หมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นข้อมูลส่วนบุคคล???

Loading

  ในประเทศโปแลนด์ มีระบบหมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดิน ซึ่งถูกนำขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์ www.geoportal.gov.pl โดยหน่วยงานรัฐ GGK เป็นเวลามากกว่า 48 ชั่วโมง   GGK (Surveyor General of Poland: GGK) เป็นหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ด้านการสำรวจข้อมูลภูมิศาสตร์ ขณะที่การเผยแพร่หมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดินถูกกล่าวถึงในสื่อต่าง ๆ ของประเทศโปแลนด์ ทำให้ Polish Supervisory Authority (Polish SA) นำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาและให้ GGK ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลดังกล่าว   GGK เห็นว่าการนำหมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดิน (เป็นข้อมูลตัวเลข) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ “ไม่” ถือว่าเป็นเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลตาม GDPR (กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป) และ GGK มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการเผยแพร่ข้อมูลนั้น     Polish SA พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วมีความเห็น ดังนี้   1) หมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นข้อมูลส่วนบุคคล โดยตาม GDPR…

วิธีใช้ไลน์ LINE ALERT แจ้งเตือนภัยพิบัติ พร้อมวิธีเช็กพื้นที่เสี่ยงผ่าน LINE ALERT

Loading

    วิธีใช้ไลน์ LINE ALERT แจ้งเตือนภัยพิบัติ สำหรับแจ้งเตือนภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรง ผ่านมือถือทั้ง iOS และ Android โดยข้อมูลจะได้รับการอัปเดตและแจ้งเตือนโดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ และ กรมอุตุนิยมวิทยาฯ​ ให้ผู้ใช้ LINE ทุกคนเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เตรียมรับมือได้อย่างเท่าทัน ทั่วถึงและทันเวลา รองรับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม ไฟไหม้ พายุและแผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย   วิธีใช้ไลน์ LINE ALERT แจ้งเตือนภัยพิบัติ     iT24Hrs   ทำการเพิ่มเพื่อน @LINEALERT หรือแตะที่นี่ https://lin.ee/l40xtWN   iT24Hrs   จากนั้นแตะปุ่ม เพิ่มเพื่อน ได้เลย   iT24Hrs   จะเข้าสู่หน้าจอนี้ LINE ALERT พร้อมทำงานแจ้งเตือนภัยพิบัต และรายงานสถานการณ์ภัยพิบัตที่เกิดขึ้นในไทยแล้ว ลองแตะที่เมนู   iT24Hrs  …

อาเซียนสะพรึง!! ‘เวิร์คฟรอมโฮม’ เป้าหมายอาชญากรไซเบอร์

Loading

  แคสเปอร์สกี้เผย อาชญากรไซเบอร์ยังเล็งโจมตีพนักงานเวิร์คฟรอมโฮมในอาเซียน ระบุตัวเลขบล็อกการโจมตี RDP มากกว่า 2.6 แสนครั้งต่อวันในครึ่งปีแรก   การทำงานแบบไฮบริด และระยะไกล กลายเป็นรูปแบบการทำงานที่ปกติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปี 2022 โซลูชันของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตี Remote Desktop Protocol (RDP) จาก Bruteforce.Generic.RDP ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีพนักงานที่ทำงานระยะไกลในภูมิภาคทั้งหมด 47,802,037 รายการ เฉลี่ยแล้วในทุกๆ วัน แคสเปอร์สกี้บล็อกโจมตีแบบ “Brute force attack” จำนวน 265,567 ครั้ง   ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ แคสเปอร์สกี้ปกป้องผู้ใช้ในภูมิภาคส่วนใหญ่จากประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทยจากภัยคุกคามประเภทนี้     จับตา RDP ขยายวงกว้าง   แคสเปอร์สกี้ อธิบายว่า Remote Desktop Protocol (RDP) เป็นโปรโตคอลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นกราฟิกอินเทอร์เฟซให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านเครือข่าย RDP ใช้กันอย่างแพร่หลาย…

บุกจุดเกิดเหตุ #กราดยิง “การรักษาความปลอดภัยไทย” สอบตกมาตรฐานโลก!!

Loading

  หลากหลายอารมณ์ที่ถ่ายทอดออกมาทางโซเชียลฯ ดรามาสนั่น “สื่อต่างชาติ” บุกถ่ายจุดกราดยิงหนองบัวลําภู ตอกย้ำความเจ็บปวด ทั่วโลกจับตามอง การทำงานของเจ้าหน้าที่ ด้านนักอาชญาวิทยาสะท้อนไร้มาตรฐานความปลอดภัย-การเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุอาชญากรรม!?   เจตนาดี-รุกล้ำพื้นที่เกิดอาชญากรรม?     ยังคงเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจ และสร้างความสะเทือนใจของทั่วมุมโลก กับเหตุการณ์อาชญานาฏกรรม “กราดยิงหนองบัวลำภู” อย่างไรก็ตาม ในประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหา จนสังคมวิจารณ์กัน คือ การทำหน้าที่เสนอข่าวของสื่อมวลชน ที่อาจมีความสุ่มเสี่ยง ตอกย้ำแผลในใจครอบครัวผู้เสียชีวิต   ยิ่งไปกว่านั้น ล่าสุด พบ ผู้สื่อข่าว CNN (สำนักข่าวต่างประเทศ) เข้าไปนำเสนอข่าวข้างในอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่เกิดเหตุได้ ทั้งที่ด้านนอกมีการกั้นรั้วอยู่ ทำให้คนสงสัยว่า เข้าไปได้อย่างไร   บางคนมองว่า เป็นการปีนรั้วเข้าไปนำเสนอข่าว โดยมีการได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ รวมทั้งตั้งข้อสงสัยถึงมาตรการดูแลของเจ้าหน้าที่ ที่ไม่รัดกุมและมีมาตรฐานที่ดีพอ     อย่างไรก็ดี ทางสถานีข่าว CNN ออกแถลงการณ์ถึงการรายงานจากภายในจุดเกิดอาชญากรรมในครั้งนี้ ว่า ได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ทีมข่าวเข้าไปในอาคารด้วยเจตนาดี เพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายใน ซึ่งตอนนี้ได้ระงับการเผยแพร่แล้ว   “ทีมข่าวได้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข…

สะพานเชื่อมรัสเซีย-ไครเมียสำคัญอย่างไร ใครอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด

Loading

  ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา (8 ตุลาคม) ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ขึ้นในจุดที่สำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมไครเมีย นั่นคือ ‘สะพานเคิร์ช’ (Kerch Bridge) สะพานที่ทอดพาดผ่านช่องแคบเคิร์ช เชื่อมระหว่างรัสเซียและดินแดนไครเมีย เป็นสะพานที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการผนวกรวมไครเมีย (ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2014   เกิดอะไรขึ้นบนสะพานเคิร์ช   คณะกรรมการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติของรัสเซียระบุว่า เหตุระเบิดบนสะพานดังกล่าวเกิดจากรถบรรทุกคันหนึ่งระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้โครงสร้างบางส่วนของสะพานถูกทำลาย เบื้องต้นตรวจสอบพบว่า รถบรรทุกคันดังกล่าวจดทะเบียนในพื้นที่ทางตอนใต้ของรัสเซีย   ทางการรัสเซียได้ตั้งทีมตรวจสอบเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศผนวกรวมดินแดนของยูเครน (โดเนตสก์, ลูฮันสก์, ซาปอริซเซีย และเคอร์ซอน) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียและชี้ว่าดินแดนเหล่านี้จะอยู่กับรัสเซียตลอดไป รวมถึงขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ปกป้องดินแดนใหม่ของรัสเซีย   อีกทั้งเหตุระเบิดดังกล่าวยังเกิดขึ้นภายหลังจากวันเกิดครบรอบ 70 ปีของปูตินได้เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น สร้างแรงกดดันและความท้าทายให้กับผู้นำรัสเซียไม่มากก็น้อย   ท่าทีและผลกระทบจากแรงระเบิด   แรงระเบิดเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย โครงสร้างบางส่วนของสะพานที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมของรถยนต์ได้รับความเสียหาย หักและพังทลายลงยังผืนน้ำเบื้องล่าง ถนนบางเลนแม้จะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง แต่ก็ยังพอจะสามารถสัญจรไปมาได้ อาจพบการจราจรติดขัดและล่าช้าในบางช่วง…

โลก ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ สะเทือน เมื่อ ’ควอนตัม’ เจาะการเข้ารหัสข้อมูลได้

Loading

จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้ ไอบีเอ็ม ไขคำตอบเรื่องนี้!!!   วันนี้ความสามารถของ “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และอาจจะเร็วกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ไว้เมื่อห้าปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี การพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงถือเป็นหนึ่งในความท้าทายสูงสุดทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดประตูสู่การแก้ปัญหาสำคัญๆ   อาทิ การพัฒนาแบตเตอรีรูปแบบใหม่ที่มีน้ำหนักเบาแต่ทรงพลังกว่าลิเธียมไอออนในปัจจุบัน การวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลเพื่อหาวัสดุทางเลือก การวิเคราะห์การจัดสรรพอร์ตการลงทุน รวมถึงการต่อกรกับความท้าทายทั้งเรื่องสภาพอากาศและเน็ตซีโรแล้ว ควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังจะเป็นพลังประมวลผลมหาศาลที่เข้าต่อยอดเทคโนโลยีอย่างเอไอหรือสนับสนุนการวิจัยทางชีววิทยาการแพทย์     เมื่อควอนตัมเจาะรหัสข้อมูล   สุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ไขประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อมีการตั้งคำถามว่า จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้   “ทุกวันนี้การเข้ารหัสคือเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การส่งอีเมล การซื้อของออนไลน์ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลโดยใช้ดิจิทัล ซิกเนเจอร์ หรือที่เรียกกันว่าลายเซ็นดิจิทัล หากระบบการเข้ารหัสถูกเจาะได้ ย่อมเกิดผลกระทบต่อทั้งองค์กรและผู้บริโภคในวงกว้าง”   สุรฤทธิ์ กล่าวว่า ความก้าวล้ำของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้…