อย่าละเลย “บิ๊กดาต้า” ปรับระบบบริหารประเทศ

Loading

  รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เทียบเท่าในต่างประเทศ ที่ใช้การประมวลผลบิ๊กดาต้าช่วยวิเคราะห์นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถวัดผลได้ดี   โลกปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยบิ๊กดาต้าไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจมีความชัดเจนและให้ความสำคัญมานานแล้วในการกำหนดแผนธุรกิจที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลด้วยเครื่องมือต่าง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และในปัจจุบันที่ธุรกรรมต่าง ๆ ถูกดำเนินการผ่านออนไลน์ยิ่งทำให้ข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจมีเพิ่มขึ้นมาก จึงไม่แปลกใจที่บรรดาบิ๊กคอร์ปต่างลงทุนอย่างเต็มที่กับระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น   สถานการณ์ดังกล่าวได้นำมาสู่โอกาสทางธุรกิจมหาศาลทั้งผู้ใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า รวมถึงผู้ที่ลงทุนระบบจัดเก็บข้อมูลตลอดทั้งซัพพลายเชนไปจนถึงการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าบิ๊กดาต้าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และเกิดการแบ่งชิงบิ๊กดาต้าผ่านกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้บริโภคยอมเปิดเผยข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้มีการนิยามว่าบิ๊กดาต้า เป็นอีก 1 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก   การบริหารราชการแผ่นดินยุคใหม่ในหลายประเทศล้วนใช้บิ๊กดาต้าในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นนโยายเกี่ยวกับสาธารณสุข การศึกษา การคมนาคม การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการพลังงาน การบริหารด้านการคลัง การจัดเก็บภาษี รวมไปถึงการจัดการข้อมูลด้านความมั่งคงของประเทศหรือการทหาร เพราะช่วยให้รัฐบาลคาดการณ์และวิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำมากขึ้น และนำไปสู่การบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด   รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่ดีที่การดำเนินการหลายส่วนนำบิ๊กดาต้ามาใช้ แต่ดูเหมือนว่ายังไม่เทียบเท่าเหมือนในต่างประเทศ ในขณะที่การจะก้าวไปสู่จุดดังกล่าวจะต้องมีการปฏิรูปข้อมูลภาครัฐเข้าสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการสร้างคลาวด์ของภาครัฐที่ใช้งานร่วมกันที่นอกจากจะเป็นการรวมข้อมูลไว้ด้วยกันแล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างระบบจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน เพื่อใช้เครือข่ายการประมวลผลร่วมกันได้   หากการประมวลผลบิ๊กดาต้าของภาครัฐมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้วิเคราะห์ได้ว่านโยบายสาธารณะแต่ละนโยบายได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถวัดผลได้ดี ยกตัวอย่างการที่รัฐบาลกำลังผลักดันนโยบายประกันรายได้ข้าวปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่ 4 ใช้วงเงินประกันราคาข้าวรวมกับโครงการที่เกี่ยวข้อง 150,000…

เช็คน้ำท่วม กทม. เช็คน้ำรอการระบาย ด้วยเว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ ม.รทก. ย่อมาจากอะไร

Loading

  เช็คน้ำท่วม กทม. เช็คน้ำรอการระบาย รับมือฝนตกหนักน้ำท่วมกรุงเทพที่ตกหนักทุกวัน ด้วยเว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ เพื่อดูระดับน้ำในแต่ละเขตรอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่าแต่ละจุดระดับน้ำสูงแค่ไหน เพื่อเตรียมรับมือหากน้ำท่วมเข้ามาใกล้ โดยเว็บไซต์นี้สามารถตรวจสอบระดับน้ำได้แบบ Real time ล่าสุด หลายจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือปรับเพิ่มการระบายน้ำ 15 กันยายนนี้ โดยพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำอาจกระทบ เช็คน้ำท่วม กทม. เช็คน้ำรอการระบาย ด้วยเว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เข้าเว็บไซต์ https://weather.bangkok.go.th/water/ จะเห็นแผนที่จุดสถานนีตรวจวัดระดับน้ำ โดยแบ่งเป็น 5 สี โดยเน้น 3 สีหลักคือ  – สีเขียว ระดับน้ำปกติ  – สีเหลือง ระดับน้ำเตือนภัย  – สีแดง ระดับน้ำวิกฤติ     คุณสามารถคลิกที่ แสดงสถานีเตือนภัยและวิกฤติ เพื่อแสดงระดับน้ำเตือนภัยว่าอยู่ส่วนไหนของกรุงเทพเพื่อเตรียมการรับมือน้ำท่วม     เมื่อคลิกที่สถานีวัดระดับน้ำ จะแสดงระดับน้ำเป็นกราฟออกมา หากต้องการดูรายละเอียดขึ้นให้คลิกที่ ดูรายละเอียดสถานี ม.รทก. ย่อมาจากอะไร ม.รทก. ย่อมาจาก…

รู้จัก “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อก้าวสู่ “รัฐบาลดิจิทัล”

Loading

  “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” แท้จริงแล้วคืออะไร และจะสามารถช่วยนำพาราชการไทยสู่ “รัฐบาลดิจิทัล” ได้จริงหรือไม่ ติดตามอ่านได้จากบทความนี้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ร่างกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ที่ได้ผ่านการเห็นชอบจากทางรัฐสภา คาดว่าจะเริ่มใช้ปี 2566 พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีแล้วดีอย่างไร? ข้อดีของการมี “พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” มีดังนี้  – ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน  – ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน  – อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน  – ช่วยลดต้นทุนกระดาษและวัสดุสิ้นเปลือง  – ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลอีกด้วย ไม่ใช่เพียงภาครัฐหรือหน่วยงานราชการเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ทุกองค์กรก็สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้เช่นกัน ตัวช่วยเปลี่ยนองค์กรให้เป็น “Intelligent Office” ระบบสำนักงานอัจฉริยะ คือซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่จะเข้ามาช่วยบริหารระบบงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” และ “ข้อกำหนด PDPA” ซึ่งภายในซอฟต์แวร์ตัวนี้จะช่วยจัดการงานเอกสาร และงานประชุมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้  – ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document System)…

รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

Loading

  เปิดรหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่แม้แต่พสกนิกรแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังไม่รู้ ในการเตรียมพร้อมรับมือ รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 นับเป็นอีกวันที่อังกฤษหม่นหมอง ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ขณะพระชนมายุ 96 พรรษา ในการนี้จะมีพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ   รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร   ในการนี้ยังต้องมีรหัสลับที่แม้แต่พสกนิกรแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังไม่รู้ ในการเตรียมพร้อมรับมือฉุกเฉินกรณีการเสด็จสวรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่ครอบคลุมพระราชพิธีพระศพเอาไว้ทั้งหมด – Operation London Bridge นับจากนี้ไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อยอีก 8 วัน คือช่วงแห่งการไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ภายใต้ Operation London Bridge ซึ่งจะกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการหลังได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าชาร์ลสที่ 3 ที่จะนำไปสู่กระบวนการต่างๆ สำหรับพระราชพิธีศพ   รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร แม้เรื่องนี้จะเป็นข่าวช็อกคนทั้งชาติต่อการสูญเสียองค์พระประมุขที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งโลก แต่สำหรับราชสำนักบักกิงแฮมและสมเด็จพระราชินีเอง ทรงเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันนี้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 แล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยและปรับปรุงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่สาระสำคัญส่วนใหญ่ยังคงไว้…

โอกินาวา ป้อมค่ายสำคัญในการป้องกันญี่ปุ่นจากจีน และเกาหลีเหนือ

Loading

นาวิกโยธินสหรัฐฯ พร้อมกองพัน 3 กรมนาวิกโยธินที่ 8 กับกองบินนาวิกโยธินที่ 1 ที่อิเอะชิมะ โอกินาวา ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 (แฟ้มภาพนาวิกโยธินสหรัฐฯ)   USNI News (8 ก.ย.) – ผู้เชี่ยวชาญชี้ การชนะใจโอกินาวาเป็นชัยภูมิสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งให้การป้องกันของจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ   คุนิฮิโกะ มิยาเกะ (Kunihiko Miyake) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Canon Institute for Global Studies กล่าวว่า ขณะนี้เมื่อวอชิงตันและโตเกียวแสดงการสนับสนุนไต้หวัน ข้อตกลงสถานะของกองกำลังระหว่างทั้งสองประเทศได้มีนัยสำคัญใหม่ “เป็นปัญหาที่ยากที่สุด” ในการแก้ไขตลอดหลายปีที่ผ่านมา มิยาเกะ กล่าว ตัวอย่างหนึ่งของความยากลำบากนั้นคือการโต้เถียงกันเป็นเวลา 7 ปีเกี่ยวกับการย้ายที่ตั้งของ Marine Corps Air Station Futenma   การปรากฏตัวของกองทัพอเมริกันในฐานทัพ 31 แห่งที่ตั้งอยู่ในโอกินาวายังคงเป็นปัญหาของชาวโอกินาวา…

บังกลาเทศไม่ใช่ศัตรู แต่ก็ไม่ใช่มิตรสำหรับพม่า

Loading

  พม่ามีพรมแดนที่ติดกับบังกลาเทศยาว 271 กิโลเมตร แม้จะเป็นพรมแดนที่สั้น เมื่อเทียบกับเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าที่ยาวกว่า 2,400 กิโลเมตร แต่บังกลาเทศก็มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพม่า โดยเฉพาะในทางภูมิรัฐศาสตร์ เพราะบังกลาเทศมีชายแดนทางตอนเหนือใกล้กับเนปาล ภูฏาน และอินเดีย และทั้งสองประเทศยังเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งอ่าวเบงกอล หรือ The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC)   เรียกได้ว่าบังกลาเทศเป็นตัวเชื่อมระหว่างอาเซียนทั้งภูมิภาคกับเอเชียใต้ทั้งหมด และที่ผ่านมาบังกลาเทศก็พยายามเข้าหาพม่า อาเซียน และจีนมากขึ้น เพราะต้องการลดการพึ่งพาอินเดียลง เรียกว่าความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับบังกลาเทศเรียบง่าย ไม่หวือหวา ในส่วนของพม่า ต้องยอมรับว่าพม่าไม่ได้มองว่าบังกลาเทศมีความสำคัญสำหรับตนมากนัก ด้วยบังกลาเทศเป็นเพียงประเทศที่มีขนาดเล็ก เป็นประเทศกำลังพัฒนา และไม่ได้มีทรัพยากรที่พม่าต้องการเป็นพิเศษ และที่สำคัญเป็นประเทศของคน “เบงกาลี” (Bengali) ที่ถูกมองโดยสังคมพม่าพุทธว่าเป็นทั้งคนต่างชาติต่างศาสนา และยังเป็นแหล่งส่งออกประชากรชาวโรฮีนจา (คนพม่าจำนวนมากยังเรียกชาวโรฮีนจาว่า “เบงกาลี” เพราะเชื่อว่าเป็นผู้อพยพมาจากบังกลาเทศ ไม่ใช่ประชากรที่อยู่ในรัฐยะไข่มาแต่เดิม) ทำให้ทัศนคติของพม่าที่มีต่อบังกลาเทศไม่ค่อยดีนัก   ในวันที่ 4 กันยายน รัฐบาลบังกลาเทศเรียก…