บพข. พัฒนาเทคโนโลยี 5G – AI ป้องกันการอาชญากรรม

Loading

  หน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) และเกาหลีใต้ “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G – AI” เพื่อติดตามและป้องกันอาชญากรรม เช่น การตรวจจับใบหน้า ติดตามวัตถุ สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้แก่ประชาชน   สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล ม.สงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลง “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ AI” เพื่อกิจการงานตำรวจ ซึ่งนำร่องด้วยแพลตฟอร์ม 5G-AI รักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง ม.สงขลานครินทร์, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, บริษัท พอยท์ ไอที คอนซัลทิ่ง จำกัด   และภาคเอกประเทศเกาหลีใต้ ประกอบด้วย Hanwha Techwin (ประเทศไทย) บริษัท ฟาโตส จำกัด (FATOS) และ บริษัท อินโนเดป อิงค์ (InnoDep Inc) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ เพื่อติดตามและป้องกันการเกิดอาชญากรรม สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ…

โลกมุสลิม…ขั้วที่สามของสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงโลก

Loading

  โลกมุสลิมกำลังก้าวเข้ามาเป็นผู้คานอำนาจการเมืองระดับโลก ที่กำลังแยกค่ายแบ่งขั้วอย่างชัดเจนขึ้น รัฐอิสลามจำนวนมากเมื่อผนึกพลังกันจะมีศักยภาพไม่น้อยหน้าประเทศยักษ์ใหญ่หรือกลุ่มพหุภาคีใด ๆ   สมัยก่อนพวกเขาเหมือนยักษ์หลับ ที่ต้องยุดโยงอยู่กับขั้วใดขั้วหนึ่ง หรือไม่มีอำนาจที่แท้จริง แต่มาวันนี้ภายใต้ความขัดแย้งที่รุนแรงของฝ่ายฝรั่งตะวันตกโปรประชาธิปไตยกับฝ่ายอำนาจนิยมตะวันออก พวกเขาพร้อมผงาดขึ้นมาอย่างหนักแน่น และส่งผลให้โฉมหน้าสภาวะแวดล้อมโลกต้องเปลี่ยนไปอีกครั้ง   ในขณะที่ สหรัฐ มหาอำนาจเดี่ยวดั้งเดิมนั้นมีแนวทางปลุกกระแสพันธมิตรโดยใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นหลักการที่ตกผลึกมาจากคุณค่ายึดถือของชาติตะวันตกนั้น นับว่าประสบความสำเร็จในการหาพวกมากที่สุด เพราะมนุษย์ทุกสีผิวหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์ ปราศจากข้อจำกัดในการกีดกันแสวงหาประโยชน์     ในอดีตด้านหนึ่งนั้น จีน มหาอำนาจที่พึ่งขึ้นชั้นมา อาศัยความรู้สึกชาตินิยม ปลุกกระแสชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ผลักดันความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน จนขึ้นมาทาบสหรัฐได้ คนจีนที่มีจำนวนถึง 20% ของโลกเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จนี้ แต่ในขณะที่โลกจับจ้องการเผดียงแข่งกันของสองฝ่ายนี้ โลกมุสลิมที่อาศัยความศรัทธายึดมั่นที่มีต่อศาสนาร่วมกันก็พุ่งขึ้นมาอย่างเงียบๆ พร้อมกับความหนักแน่น ชาวมุสลิมพันแปดร้อยล้านคนทั่วโลกเป็นฐานที่สำคัญของการเป็นขั้วที่สามความมั่นคงโลก   ในอดีต จักรวรรดิมุสลิมเคยยิ่งใหญ่มาแล้วหลายอาณาจักร หลายแห่งกินเวลายาวนานหลายร้อยปี ไม่ว่าจะเป็นของชาวมัวร์ในไอบีเรีย โมกุลในอินเดีย หรือออตโตมานที่เกือบพิชิตยุโรปตะวันตกได้ด้วยหากไม่สะดุดที่ปากกำแพงเวียนนาเสียก่อน แต่ในรอบร้อยปีมานี้ความยิ่งใหญ่อย่างนี้ลดลงไป   เพราะรัฐจำนวนมากเกิดปัญหาทั้งภายในและระหว่างรัฐ ไม่ว่าจะเป็นความยากจน ความเห็นแก่ตัวของชนชั้นนำที่ร่ำรวย การไปเกี่ยวข้องสนับสนุนก่อการร้าย การถูกแทรกแซงจากประเทศยักษ์ใหญ่ต่างศาสนา และการสู้รบ ผลก็คือไม่มีชาติไหนเลยที่สามารถก้าวขึ้นมามีอิทธิพลระดับท็อปไฟว์ในการเมืองโลก     แต่ที่น่าแปลกใจคือ…

