ข้อมูลรั่วไหล ‘คลาวด์’ โจทย์ท้าทายธุรกิจยุคใหม่

Loading

  บริษัทต่าง ๆ ต้องย้ายการดำเนินธุรกิจของตนไปยังระบบคลาวด์กันมากขึ้น การลดความเสี่ยงของบริษัทต่าง ๆ จึงเริ่มยากขึ้นเรื่อย ๆ   มีการคาดการณ์ว่า ตลาดการป้องกันข้อมูลรั่วไหล (Data Loss Prevention หรือ DLP) บนคลาวด์ จะเติบโตจาก 2.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 ไปเป็น 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2574 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตต่อปีถึง 28% ด้วยกัน   ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังได้สร้าง DLP ที่ซับซ้อนในระดับใหม่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการกำกับดูแล   สาเหตุนี้เองที่ส่งผลให้ตลาด DLP เติบโตอย่างกะทันหัน อีกทั้งยังมีการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่ดาวน์โหลดไปยังอุปกรณ์ USB โดยพนักงานถึง 123% และกว่า 74% ของข้อมูลถูกจัดประเภทตามนโยบายการกำกับดูแลข้อมูลขององค์กร ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ครั้งใหญ่นี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน ลูกค้าจึงได้เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่   โดยเริ่มหันมายอมรับและใช้งานเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายกันมากขึ้น มีการใช้โซลูชัน…

กทปส. หนุนนักวิจัยไทย พัฒนาเรดาร์ตรวจจับโดรนขนาดเล็กรัศมีไกล 2 กม. ต่อยอดสู่การบินมั่นคงปลอดภัย

Loading

  ปัจจุบันโดรนหรืออากาศยานไร้คนขับ  (UAV) ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญของการสำรวจและถ่ายภาพมากขึ้น ขณะที่การควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการก่อการร้าย ยังมีข้อจำกัดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาที่สูงอยู่ ด้วยเหตุนี้โครงการการวิจัยและพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนเพื่อป้องกันการบินโดรนที่ไม่ได้รับอนุญาต ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. จึงได้ทำการวิจัยและคิดค้นพัฒนาระบบตรวจจับโดรนขึ้นมา   รองศาสตราจารย์ ดร. เอกรัฐ บุญภูงา หัวหน้าโครงการการวิจัยและพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนเพื่อป้องกันการบินโดรนที่ไม่ได้รับอนุญาตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้โดรนกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการถ่ายภาพ การสำรวจ แต่ว่าบางทีโดรนก็อาจจะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น การก่อการร้าย เนื่องจากสามารถติดระเบิดแล้วเอาไปจู่โจมบุคคลสำคัญได้ หรือบางครั้งการใช้โดรนอาจจะมีการใช้ในพื้นที่ที่หวงห้าม เช่นเขตพระราชวัง หรือบริเวณงานพระราชพิธี ตลอดจนขอบเขตการคุ้มกันบุคคลสำคัญ   ซึ่งแม้ว่าการพัฒนาเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนจะมีให้เห็นแล้วในต่างประเทศ แต่ราคาของเครื่องหรือระบบก็มีราคาที่สูงมาก เราจึงคิดว่าควรจะพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับโดรนที่บินโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ได้ด้วยฝีมือคนไทย ซึ่งเทคโนโลยี เรดาร์ก็เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและสมัยใหม่ ที่ใช้ในการตรวจจับพวกเครื่องบินอยู่แล้ว แต่โดรนซึ่งมีขนาดที่เล็กกว่า จำเป็นต้องมีการออกแบบเรดาร์ใหม่ เพื่อให้สามารถตรวจจับโดรนที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องบินให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น   โดยชุดอุปกรณ์ตัวเรดาร์ จะมีลักษณะเป็นแบบสามารถเคลื่อนที่ได้ ทำให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถติดตั้งกับรถยนต์ได้ เพื่อช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกและทันท่วงทีในการเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการ…

รู้ก่อนไปญี่ปุ่น! เหตุผล “สมาร์ทโฟน” ที่ญี่ปุ่นต้องมี “เสียงชัตเตอร์”

Loading

  “เที่ยวญี่ปุ่น” อย่างไรให้ปลอดภัยไม่เสี่ยงคุกจากการถ่ายภาพด้วย “สมาร์ทโฟน” เพราะแค่การ “ปิดเสียงชัตเตอร์” ก็อาจเท่ากับทำผิดกฎหมายแล้ว   ประเทศญี่ปุ่น กำลังจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว แน่นอนว่าคนไทยก็เตรียมตัวที่จะแห่ไป เที่ยวญี่ปุ่น กันหลังจากอัดอั้นมานานกับมาตรการปิดประเทศของญี่ปุ่นซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในหมุดหมายในดวงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย   แต่ก่อนจะไป “เที่ยวญี่ปุ่น” ครั้งนี้ รู้หรือไม่ว่า ประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ สมาร์ทโฟน ถ่ายภาพที่บังคับใช้มานานแล้ว แต่หลายคนยังไม่รู้ ที่สำคัญกฎหมายที่ว่านี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศยอดนิยมของคนไทยอย่างเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน นั่นคือ การบังคับให้สมาร์ทโฟนห้าม ปิดเสียงชัตเตอร์   โดยปกติแล้วกฎนี้จะบังคับใช้กับ “สมาร์ทโฟน” ที่จำหน่ายภายในประเทศดังกล่าว หมายความว่าถ้าคุณซื้อสมาร์ทโฟนที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะแบรนด์ใด รุ่นใด ก็จะ “ปิดเสียงชัตเตอร์” ไม่ได้   เหตุผลที่ประเทศญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้สมาร์ทโฟนในประเทศถ่ายภาพโดยปิดเสียงก็เพื่อแก้ปัญหาการแอบถ่าย ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรง และเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วย อย่างที่รู้ๆ กันว่า ชาวญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ จริงจังเรื่องสิทธิส่วนบุคคลมากขนาดไหน   การที่ “สมาร์ทโฟน” ปิดเสียงชัตเตอร์ได้ อาจทำให้มีการละเมิดด้วยการแอบถ่ายภาพใม่พึงประสงค์ ทางการญี่ปุ่นจึงออกกฎนี้เพื่อตัดปัญหา แต่ใช่ว่าการใช้งานสมาร์ทโฟนที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นจะปิดเสียงชัตเตอร์ไม่ได้เลย เพราะยังมีวิธีการปิดเสียงแบบเลี่ยงบาลีที่ทำได้ง่ายๆ แต่หลายคนยังไม่รู้…

วิธีรับมือกับ “ข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บน Google” ป้องกันมิจฉาชีพนำไปใช้

Loading

  ถ้าสงสัยว่ามีข้อมูลส่วนตัวของตัวเองใน Google หรือไม่ ให้ลองพิมพ์ชื่อ หรือเบอร์โทรศัพท์บน Google หากพบก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับ และข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนโลกออนไลน์อาจส่งผลให้มิจฉาชีพไปใช้และเกิดอันตรายได้   ตัวอย่างข้อมูลอะไรบ้าง? ที่น่ากังวลหากมีอยู่บน Google –  หมายเลขประจำตัวประชาชนของรัฐบาล (ID) , –  เลขที่บัญชีธนาคาร, –  หมายเลขบัตรเครดิต, –  ลายเซ็น, –  รูปภาพเอกสารประจำตัว, –  ข้อมูลติดต่อส่วนบุคคล (ที่อยู่จริง หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่อีเมล)     วิธีง่ายๆที่สามารถตรวจเช็กก็คือ เข้า Google > ลองพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวลงไป เช่น ชื่อ-นามสกุล,บัตรประชาชน และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หากพบเจอ ก็สามารถส่งคำขอให้ Google ลบได้โดยวิธีดังนี้ เข้าลิงก์ Google จะพบหน้าดังนี้     คุณยังสามารถขอให้ Google ลบรูปภาพที่ล้าสมัยที่พบใน images.google.com ได้…

รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง

Loading

    กลโกงมิจฉาชีพที่มักใช้หลอกลวงผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม LINE ทั้งอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ , บัญชีทางการ LINE ปลอม , ชวนสมัครงานหรือลงทุน เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว จนสูญเสียทรัพย์สินมาแล้วหลายรายถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ต้องรู้เท่าทัน แต่มีวิธีตรวจสอบและป้องกันได้ ก่อนตกเป็นเหยื่อ   นับวันกลโกงมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ จนหลายคนเผลอ หลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามปราบปรามและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน   เช่นเดียวกับแอป LINE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในไทยกว่า 53 ล้านคน ได้รวบรวม 5 กลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพใช้บนแพลตฟอร์ม LINE หรือแอบอ้างชื่อบริษัทฯ พร้อมข้อเท็จจริง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ LINE เอาไว้เช็คก่อนเชื่อ ไม่เป็นเหยื่อกลโกง   รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง   1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก LINE ทางโทรศัพท์…

เมื่อ TikTok ถูกใช้หาข้อมูลแทน Google! มีรายงานชี้ว่า 1 ใน 5 ของวิดีโอนำเสนอข้อมูลที่ผิด

Loading

  TikTok สำหรับหลายคนเป็นแหล่งรวมวิดีโอสนุก ๆ ไว้ดูคั่นเวลาว่าง เป็นเหมือนพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจเอาไว้สำหรับความบันเทิง ซึ่งตัวแพลตฟอร์มมีอัลกอริทึมที่เรียนรู้ความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคนและนำเอาวิดีโอที่คิดว่าเราน่าจะสนใจมาป้อนให้ดูอย่างไม่มีวันหมด (ซึ่งบางทีก็ติดพันดูไปเป็นชั่วโมงได้เหมือนกัน)   แต่อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า TikTok ไม่ใช่แหล่งรวมวิดีโอเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น มันยังเป็นพื้นที่ของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากที่ต่าง ๆ ทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้รวมกันไว้ในนี้ด้วย รายงานล่าสุดของนักวิจัยจาก NewsGuard (เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว) บอกว่า 1 ใน 5 (หรือ 20%) ของวิดีโอบน TikTok นั้นแสดงข้อมูลที่เป็นข่าวปลอมหรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง   ยกตัวอย่างถ้าค้นหาเรื่อง ‘mRNA Vaccine’ จะมีวิดีโอที่มีข้อมูลผิด ๆ ขึ้นมาถึง 5 คลิปใน 10 คลิปแรก อย่างเช่นวิดีโอหนึ่งบอกว่าวัคซีน Covid-19 นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะสำคัญของเด็กแบบที่รักษาไม่หาย ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใด ๆ มาอ้างอิงเลย   แถม TikTok ยังแสดงคำค้นหาที่ส่อถึงอคติอันเอนเอียงด้วยอย่างเช่น ถ้าเราคนหา “Covid Vaccine” อัลกอริทึมของ TikTok ก็จะแนะนำขึ้นมาเพิ่มว่า “Covid…