เกาหลีใต้เตรียมปรับหลักสูตรการศึกษา สร้างแรงงานป้อนอุตสาหกรรมดิจิทัล 1 ล้านคน

Loading

  กระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ประกาศแผนร่วมกับกระทรวงอื่นๆ ในการพัฒนาแรงงานป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมดิจิทัล โดยตั้งเป้าผลิตแรงงานมีทักษะให้ได้ 1 ล้านคนภายในปี 2026 ซึ่งในการนี้จะมีทั้งการเพิ่มหลักสูตรการเรียนในระดับประถมศึกษา , มัธยมศึกษาให้มีชั่วโมงการเรียนการสอนวิชาไอทีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า รวมทั้งกำหนดให้สถานศึกษาสอนการเขียนโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในจำนวนเป้าหมาย 1 ล้านคนนี้ ยังได้แบ่งย่อยลงไปตามระดับการศึกษาของกลุ่มแรงงาน อันได้แก่ แรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือวิทยาลัยในระดับเทียบเท่า 160,000 คน , กลุ่มที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี 710,000 คน และอีก 130,000 คนคือเป้าหมายของแรงงานดิจิทัลที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาให้เพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาไอทีจาก 17 ชั่วโมงเป็น 34 ชั่วโมง และในระดับมัธยมศึกษาให้เพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาไอทีจาก 34 ชั่วโมงเป็น 68 ชั่วโมง โดยจะดำเนินการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้แล้วเสร็จภายในปี 2025 โดยจะมีทั้งการสอนเรื่องการคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) และการเขียนโปรแกรมรวมทั้งภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ส่วนโรงเรียนวิทยาศาสตร์หรือห้องเรียนพิเศษสำหรับกลุ่มนักเรียนที่มีความฉลาดโดดเด่น ก็จะมีการจัดหลักสูตรพิเศษด้านซอฟต์แวร์และปัญญาประดิษฐ์ให้ได้เรียนกันตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมกันนี้ทางกระทรวงยังเตรียมยกเลิกข้อกำหนดที่เคยบังคับใช้กับสถานศึกษาต่างๆ ก่อนหน้านี้ ซึ่งมีการควบคุมการเปิดแผนกหรือคณะที่จัดการสอนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลมิให้มีจำนวนมากเกินไป การยกเลิกข้อกำหนดนี้จะทำให้สถาบันสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศสามารถเปิดแผนกและคณะทำการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลได้มากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการยกเลิกข้อข้อกำหนดเรื่องจำนวนสูงสุดของผู้เรียนต่อคณะ ทำให้สถานศึกษาเดิมที่มีการเรียนการสอนในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลอยู่ก่อนแล้วสามารถรับผู้เรียนเพิ่มขึ้นได้อีก…

แคสเปอร์สกี้ ผนึก สกมช.ยกระดับกูรูภัยไซเบอร์ในไทย!!!

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) จับมือกับ NCSA เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รับการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น เหตุการณ์ไซเบอร์ที่ซับซ้อนส่งสัญญาณบอกถึงความท้าทายที่เฉพาะเจาะจงอย่างมากต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยการโจมตีมักจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรในหลายๆ ด้าน เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น และโซลูชันการรักษาความปลอดภัยต้องการทรัพยากรมากขึ้นในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รวบรวมไว้ทุกวัน องค์กรจำนวนมากต่างต้องการบริการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่สามารถจัดการกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ด้วยตระหนักถึงประเด็นข้างต้นนี้ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช. หรือ NCSA) ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคในหัวข้อ ‘Building a Safer Future for Thailand’ (การสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทย) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ สร้างคลังความรู้สำหรับบุคลากรผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ และแบ่งปันวิธีการใช้เทคโนโลยีข้อมูลภัยคุกคามหรือ Threat Intelligence ในการสร้างความสามารถในการป้องกันประเทศ ครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการครั้งแรกของแคสเปอร์สกี้กับ สกมช. นางสาวจีนี่ ซูจีน กัน หัวหน้าฝ่ายกิจการสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกา แคสเปอร์สกี้ ได้กล่าวถึงภารกิจของแคสเปอร์สกี้ในการสร้างโลกที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่ออนาคตที่โปร่งใสและไว้วางใจได้ ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่สร้างโอกาสไร้ขีดจำกัด และรักษาความปลอดภัยโดยบริษัทอย่างแคสเปอร์สกี้ “ปัจจุบัน ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลและโลกาภิวัตน์มากขึ้น…

