ภัยความมั่นคงชาติสู่ภัยร้ายของทวิตเตอร์

Loading

คอลัมน์ : Tech Times ผู้เขียน : มัชฌิมา จันทร์สว่างภูวนะ ข่าวสะเทือนขวัญวงการเทคประจำสัปดาห์นี้คือ การที่อดีตผู้บริหารของทวิตเตอร์ออกมาแฉว่า บริษัทยอมผ่อนปรนระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อให้รัฐบาลเผด็จการจากหลายประเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานได้ CNN และ The Washington Post รายงานว่า “ปีเตอร์ แซดโก้” อดีต Head of Security ของทวิตเตอร์ ได้ยื่นเอกสารและหลักฐานประกอบกว่า 200 หน้า ให้รัฐสภา กระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องในเดือนกรกฎาคม เพื่อเปิดโปงพฤติกรรมของบริษัทที่เขาอ้างว่าเป็น “ภัยต่อความมั่นคงของชาติ” และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานตกเป็นเป้าการสอดแนมจากรัฐบาลเผด็จการ “แซดโก้” กล่าวหาว่า ทวิตเตอร์มี “สปาย” แฝงตัวอยู่ในบริษัทเพื่อสอดแนมข้อมูลให้ต่างชาติ รวมทั้งมีการรับเงิน หรือสยบยอมต่อแรงกดดันของรัฐบาลหลายประเทศ เช่น จีน รัสเซีย ไนจีเรีย และซาอุดีอาระเบีย เพื่อแลกกับโอกาสในการสร้างรายได้และขยายฐานลูกค้า นอกจากนี้ เขายังกล่าวหาผู้บริหารระดับสูง รวมถึง “ปราค อัครวาล” ซีอีโอของทวิตเตอร์ ว่ามีความพยายามปกปิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยเหล่านี้ “แซดโก้”…

ปม “เหยียดเชื้อชาติ” ยังไม่แผ่ว Gen Z เชื้อสายเอเชีย ต้องดิ้นรน ในสหรัฐฯ

Loading

  ปัญหา “อาชญากรรมความเกลียดชัง” ในสหรัฐฯ ยังคงน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะปมเหยียดเชื้อชาติ กับ “ผู้มีเชื้อสายเอเชีย” ที่ต้องถึงกับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเพราะกลัวถูกคุกคาม ขณะที่คนรุ่นใหม่ วัย Gen Z พบปัญหา ไม่ได้รับการยอมรับ และต้องดิ้นรนปรับตัวเพื่ออยู่รอด รายงานข่าวจากซินหัว เมื่อ 26 ส.ค.65 อ้างอิงผลการวิจัยโดยศูนย์ศึกษาความเกลียดชังและลัทธิหัวรุนแรงของมหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐฯ เกี่ยวกับ “อาชญากรรมจากความเกลียดชัง” ที่ปมมาจากการ “เหยียดเชื้อชาติ” ในหลายเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ ว่า ยังคงเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจของ 15 เมืองใหญ่ที่มีประชากรรวมกัน 25.5 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าจำนวนเหตุร้ายที่มีอคติเป็นมูลเหตุเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 5 ในปีนี้ ขณะข้อมูลขนาดใหญ่กว่าจาก 52 เมืองใหญ่ แสดงให้เห็นว่าอาชญากรรมจากความเกลียดชังในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 30 ในปี 2021 เว็บไซต์เบรกกิงนิวส์เท็กซัสรายงานว่า อาชญากรรมจากความเกลียดชังในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเหตุจากหลายปัจจัยตั้งแต่ทัศนคติต่อต้านชาวเอเชียที่พุ่งสูงในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จนถึงความเกลียดชังคนผิวดำเพราะการประท้วงสนับสนุนความยุติธรรมทางเชื้อชาติที่ปะทุขึ้นทั่วประเทศเมื่อปี 2020 หลังเกิดเหตุสังหารชายชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน “จอร์จ ฟลอยด์” ขณะถูกตำรวจควบคุมตัว…

“เครือข่ายดาวเทียม” อนาคตของการติดต่อ ดีกว่าสัญญานจากเสาโทรศัพท์ไหม?

