13 พันธมิตรใหม่ BRICS กับความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์-ยุทธศาสตร์

Loading

    BRICS ขยายพาร์ตเนอร์เพิ่มอีก 13 ประเทศ รวมถึงไทย โดย รศ. ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน มองว่าพาร์ตเนอร์ใหม่ BRICS ล้วนมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรือแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ป้อนอุตสาหกรรมใหม่ ๆ   ในอีกมุมหนึ่ง การเลือกพาร์ตเนอร์ BRICS รอบนี้ยังสะท้อนการเชื่อมหมากในกระดานหมากล้อม ที่จีนพยายามแก้เกมปิดล้อมในทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก       แอลจีเรียมีทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เดิมมีลูกค้าพลังงานรายใหญ่คือฝรั่งเศส แต่เริ่มรู้สึกว่าไม่แฟร์ จึงกระจายความเสี่ยงไปคบกับจีน     ไนจีเรีย เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีตัวเลข GDP สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นประตูสู่แอฟริกาตะวันตก และประตูสู่พื้นที่รอยต่อทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา และเหนือพื้นที่สีเขียวของแอฟริกาที่เรียกว่าเข็มขัดซาเฮล     ยูกันดาเป็นประตูสู่แอฟริกาตะวันออก มีทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์     โบลิเวียเป็นประเทศที่มีแหล่งแร่ลิเธียมมากที่สุดในโลก ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการป้อนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของจีนตามแผนยุทธศาสตร์ 3…

โอกาส ‘ประเทศไทย’ กับการเป็น ศูนย์กลาง ‘ดาต้าเซ็นเตอร์ภูมิภาค’

Loading

บ้านเราค่อนข้างให้ความสำคัญกับการมาลงทุนตั้ง ดาต้าเซนเตอร์ของบริษัทต่างประเทศมากพอควร ล่าสุด บีโอไอ ออกมาระบุว่า ปัจจุบันมีโครงการ ดาต้าเซนเตอร์ และคลาวด์ เซอร์วิส ขอรับการส่งเสริมลงทุนจากบีโอไอ รวม 46 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 167,989 ล้านบาท

คุยการเมืองเรื่องทรัมป์ เทรดวอร์และระเบียบโลกใหม่ กับศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Loading

    “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนพูดคุยกับ ศ. ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ถึงผลของการกลับมาของทรัมป์ที่มีต่อระเบียบโลกและประชาธิปไตยสหรัฐ   การกลับมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ในฐานะว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐจากพรรครีพับลิกันสร้างทั้งความตระหนักและตระหนกให้กับประชาคมโลกโดยเฉพาะประเด็นนโยบาย America First ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกครั้งใหญ่   ว่ากันว่าภายใต้การนำของทรัมป์ สหรัฐมีแนวโน้มที่จะถอยห่างจากบทบาทผู้นำโลกเสรีที่เคยดำรงมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหันมาเน้นการเจรจาแบบทวิภาคีที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าการรักษาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว การถอนตัวจากข้อตกลงระหว่างประเทศสำคัญๆ อย่างความตกลงปารีสและองค์การอนามัยโลกในสมัยแรก สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีที่เปลี่ยนไปของมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก   ขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำประเทศที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งมองว่ามิได้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน หรือเกาหลีเหนือ ก็ส่งสัญญาณว่าสหรัฐอาจไม่ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ดังกล่าวเหมือนในอดีต (?) การเมืองระหว่างประเทศกำลังเคลื่อนไปสู่ยุคที่ความสัมพันธ์ “ส่วนตัว” ระหว่างผู้นำมีความสำคัญมากกว่าค่านิยมร่วมหรือผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ   นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐเอง หลังจากที่ทรัมป์ปฏิเสธผลการเลือกตั้งในปี 2020 จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลที่รัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของประชาธิปไตยอเมริกัน การแบ่งขั้วทางความคิดที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับวิธีการหาเสียงที่เน้นการโจมตีคู่แข่งและการสร้างความเกลียดชัง ทั้งหมดล้วนส่งผลให้สถาบันจัดอันดับประชาธิปไตยระดับโลกจัดให้สหรัฐเป็นเพียง “ประชาธิปไตยที่บกพร่อง”   แม้ว่าทรัมป์จะยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ทิศทางนโยบายต่างประเทศที่เขาวางไว้ก็มีความเป็นไปได้ว่าทั้งโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะซับซ้อนและไม่แน่นอนมากขึ้น…

ดีอี หนุน สคส. ตั้งเป้าข้อมูลรั่วไหลต้องเป็น ‘ศูนย์’

Loading

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เดินหน้าผนึกกำลังจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทย พร้อมตั้งเป้าหมายสำคัญ ข้อมูลรั่วไหลต้องเป็น “ศูนย์”

FBI เตือน! ระวังแฮ็กเกอร์ส่งคำขอข้อมูลปลอม เพื่อขโมยข้อมูลลับของผู้ใช้งาน

Loading

  FBI ได้เตือนว่าแฮ็กเกอร์ได้คิดค้นวิธีใหม่ในการขโมยข้อมูล นั่นคือการโจมตีอีเมลทางการของหน่วยงานรัฐบาลและกรมตำรวจ จากนั้นจะนำมาใช้ส่งคำขอข้อมูล “ฉุกเฉิน”   คำขอข้อมูล “ฉุกเฉิน” เป็นกระบวนการที่ทางการสามารถขอให้บริษัทแบ่งปันข้อมูลที่ปกติถือเป็นความลับได้ มักใช้ในสถานการณ์ที่มีเดิมพันสูง เช่น ในกรณีที่ความปลอดภัยหรือชีวิตของบุคคลอยู่ในความเสี่ยง   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักฉ้อโกงพยายามใช้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม ตามประกาศสาธารณะที่ FBI ยื่นเมื่อสัปดาห์นี้ พบว่าการโจมตีในลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม   เจ้าหน้าที่ตรวจพบ scam เหล่านี้ได้อย่างไร?   FBI สังเกตเห็นโพสต์จำนวนหนึ่งจากแฮ็กเกอร์เหล่านี้บนฟอรั่มออนไลน์ ในช่วงปี 2023 และ 2024 ซึ่งพวกเขาอ้างว่ามีการเข้าถึงอีเมลที่ใช้โดยทางการสหรัฐฯ   เหตุการณ์ล่าสุดเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2024 เมื่ออาชญากรไซเบอร์ที่มีชื่อเสียงโพสต์ขายอีเมลของรัฐบาลที่มีคุณภาพสูงและข้อมูลการวิศวกรรมสังคมที่สามารถใช้ในการจารกรรม ลงบนฟอรั่มออนไลน์   ผู้ที่โพสต์ขายระบุว่าผู้ซื้อจะได้รับเอกสารหมายเรียกจริงที่ถูกขโมยมา และจะได้รับคำแนะนำในระหว่างกระบวนการ   โดยปกติแล้ว เมื่อคุณยื่นคำขอเข้าถึงข้อมูล คุณต้องมีการชี้แจงทางกฎหมายก่อน ซึ่งรวมถึงคำสั่งศาลและหมายเรียก (เฉพาะกรณีฉุกเฉินบางกรณีเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ต้องมีเอกสารทางกฎหมาย)   อย่างไรก็ตาม นี่ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับแฮ็กเกอร์อีกต่อไป เพราะแค่เข้าถึงอีเมลรัฐบาลได้ ก็สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการสร้างหมายเรียกที่ดูเหมือนจริง   โดยปกติ บริษัทจะตรวจสอบคำขอเหล่านี้อย่างละเอียด แต่ไม่ใช่ในกรณีฉุกเฉิน…

‘ฟูจิตสึ’ ถอดกลยุทธ์ ‘ความยั่งยืน’ หนุนใช้ ‘ดิจิทัล’ สร้างการเปลี่ยนแปลง

Loading

    อุทกภัยในภาคเหนือของประเทศไทยในปี 2567 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและแพร่หลายครอบคลุมพื้นที่กว่า 8.6 ล้านไร่ และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยประมาณระหว่าง 30,000 ถึง 40,000 ล้านบาท   การวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยวิจัยกรุงศรียังเผยให้เห็นภาพความเสียหายยิ่งกว่า โดยคาดการณ์มูลค่าความสูญเสียรวมสูงถึง 46,500 ล้านบาท ซึ่งรวมความเสียหายทั้งภาคการเกษตรมูลค่า 43,400 ล้านบาท และด้านทรัพย์สินอีก 3,100 ล้านบาท‘ฟูจิตสึ’ ถอดกลยุทธ์ ‘ความยั่งยืน’ หนุนใช้ \’ดิจิทัล’ สร้างการเปลี่ยนแปลง     กนกกมล เลาหบูรณะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดมุมมองว่า การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศกำลังปรับโฉมเศรษฐกิจและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก   ไม่ใช่ ‘มีก็ดี’ แต่เป็นสิ่งที่ ‘ต้องมี’   ปัจจุบัน ภาคธุรกิจต่างเร่งปรับตัวเพื่อให้สามารถเติบโตต่อไปได้ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายนี้ ทว่าจากการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับ C-level กว่า 600 คนจาก 15 ประเทศใน…