต้องดีขึ้นด้วย     ตั้งเป้าเมืองอัจฉริยะ100 เมืองใน 77 จังหวัด   แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน ความปลอดภัย   ประเทศไทย ได้มีการกำหนดพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นเเบบในแต่ละปี โดยปี 2561-2562 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 10 เมืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา   ต่อมา…

เตือนภัย AI ถูกโจมตีผ่านข้อมูลซ่อนใน QR Code

Loading

  วิศวกรไทย-ญี่ปุ่นเตือนภัยหลังผลวิจัยพิสูจน์ AI-Machine Learning ถูกโจมตีผ่านข้อมูลซ่อนในคิวอาร์โค้ดได้ ชี้ 2 แนวทางป้องกัน ย้ำแม้เทคโนโลยีจะเลิศล้ำเพียงใด ยังจำเป็นต้องมีมนุษย์ตรวจสอบเพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้   รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning (ML) ยังมีคำถามเรื่องความปลอดภัยไว้วางใจได้ 100% หรือไม่? ทำให้ทีมวิศวกรนักวิจัยไทย-ญี่ปุ่น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ JAIST (Japan Advanced Institute of Science and Technology) ลงมือทำวิจัยและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ เรื่อง การโจมตีการเรียนรู้ของเครื่องผ่านรูปแบบตัวอย่างปฏิปักษ์ (Attacking Machine Learning With Adversarial Examples) ชี้ให้เห็นว่า Machine Learning ยังมีช่องโหว่ภัยความเสี่ยงจากการโดนโจมตีที่จะสร้างความเสียหายได้   “ปัจจุบันเทคโนโลยี AI และ…