ชินโสะ อาเบะ เสียชีวิตจากการถูกลอบยิงด้วยอาวุธทำมือ ในประเทศที่ปืนไม่ใช่ของหาง่าย

Loading

  Summary   – ระหว่างที่ ชินโสะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น วัย 67 ปี ถูกลอบยิง รายงานล่าสุดระบุว่า อาเบะเสียชีวิตแล้ว – อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ถูกยิงขณะกล่าวสุนทรพจน์ที่นารา ต่อหน้าผู้คนราว 200 กว่าคน ใกล้กับสถานีรถไฟยามาโตะ-ซาไดจิ – ชายผู้ก่อเหตุเป็นชาวนารา ยิงด้วยอาวุธประดิษฐ์เอง – ในปี 2019 ญี่ปุ่นมีพลเรือนครอบครองอาวุธปืนอย่างถูกกฎหมายเพียง 310,400 กระบอก จากประชากร 125 ล้านคน     ชินโสะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น วัย 67 ปี ถูกลอบยิง รายงานล่าสุดระบุว่า อาเบะเสียชีวิตแล้วจากการเสียเลือดมาก และหัวใจหยุดเต้นก่อนถึงมือแพทย์   ระหว่างที่ ชินโสะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กำลังกล่าวสุนทรพจน์ที่นารา ต่อหน้าผู้คนราว 200 กว่าคน ใกล้กับสถานีรถไฟยามาโตะ-ซาไดจิ…

Sophos เผย แฮกเกอร์ใช้เวลาแฝงตัวในระบบนานขึ้น 36%

Loading

  รายงาน Active Adversary Playbook 2022 จาก Sophos เผย ผู้โจมตีใช้เวลาอยู่ในระบบเพิ่มขึ้น 36% โดยอาศัยช่องโหว่ของ ProxyLogon และ ProxyShell และการซื้อข้อมูลใช้ในการล็อคอินจาก Initial Access Brokers แม้การใช้ Remote Desktop Protocol (RDP) สำหรับการเข้าบุกรุกจากภายนอกจะลดลง แต่ผู้โจมตีได้เพิ่มการใช้ RDP สำหรับ Lateral Movement ภายในองค์กรมากขึ้น โซฟอส (Sophos) บริษัทผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ระดับโลก เปิดรายงาน Active Adversary Playbook 2022 ซึ่งเผยรายละเอียดพฤติกรรมของผู้โจมตีที่ทีมตอบสนองอย่างฉับพลัน (Rapid Response) ของโซฟอส วิเคราะห์ได้ในปี 2564 โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เวลาที่ผู้โจมตีใช้อาศัยอยู่ในระบบเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 15 วันในปี 2564 และ 11 วันในปี…

ญี่ปุ่นอลหม่านวันสัญญาณดับ รพ.หน่วยกู้ภัยป่วนหนัก

Loading

  ชาวญี่ปุ่นเผชิญความปั่นป่วน หลังจากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่สัญญาณล่มนานกว่า 2 วัน ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 40 ล้านคน KDDI ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รายหลักของญี่ปุ่น ระบุว่า บริการการสื่อสารเกือบทั้งหมดทั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เสียงกลับมาใช้งานได้แล้วในช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม หลังจากเกิดเหตุขัดข้องรุนแรงกว่า 2 วัน เหตุขัดข้องครั้งใหญ่นี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม เป็นเวลานานกว่า 62 ชั่วโมง ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานมากกว่า 40 ล้านคน รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องทั้งแอปพลิเคชันต่างๆ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบแผนที่นำทาง ไปจนถึงระบบฉุกเฉินของโรงพยาบาลและหน่วยกู้ภัยต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน หนุ่มญี่ปุ่นวัย 34 ซึ่งเดินทางมาทำธุระต่างเมืองได้รับข้อความให้ “โทร.กลับด่วน” แต่เขาไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้เพราะสัญญาณล่ม เขาต้องวุ่นวายเพื่อหาโทรศัพท์สาธารณะอยู่นานจึงจะติดต่อธุระได้ เขาบอกว่าจำไม่ได้ว่าครั้งสุดท้ายที่ใช้โทรศัพท์สาธารณะคือเมื่อไหร่ นักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งนี่นัดหมายกันที่ย่านชิบุยะ ใจกลางกรุงโตเกียว พบว่าไม่สามารถติดต่อกันผ่านแอปไลน์ได้ และเมื่อหาโทรศัพท์สาธารณะได้แล้ว พบว่าไม่ได้บันทึกเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนเอาไว้ เพราะวัยรุ่นอย่างพวกเขาติดต่อกันผ่านแอปเท่านั้น ผู้ใช้งานเครือข่าย KDDI ยังพบกับความยุ่งยากเมื่อไม่สามารถใช้แผนที่นำทาง และชำระเงินผ่านแอปไม่ได้   ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในญี่ปุ่น ติดประกาศเรื่องสัญญาณล่มที่ด้านหน้าร้าน ระบบสื่อสารเกี่ยวพันถึงชีวิต เจ้าหน้าที่ของคลินิกอิโต โอจิ…

