ชีวิตติด TECH- “Baguan” โมเดลพยากรณ์อากาศสุดล้ำ! ผลงานจาก“Alibaba DAMO Academy”

Loading

  เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวในแวดวงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการวิเคาะห์สภาพอากาศ เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ!!!   วันนี้ คอลัมน์  “ชีวิตติด TECH” มีรายละเอียดในเรื่องนี้มาบอกกัน  โดยเป็นผลงานของ “Alibaba DAMO Academy” ซึ่งเป็น หน่วยงานด้านวิจัยและพัฒนาของอาลีบาบา กรุ๊ป ที่ได้ประกาศ เปิดตัว “ปากวน (Baguan)” อย่างเป็นทางการ   “ปากวน” คือ อะไร?  ดูจากชื่อหลายคนอาจสงสัย   อย่างที่เกริ่นในตอนแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพอากาศ โดย “ปากวน” คือ  โมเดลพยากรณ์อากาศที่ได้รับการตั้งชื่อตามแนวคิด “การสังเกตจากมุมมองที่ต่างกัน” ของจีน โมเดลนี้นำ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ล้ำสมัยมาใช้ปฏิวัติความสามารถด้านการพยากรณ์อากาศ เลยทีเดียว   มาถึงตรงนี้หลายๆ คนอาจสงสัยว่า โมเดลพยากรณ์อากาศที่ทาง “ ยักษ์เทค” จากแผ่นดินมังกร พัฒนาขึ้นนี้มีความพิเศษ หรือมีความแม่นยำในการใช้งานแค่ไหน?     “ปากวน”  สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยสามารถพยากรณ์ตั้งแต่หนึ่งชั่วโมงไปจนถึงอีกสิบวันข้างหน้า!!   โดย โมเดลที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ ได้ใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง  ที่ช่วยให้โมเดนนี้มีความโดดเด่นหลายประการ เช่น มีความละเอียดเชิงพื้นที่สูง สามารถพยากรณ์ด้านอุตุนิยมวิทยาอย่างละเอียดถึง 1 x 1 กิโลเมตรกริด และอัปเดตทุกชั่วโมง   ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้   “ปากวน”  จะกลาย เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ…

หน่วยรักษาความปลอดภัยของ Donald Trump ใช้สุนัขหุ่นยนต์ลาดตระเวณรอบรีสอร์ต Mar-a-Lago

Loading

    ไม่กี่วันที่ผ่านมา คลิปวิดีโอสุนัขหุ่นยนต์ที่กำลังลาดตระเวณคุ้มครองความปลอดภัยโดยรอบรีสอร์ตหรู Mar-a-Lago ของ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ผู้ชนะการเลือกตั้งที่กำลังจะนั่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กลายเป็นกระแสไวรัลบนโลกออนไลน์ ด้วยยอดผู้ชมบน TikTok มากกว่า 6,000,000 ครั้ง และบน X มากกว่า 30,000 ครั้ง บางคนบอกว่าสุนัขหุ่นยนต์นั้นดูเท่และน่ารัก แต่บางคนก็มองว่าเป็นเรื่องน่าขำ ทั้งนี้ถ้าพูดถึงประโยชน์และงานที่นำไปใช้บอกได้เลยว่าป็นเรื่องที่น่าสนใจมากกว่าน่าขำแน่นอน      สุนัขหุ่นยนต์มีชื่อว่า “Spot” ผลิตโดย Boston Dynamics และได้ถูกเลือกนำมาใช้ในงานของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ซึ่งในคลิปสังเกตเห็นว่า Spot มีสีแดง ขาว และดำ พร้อมด้วยการติดตั้งกล้องและมีป้ายที่เขียนว่าห้ามลูบ สามารถควบคุมได้จากระยะไกลหรืออัตโนมัติตามการตั้งโปรแกรมเส้นทางไว้ล่วงหน้า และยังมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น การตรวจจับความร้อน แต่เท่าที่เห็นไม่มีอาวุธที่จะจัดการคนร้าย เพราะจะเน้นการตรวจจับและเฝ้าระวังภัย   บางคนคิดว่าการนำสุนัขหุ่นยนต์มาช่วยปกป้องความปลอดภัยที่บ้านพักของทรัมป์ดูเว่อร์ไปหรือเปล่า จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่เหมาะสม เนื่องจากทรัมป์ได้ผ่านเหตุการณ์พยายามลอบสังหารมาแล้ว 2 ครั้ง คือ…

จับเทรนด์ ‘ADAS’ ตัวช่วยอัจฉริยะ เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน

Loading

  ผลสำรวจล่าสุดโดย “เฮียร์ เทคโนโลยี (HERE Technologies)” แพลตฟอร์มข้อมูลและเทคโนโลยีตำแหน่งชั้นนำ เผยให้เห็นถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย และความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) ในการลดอุบัติเหตุ   ไฮไลท์สำคัญจากการสำรวจความคิดเห็น “รถยนต์ปลอดภัย ถนนปลอดภัย (Safer cars, safer roads)” ประกอบด้วย   ความกังวลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนในวงกว้าง: ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่ง (53%) เผยว่าเคยประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงสองปีที่ผ่านมา   แม้ว่า 64% เชื่อว่ามาตรการความปลอดภัยในปัจจุบันของประเทศไทยได้ผล แต่ 97% ของผู้ทำแบบสอบถามยังคงกังวลอย่างมากต่ออุบัติเหตุบนท้องถนน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมขับขี่โดยประมาท เช่น การขับรถเร็วเกินกำหนดและการขับขี่อย่างก้าวร้าว   ข้อมูลนี้เน้นย้ำถึงความไม่สอดคล้องระหว่างประสิทธิภาพของมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนนที่รับรู้และความกังวลที่แท้จริงที่ผู้ขับขี่ต้องเผชิญอยู่ทุกวันเนื่องจากการขับขี่โดยประมาทถือเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนท้องถนน ผลการตอบแบบสอบถามนี้จึงตอกย้ำถึงความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายและการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมบนท้องถนนของประเทศไทยให้เข้มงวดยิ่งขึ้น     ผู้ขับขี่ยานพาหนะสองล้อยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยง: ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับยานพาหนะสองล้อ โดยมีประชากรนับล้านใช้รถจักรยานยนต์และสกู๊ตเตอร์เป็นพาหนะในการเดินทางประจำวัน   ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า 63% ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และสกู๊ตเตอร์เคยประสบอุบัติเหตุในช่วงที่ผ่านมา และ 92% รู้สึกไม่ปลอดภัยบนท้องถนน สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของผู้ขับขี่กลุ่มนี้   ผู้ใช้ถนน…

‘ไมโครซอฟท์’ แนะยุทธวิธี ใช้ ‘AI’ ปกป้องข้อมูลองค์กร

Loading

    “ไมโครซอฟท์” เผยภาพรวมสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ปี 2567 พบว่า ลูกค้าของไมโครซอฟท์ทั่วโลกเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์จากอาชญากรมากกว่า 600 ล้านครั้งต่อวัน   ไม่ว่าจะเป็น การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ แรนซัมแวร์ ไปจนถึงฟิชชิง (Phishing) และการโจมตีข้อมูลประจําตัว (Identity Attacks) พบด้วยว่า วิธีการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มขึ้น 2.75 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา   ข้อมูลทางสถิติชี้ให้เห็นว่า อาชญากรรมทางไซเบอร์และการฉ้อโกงที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเงินยังคงเป็นภัยคุกคามที่พบได้บ่อยที่สุด   ดึง AI กันภัยคุกคามองค์กร   สำหรับเทคนิคการเข้าถึงที่พบมากที่สุด ยังคงเป็นวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) โดยเฉพาะการฟิชชิงทางช่องทางต่างๆ รวมถึงการขโมยข้อมูลประจำตัว และการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในแอปพลิเคชันที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะ หรือระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการอัปเดต   นอกจากนี้ การหลอกลวงผ่านทางเทคโนโลยี (Tech scams) เพิ่มสูงขึ้นถึง 400% ตั้งแต่ปี 2565 โดยในปีที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีความถี่รายวันเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ครั้งในปี 2566 เป็น…

ชีวิตติด TECH-‘Mobility Data’ ข้อมูลมือถือ โอกาสแห่งอนาคตในยุคดิจิทัล

Loading

  ในยุคที่คน “ติดโทรศัพท์มือถือ” ใช้งานมากกว่าการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้เกิด “Mobility Data” หรือชุดข้อมูลการเคลื่อนที่ของผู้ใช้งานจากมือถือ ที่ถือว่าเป็น “Big Data” ที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากมาย   วันนี้ คอลัมน์ “ชีวิตติด TECH” มีมุมมองจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลมือถือ จากเวทีเสวนาหัวข้อ “สร้างนโยบายแห่งอนาคต ด้วยพลังข้อมูล Shaping the Future with Insights” ในงาน “dataCon 2024” มาแบ่งปันกัน   อย่างที่รู้ๆ กันว่า “ดาต้า” หรือ “ข้อมูล” ถือเป็นสิ่งที่ถูกนำมามาใช้ในหลายวงการ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ และเรื่อง “บิ๊กดาต้า” จะเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากในอนาคต แต่ที่ผ่านมา การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ผ่านมา ยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงธุรกิจเป็นหลัก เช่น การนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมาใช้วิเคราะห์ด้านการตลาด แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถนำไปในประโยชน์ใตด้านอื่นๆ ได้เช่นกัน อาทิ เรื่องการท่องเที่ยว เป็นต้น   “ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย” อาจารย์ภาควิชาวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า การนำ “Mobility Data” หรือข้อมูลมือถือ…