“4 ทักษะดิจิทัล”ที่จำเป็น ต่อการทำงานในอนาคต

Loading

  วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิดมีการทำงานจากที่บ้าน ประชุมออนไลน์ และทำงานแบบลดการใช้กระดาษ จึงทำให้ใครก็ตามที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้อีกต่อไปแล้ว ในยุคก่อนการสรรหาพนักงานใหม่ เรามักพิจารณาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมสำนักงานต่างๆ เช่น โปรแกรมการทำเอกสาร โปรแกรมการนำเสนอ รวมถึงการใช้สเปรดชีต จำได้ว่ามีช่วงหนึ่งทางราชการถึงกับต้องกำหนดเกณฑ์ให้ข้าราชการที่ต้องการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ผ่านการอบรมทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางอย่าง แต่วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิดมีการทำงานจากที่บ้าน ประชุมออนไลน์ และทำงานแบบลดการใช้กระดาษ จึงทำให้ใครก็ตามที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้อีกต่อไปแล้ว ดังนั้นทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมต่างๆ จึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนทำงานในยุคปัจจุบัน แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ได้หยุดอยู่แค่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมในรูปแบบเดิม ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมาย ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อุปกรณ์สวมใส่ ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต พาเราเข้าสู่โลกดิจิทัลได้ในแทบทุกอุปกรณ์ อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ๆ ที่ต้องดาวน์โหลดมาใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเล่นโปรแกรมที่หลากหลายขึ้นด้วย กลายเป็นว่า วันนี้ใครใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่คล่องนอกจากจะทำงานลำบากขึ้นแล้ว ก็จะเริ่มใช้ชีวิตประจำวันลำบากมากขึ้น ไล่มาตั้งแต่การชำระเงินซึ่งการใช้ QR code กลายเป็นเรื่องปกติ บางร้านค้าปฏิเสธที่จะรับเงินสดก็มีแล้ว การใช้โมบายแบงค์กิ้งในการทำธุรกรรมการเงิน การสั่งอาหาร สั่งสินค้าออนไลน์ การจองตั๋วเดินทาง ที่พัก หรือแม้แต่การเช็คอินเที่ยวบินก็กลายเป็นว่าต้องใช้สมาร์ทโฟนจัดการ รวมไปถึงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์บางอย่างที่ทำงานผ่านโปรแกรมบนมือถือ จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทักษะด้านดิจิทัลปัจจุบัน กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานที่โลกกำลังเปลี่ยนไป จากการทำงานแบบเดิมๆ กลายเป็นโลกการทำงานที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ…

เครื่องเอธิโอเปียนแอร์ไลนส์ไม่ยอมลงจอด เพราะนักบินหลับปุ๋ยทั้งกัปตัน&ผู้ช่วย!! ทุกคนปลอดภัยแล้ว

Loading

  อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อนักบินกัปตันและนักบินผู้ช่วยพากันหลับสนิทไปในระดับความสูง 37,000 ฟุต และปล่อยให้อากาศยานเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ ด้วยระบบการบินอัตโนมัติ จนกระทั่งพาผู้โดยสารผ่านสนามบินเป้าหมายกันเลยทีเดียว   สายการบินเอธิโอเปีย แอร์ไลนส์ มีคำตอบให้แล้ว จากประสบการณ์จริงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา 15 สิงหาคม 2022 กล่าวคือ ระบบเตือนภัยจะดังระรัว ปลุกนักบินให้ตื่นขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างแน่นอน   บรรดานักบินสาวผู้สุดสวยสง่างามในภาพนี้ มิใช่ผู้ที่ขับขี่เครื่องบินลำดังกล่าว พวกเธอเป็นนักบินหญิงที่ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงานกับสายการบินเอธิโอเปีย แอร์ไลนส์   ตามนโยบายของประเทศซึ่งส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพสตรี โดยที่พนักงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินเป็นทีมงานสตรีทั้งหมดตั้งแต่งานภาคพื้นดินไปถึงงานบนเครื่องบิน นโยบายนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2015 และเว็บไซต์ข่าว Pilot Career News นำเสนอไว้เมื่อวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2020 ในภาพนี้เป็นทีมนักบินและลูกเรือหญิงล้วน ของเครื่องโบอิ้ง777 บันทึกภาพและออกเดินทางวันที่ 7 มีนาคม 2020 จากกรุงแอดดิส อาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย และเดินทางถึงกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 8 มีนาคม 2020   กัปตันพร้อมเพรียงกับนักบินผู้ช่วยหลับปุ๋ยระหว่างขับเคลื่อนโบอิ้ง 737-800 ของเอธิโอเปียน…

