ไมโครซอฟท์จับมือ สกมช. ดึง AI ป้องกันภัยคุกคามดิจิทัลไทย

Loading

  สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือนำเทคโนโลยี AI ยกระดับการป้องกันภัยคุกคามทางดิจิทัลของประเทศไทย โดยมุ่งเน้น 2 ด้านหลัก ได้แก่ การเสริมสร้างมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ และการพัฒนาศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์   ความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับ สกมช. ในครั้งนี้เป็นการนำความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ภัยคุกคามและโซลูชันความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์มาประยุกต์ใช้ โดยได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมมากกว่าเพียงหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง “Secure Future Initiative” ของไมโครซอฟท์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับโลก จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทย ให้มีความพร้อมทั้งทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูง องค์ความรู้ที่สำคัญ และโครงการฝึกอบรมที่จำเป็น ถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างการป้องกันและสร้างสภาพแวดล้อมด้านดิจิทัลที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน”   ด้านคุณไมค์ เย รองประธานฝ่ายกิจการองค์กรและรองที่ปรึกษาด้านกฎหมายของไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าวว่า “ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เราได้พูดคุยกับหน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติหลายแห่งทั่วเอเชีย ซึ่งต่างเห็นพ้องกันว่าจำเป็นต้องมีเจตจำนงที่ชัดเจนมากขึ้นในการใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ขนาดใหญ่และระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก     รวมถึงต้องเร่งสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง ไมโครซอฟท์เชื่อว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นความรับผิดชอบของทุกคน เราจึงมีพันธกิจหลักคือ ‘การเพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลก’ ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างอนาคตดิจิทัลที่มีความปลอดภัยและยืดหยุ่นมากขึ้นในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย  …

รู้จัก ‘7 รัฐสวิงสเตต’ ชี้ชะตาศึก เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

Loading

    เปิดรายชื่อ ‘7 รัฐสวิงสเตต’ ชี้ชะตา ใครจะชนะในศึก เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ปี 2567 ระหว่างรองปธน.คามาลา แฮร์ริส และอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังรุดเข้าสู่ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ดุเดือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันสมัยใหม่ โดยเฉพาะใน “รัฐสวิงสเตต” ซึ่งเป็นรัฐที่พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันมีคะแนนสูสีกันมาก   ภายใต้รัฐธรรมนูญสหรัฐ ผู้ก่อตั้งประเทศกำหนดให้รัฐทั้ง 50 รัฐมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีของตนเอง แต่ภายใต้ “ระบบคณะผู้เลือกตั้ง” ที่ซับซ้อน ทำให้แต่ละรัฐจะมีคณะผู้เลือกตั้งจำนวนหนึ่ง โดยอ้างอิงจากจำนวนประชากร เป็นตัวแทนลงคะแนนเลือกตั้งปธน. ซึ่งรัฐส่วนใหญ่มีระบบผู้ชนะได้คะแนนทั้งหมด (winner-take-all system) หมายถึง คณะผู้เลือกตั้งทั้งหมดของรัฐนั้น ๆ จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้ที่ได้คะแนนเลือกตั้งสูงสุด   แคนดิเดตจะต้องมีเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งให้ได้อย่างน้อย 270 เสียง จาก 538 เสียง จึงจะชนะ เลือกตั้งสหรัฐ และการเลือกตั้งมักจะตัดสินจากรัฐที่มีการแข่งขันสูงหรือ “รัฐสวิงสเตต” ซึ่งเป็นรัฐที่พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตมักสลับกันครองเสียงส่วนใหญ่…

สรุปสั้น ทำไม ‘เลือกตั้งสหรัฐ’ จัดขึ้นตรง ‘วันอังคาร’ แรกของเดือนพฤศจิกายน

Loading

  ทุกๆ สี่ปี สหรัฐจะจัดลงคะแนนเสียง “เลือกตั้งประธานาธิบดี” ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน แล้วทำไมต้องเลือก “วันอังคาร” จัดเลือกตั้งสืบทอดนานกว่า 2 ศตวรรษ   ในปีนี้ก็เช่นกัน ชาวอเมริกันเตรียมตัวไปลงคะแนนเสียงที่หน่วยเลือกตั้งในวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันอังคาร จนเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีวันเลือกตั้งสืบทอดกันมา ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 1800   สำหรับประเทศในละตินอเมริกา มักจัดเลือกตั้งขึ้นในวันอาทิตย์ ส่วนอินเดียจัดในวันเสาร์อาจกินเวลาหลายสัปดาห์ เพราะประเทศกว้างใหญ่   ขณะที่อีกสองวัน ชาวอเมริกันหลายล้านคนจะได้ออกไปลงคะแนนเสียงให้กับรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต หรือคู่แข่งคืออดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน   สหรัฐมีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดชิงชัยเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน แล้วเหตุใดต้องเป็นวันอังคารและประเพณีดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างไร   ตามคำบอกเล่าจากนักประวัติศาสตร์ “เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรชาวเมริกัน”   แต่ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น ต้องรู้ก่อนว่า สหรัฐใช้ระบบใดอยู่ก่อนหน้าที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ จะจัดขึ้นในวันเดียวกันทั่วประเทศ   ก่อนหน้าจนถึงกลางปี 1800 พบว่า วันเลือกตั้งจะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ซึ่งได้กำหนดวันเลือกตั้งมีขึ้นในสัปดาห์ก่อนที่จะมีการประชุมในเดือนธันวาคม   ตัวอย่างเช่นในปี 1844 การเลือกตั้งประธานาธิบดีจัดขึ้นนานเป็นเวลาหนึ่งเดือนนั่นคือ ระหว่างต้นเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม…

