ทรัมป์เผชิญคดีอะไรบ้างก่อนถูกหมายค้นเอฟบีไอ?

Loading

  เมื่อวันจันทร์ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ เข้าค้นรีสอร์ทมาร์อะลาโกในเมืองปาล์มบีช รัฐฟลอริดา ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของเขา ในขณะที่เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไม่ได้มีความเห็นโดยทันทีต่อคำกล่าวอ้างของทรัมป์ และยังไม่ชัดเจนว่า เป้าหมายของการสืบสวนครั้งนี้คืออะไร รอยเตอร์สรุปคดีและการไต่สวนที่อดีตผู้นำสหรัฐฯ กำลังเผชิญก่อนเหตุค้นบ้านในครั้งนี้ พบเอกสารรัฐบาลซุกในบ้านทรัมป์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ “หอจดหมายเหตุแห่งชาต”” ของสหรัฐฯ แจ้งแก่รัฐสภาอเมริกันว่า พบเอกสารทำเนียบขาวจำนวนราว 15 กล่อง ที่บ้านของทรัมป์ในรัฐฟลอริดา โดยเอกสารบางส่วนมีข้อมูลลับ คณะกรรมการตรวจสอบดูแลของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในขณะนั้น ระบุว่า ได้ขยายการสืบสวนการกระทำของทรัมป์ และขอให้หอจดหมายเหตุมอบข้อมูลเพิ่มเติมให้คณะกรรมการ โดยก่อนหน้านั้น ทรัมป์ยืนยันว่าได้ตกลงคืนบันทึกส่วนหนึ่งให้ทางหอจดหมายเหตุแล้ว โดยระบุว่า ขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่อง “ปกติธรรมดา” เหตุโจมตีอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2021 คณะกรรมการสืบสวนเหตุโจมตีอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ โดยกลุ่มผู้สนับสนุนทรัมป์ กำลังเก็บข้อมูลการผิดกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น จากความพยายามพลิกผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2020 ลิซ เชนีย์ รองประธานคณะกรรมการ ระบุว่า ทางคณะกรรมการสามารถทำเรื่องไปยังกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เพื่อตั้งข้อหาตามคดีอาญาต่อทรัมป์ได้ ในขณะที่ทรัมป์กล่าวหาว่า คณะกรรมการดังกล่าวทำการสืบสวนแบบ “ลวงโลก”…

เหตุใดเอกสารของ ปธน.เป็นของรัฐกลางอเมริกัน – ไม่ใช่ของส่วนตัว

Loading

  สืบเนื่องจากข่าวใหญ่เมื่อเย็นวันจันทร์ตามเวลาสหรัฐฯ ที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานสืบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ ใช้หมายค้นเข้าไปหาหลักฐานในบ้านของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่ยังไม่เป็นที่ทราบเเน่ว่าอะไรคือเหตุผลอย่างเฉพาะเจาะจงที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ผู้สื่อข่าววีโอเอ ดอรา เมคัวร์ รายงานว่า สิ่งที่ทราบตอนนี้คือ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังสืบสวนกล่องเอกสารที่มีข้อมูลลับ ซึ่งพบว่าถูกเก็บไว้ที่บ้านของทรัมป์ ในรัฐฟลอริดา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์สำนักข่าวเอพีรายงานว่า พบเอกสารที่มีข้อมูลลับของทำเนียบขาวบรรจุอยู่ในกล่อง 15 ใบ ที่ถูกนำไปเก็บที่ มาร์-อะ-ลาโก ซึ่งเป็นบ้านของทรัมป์ในฟลอริดา ตามการอ้างของหน่วยงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือ National Archives and Records Administration ในตอนนั้นไม่เป็นที่ทราบเเน่ชัดว่ากระทรวงยุติธรรมและเอฟบีไอจะสืบสวนเหตุดังกล่าวต่อหรือไม่ คำถามที่ตามมาในตอนนี้คือ เหตุใดเอกสารของประธานาธิบดีที่เกี่ยวกับการทำงานในตำแหน่ง เช่น บันทึกการโทรศัพท์เข้า-ออก และจดหมายที่เขียนด้วยลายมือ จึงไม่ใช่ของส่วนตัวของประธานาธิบดี แต่เป็นของรัฐบาลกลาง ภายใต้การดูเเลของหน่วยงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมแกน โรอัน กูธอน รักษาการรองหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวว่า ข้อมูลเกี่ยวกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสมบัติของรัฐบาลอเมริกัน   FILE PHOTO: Former U.S. President Donald Trump…

5 เหตุผลทำไม ‘DAST’ คืออนาคต แอปซิเคียวริตี้ (จบ)

Loading

  ถ้ามีสิ่งที่สามารถตรวจสอบแอปได้ ก็จะช่วยทำให้มีระบบที่ดี ซึ่งอาจเกินกว่ามาตรฐานทั่วไปและมีความถูกต้องแม่นยำอีกด้วย จากครั้งก่อนผมได้พูดถึง 3 ความสำคัญของการทดสอบความปลอดภัยแอปพลิเคชันแบบไดนามิก (Dynamic Application Security Testing : DAST) ซึ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอนาคตของ “แอปซิเคียวริตี้” วันนี้ผมขอนำเสนออีก 2 เหตุผลที่เหลือครับ 4. Deploy ได้อย่างรวดเร็วและได้รับ real value อย่างรวดเร็ว : Modern DAST มีข้อได้เปรียบอย่างมากโดยเฉพาะ deployment ได้อย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากศูนย์ไปจนได้ผลลัพธ์ภายในเวลาไม่กี่วัน หรือ ไม่มีชั่วโมง เพราะเป็น technology-agnostic คือใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ อย่างเป็นกลาง DAST solution ที่ดีจึงต้องการการตั้งค่าและการกำหนดค่าเพียงเล็กน้อยเพื่อเริ่มการทดสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตั้งค่าการตรวจสอบสิทธิ์และพารามิเตอร์เฉพาะไซต์ เช่น anti-CSRF token ที่กำหนดเอง ด้วยผลิตภัณฑ์ DAST จำนวนมากที่มาพร้อมการผสานการทำงานที่พร้อมใช้งานทันทีกับเครื่องมือติดตามปัญหาและระบบยอดนิยมอื่นๆ การเชื่อมต่อการทดสอบความปลอดภัยของแอปพลิเคชันเข้ากับเวิร์กโฟลว์ที่มีอยู่จึงอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที เวลาสำหรับการทำ deployment ถือว่ามีความสำคัญ เพราะการซื้อโซลูชันการทดสอบเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยปรับปรุงความปลอดภัย จนกว่าจะมีโซลูชันที่ทำงานอยู่และรายงานปัญหาด้านความปลอดภัยที่สามารถดำเนินการได้ซึ่งนักพัฒนาสามารถแก้ไขได้ ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ…

รัสเซีย-ยูเครน : ทำไมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริเฟียตกเป็นเป้าโจมตีบ่อย

Loading

ทหารรัสเซียยืนอยู่หน้าโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซาโปริเฟีย สหประชาชาติและนานาประเทศหวั่นเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ หลังการยิงถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ที่ตั้งอยู่ในยูเครน แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ตกเป็นเป้าโจมตี หรือสมรภูมิรบ นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติเตือนว่า การโจมตีโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซาโปริเฟีย ทางตอนใต้ของยูเครนเป็นการกระทำที่เหมือน “การฆ่าตัวตาย” โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพรัสเซีย ตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ตกเป็นเป้าโจมตีอีกครั้ง โดยรัสเซียและยูเครนต่างกล่าวโทษอีกฝ่ายว่าอยู่เบื้องหลัง “การโจมตีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เป็นการฆ่าตัวตาย ผมหวังว่าการโจมตีในลักษณะนี้จะจบลงเสียที และผมหวังว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency–IAEA) จะเข้าถึงโรงไฟฟ้าได้” นายกูเตร์เรส กล่าว คำกล่าวของเลขาฯ ยูเอ็น ยังเกิดขึ้นหลังเขาเดินทางเยือนเมืองฮิโรชิมาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมขึ้นปราศรัยในโอกาสครบ 77 ปีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มเมืองแห่งนี้ ซึ่งถือเป็นเมืองแรกของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยนายกูเตร์เรสเตือนว่า “มนุษยชาติกำลังเล่นกับปืนบรรจุกระสุน” เกิดอะไรขึ้น ซาโปริเซีย เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ปัจจุบัน กองทัพรัสเซียควบคุมโรงงาน นับแต่ต้นเดือน มี.ค. หรือเพียงไม่นานหลังส่งทหารบุกยูเครนเมื่อปลายเดือน ก.พ. การสู้รบในบริเวณโรงไฟฟ้าแห่งนี้เคยก่อให้เกิดความวิตกกังวลว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างโรงไฟฟ้าอาจปะทุเป็นวิกฤตนิวเคลียร์ขึ้นมาได้ และจะเลวร้ายกว่าเมื่อครั้งที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เกิดการหลอมละลายและระเบิดขึ้นเมื่อปี 1986 การสู้รบในบริเวณโรงงานซาโปริเซียปะทุขึ้นอีกในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างโรงงานหลายจุด จนเจ้าหน้าที่ต้องปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ลงเพื่อความปลอดภัย รัสเซียและยูเครนกล่าวโทษอีกฝ่ายที่ก่อเหตุโจมตีโรงงาน…

คอลัมน์ “นอกหน้าต่าง”: การที่ปักกิ่งซ้อมรบใหญ่รอบเกาะไต้หวันคราวนี้ ทำให้เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ ‘การทหารของจีน’

Loading

การที่จีนซ้อมรบด้วยกระสุนจริงรอบๆ ไต้หวัน ซึ่งได้เห็นเรือรบแดนมังกรหลายลำเข้าโอบล้อมเกาะแห่งนี้ กลายเป็นการเสนอโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เกี่ยวกับวิธีการซึ่งปักกิ่งอาจจะนำมาใช้ในการเปิดยุทธการทางทหารเพื่อโจมตีบุกยึดดินแดนซึ่งพวกเขาถือเป็นมณฑลกบฏของตนแห่งนี้ ปักกิ่งยังได้ประกาศมาตรการแซงก์ชันทางเศรษฐกิจและเพิ่มความพยายามในการโดดเดี่ยวไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศ ในความเคลื่อนไหวซึ่งพวกผู้เชี่ยวชาญบอกว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมในช่องแคบไต้หวันไปอย่างถาวร ต่อไปนี้คือคำถามคำตอบบางข้อเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเรียนรู้ได้จากการที่จีนนำกำลังทหารออกมาเอ็กเซอร์ไซส์รอบๆ เกาะไต้หวันครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาคราวนี้ จีนสามารถที่จะดำเนินการปิดล้อมไต้หวันได้หรือไม่? ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่กองทัพจีนดำเนินการซ้อมรบที่บริเวณน่านน้ำฟากตะวันออกของเกาะไต้หวัน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่สุดในทางยุทธศาสตร์สำหรับการจัดส่งอาวุธยุทธสัมภาระต่างๆ ให้แก่กองทหารของเกาะ –รวมทั้งสำหรับการเดินทางเข้ามาของกำลังหนุนใดๆ จากฝ่ายอเมริกันที่อาจจะมีขึ้น นี่ถือเป็นลางร้ายสำหรับฝ่ายไต้หวัน ในการที่ปักกิ่งกำลังส่งสัญญาณแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเวลานี้สามารถปิดล้อมเกาะแห่งนี้ทั้งเกาะ อีกทั้งสามารถที่จะป้องกันห้ามปรามการเข้าออกของเรือและเครื่องบินไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายพลเรือน หรือของฝ่ายทหาร พวกนักวิเคราะห์คาดเดากันมานานแล้วว่า นี่น่าจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญอย่างหนึ่งที่จีนจะหยิบมาใช้ในกรณีเกิดสงครามบุกยึดไต้หวันขึ้นมา คริสโตเฟอร์ ทูมีย์ (Christopher Twomey) นักวิชาการด้านความมั่นคงแห่งสถาบันบัณฑิตนาวีสหรัฐฯ (US Naval Postgraduate School) ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้ความเห็นว่า จากวิกฤตครั้งนี้เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่า ปักกิ่งนั้นมีความสามารถที่ดำเนินการตอบโต้ในลักษณะเช่นนี้ และกระทั่งสามารถกระทำด้วยความดุเดือดเข้มข้นยิ่งขึ้นอีกด้วยซ้ำ ตามแต่ที่พวกเขาปรารถนา กระนั้นก็ดี เขาชี้ว่า “การรักษา (การปิดล้อม) เอาไว้เป็นสิ่งที่จะต้องใช้ต้นทุนสูงมาก ทั้งต้นทุนในด้านชื่อเสียงเกียรติภูมิของจีน และต้นทุนโดยตรงสำหรับการดำเนินการการทหารของจีน” ขณะที่จีนในปัจจุบันเผชิญกับภาวะย่ำแย่ทางเศรษฐกิจ จึงหมายความว่าแดนมังกรไม่น่าต้องการเสี่ยงภัยทำให้เกิดการสะดุดติดขัดอย่างใหญ่โตมโหฬารขึ้นมาในช่องแคบไต้หวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางสัญจรทางน้ำที่คึกคักวุ่นวายที่สุดของโลก อย่างน้อยก็สำหรับในตอนนี้ ฝ่ายทหารของจีนพร้อมรบขนาดไหน? จีนมีการขยายและปรับปรุงยกระดับกำลังทหารทั้งทางอากาศ อวกาศ และทางทะเลของตนอย่างรวดเร็วมาก ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะสำแดงอำนาจของตนออกไปทั่วโลก และลดช่วงห่างทางทหารที่ตามหลังสหรัฐฯ อยู่ให้หดแคบลงมา ทว่าถึงแม้สมรรถนะทางทหารของปักกิ่งไล่ไม่ทันของวอชิงตัน…

ทำไม “จีน” ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “ไต้หวัน” คือดินแดนที่แยกจากจีนไม่ได้?

Loading

  ในบทความนี้ “อ้ายจง” มาวิเคราะห์ข้อมูลจากทางจีนที่ชี้แจงสู่ประชาคมโลกถึงเหตุผลว่า ทำไมจีนถึงยืนกรานอย่างหนักแน่นในประเด็น “ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ไม่สามารถแยกได้” ประเด็นความตึงเครียดสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน ระหว่าง จีนแผ่นดินใหญ่ และ ไต้หวัน โดยมีบุคคลที่สามเข้ามาเอี่ยวด้วยคือ สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นกระแสอันร้อนแรงที่จีนออกมาตรการต่างๆ ตอบโต้อย่างต่อเนื่องหลัง แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา เดินทางไปเยือนไต้หวัน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 โดยไม่สนคำคัดค้านของทางจีน ที่ยืนยันมาโดยตลอดว่า ถ้าหาก “เพโลซี” เดินทางไปไต้หวัน นั่นหมายถึง การละเมิดคำมั่นสัญญาที่จีนและอเมริกากระทำไว้ในปี 1979 เมื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตว่า “อเมริกาจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นทางการกับไต้หวัน” แต่การเดินทางของเพโลซีครั้งนี้ จีนถือว่าเป็นทางการ ทั้งไปในฐานะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกา และไปด้วยเครื่องบินทหารกองทัพอเมริกา เป็นการบ่งบอกถึง “ต้องการสานสัมพันธ์กับไต้หวันอย่างเป็นทางการ” ดังนั้น ในบทความนี้ อ้ายจง จึงวิเคราะห์ข้อมูลจากทางจีนที่ชี้แจงสู่ประชาคมโลกถึงเหตุผลของพวกเขา เพื่อตอบคำถามที่หลายคนอาจสงสัยและติดค้างในใจว่า ทำไมจีนถึงยืนกรานอย่างหนักแน่นและดูเหมือนจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงได้ ในประเด็น “ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ไม่สามารถแยกได้” 1. จีนอ้างอิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ชายฝั่งทะเล ที่จัดทำโดย เสิ่น…