จับตา 5 ปี ไทยเผชิญวิกฤติ แรงงาน ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’

Loading

  การเติบโตของดิจิทัล เพิ่มความจำเป็นให้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับการฝึกอบรมมากขึ้น แต่แรงงานไอทีที่มีความชำนาญยังมีจำนวนน้อย บวกกับคนที่ได้รับการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติยังไม่เพียงพอ การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในปี 2560 อุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 8.64 หมื่นล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตเกือบ 80% ภายในปี 2570 ด้วยมูลค่าสูงถึง 4.03 แสนล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2563 ถึง 2570 มีอัตราการเติบโตเปลี่ยต่อปี 12.5% ​​ หากถามว่าทำไมอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเติบโตอย่างมาก ผมขอพูดง่ายๆ คือ มีการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นในทุกๆปี อ้างอิงตามรายงาน State of Cybersecurity ของเอคเซนเชอร์ปีที่ผ่านมา เฉพาะระหว่างปี 2563 ถึง 2564 จำนวนการโจมตีความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นถึง 31% ขณะที่จำนวนเฉลี่ยของการโจมตีที่สำเร็จคือ 29 ครั้งต่อบริษัท อีกทางหนึ่ง อัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลมาจากวงจรของการก่ออาชญากรรมในโลกไซเบอร์ระหว่างผู้ก่ออาชญากรรมและหน่วยงานข่าวกรอง ที่ผ่านมาผู้ก่ออาชญากรรมได้นำผลกำไรที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายไปลงทุนซ้ำเพื่อพัฒนาความสามารถใหม่ จ้างพนักงานเพิ่มขึ้น และกระจายห่วงโซ่อุปทานของตนเอง โดยวัฏจักรนี้จะดำเนินต่อไปตราบใดที่มันยังคงสร้างผลกำไรสำหรับผู้ก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผลดังกล่าว การลงทุนเพื่อสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอจึงกลายเป็นการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ ควบคู่ไปกับ การลงทุนเอไอ…

‘ฟิชชิง-ช่องโหว่ซอฟต์แวร์’ ต้นตออุบัติการณ์ภัยไซเบอร์

Loading

  อาชญากรรมทางไซเบอร์ กำลังแผ่ขยาย กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อองค์กรธุรกิจ ลุกลามไปยังระบบเศรษฐกิจโลก เพราะเมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำไปมากเท่าไหร่ ช่องโหว่ของระบบยิ่งกว้างมากขึ้น รายงานการรับมืออุบัติการณ์จาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เผยว่า ปัญหาฟิชชิง และช่องโหว่ซอฟต์แวร์ คือต้นตอของอุบัติการณ์ทางไซเบอร์เกือบ 70% ที่ผ่านมาเกิดการใช้ ช่องโหว่ซอฟต์แวร์ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตรงตามพฤติกรรมฉวยโอกาสของวายร้ายที่คอยสอดส่องมองหาช่องโหว่ และจุดอ่อนบนอินเทอร์เน็ตตามที่ตนเองต้องการ พบว่า ภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ อยู่ในกลุ่มที่โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูลคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยสูงสุดที่เกือบ 8 ล้านดอลลาร์ และ 5.2 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ โดยรวมแล้วมัลแวร์เรียกค่าไถ่และภัยจากอีเมลหลอกลวงทางธุรกิจ (BEC – Business Email Compromise) ติดอันดับต้นๆ ตามประเภทอุบัติการณ์ที่พบบ่อย ซึ่งทีมรับมืออุบัติการณ์ได้เข้าไปช่วยจัดการในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมัลแวร์เรียกค่าไถ่และภัยจากอีเมลหลอกลวงทางธุรกิจคิดเป็นราว 70% ของกรณีการรับมืออุบัติการณ์ทั้งหมด อาชญากรรมไซเบอร์ทำเงินง่าย เวนดี วิตมอร์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าทีม Unit42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ บอกว่า…