ทุกคนเชื่อ “ทฤษฎีสมคบ” | วรากรณ์ สามโกเศศ

Loading

  เรื่องราวแนว “ทฤษฎีสมคบ” มีคนจำนวนมากในโลกเชื่อ ถึงแม้ตัวเราเองก็ตามเถอะ หากซื่อสัตย์กับตัวเองก็ต้องยอมรับว่าเชื่ออยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรเพราะจิตวิทยาของมนุษย์เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่างเรื่องราวแนว “ทฤษฎีสมคบ” เช่น เอลวิส เพรสลีย์ ยังไม่ตาย , CIAเป็นผู้วางแผนเหตุการณ์ 9/11 , อเมริกาลวงโลกไม่ได้ถึงดวงจันทร์จริง , มนุษย์ต่างดาวมีจริง , ผู้มีอิทธิพลในโลกสมคบกันควบคุมเศรษฐกิจและการเมืองโลก , แตงโมถูกฆ่าตายอย่างทารุณ ฯลฯ เมื่อพูดถึง Conspiracy Theory หรือ “ทฤษฎีสมคบ” คนส่วนใหญ่มักเห็นภาพคนประหลาด หัวต่อต้านสังคม ผมยาว นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ใช้อินเทอร์เน็ต วันๆ สร้างเรื่องราวบ้าๆ บอๆ หลอกชาวโลก แต่หนังสือ Suspicious Minds (2015) โดย Rob Brotherton ชี้ให้เห็นว่าเป็นความเข้าใจผิด ความเชื่อแปลกๆ เหล่านี้มาจากคนจำนวนมากที่อยู่รอบตัวเรารวมทั้งตัวเราเองด้วย ลองมาดูกันว่าเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ในเบื้องแรกเรื่องราวจาก “ทฤษฎีสมคบ” เป็นผลพวงจากการไม่มีคำตอบอย่างครบถ้วนให้แก่คำถามสำคัญที่อยู่ในใจของผู้คนหรือคำตอบไม่จุใจ หรือไม่เชื่อบางส่วนของคำตอบที่มาจากทางการ หรือมีบางหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกับคำตอบหรือคำอธิบายที่ได้รับมา ดังนั้น…

นักวิชาการวิศวะมหิดล ชี้ 9 ข้อเสนอแนะ บทเรียนไฟไหม้…ระวังภัยหม้อแปลงไฟฟ้า

Loading

  หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด ณ อาคาร 3 ชั้น ย่านสำเพ็ง ถนนราชวงศ์ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บนับสิบ ไฟไหม้อาคารและรถเสียหาย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิสูจน์หลักฐานหาสาเหตุนั้น อีกไม่กี่วันต่อมายังเกิดเหตุระทึกประกายไฟลัดวงจรหม้อแปลงไฟฟ้าใหญ่กว่าตัวเดิมที่ปากซอยวานิช 1 ซึ่งอยู่ห่างจากที่เดิม 50 เมตร     แม้จะไม่มีผู้บาดเจ็บ แต่เกิดคำถามจากประชาชนว่า ทำอย่างไรจะให้หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั่วเมืองนั้นอยู่กับเราได้อย่างมั่นคงปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวะมหิดล เผย 9 ข้อเสนอแนะแก้ไขแก่หน่วยงาน และ 6 ข้อแนะนำแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้หม้อแปลงไฟฟ้า ในประเทศไทยใช้ หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) เพื่อทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าแรงสูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าสำหรับการใช้งานในครัวเรือน 2 แบบ คือ 1) แรงดันไฟฟ้าแบบ 3 เฟส (Three – Phase Transformer)…

ส่องอนาคตดิจิทัลไทยอีก 10 ปี กำหนดทิศทางขับเคลื่อน ศก.ไทย

Loading

เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเปลี่ยนวีถีชีวิตและพฤติกรรมของคนในหลายด้าน และมีบทบาทช่วยขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างมาก ทำให้หลายๆประเทศ ต้องมองภาพอนาคต หรือ ฟอร์ไซท์ (Foresight) เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ อย่างเช่นประเทศฟินแลนด์ ที่เป็นผู้นำในการทำ Foresight ได้นำกระบวนการมาช่วยในการวางนโยบายการ ดำเนินงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมรับมือกับกความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และให้รู้เท่าทันและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น!! สำหรับประเทศไทยทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ก็ได้จัดตั้ง ฟอร์ไซท์ เซ็นเตอร์ บาย เอ็ตด้า (Foresight Center by ETDA)  ขึ้นเพื่อป็นหน่วยงานที่ช่วยศึกษาการจัดทำภาพฉายอนาคต หรือ (Foresight Research) เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และผู้ให้บริการ โทรคมนาคม ภาคการเงินต่างๆ โดยทำการศึกษาภาพอนาคตในยุคดิจิทัล เพื่อให้ประเทศเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น!! ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ เอ็ตด้า บอกว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ และเมตาเวิร์ส ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงมีคำถามว่า ต้องมีการออกกฎหมาย และวางแนวทางกำกับหรือไม่? ภาพอนาคตต่อจากนี้ 10 ปี จะก่อให้เกิดผลดี…