TikTok เปิดศูนย์-คู่มือความปลอดภัย พร้อมฟีเจอร์ควบคุมเนื้อหาอัตโนมัติ

Loading

  TikTok ปรับโฉมฟีเจอร์ Family Pairing ให้พ่อแม่คุมเวลา-เนื้อหาลูกแบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งเปิดตัวคู่มือ Guardian’s Guide และศูนย์ Teen Safety Center ที่ช่วยยกระดับความปลอดภัย ปกป้องผู้ใช้วัยทีน   ท่ามกลางความกังวลของผู้ปกครองทั่วประเทศต่อภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ที่เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งออนไลน์ การล่อลวง หรือการเข้าถึงเนื้อหาไม่เหมาะสม   TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่มีผู้ใช้งานหลักเป็นเยาวชน ประกาศยกระดับมาตรการปกป้องผู้ใช้งานชาวไทย ผ่านการเปิดตัว “Guardian’s Guide” และ “Teen Safety Center” ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด ในงาน Thailand Safety Summit 2024 สะท้อนความมุ่งมั่นในการสร้างพื้นที่ดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัวไทย     สิริประภา วีระไชยสิงห์ Outreach and Partnerships Lead, Trust and Safety ของ TikTok กล่าวว่า ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้น หัวใจสำคัญของการอัปเดตครั้งนี้คือฟีเจอร์…

ระบบป้องกันอัคคีภัย รากฐานความปลอดภัยของดาต้าเซ็นเตอร์

Loading

    ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นเสาหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนใน “ระบบป้องกันอัคคีภัย” ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยลดความเสียหายที่มหาศาล และเป็นหลักประกันความมั่นคง และความน่าเชื่อถือของดาต้าเซ็นเตอร์ในการให้บริการได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต   ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่สำคัญ โดยเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้บริการคลาวด์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันต่างๆ ทำงานได้อย่างราบรื่น เป็นที่รวมศูนย์ของอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและมูลค่าสูง เช่น เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งหากเกิด เหตุเพลิงไหม้ ขึ้นจะมีผลกระทบอย่างมากทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ จากทั้งฮาร์ดแวร์ และข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้   จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ในดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มีความเสียหายและผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ทุกคนควรทำความเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัยจากอัคคีภัยในดาต้าเซ็นเตอร์ และมาตรการด้านความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ควรพิจารณา   เพลิงไหม้ที่เกิดจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน   อุปกรณ์ในดาต้าเซ็นเตอร์ต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษคือ เพลิงไหม้ที่เกิดจาก แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Li-ion) ที่ใช้ในระบบไฟฟ้าสำรอง (UPS) หรือระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อสำรองไฟในกรณีที่กระแสไฟฟ้าหลักขัดข้อง     แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน จัดเป็นวัตถุไวไฟมาก ซึ่งเมื่อมีอุณหภูมิสูงเกินกว่าปกติไม่ว่าจะเกิดจากความเสียหายทางกายภาพ การใช้งาน การประจุหรือคายประจุไฟฟ้าที่สูงเกินกว่าปกติ หรือข้อบกพร่องจากการผลิตหรือคุณภาพวัสดุ จนเกิดกระแสลัดวงจรภายใน…

3 คุณสมบัติที่ CISO รุ่นใหม่ต้องมี

Loading

  ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า ผู้บริหารด้านการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ (Chief Information Security Officer หรือ CISO) เป็นที่ต้องการในตลาดอย่างมากในปัจจุบัน   เนื่องจากมีการโจมตีทางไซเบอร์ที่มาในหลากหลายรูปแบบซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ระดับความรุนแรงและผลกระทบมากน้อยแตกต่างกันไป   เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ หลายองค์กรจึงต่างพากันลงทุนกับระบบรักษาความปลอดภัยและคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการเติมเต็มให้องค์กรแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น   องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาต้องการ CISO ที่สามารถเข้ามาช่วยดูแลความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่ธุรกิจต้องเผชิญ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการลดความเสี่ยงโดยไม่ขัดกับเป้าหมายทางธุรกิจ   ขณะที่คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทมหาชนต้องเผชิญกับการกำกับดูแลที่เข้มงวดมากขึ้นจากกฎความปลอดภัยทางไซเบอร์เบอร์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) และการรายงานความเสี่ยงและเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นให้ SEC รับทราบ   แต่สิ่งที่องค์กรต้องประสบคือ ปัญหาที่ผู้บริหารไม่สามารถทำงานกับ CISO ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเทคนิคย่างเดียวโดยไม่เข้าใจบริบท เป้าหมายทางธุรกิจ หรือแม้กระทั้งงบการเงิน ทำให้ไม่สามารถสื่อสารกับคนในองค์กรในกรอบการอภิปรายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาษาทางธุรกิจแทนที่จะเป็นศัพท์เฉพาะทางเทคนิค นี่จึงเป็นสาเหตุให้องค์กรต้องการ CISO ที่มีคุณสมบัติเด่น ๆ 3 อย่างนี้   ปฏิบัติงานในฐานะผู้นำธุรกิจที่มีความรู้ด้านเทคนิค : การ์ทเนอร์ ได้สำรวจความคิดเห็นของคณะกรรมการบริษัทในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ และมากถึง 88% คิดว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจไม่ใช่ปัญหาทางเทคโนโลยี เห็นได้ชัดว่ามุมมองในเรื่องนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว   ผู้บริหารต้องการ…