ไทยรั้งท้าย ‘ดัชนีดิจิทัล’ เอเชียแปซิฟิก วิกฤติ ‘บุคลากร’ อุปสรรคใหญ่

Loading

  ดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลภูมิภาคเอเชีย-แปซิก ประจำปี 2565 โดย “ไอดีซี” และ “Workday” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านการเงินและทรัพยากรบุคคลสำหรับองค์กร ระบุว่า องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย 91% ยังคงล้าหลังในเรื่องของความคล่องตัวทางดิจิทัล (Digital Agility)   “ไอดีซี” และ “Workday” เผยว่า ดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลขององค์กรไทยจัดอยู่ในระดับที่ “ดำเนินการล่าช้า” หรือ “กำลังวางแผน” ซึ่งนับว่าสวนทางกับโอกาสในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และการปรับใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด   นอกจากนี้ พบด้วยว่าในแง่ของการสรรหาและดึงดูดบุคลากร ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญถือเป็นหนึ่งในปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรไทย และเป็นอุปสรรคต่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น     ไทยรั้งท้าย ตกไปอยู่ที่อันดับ 9   จากผลการศึกษา พบว่า 9 ประเทศที่ได้รับการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีระดับความก้าวหน้าด้านความคล่องตัวทางดิจิทัลที่แตกต่างกัน   สำหรับองค์กรไทย มีเพียง 9% เท่านั้นที่มีความคล่องตัวทางดิจิทัลในระดับสูง ส่งผลให้ไทยครองอันดับ 9 โดยลดลงหนึ่งอันดับเมื่อเทียบกับการจัดอันดับเมื่อปี 2563   โดยไทยถูกแซงหน้าโดยอินโดนีเซีย ซึ่งครองอันดับ 8…

Meta ไม่ใช่คนแรก กองทัพสหรัฐยืนหนึ่ง สร้าง metaverse สำเร็จแล้ว

Loading

  ตั้งแต่ Facebook เริ่มรีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta เมื่อปลายปีที่แล้ว ดูเหมือนว่าทุกอุตสาหกรรมพยายามที่จะเอาตัวเองไปผูกติดอยู่กับ metaverse ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่เชื่อหรือไม่ว่า ยังมีหน่วยงานบางแห่งที่ทรงพลังมากกว่า Meta เสียอีก และสร้าง metaverse จริง ๆ ขึ้นมาได้สำเร็จแล้ว นั่นคือ กองทัพของสหรัฐนั่นเอง   US.Army ได้สร้างโปรแกรมฝึกทหารที่เรียกว่า Their Synthetic Training Environment (STE) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 2017 มีเป้าหมายที่จะแทนที่โปรแกรมการจำลองแบบดั้งเดิมทั้งหมด และจะรวมระบบต่าง ๆ เข้าไว้ในระบบเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ทั้งหมด   STE นั้นแตกต่างจากวิธีการแบบเดิมที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น หากจะโฮสต์ฝาแฝดดิจิทัล หรือ Digital Twins ของโลกใบนี้ขึ้นมา เขาจะใช้สถาปัตยกรรมคลาวด์ที่มีจุดเด่นในการขยายขนาดได้อย่างอิสระ และจะสตรีมข้อมูลภูมิประเทศที่มีความเที่ยงตรงสูง (ภาพถ่ายเหมือนจริง) ไปยังการจำลองที่เชื่อมต่อแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ ตัวอย่างเช่น ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในเครื่องจำลองรถถังจะมองเห็นต้นไม้ พุ่มไม้ และสิ่งปลูกสร้างเดียวกันกับนักบินในเครื่องจำลองการบินที่เชื่อมต่อกัน ทำให้การสื่อสารและการสนับสนุนทางอากาศทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น…

