ม.มหิดล โชว์เทคโนโลยีจัดการฝูงชน (Crowd Management) ความปลอดภัยขั้นกว่า

Loading

  หลังยุคโควิด ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังก้าวสู่ช่วงเทศกาลประเพณีและงานรื่นเริงเฉลิมฉลองของประชาชน และยังเป็นช่วงไฮซีซั่นของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สนามบินสุวรรณภูมิแน่นขนัดด้วยนักท่องเที่ยวขาเข้าที่มุ่งมาเที่ยวไทย ม.มหิดลจึงได้นำเทคโนโลยี Crowd Management มาใช้     นับจากนี้ต่อจากเทศกาลลอยกระทง เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ จนถึงงานประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งการจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่กำลังจะกลับมา เช่น คอนเสิร์ตขนาดใหญ่ เทศกาลดนตรี การจัดแข่งขันกีฬา เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดหมายทางการตลาดและฐานแฟนคลับของศิลปินและนักกีฬานานาประเทศ ยังไม่รวมงานประเพณีท้องถิ่น จึงมีคำถามว่า เราจะจัดการฝูงชนให้ปลอดภัยอย่างไร? คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล มีข้อเสนอแนะ เพื่อมิให้ซ้ำรอยโศกนาฏกรรมอิแทวอน ในเกาหลีใต้ที่เป็นข่าวสะเทือนใจคนทั่วโลก     ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการหัวหน้าภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า งานรื่นเริงฉลอง Halloween คืนวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ในย่านบันเทิง ‘อิแทวอน’ ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้ผ่อนคลายมาตรการไม่บังคับสวมหน้ากากอนามัยครั้งแรกหลังจากระยะ 2 ปีของวิกฤติโควิด-19 ทำให้ผู้คนกว่า 1 แสนคน ทะลักเข้าสู่ย่านอิแทวอน และกลายเป็นฝูงชนเบียดอัด…

ลักษณะเด่นและความท้าทาย เมื่อทรานส์ฟอร์มสู่คลาวด์

Loading

  การทรานส์ฟอร์มไปสู่คลาวด์ ยังคงมีความท้าทายที่อาจจะไม่ปรากฏจนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการย้ายระบบ และมีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจ   ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องรวมระบบการบริหารจัดการตัวตนและการเข้าถึง (Identity and Access Management หรือ IAM) เข้ากับระบบต่าง ๆ ที่ได้รับการโยกย้ายไปยังคลาวด์ อย่างไรก็ตาม มีความท้าทายบางอย่างที่เราต้องพิจารณาก่อน ระหว่าง และหลังการย้ายระบบคลาวด์   ประโยชน์ของการย้าย IAM ไปยังระบบคลาวด์ สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ การย้ายระบบ IAM ไปยังคลาวด์มีประโยชน์ที่ชัดเจน ไม่เพียงแต่ลดต้นทุนเพราะพนักงานใช้เวลาน้อยลงในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล แต่แอปพลิเคชัน identity-based ที่พนักงานและลูกค้าใช้งานอยู่ยังสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น   ปัจจุบัน มีความต้องการในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น และแน่นอนว่าหลากหลายบริษัทที่ต้องการให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจและอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้งานผ่านช่องทางต่างๆ ของตน   อาทิ แอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซด์ อย่างเช่น Netflix และ Amazon ที่ลูกค้าสามารถ log in เข้าสู่ระบบและ sign out ออกจากระบบได้อย่างรวดเร็ว…

ภัยจากการถูกเก็บดีเอ็นเอ (1)