Loading

  จากข่าวที่ทั่วโลกได้ให้ความสนใจกัน T-Mobile ได้จับมือกับ Space X หรืออีลอน มัสก์ เพื่อร่วมมือกันสร้างเครือข่ายมือถือดาวเทียม ซึ่งทำให้พื้นที่ห่างไกลหรืออับสัญญาน ก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารได้ เครือข่ายมือถือดาวเทียม คือ แตกต่างกับเครือข่ายมือถือทั่วไป เพราะดาวเทียมที่ไม่ต้องพึ่งพาเสาสัญญานเหมือนกับเสาโทรศัพท์ทั่วไป     สัญญาณจากอุปกรณ์ดาวเทียมส่งตรงไปยังดาวเทียมที่ใกล้ที่สุด ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังเกตเวย์ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์ที่รับ โทรศัพท์ที่รับอาจเป็นโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ หรือโทรศัพท์แบบอื่นก็ได้ ความจริงที่ว่าสัญญาณดาวเทียมถูกส่งไปไกลกว่าพื้นโลกและไม่พึ่งพาเสาสัญญาณคือสิ่งที่ทำให้พวกเขามีประโยชน์ในพื้นที่ห่างไกล เช่น มหาสมุทร พื้นที่ทุรกันดาร ป่าและหุบเขาต่างๆ หรือแม้แต่ทะเลทรายก็ใช้ได้ โทรศัพท์ดาวเทียมในปัจจุบันจึงมีประโยชน์มากกว่าในสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากโทรศัพท์เหล่านี้ไม่ต้องพึ่งพาเสาและเครือข่ายบนพื้นดินเพื่อใช้งาน เจ้าหน้าที่รับมือเหตุฉุกเฉินจำนวนมากต้องพึ่งพาโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมเพราะสามารถสื่อสารได้แม้ในระหว่างที่ไฟฟ้าดับ เครือข่ายมือถือ (เซลลูล่าร์) กับ เครือข่ายดาวเทียม ต่างกันอย่างไร? เนื่องจากปัจจุบันเครือข่ายดาวเทียมมีราคาสูงมาก จึงมักถูกใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น หรือพื้นที่ห่างไกล แต่การที่ T-Mobile ได้ร่วมมือกับ SpaceX เพื่อที่จะพัฒนาการใช้ดาวเทียมให้เข้าถึงผู้คนมากขึ้น ซึ่งในปี 2023 นี้จะทำการขยายและร่วมมือกับเครือข่ายโทรศัพท์ทั่วไปที่มีในปัจจุบันให้สามารถร่วมใช้งานดาวเทียมได้ ปัจจุบันการส่งข้อความ 1 ครั้งของโทรศัพท์ดาวเทียมต้องใช้เวลานานถึง 30 นาที ความหวังของคนทั่วโลกคงต้องรอการพัฒนาจากสองบริษัทยักษ์ใหญ่นี้ เราอาจได้มีโอกาสใช้โทรศัพท์ดาวเทียมกันในชีวิตประจำวัน…

ผลสำรวจดัชนีดิจิทัลไทย ชี้คนไทยต้องการใช้อินเทอร์เน็ตฟรีมากที่สุด

Loading

  ผลสำรวจดัชนีดิจิทัลพบคนไทยเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ต 85% แต่ต้องการนโยบายฟรีอินเทอร์เน็ตมากที่สุด ขณะที่สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากภาคธุรกิจดิจิทัลโตไม่ถึง 1% มูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมไอซีทีต่อจีดีพีคิดเป็น 3.32% นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการศึกษาโครงการศึกษา Thailand Digital Outlook ประจำปี พ.ศ.2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และได้ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงดีอีเอส ได้แก่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ดำเนินการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดและสถิติด้านการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย พบว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 85% โดยกลุ่มผู้ใช้งานหลัก ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน นักศึกษา แม้ว่าความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่นโยบายที่ประชาชนต้องการมากที่สุด คือ บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่มีค่าใช้จ่าย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มการเข้าถึง และการสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกัน พบว่า 78.83% ของธุรกิจไทยมีการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น เริ่มบุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น ส่วนหน่วยงานบริการปฐมภูมิทั่วประเทศ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล มีการใช้งานและติดตั้งอินเทอร์เน็ต…

วิธีดูกล้อง CCTV ทางหลวง ด้วย Highwaytraffic เช็กน้ำท่วมถนน ก่อสร้าง อุบัติเหตุ รถติดในต่างจังหวัดแบบ real time

Loading

  วิธีดูกล้อง CCTV ทางหลวง ด้วย Highwaytraffic ซึ่งเป็นเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่สามารถดูกล้อง CCTV ดูทางหลวงสำคัญทั่วประเทศไทย จากเดิมที่เคยนำเสนอกล้อง CCTV ในกรุงเทพมหานคร มาแล้ว คราวนี้ถึงคิวสำหรับผู้ที่เดินทางต่างจังหวัด หรือผู้ที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดใกล้ทางหลวงหรือจำเป็นต้องใช้เส้นทางทางหลวง สามารถดูเส้นทางในรูปแบบกล้อง CCTV ว่ามีรถติดเนื่องจากก่อสร้าง หรือเจอน้ำท่วมหรือไม่   วิธีดูกล้อง CCTV ทางหลวง ด้วย Highwaytraffic   เพียงเข้าเว็บไซต์ highwaytraffic.go.th ก็จะแสดงเป็นแผนที่ประเทศไทย พร้อมไอคอนรูปดาวแทนกล้อง CCTV นั่นเอง เมื่อคลิกที่ดาว จะแสดงวิดีโอ CCTV ที่อัปเดตตลอดเวลาให้คุณชมด้วย     นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชันแอปด้วย Highway Traffic เช่นกัน ดาวน์โหลดได้ทั้งบน App Store สำหรับ iOS และ Play Store สำหรับ Android     โดยเมื่อแตะที่หมุดที่มีไอคอนกล้อง…

AMBER Alert ไทย ใช้ยังไง ? ระบบช่วยตามหาเด็กหาย-ถูกลักพาตัว ด้วยพลังโซเชียล

Loading

  หลังจาก Meta เปิดตัว AMBER Alert ระบบช่วยตามหาเด็กหาย-ถูกลักพาตัว ด้วยพลังโซเชียล ผ่านการแจ้งเตือนบน Facebook และ Instagram มันใช้ยังไง ?   วิธีการทำงานของระบบ AMBER Alert บนแพลตฟอร์มของ Meta อย่าง Facebook และ Instagram คือ เมื่อตำรวจได้รับแจ้งและวิเคราะห์ข้อมูลของเด็กที่หายไป เช่น การลักพาตัว หากตำรวจตัดสินใจแล้วว่าเคสนี้เร่งด่วน ก็จะส่งให้ศูนย์ประสานงาน Meta ทำการส่งแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในรัสมี 160 กิโลเมตร(100 ไมล์) จากจุดที่ถูกลักพาตัว   โดยภายในแจ้งเตือนจะมีรูป เบาะแสให้สังคมช่วยสังเกตุ เช่น ป้ายทะเบียนรถ ชุดที่เด็กใส่ เป็นต้น และในโพสต์นั้นก็จะมีช่องทางติดต่อเพื่อให้เบาะแสต่าง ๆ ซึ่งหากเราพบเบาะแสก็สามารถส่งข้อมูลตามเบอร์ในโพสต์หรือแจ้งที่สถานีตำรวจท้องถิ่นได้ ถ้าลูกเราหาย ต้องทำอย่างไร ?   ในกรณีที่พบว่าบุตรหลานของเราตกเป็นเหยื่อถูกลักพาตัว ก็สามารถแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจใกล้บ้านได้ทันที และเมื่อตำรวจได้รับแจ้งก็จะเข้าสู่ขั้นตอนสืบสวน ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงและต้องอาศัยสายตาสอดส่องจากประชาชนเป็นการเร่งด่วน ตำรวจก็จะส่งเรื่องไปยังศูนย์ประสานงานได้ทันที…