ตะลึง! เมื่อ AI มีความคิด “อคติ” แถมยัง “เลือกปฏิบัติ” ไม่ต่างจากมนุษย์

Loading

  นักวิจัยด้านวิทยาการหุ่นยนต์กำลังหาทางป้องกันไม่ให้ ‘หุ่นยนต์’ แสดงพฤติกรรมเลือกปฏิบัติและอคติต่อมนุษย์ หลังพบว่าระบบอัลกอริทึมของ AI สามารถสร้างรูปแบบการเลือกที่รักมักที่ชังได้ เพื่อให้แน่ใจว่าหุ่นยนต์ และ AI นั้นปฏิบัติกับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียม นักวิจัยปัญญาประดิษฐ์ จึงได้ทำการวิจัยกับแขนกลหุ่นยนต์ในสถานการณ์จำลอง โดยแขนกลนี้ถูกติดตั้งระบบการมองเห็น ทำให้สามารถเรียนรู้การเชื่อมโยงระหว่างภาพกับคำจากภาพถ่าย และข้อความออนไลน์ได้ ทีมวิจัยทดลองด้วยการให้หุ่นยนต์ดูรูปภาพใบหน้าคนหลากหลายเชื้อชาติที่ถ่ายในลักษณะเดียวกันกับพาสปอร์ต ไม่ว่าจะเป็นชาวเอเชีย คนผิวดำ คนละติน หรือคนผิวขาว แล้วให้แขนกลหยิบรูปภาพที่ตรงกับกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ระบุตัว เช่น “กลุ่มอาชญากร” หรือ “กลุ่มแม่บ้าน” หุ่นยนต์เลือกปฏิบัติไม่ต่างจากคน จากการทดลองกว่า 1,300,000 ครั้ง ในโลกเสมือนจริง พบว่า การจัดรูปแบบอัลกอริทึมนั้นมีความสอดคล้องกับการกีดกันทางเพศและการเหยียดเชื้อชาติในอดีต แม้จะไม่มีการเขียนข้อความหรือทำตำหนิบนรูปภาพใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อสั่งให้หุ่นยนต์หยิบใบหน้าของอาชญากร หุ่นยนต์มักเลือกภาพถ่ายของคนผิวดำมากกว่ากลุ่มอื่นถึง 10% และเมื่อให้เลือกภาพของหมอ หุ่นยนต์มักจะเลือกภาพผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเสมอ เมื่อถามว่าลักษณะของบุคคลเป็นอย่างไร หุ่นยนต์มักจะเลือกรูปภาพของชายผิวขาวมากกว่าผู้หญิง ไม่ว่าจะเชื้อชาติใดก็ตาม นอกจากนี้ในการทดลองทั้งหมดหุ่นยนต์จะเลือกรูปภาพของหญิงผิวดำน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ วิลลี่ แอคนิว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้ทำการศึกษาดังกล่าว เขาพบว่า งานวิจัยของเขาเป็นสัญญาณเตือนให้กับสาขาวิทยาการหุ่นยนต์เฝ้าระวังอันตรายจากการเลือกปฏิบัติของหุ่นยนต์ รวมถึงหาหนทางใหม่ ๆ ในการทดสอบหุ่นยนต์…

ท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ข้อมูลของเราปลอดภัย

Loading

  ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “โลกโซเชียล” สำคัญสำหรับเราขนาดไหน เพราะในทุก ๆ เช้าที่ตื่นมาหลายคนเป็นต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อเช็กโซเชียลก่อนเป็นอย่างแรก และแน่นอนว่าหากเราลองคิดตามเราก็จะรู้ว่าโลกโซเชียลมีผลกับชีวิตประจำวันเราขนาดไหน เช่น การสั่งอาหาร การสั่งสินค้า หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ไวกว่าช่องทางอื่น ๆ แต่เราเองต้องไม่ลืมว่าการที่เราใช้งานโซเชียลมีเดียบ่อย ๆ นั้นบางครั้งก็มีการบันทึก “ข้อมูล” หรือที่เรียกว่า DATA ของเราเอาไว้ อ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนคงกำลังสงสัยว่า.. เราสามารถท่องโซเชียลโดยที่ข้อมูลของเรายังปลอดภัยได้ไหม? เพราะเราคงไม่อยากให้ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ถูกเผยแพร่ไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราสามารถปกป้องข้อมูลและเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลของเราได้ แต่เราต้องมาเรียนรู้วิธีท่องโซเชียลให้ปลอดภัยเสียก่อน บทความนี้จึงอยากพาทุก ๆ คนไปรู้จักกับ “วิธีท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ DATA ของเราปลอดภัย” กัน เริ่มแรกเลยเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ “ข้อมูล” หรือ “DATA” กันก่อน ข้อมูล (DATA) คือ ข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่มาในรูปแบบ ภาพ ตัวเลข ตัวอักษร และอื่น ๆ…

รับมืออย่างไร? เมื่อ “อีเมลอันตราย” 1 ใน 4 จากทั่วโลกมุ่งเจาะ “เอเชียแปซิฟิก”

Loading

  อีเมลไม่ใช่เซฟโซน! จะรับมืออย่างไร เมื่อ 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” ในปี 2022 แถม “อีเมล” ยังคงเป็นช่องทางหลักในการโจมตีด้านความปลอดภัย เพราะโอกาสสำเร็จสูง และต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่นๆ แม้ปัจจุบันจะมี “สมาร์ทโฟน” และแอปพลิเคชันที่ทำให้ติดต่อกันได้แบบสุดแสนจะง่ายดาย แต่ “อีเมล” ก็ยังถือเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะในเชิงธุรกิจ การทำงาน เพราะถูกมองว่าเป็นทางการกว่าและเหมาะกับการส่งข้อมูลในปริมาณมาก ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่มี “สแปมอีเมล” ฉบับแรกช่วงปี 1978 ก็มีเหล่าสแกมเมอร์พยายามใช้อีเมลเป็นช่องทางในการโจมตีด้านความปลอดภัยเสมอมา เนื่องจากอีเมลสามารถกระจายได้ง่ายกว่า ประหยัดกว่า แถมมีโอกาสทำสำเร็จสูงเสียด้วย ข้อมูลอัปเดตล่าสุดพบว่า 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” หรือ “APAC” โดย Noushin Shabab หนึ่งในนักวิจัยของ “Kaspersky” อัปเดตข้อมูลในงาน Kaspersky’s 8th APAC Cyber Security Weekend เกี่ยวกับอีเมลอันตรายเหล่านี้ว่า…

วิธีป้องกัน-รับมือภัยใกล้ตัว ก่อน “ถังก๊าซรั่ว” จนไหม้หรือระเบิด

Loading

  ปภ.แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG อย่างถูกวิธี ป้องกันภัยใกล้ตัวก๊าซรั่วจนเกิดไฟไหม้หรือระเบิด ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงที่บ้านและร้านอาหารนิยมใช้ประกอบอาหาร เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวกสบาย แต่มีคุณสมบัติไวไฟจะติดไฟอย่างรวดเร็ว หากอุปกรณ์ถังก๊าซอยู่ในสภาชำรุด ผู้ใช้งานประมาทและขาดความระมัดระวัง จะเสี่ยงต่อการระเบิดและเพลิงไหม้ได้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะนำวิธีการป้องกันและข้อปฏิบัติเพื่อใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธีและปลอดภัยไว้ ดังนี้ การเลือกใช้ถังก๊าซ ถังก๊าซ มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรับรองคุณภาพมีซีลปิดผนึกที่หัวถังในสภาพสมบูรณ์ พร้อมหมายเลขถังกำกับ และมีข้อความระบุชื่อบริษัท เดือน ปี ที่ตรวจสอบถังครั้งสุดท้าย น้ำหนักถัง และน้ำหนักบรรจุอย่างชัดเจน รวมถึงตัวถังไม่มีรอยบุบ บวม หรือเป็นสนิท สายนำก๊าซ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซหุงต้ม ไม่ทำจากยางหรือพลาสติก เพราะเมื่อถูกก๊าซหุงต้มจะละลาย ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ ที่สำคัญ ต้องไม่หักงอง่ายทนต่อแรงดันและการขูดขีด สามารถต่อกับลิ้นเปิด – ปิดได้สนิทและแน่นหนา เหล็กรัดสายยางส่งก๊าซ ต้องเลือกใช้ชนิดที่ไม่เป็นสนิม มีความแข็งแรงทนทาน และควรเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ 2 ปี วิธีป้องกันเหตุรั่วไหล -หมั่นตรวจสอบเตาแก๊สและถังก๊าซให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ห้ามเปลี่ยนอุปกรณ์หรือแก้ไขด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ -ใช้งานก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี ไม่เปิดเตาแก๊สติดต่อกันหลายครั้ง…