Focus : เทียบชัดๆ แสนยานุภาพ ‘จีน-ไต้หวัน’ ใครอยู่-ใครไปหากเกิดสงครามเต็มขั้น

Loading

การเยือนกรุงไทเปของ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ทำให้ข้อพิพาทเรื้อรังระหว่างจีนกับไต้หวันกลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าที่ทั่วโลกจับตามองในสัปดาห์นี้ ขณะที่หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าความตึงเครียดที่เกิดขึ้นอาจกระตุ้นให้ปักกิ่งเพิ่มแรงบีบต่อไต้หวัน หรืออาจตัดสินใจบุกยึดในอีกไม่ช้า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่าโอกาสรอดของไต้หวันนั้นมีน้อยมาก หากว่าจีนตัดสินใจใช้ปฏิบัติการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบเข้ายึดเกาะแห่งนี้ “เมื่อคุณตั้งคำถามว่าจีนสามารถทำได้หรือไม่ คุณกำลังมองถึงต้นทุนปฏิบัติการที่จีนจะต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรือรบหรือกำลังพลที่อาจต้องสูญเสียไป ซึ่งจีนมีกำลังพอที่จะทำได้แน่นอน” ดร.โอเรียนา สไกลาร์ แมสโตร ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย ให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์กไทม์ส “ทว่าไต้หวันเองก็มีอาวุธที่จะป้องกันตัวเอง และหากสหรัฐฯ ยื่นมือเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยไต้หวัน คำถามคือสงครามครั้งนี้จะนำไปสู่การนองเลือดมากขนาดไหน?”     +++ ข้อมูลจาก Global Fire Power 2022 ให้ตัวเลขเปรียบเทียบแสนยานุภาพทางทหารระหว่างจีนกับไต้หวันเอาไว้ดังต่อไปนี้ +++ – จีนมีทหารประจำการพร้อมรบราว 2 ล้านนาย และมีกองกำลังสำรอง 510,000 นาย ขณะที่ไต้หวันมีทหารประจำการราว 170,000 นาย แต่มีกองกำลังสำรองมากถึง 1.5 ล้านนาย – กองทัพจีนมีเครื่องบินทั้งหมด 3,285 ลำ ขณะที่ไต้หวันมี 741 ลำ – จีนมีฝูงบินขับไล่มากถึง…

ส่องขีปนาวุธสุดแม่นยำที่สหรัฐฯใช้สังหาร ‘อัลซาวาฮิรี’ หัวหน้าอัลเคดา

Loading

  – สหรัฐฯ ประกาศก้องโลก ส่งโดรนยิงมิสไซล์เด็ดชีพ อัยมาน อัลซาวาฮิรี หัวหน้ากลุ่มอัลเคดา ในกรุงคาบูล เมืองหลวงอัฟกานิสถาน หลังพยายามตามล่ามานานหลายปี – ผู้เชี่ยวชาญคาด ขีปนาวุธที่สหรัฐฯใช้ในปฏิบัติการสังหารอัลซาวาฮิรีในครั้งนี้ เป็นขีปนาวุธเฮลไฟร์ R9X มีลักษณะเด่น อยู่ที่เป็นขีปนาวุธติดใบพัด 6 ใบ สามารถบินไปสังหารเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ จนไม่ทำให้ผู้บริสุทธิ์คนอื่นเคราะห์ร้ายไปด้วย –  เชื่อซีไอเอ ส่งสายลับเฝ้าติดตามดูลักษณะนิสัยของอัลซาวาฮิรีมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ จนมั่นใจว่าชอบออกมาที่ระเบียงบ้านหลังเสร็จจากการละหมาดตอนเช้า ก่อนจะส่งโดรนไปยิงขีปนาวุธปลิดชีพได้สำเร็จ ปฏิบัติการเด็ดชีพนายอัยมาน อัลซาวาฮิรี ผู้นำกลุ่มอัลเคดาโดยสหรัฐฯ สร้างความตกตะลึงให้กับชาวโลกอีกครั้ง เมื่อได้เห็นชะตากรรมของอัลซาวาฮิรี มีบทจบไม่ได้แตกต่างไปจาก โอซามา บินลาเดน อดีตหัวหน้าอัลเคดา กลุ่มก่อการร้ายหมายเลขหนึ่งของโลก ที่ก่อเหตุวินาศกรรม 9/11   โอซามา บินลาเดน (ซ้าย) และอัยมาน อัลซาวาฮิรี หัวหน้ากลุ่มอัลเคดา ถูกสหรัฐฯ ตามล่าสังหารทั้งคู่ หลังก่อเหตุวินาศกรรม 9/11 11 ปี ผ่านไป หลังบินลาเดนถูกหน่วยซีลของสหรัฐฯ บุกปลิดชีพที่ปากีสถานในปี…

AI ในอนาคต (จบ)

