อุปกรณ์ป้องกันการระเบิด EXPLOSION PROOF คืออะไร

Loading

  สำหรับคนทั่วไปการป้องกันการระเบิดอาจหมายความว่ามันสามารถทนต่อการจากแหล่งภายนอกเข้ามาหาภายใน อย่างไรก็ตามการป้องกันการระเบิด และ คำจำกัดความอาจมีมากกว่าที่หลายคนเข้าใจได้ ซึ่งในบทความนี้การกันการระเบิดจะหมายถึงอุปกรณ์ป้องกันการระเบิด ภายในไม่ให้ออกไปออกสู่ภายนอกอุปกรณ์ได้   การป้องกันการระเบิดคืออะไร?   เรามักจะมีความกังวลถึงความปลอดภัยในพื้นที่อันตรายมาก ๆ หรือพื้นที่ไวไฟ เช่น ห้องเก็บสารเคมี ห้องเก็บเชื้อเพลิงไวไฟ นิยมติดตั้งในอุตสาหกรรมโรงงานประเภท ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส เป็นต้น การป้องกันการระเบิดที่อาจจะเกิดจากประกายไฟ หรือ การลุกติดไฟส่วนใหญ่มุ่งไปที่อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่นำมาใช้ภายในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว   “อุปกรณ์ป้องกันการระเบิด” คือวัสดุที่ได้รับการออกแบบ และ สร้างขึ้นเพื่อระงับประกายไฟ หรือ การปล่อยประจุ วัสดุอาจประกอบด้วยอะลูมิเนียมหล่อ หรือ สแตนเลส โดยมีมวล และ ความแข็งแรงมากพอปกป้องสารไวไฟไม่สามารถทะลุผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากภายในได้ออกไปสู่ด้านนอกของอุปกรณ์ได้ นอกจากนี้การออกแบบยังป้องกันการเพิ่มอุณหภูมิความร้อนพื้นผิวไม่ให้เกินระดับที่จุดเดือดอีกด้วย   มาตรฐานไฟฟ้าแห่งชาติ (NEC), สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (NFPA) และ ห้องปฏิบัติการการรับประกันภัย (UL) ได้กำหนดรหัสที่จัดหมวดหมู่แบบแบ่งพื้นที่อันตรายออกเป็นคลาส และ โซนเพื่อง่ายต่อการเลือกใช้อุปรกรณ์ระดับต่างๆที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของพื้นที่เรา     หลักการป้องกันการระเบิดเกิดขึ้นได้อย่างไร?   หลักการป้องกันไม่ให้เกิดการระเบิดคือพื้นฐานขององค์ประกอบของการติดไฟ…

อุบัติการณ์ ‘ภัยไซเบอร์’ พันธกิจวัดใจองค์กรดิจิทัล

Loading

  แม้ว่าทุกวันนี้ผู้นำองค์กรต่างให้ความสำคัญและสนใจลงทุนเพื่อยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทว่าก็ยังคงหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะมีช่องโหว่และเปิดโอกาสให้โจรไซเบอร์บุกรุกเข้ามา…   พีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า การศึกษาของฟอร์ติเน็ตด้านเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (โอที) ของประเทศไทย ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างมากในการแก้ไขช่องว่างด้านความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่โอทีปรับเปลี่ยนเข้าสู่การทำงานแบบดิจิทัล   โดยพบว่า 8 ใน 10 ขององค์กรด้านโอทีต่างได้รับผลกระทบต่อการดำเนินงานของสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเนื่องจากการบุกจู่โจมทางไซเบอร์ ที่ผ่านมา 71% ขององค์กรพบปัญหาการหยุดการทำงานของระบบซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางกายภาพ ซึ่งมากกว่าการสูญเสียทั้งผลผลิตและรายได้   ปัจจุบัน ประเทศไทยตระหนักดีว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คือ ปัญหาร้ายแรงสำหรับผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นควรมีซีอีโอทำหน้าที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลสูงสุดในการตัดสินใจในเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้   ความรับผิดชอบ ‘C-level’   เป็นเรื่องที่ดี หากรวมเอาไซเบอร์ซิเคียวริตี้บนโอทีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับ “C-level” เพราะจะเป็นการช่วยสนับสนุนให้ทีมไอทีและโอทีทำงานร่วมกันในการร่วมกันวางแผนพร้อมให้ภาพการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ในแบบองค์รวม   รายงานสถานการณ์การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และระบบเชิงปฏิบัติงานปีนี้ชี้ให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรมยังคงตกเป็นเป้าหมายอาชญากรไซเบอร์ โดยในไทยองค์กร 88% ต่างเคยมีประสบการณ์การถูกบุกรุกอย่างน้อยหนึ่งครั้งช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา   โดยท็อป 3 ของการบุกรุกที่องค์กรในประเทศไทยต้องเผชิญได้แก่ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และแฮกเกอร์ ผลลัพธ์จากการโดนบุกรุกเหล่านี้ ทำให้เกือบ…

หากปี 2100 กรุงเทพเสี่ยงจมหาย รัฐต้องรับมืออย่างไร

Loading

  เสวนา “ววน.ขอเสริมทัพ รับมือน้ำท่วม” เผย ปี 2100 แผ่นดิน กทม.จะทรุดลง 2.4 เมตร น้ำทะเลสูงขึ้น 27 เซ็นติเมตร ด้านรองผู้ว่าฯ ชี้ ต้องจัดทำริชแม็ป-ดันงานวิจัย รับภัยพิบัติน้ำท่วม ข้อกังวลของหลาย ๆ คนเรื่อง “กรุงเทพจะจมน้ำไหม” หรือ “กรุงเทพจะหายไปจากแผนที่หรือเปล่า” เป็นประเด็นถกเถียงกันทุกครั้งหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกันกับสถานการณ์น้ำท่วม กทม. เดือนกันยายน 2565 ที่กำลังเป็นวิกฤติ ประชาชนได้รับความเสียหาย การเข้ามาทำงานของทีมงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชุดใหม่กำลังเร่งแก้ไขสถานการณ์ ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ “ววน.ขอเสริมทัพ รับมือน้ำท่วม” เพื่อเป็นหนึ่งในกำลังช่วยกันหารือ เสนอทางออกให้กับวิกฤติน้ำท่วม และตอบคำถามค้างคาใจของหลายคนว่า “สรุปแล้ว…กรุงเทพจะจมน้ำหรือไม่”      – งานวิจัยคาดการณ์ ทางรอดที่จะไม่จมบาดาล บุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า จากงานวิจัย “กรุงเทพฯ…

รู้จัก 5 ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ควรบอกใครบนโซเชียล!

Loading

. ช่วงนี้สายมูแจกรหัสบัตร ATM กำลังระบาดบนโซเชียล…รู้หรือเปล่าว่ากำลังถูกมิจฉาชีพจับตามองอยู่ เพราะข้อมูลที่คุณกำลังโพสต์นั้น ถือเป็น 1 ในข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มาตรา 6 ให้คำนิยามว่า “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ” . ซึ่งเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลนั้นถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราควรระมัดระวังเรื่อง Privacy ของตนเอง ? ไม่ควรที่บอกข้อมูลให้กับผู้อื่น หรือ เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เสี่ยงต่อการที่ข้อมูลรั่วไหล หรือ ถูก Phishing ข้อมูลจากมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว!! . ใช้โซเชียลได้แต่ต้องรู้ทันภัยมิจฉาชีพนะ ด้วยความเป็นห่วงจาก DGA ❤️ ?? ใครที่อยากรู้จัก 10 ประเภทข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA มารู้จักเพิ่มเติมกับพวกเรา DGA กันได้ที่ ?: https://bit.ly/3RlFTLk     ที่มา : DGAThailand   / …

Digital Risk & Digital Inequality เทรนด์ใหม่แห่งโลกดิจิทัล

Loading

  เปิดมุมมอง “Digital Risk & Digital Inequality” แนวโน้มใหม่กำลังเปลี่ยนโลกดิจิทัลอย่างสิ้นเชิงกับความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมรับมือ “ความเสี่ยงดิจิทัล” ที่องค์กรต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามีความหมายไม่เหมือน “ความเสี่ยงไซเบอร์” ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันกำลังปฏิวัติโลกครั้งใหญ่ เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ มิติ ถึงแม้จะมองแค่มิติทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพียงด้านเดียว ก็จะพบว่า ยังมีอีกหลายแง่มุมที่ “คน องค์กร และประเทศ” จะต้อง “รู้ และ ตามให้ทัน” การเปลี่ยนแปลงที่รุกคืบเข้ามาทุกขณะ ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า พื้นฐานสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ต้องรู้และตามให้ทันนับจากนี้ไปมี 2 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ 1. จากความเสี่ยงด้านไซเบอร์ ไปสู่ความเสี่ยงด้านดิจิทัล (From Cyber Risk to Digital Risk) ขณะที่ 2. จากความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล ไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันทางดิจิทัล (From Digital Divide to…

กฎหมายกับความท้าทายใน Metaverse | สุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์

Loading

  เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสร่วมงานสัมมนาครบรอบ 25 ปี ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ในหัวข้อ “Metaverse เชื่อมโยงพื้นที่ใหม่กับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา : กฎหมายสำหรับโลกอนาคตในโลกคู่ขนาน” จึงถือโอกาสนำบางส่วนมาเล่าให้ฟังในบทความฉบับนี้ ระบบเศรษฐกิจใน Metaverse Metaverse คือความพยายามของบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างโลกเสมือนเพื่อให้คนในโลกกายภาพสามารถเข้าถึงและมีกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนดังกล่าวได้ ผ่านการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้น กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน Metaverse คือ การทำธุรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการใช้คริปโทเคอร์เรนซี หรือ NFT โดยเงินดิจิทัลหรือคริปโทจะถูกใช้เพื่อถ่ายโอนมูลค่า และ NFT จะนำมาใช้เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือเป็นตัวแทนของทรัพย์สินเสมือน ดังนั้น โดยสภาพ NFT จะทำหน้าที่คล้ายตราสารในโลกปัจจุบัน (เช่น โฉนด ใบหุ้น) ที่มีหน้าที่จดบันทึกสิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของทรัพย์ และถูกยึดโยงไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในทางปฏิบัติการสร้าง Virtual Asset เช่น เสื้อผ้า สิ่งของ รูปภาพ และที่ดินในโลกเสมือน…