Loading

  ปัจจุบัน ภัยจากการรั่วไหลของข้อมูลมาเป็นอันดับต้น ที่เป็นปัญหาในเมืองไทยตอนนี้ก็คือภัยจากคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่ามาจากเจ้าหน้าที่รัฐแอบนำข้อมูลไปขาย ใหญ่กว่านั้นก็เป็นระดับภูมิภาคและประเทศ วันนี้มีการเก็บสะสมข้อมูลดีเอ็นเอและลักษณะทางชีวภาพของเผ่าพันธุ์ทั่วโลก บ้านเมืองใดไม่ระวังก็อาจจะเผชิญภัยด้านความมั่นคงได้ในอนาคต   เดือนตุลาคม 2018 พลตรีอีกอร์ คิริลอฟ ผู้บัญชาการของกองบัญชาการพิทักษ์ป้องกันด้านรังสี เคมี และชีวภาพของรัสเซีย เปิดโปงเครือข่ายห้องแล็บของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายแห่งใกล้ชายแดนรัสเซียและจีน เพื่อเก็บข้อมูลสารพันธุกรรม (Deoxyribonucleic acid หรือ DNA) ของผู้คนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่ารัสเซีย จีน คาซัค คีร์กีซ มองโกล ตาตาร์ ทาจิก อุซเบก ฯลฯ รัสเซียตั้งข้อสังเกตว่า การเข้ามาสะสมข้อมูลดีเอ็นเอของผู้คนจำนวนมาก สหรัฐฯ อาจจะเข้ามาสร้างอาวุธชีวภาพทำลายผู้คนทางแถบนี้ได้   หลังจากโซเวียตแตกเมื่อ ค.ศ.1991 สหรัฐฯ ก็พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนด้านการวิจัยทางชีวภาพกับอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตหลายแห่ง หนึ่งในหลายโครงการของสหรัฐฯก็คือ โครงการลดภัยคุกคามทางชีวภาพ นันน์-ลูการ์ สหรัฐฯ อ้างว่า โครงการนี้ป้องกันไม่ให้การพัฒนาอาวุธชีวภาพรั่วไหล แต่รัสเซียส่งคำเตือนไปยังสาธารณรัฐทั้งหลายมาโดยตลอด ว่าความร่วมมืออย่างนี้เป็นภัยคุกคามต่อรัสเซียและเผ่าพันธุ์ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง   สำนักงานการลดภัยคุกคามด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ใช้เงินอีก 102…

‘พฤติกรรมดิจิทัล’เป้าโจมตี อาชญากรไซเบอร์ – จับตา ‘ฟิชชิ่ง’ ระบาดหนักในไทย!

Loading

  พฤติกรรมดิจิทัลแบบใหม่ คือ “เป้าหมายโจรไซเบอร์” แคสเปอร์สกี้ เผยตัวเลขการตรวจพบ “ฟิชชิ่งการเงิน” มากกว่า 1.6 ล้านรายการในอาเซียน และ “1.2 แสนรายการ” ในไทย   การระบาดครั้งใหญ่ได้เร่งการใช้งานดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างพฤติกรรมทางดิจิทัลใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพและอื่น ๆ อาชญากรไซเบอร์ก็ใช้ประโยชน์จากกระแสนี้และกำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนโดยเฉพาะ   ผู้ใช้งานระบบการชำระเงิน ร้านค้าออนไลน์ และธนาคารออนไลน์เป็นเป้าหมายด้านการเงินที่สำคัญสำหรับฟิชเชอร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้ แสดงให้เห็นว่ามีการตรวจพบและบล็อกการโจมตีฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากถึง 1,604,248 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   สัดส่วนการตรวจจับสูงสุดแบ่งเป็นการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน 840,254 รายการ รองลงมาคือร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 621,640 รายการ และธนาคารออนไลน์ 142,354 รายการ   ข้อมูลข้างต้นมาจากข้อมูลที่ไม่ระบุชื่อผู้ใช้โดยอิงจากการทริกเกอร์องค์ประกอบที่กำหนดในระบบ Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ คอมโพเนนต์จะตรวจจับเพจทั้งหมดที่มีเนื้อหาฟิชชิ่งที่ผู้ใช้พยายามเปิดโดยคลิกลิงก์ในข้อความอีเมลหรือบนเว็บที่ลิงก์ไปยังเพจที่มีอยู่ในฐานข้อมูลแคสเปอร์สกี้   ฟิชชิ่ง คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์…

เปิดคลังขีปนาวุธเกาหลีเหนือ มีอะไรบ้าง น่ากลัวแค่ไหน

Loading

  คาบสมุทรเกาหลีร้อนระอุอีกครั้ง หลังจากที่เกาหลีเหนือรัวยิงขีปนาวุธไม่หยุดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อตอบโต้ปฏิบัติการซ้อมรบร่วมระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ จนทำให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต้องประกาศเตือนภัยพลเมืองของตน   ขณะเดียวกันทั่วโลกเองก็กำลังเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าสถานการณ์จะบานปลายกลายมาเป็นอันตรายและภัยคุกคามครั้งใหม่ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเดินหน้าพัฒนาขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ซึ่งดูเหมือนจะรุดหน้าไปมากภายใต้การนำของ คิม จอง อึน ผู้เคยออกมาประกาศชัดเจนก่อนหน้านี้ว่า พร้อมจะเผชิญหน้ากับภัยคุกคามใดๆ ที่มาจากศัตรู   ตอนนี้เกาหลีเหนือมีอะไรอยู่ในมือ workpointTODAY จะพาไปส่องขีปนาวุธบางส่วนในคลังของเกาหลีเหนือ และอานุภาพของขีปนาวุธเหล่านั้น หากมีการยิงออกมาจะกระทบที่ไหนบ้าง     KN-23 เป็นขีปนาวุธพิสัยใกล้ (Short-Range Ballistic Missile-SRBM) ที่ได้รับการพัฒนามาจากขีปนาวุธรุ่นเดิม ซึ่งเกาหลีเหนือนำออกมาเปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือน ก.พ. 2561 และทำการทดสอบครั้งแรกในเดือน พ.ค. 2562 คาดว่ามีระยะยิงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 500 กิโลเมตร โดยผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า KN-23 ถือเป็นขีปนาวุธที่น่ากลัวชนิดหนึ่ง เนื่องจากได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถตรวจจับได้ยากขึ้น เพราะคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนวิถีการบินเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจจับหรือบินสกัดได้ KN-23 เป็นขีปนาวุธที่เกาหลีเหนือมักจะนำออกมาทดสอบยิงตกในน่านน้ำบริเวณคาบสมุทรเกาหลี   PUKGUKSONG-2 เป็นขีปนาวุธพิสัยกลาง (Medium-range ballistic missile – MRBM) ที่พัฒนามาจากขีปนาวุธติดเรือดำน้ำ…

หนูกู้ภัย แนวทางใหม่สำหรับการช่วยชีวิต

Loading

  เชื่อว่าหลายท่านอาจเคยรับชมการ์ตูนหรือภาพยนตร์ที่มีหนูเป็นตัวเอก บอกเล่าเรื่องราวการผจญภัยมาไม่น้อย เราทราบดีว่าโดยมากเนื้อหาเหล่านั้นเกิดจากจินตนาการ แต่ล่าสุดอาจต้องเปลี่ยนความคิดเมื่อมีการฝึกใช้หนูในการกู้ภัย   เมื่อพูดถึงสิ่งมีชีวิตประเภทหนู คนส่วนใหญ่อาจขยะแขยงไปบ้าง ด้วยรู้ว่านี่คือหนึ่งในศัตรูตัวร้ายของห้องครัวและอาหารในบ้าน หลายครั้งก็สร้างความเสียหายแก่ข้าวของเครื่องใช้ แม้มีบางส่วนถูกดูแลในฐานะสัตว์เลี้ยงอยู่บ้างแต่ถือว่าเป็นส่วนน้อย ความรู้สึกคนส่วนใหญ่ต่อหนูจึงไปในแนวทางสิ่งก่อความรำคาญมากกว่า   แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจต้องเปลี่ยนความคิด เมื่อปัจจุบันเริ่มมีการฝึกหนูให้ใช้งานในการกู้ภัย       หน่วยกู้ภัยตัวจิ๋วกับอรรถประโยชน์ที่คาดไม่ถึง   หลายท่านย่อมคุ้นเคยกับหนูในฐานะตัวละครในสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งในแง่ความซุกซน แสนรู้ และคล่องแคล่ว แต่เราต่างทราบดีว่าสิ่งที่พบเห็นบนหน้าจอเป็นเพียงเรื่องแต่ง หนูที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันไม่ได้น่ารักแบบนั้นแต่ทั้งอันตรายและสกปรก จนหลายท่านอาจรู้สึกว่าการฝึกพวกมันมาใช้งานเป็นเรื่องแปลกไปบ้าง   แต่มันกำลังเกิดขึ้นแล้วจริงเมื่อมีการฝึกให้พวกมันถูกใช้งานในการกู้ภัยภายใต้สถานการณ์อาคารถล่ม   แนวคิดนี้เกิดจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของเบลเยี่ยม Apopo ในการฝึกหนูเพื่อให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทำหน้าที่มุดเข้าไปสำรวจตามพื้นที่ซากปรักหักพังในกรณีแผ่นดินไหวหรือพายุถล่ม โดยจะทำการส่งหนูเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงภัยพร้อมติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรองรับการค้นหา   คุณสมบัติเด่นทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นคือ อุปนิสัยของหนูที่ชอบการผจญภัยและซอกซอนเข้าพื้นที่ขนาดเล็กได้ดี รวมถึงประสาทในการรับกลิ่นยอดเยี่ยมช่วยให้ระบุตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ได้แม่นยำ ทำให้หนูกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดในการเข้าไปสู่พื้นที่ประสบภัย   ขั้นตอนการทำงานของหนูกู้ภัยคือ เมื่อเกิดภัยพิบัติจะมีการส่งหนูเข้าไปในพื้นที่ทำการค้นหาผู้รอดชีวิต เมื่อมีการค้นพบผู้รอดชีวิตหนูจะดึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บนตัว ประกอบไปด้วยกล้อง ไมโครโฟน และเครื่องส่งสัญญาณ เพื่อช่วยในการระบุตำแหน่งของผู้ประสบภัยคนดังกล่าว เมื่อการส่งข้อมูลเสร็จสิ้นหนูจะกลับไปที่ฐานเพื่อรับของรางวัลต่อไป      …