Loading

  หาทางเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตเป็นทางเลือกที่ดีกว่า หลายสิบปีก่อนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และปัจจุบันเราก็กำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนอีกครั้งด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอที่ทำให้จินตนาการของเราที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์ในอดีตเป็นจริงในวันนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ไร้คนขับ ร้านค้าไร้พนักงาน ระบบการเงิน การธนาคารที่ใช้เอไอวิเคราะห์แทนพนักงานไปจนถึงการบริการลูกค้าผ่านแชตบอต ฯลฯ รวมไปถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ โดยเฉพาะการรักษาโรคที่มีความสลับซับซ้อน หรือการคิดคันยารักษาโรคใหม่ๆ ที่ล้วนมีเอไอและบิ๊กดาต้าอยู่เบื้องหลัง แต่โอกาสที่เกิดขึ้นจากเอไอก็มาพร้อมความเสี่ยงของหลายๆ สาขาอาชีพที่กำลังจะถูกเทคโนโลยีเอไอเข้ามาทำหน้าที่แทน โดยเฉพาะงานที่ทำซ้ำๆ ไม่สลับซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตัวมากนักก็ล้วนมีแนวโน้มว่าจะถูกทดแทนโดยคอมพิวเตอร์ ความก้าวหน้าของเอไอจึงเริ่มจากงานง่ายๆ ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยทักษะมากนัก เช่น งานเอกสาร การวิเคราะห์ตัวเลขที่มีรูปแบบตายตัว แต่ทุกวันนี้ด้วยการใช้ Deep Learning , Machine Learning และการสอนให้คอมพิวเตอร์เข้าใจโจทย์ที่มนุษย์ต้องการ เราจึงเห็นการใช้งานที่สลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์อย่างการวาดภาพ การแต่งเพลง ไปจนถึงการเขียนเรื่องสั้น ในช่วงเวลานี้จึงเหมาะที่สุดแล้วที่เราจะได้ทบทวนตัวเองอีกครั้ง ด้วยเวลาที่เรามีเหลือจากการทำงานมากขึ้นเพราะเอไอเข้ามารับผิดชอบแทน เราจึงควรขบคิดว่ามูลค่าที่แท้จริงของตัวเราอยู่ตรงไหน และจะใช้เวลาที่ได้เพิ่มขึ้นมานี้เพิ่มพูนทักษะอะไรขึ้นมาอีก เพราะนับต่อจากนี้ไปความผันผวนที่เกิดขึ้นจากมุมใดของโลกก็ตามจะส่งผลกระทบไปถึงทุกประเทศทั่วโลกไม่ต่างอะไรกับโรคโควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เช่นเดียวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครนและความขัดแย้งล่าสุดคือจีนกับไต้หวัน ยังไม่นับรวมวิกฤติจากภาวะโลกร้อนที่เราจำเป็นต้องหาทางรับมือจนทำให้วิถีในการทำงานของเราต้องเปลี่ยนไป การมาถึงของเทคโนโลยีเอไอจึงเป็นเพียงอีกปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เราจึงต้องใช้ทัศนคติเชิงบวกมองการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายให้เป็นโอกาสให้มากที่สุด ย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง ซึ่งสิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นแต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังเกิดขึ้นตามมาอีกมหาศาล ไม่ต่างอะไรกับในอดีตที่คนเรามองรถจักรไอน้ำว่าเป็นเพียงรถไฟสำหรับขนส่ง แต่ในความเป็นจริงมันก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ ที่เปลี่ยนรูปแบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งโลกจนไม่ต้องขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์อีกต่อไป ในยุคนั้นแน่นอนว่าต้องมีคนตกงานนับล้านคนทั่วโลกเพราะถูกเครื่องจักรกลเข้ามาทำงานแทนที่ แต่ยุคนั้นก็ทำให้เกิดการยกระดับการเรียนรู้ครั้งใหญ่เพราะมนุษย์เห็นแล้วว่าลำพังเพียงแรงงานไม่อาจใช้หาเลี้ยงชีพให้กับตัวเองได้ต่อไป…

รู้จัก อัยมาน อัล-ซาวาฮิรี จากศัลยแพทย์ สู่ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายอัลเคด้า

Loading

  รู้จัก อัยมาน อัล-ซาวาฮิรี จากศัลยแพทย์ สู่ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายอัลเคด้า ชื่อของ “อัยมาน อัล-ซาวาฮิรี” กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งหลังจากโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ แถลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า สหรัฐอเมริกา เปิดปฏิบัติการส่งโดรนโจมตีเข้าใส่เป้าหมายและสามารถสังหารนาย “อัยมาน อัล-ซาวาฮิรี” หัวหน้ากลุ่มก่อการร้าย “อัลเคด้า” วัย 71 ปีที่กบดานอยู่ในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถานได้สำเร็จ   อัยมาน อัล-ซาวาฮิรี เป็นที่ต้องการตัวจากสหรัฐอเมริกามายาวนาน 21 ปี ในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในเหตุก่อการร้ายของกลุ่มอัลเคด้า โดยมีเป้าหมายที่สหรัฐอเมริกาหลายครั้งโดยเฉพาะเหตุการณ์ก่อการร้ายด้วยการใช้เครื่องบินพาณิชย์พุ่งชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเหตุก่อการร้าย 9/11 เหตุการณ์ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 ราย   ประกาศจับเผยแพร่โดยสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา (เอเอฟพี)   ด้านสหรัฐอเมริกาตั้งค่าหัวซาวาฮิรี เอาไว้สูงถึง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว…