หุ่นยนต์รูปร่างเหยี่ยว ทางแก้ของปัญหาบินชนนก

Loading

  บินชนนก หนึ่งในปัญหาสำคัญในแวดวงการบิน ถือเป็นอุบัติเหตุอันเรียบง่ายแต่ไม่เคยแก้ตก ในอดีตเคยเกิดเหตุสลดจากสาเหตุนี้มามากมายและยังคงต้องเฝ้าระวังกันในอนาคต แต่ล่าสุดมีการเสนอทางแก้ปัญหาโดยการใช้หุ่นยนต์เหยี่ยวเพื่อขับไล่นกจากพื้นที่   หนึ่งในปัญหาสร้างความปวดหัวแก่นักบินมานักต่อนักคือ นก การมีนกบินผ่านขวางขณะกำลังพุ่งไปด้านหน้า หรือร้ายกว่าในกรณีนกเกิดหลุดเข้าไปในเครื่องยนต์ของเครื่องบินซึ่งกำลังลอยอยู่บนฟ้าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เป็นเหตุให้มีการคิดค้นวิธีแก้ไขมาหลากหลายเพื่อขจัดปัญหานี้อย่างยั่งยืน   ล่าสุดมีการคิดค้นหุ่นยนต์เหยี่ยวเพื่อไล่นกโดยเฉพาะแล้วก็จริง แต่มาดูกันว่านกสร้างปัญหาให้เครื่องบินแค่ไหน?     Bird strike เรื่องสุดเลวร้ายของผู้ทำการบิน   Bird strike หรือ บินชนนก ถือเป็นอุบัติเหตุที่พบได้ทั่วไปเมื่อทำการบิน อาจฟังดูน่าตลกชวนเกิดข้องกังขาสำหรับบางท่านว่า เหตุใดเครื่องบินซึ่งเราใช้งานบางครั้งมีขนาดใหญ่กว่านกทั่วไปจนเทียบกันไม่ได้ แต่นกตัวเดียวกลับทำให้เกิดความเสียหายที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนขับและผู้โดยสาร   สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเกิดจากเมื่อเกิดการบินเราจำเป็นต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เมื่อเกิดการกระทบเข้ากับวัตถุจะสร้างพลังงานจลน์ตามหลัก E = 1/2mv2 โดยมีปัจจัยหลักของแรงกระแทกจากมวลและความเร็ว นั่นทำให้เมื่อเกิดการบินชนนกเข้า แม้บางครั้งอาจไม่ได้เป็นนกตัวใหญ่แต่ความเร็วที่สูงจะสร้างแรงปะทะและความเสียหายร้ายแรง ประกอบกับพื้นฐานการบินบนอากาศ เมื่อสูญเสียแรงขับเคลื่อนย่อมหมายถึงการร่วงหล่นที่ทำให้คนขับและผู้โดยสารเสียชีวิตได้โดยง่าย     สถิติการเกิดอุบัติเหคุจากการบินชนนกเริ่มได้รับการรวบรวมมาตั้งแต่ปี 1912 ถือเป็นอันตรายอันดับหนึ่งซึ่งสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่แวดวงการบิน ในวงการบินพลเรือนไทยประเมินว่ามีค่าเสียหายเกิดจากอุบัติเหตุประเภทนี้เกิดขึ้นกว่าปีละ 4 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับทางสหรัฐฯที่คาดว่ามีความเสียหายจากนกเกิดขึ้นปีละถึง 4.92 แสนล้านบาทเลยทีเดียว   ความเสียหายร้ายแรงที่สุดจากการชนนกคือ เครื่องบิน L-188…

เมื่อสมรภูมิยูเครนกลายเป็น สนามประลอง ‘สงครามโดรน’

Loading

  สงครามยูเครนกลายเป็นการสร้างสมรภูมิสำหรับนวัตกรรมทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ล่าสุดที่มีพลังทำลายสูงกว่าทุกสงครามที่ผ่านมา ที่เห็นได้ชัดคือปรากฏการณ์ Drone Warfare หรือ “สงครามโดรน” ได้เปิดตัวอย่างเต็มที่ เพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องล้วนส่ง “โดรนสงคราม” หรือ “โดรนกามิกาเซ่” มาปะทะกันอย่างดุเดือด   ล่าสุด ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนประกาศจะระดมทุนครั้งใหญ่เพื่อสร้าง “กองกำลังโดรนทางทะเล” เพื่อปกป้องน่านน้ำของตนเองอย่างเป็นกิจจะลักษณะ นั่นหมายถึงการก่อตั้ง “กองทัพโดรน” ที่อาจจะมีทั้งที่อยู่บนฟ้าและอยู่ใต้น้ำพร้อม ๆ กันไปด้วย สร้างกองกำลังแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากวิธีการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา และเป็นวิวัฒนาการของการใช้โดรนที่ก้าวไปไกลกว่าที่เคยเห็นในสมรภูมิตะวันออกกลาง, ซีเรีย หรืออัฟกานิสถานก่อนหน้านี้ด้วยซ้ำไป   มองอีกนัยหนึ่ง สมรภูมิสงครามยูเครนกลายเป็น “โชว์รูม” สำหรับการสำแดงเทคโนโลยีโดรนทางการทหาร อเมริกาส่งโดรน Phoenix Ghost มาให้ยูเครน อิหร่านส่ง Shahed-136 มาให้รัสเซีย ซึ่งส่งมาถล่มเป้าหมายในยูเครนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเหนือน่านฟ้าเมืองหลวงกรุงเคียฟ ตุรกีมี Bayraktar TB2 ที่ยูเครนนำมาใช้ในการต่อสู้กับรัสเซียในหลายแนวรบ     แม้ว่ารัฐบาลอิหร่านจะเคยปฏิเสธว่าไม่เคยส่งโดรนมาให้รัสเซีย…แต่ล่าสุดก็ยอมรับว่าได้ส่งมาให้มอสโกจริง เพียงแต่ว่าเป็นการส่งมอบก่อนที่สงครามยูเครนจะระเบิดขึ้น และส่งมอบเป็นจำนวนจำกัดเท่านั้น ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนโต้ว่าการพูดเช่นนั้นเป็นเรื่อง “โกหก” เพราะทหารยูเครนสามารถสอยโดรนอิหร่านลงมาจากท้องฟ้าได้วันละกว่า 10 ตัว…

ETDA เปิดศูนย์ธรรมาภิบาล AI ดันแผนขับเคลื่อน 4 มิติ หนุนใช้ AI อย่างรับผิดชอบ

Loading

  เอ็ตด้า พร้อม พาร์ทเนอร์ทั้งไทยและต่างประเทศ จัดใหญ่เปิดตัว “ หรือ AI Governance Clinic by ETDA (AIGC)” ลุยยกระดับมาตรฐาน AI ดันประเทศประยุกต์ใช้ AI อย่างรับผิดชอบ ผนึกพันธมิตร กระจายความรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาลการใช้ AI ทางการแพทย์   ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทในปัจจุบัน และทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ และเร่งพัฒนานโยบาย มาตรฐาน และหลักธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance เพื่อเป็นกรอบหรือทิศทางในการประยุกต์ใช้งาน AI ได้อย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักจริยธรรม และธรรมาภิบาลที่ควรจะเป็นอย่างต่อเนื่อง   สำหรับประเทศไทย จากการจัดอันดับดัชนีความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาล (Government Artificial Intelligence Readiness Index)…

ม.มหิดล โชว์เทคโนโลยีจัดการฝูงชน (Crowd Management) ความปลอดภัยขั้นกว่า

Loading

  หลังยุคโควิด ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังก้าวสู่ช่วงเทศกาลประเพณีและงานรื่นเริงเฉลิมฉลองของประชาชน และยังเป็นช่วงไฮซีซั่นของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สนามบินสุวรรณภูมิแน่นขนัดด้วยนักท่องเที่ยวขาเข้าที่มุ่งมาเที่ยวไทย ม.มหิดลจึงได้นำเทคโนโลยี Crowd Management มาใช้     นับจากนี้ต่อจากเทศกาลลอยกระทง เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ จนถึงงานประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งการจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่กำลังจะกลับมา เช่น คอนเสิร์ตขนาดใหญ่ เทศกาลดนตรี การจัดแข่งขันกีฬา เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดหมายทางการตลาดและฐานแฟนคลับของศิลปินและนักกีฬานานาประเทศ ยังไม่รวมงานประเพณีท้องถิ่น จึงมีคำถามว่า เราจะจัดการฝูงชนให้ปลอดภัยอย่างไร? คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล มีข้อเสนอแนะ เพื่อมิให้ซ้ำรอยโศกนาฏกรรมอิแทวอน ในเกาหลีใต้ที่เป็นข่าวสะเทือนใจคนทั่วโลก     ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการหัวหน้าภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า งานรื่นเริงฉลอง Halloween คืนวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ในย่านบันเทิง ‘อิแทวอน’ ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้ผ่อนคลายมาตรการไม่บังคับสวมหน้ากากอนามัยครั้งแรกหลังจากระยะ 2 ปีของวิกฤติโควิด-19 ทำให้ผู้คนกว่า 1 แสนคน ทะลักเข้าสู่ย่านอิแทวอน และกลายเป็นฝูงชนเบียดอัด…

ลักษณะเด่นและความท้าทาย เมื่อทรานส์ฟอร์มสู่คลาวด์

Loading

  การทรานส์ฟอร์มไปสู่คลาวด์ ยังคงมีความท้าทายที่อาจจะไม่ปรากฏจนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการย้ายระบบ และมีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจ   ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องรวมระบบการบริหารจัดการตัวตนและการเข้าถึง (Identity and Access Management หรือ IAM) เข้ากับระบบต่าง ๆ ที่ได้รับการโยกย้ายไปยังคลาวด์ อย่างไรก็ตาม มีความท้าทายบางอย่างที่เราต้องพิจารณาก่อน ระหว่าง และหลังการย้ายระบบคลาวด์   ประโยชน์ของการย้าย IAM ไปยังระบบคลาวด์ สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ การย้ายระบบ IAM ไปยังคลาวด์มีประโยชน์ที่ชัดเจน ไม่เพียงแต่ลดต้นทุนเพราะพนักงานใช้เวลาน้อยลงในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล แต่แอปพลิเคชัน identity-based ที่พนักงานและลูกค้าใช้งานอยู่ยังสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น   ปัจจุบัน มีความต้องการในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น และแน่นอนว่าหลากหลายบริษัทที่ต้องการให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจและอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้งานผ่านช่องทางต่างๆ ของตน   อาทิ แอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซด์ อย่างเช่น Netflix และ Amazon ที่ลูกค้าสามารถ log in เข้าสู่ระบบและ sign out ออกจากระบบได้อย่างรวดเร็ว…

ภัยจากการถูกเก็บดีเอ็นเอ (1)

Loading

  ปัจจุบัน ภัยจากการรั่วไหลของข้อมูลมาเป็นอันดับต้น ที่เป็นปัญหาในเมืองไทยตอนนี้ก็คือภัยจากคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่ามาจากเจ้าหน้าที่รัฐแอบนำข้อมูลไปขาย ใหญ่กว่านั้นก็เป็นระดับภูมิภาคและประเทศ วันนี้มีการเก็บสะสมข้อมูลดีเอ็นเอและลักษณะทางชีวภาพของเผ่าพันธุ์ทั่วโลก บ้านเมืองใดไม่ระวังก็อาจจะเผชิญภัยด้านความมั่นคงได้ในอนาคต   เดือนตุลาคม 2018 พลตรีอีกอร์ คิริลอฟ ผู้บัญชาการของกองบัญชาการพิทักษ์ป้องกันด้านรังสี เคมี และชีวภาพของรัสเซีย เปิดโปงเครือข่ายห้องแล็บของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายแห่งใกล้ชายแดนรัสเซียและจีน เพื่อเก็บข้อมูลสารพันธุกรรม (Deoxyribonucleic acid หรือ DNA) ของผู้คนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่ารัสเซีย จีน คาซัค คีร์กีซ มองโกล ตาตาร์ ทาจิก อุซเบก ฯลฯ รัสเซียตั้งข้อสังเกตว่า การเข้ามาสะสมข้อมูลดีเอ็นเอของผู้คนจำนวนมาก สหรัฐฯ อาจจะเข้ามาสร้างอาวุธชีวภาพทำลายผู้คนทางแถบนี้ได้   หลังจากโซเวียตแตกเมื่อ ค.ศ.1991 สหรัฐฯ ก็พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนด้านการวิจัยทางชีวภาพกับอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตหลายแห่ง หนึ่งในหลายโครงการของสหรัฐฯก็คือ โครงการลดภัยคุกคามทางชีวภาพ นันน์-ลูการ์ สหรัฐฯ อ้างว่า โครงการนี้ป้องกันไม่ให้การพัฒนาอาวุธชีวภาพรั่วไหล แต่รัสเซียส่งคำเตือนไปยังสาธารณรัฐทั้งหลายมาโดยตลอด ว่าความร่วมมืออย่างนี้เป็นภัยคุกคามต่อรัสเซียและเผ่าพันธุ์ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง   สำนักงานการลดภัยคุกคามด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ใช้เงินอีก 102…