สหรัฐฯ คุมอาวุธปืนญี่ปุ่นได้ แต่คุมคนในประเทศตนเองไม่ได้

Loading

  “คนอเมริกันแปลกใจญี่ปุ่นแทบไม่มีความรุนแรงเกี่ยวกับปืนเลย และที่น่าแปลกใจกว่านั้นก็คือ ญี่ปุ่นได้อานิสงส์จากกฎหมายอาวุธปืนที่สหรัฐฯ ควบคุมเข้มงวดตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” ซีบีเอสนิวส์ รายงาน (6 มิ.ย.) ในขณะที่การอภิปรายเรื่องการควบคุมอาวุธปืนของสหรัฐฯ กำลังทวีความรุนแรงขึ้น ชาวอเมริกันบางคนกำลังมองหาแนวคิดที่จะป้องกันการกราดยิงในประเทศอื่นๆ ญี่ปุ่นมีอัตราความรุนแรงจากอาวุธปืนต่ำที่สุดในโลก ในปี 2019 สหรัฐอเมริกา มีอัตราการเสียชีวิตด้วยอาวุธปืน สัดส่วน 4 คน/ต่อประชากร 100,000 คน เมื่อเทียบกับเกือบศูนย์ในญี่ปุ่น ล่าสุดข้อมูลจาก worldpopulationreview พบว่า ในปี 2022 นี้ ในสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืน 40,175 คน หรือสัดส่วน 12.21 ต่อประชากรแสนคน CBS News รายงานว่า กฎหมายที่เข้มงวดของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืนส่วนตัวมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งสหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กฎหมายควบคุมการครอบครองอาวุธปืนและดาบ (銃砲刀剣類所持等取締法) นี้เป็นกฎหมายของญี่ปุ่นปี 1958 ที่เกี่ยวกับอาวุธปืน (และชิ้นส่วนอาวุธปืน/กระสุน) และอาวุธที่มีใบมีด ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้นในปี 1958 และแก้ไขหลายครั้ง พื้นหลังเดิมนั้นการควบคุมปืนและดาบเริ่มขึ้นในญี่ปุ่นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ เพื่อปลดอาวุธชาวนาและควบคุมการลุกฮือต่อต้านการปกครอง ตั้งแต่นั้นมา…

ยืนยันห้างร้านติดกล้องวงจรปิด ป้องกันอาชญากรรม แค่ติดป้าย ไม่ต้องขอความยินยอม

Loading

  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยืนยันห้างร้าน ภาคธุรกิจ ติดกล้องวงจรปิด ถ้าป้องกันอาชญากรรม และความปลอดภัย ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ต้องติดป้ายแจ้งเตือน และใช้อย่างระมัดระวัง วันนี้ (6 มิ.ย.) เฟซบุ๊ก PDPC Thailand ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โพสต์ข้อความชี้แจงข้อเท็จจริง การใช้กล้องวงจรปิดและ PDPA กรณีห้างร้าน ภาคธุรกิจ จากคำถามที่ว่า หากไม่แจ้งเตือน หรือไม่ได้รับการยินยอม ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 หรือ PDPA หรือไม่? ยืนยันว่า การใช้กล้องวงจรปิดไม่ต้องขอความยินยอม กรณีใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย อาทิ ใช้เพื่อป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ต้องแจ้งเตือนเจ้าของข้อมูล ตลอดจนเก็บและใช้อย่างระมัดระวัง และไม่ให้มีการใช้อย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้ การเตือนเรื่องกล้องวงจรปิด และประกาศคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการใช้กล้องวงจรปิด เป็นการแนะนำ อาจปรับเปลี่ยนตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ และข้อมูลที่เปลี่ยนไป มาตรา 24 (5) ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือ…

สงครามกับความมั่นคงด้านอาหาร

Loading

  โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ************ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ให้บทเรียนในประเด็นความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานแก่โลก สหรัฐฯ ใช้สงครามเศรษฐกิจและการเงินกดดันรัสเซีย รัสเซียตอบโต้การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปโดยห้ามส่งออกน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายดิบ ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังยุโรป รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่ของโลก โดยส่งออกข้าวสาลีร้อยละ 30 ข้าวโพดร้อยละ 20 และน้ำมันทานตะวันร้อยละ 75 ของความต้องการตลาดโลก รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีลำดับ 5 ของโลก สองประเทศส่งออกข้าวบาร์เลย์ร้อยละ 19 ของโลก นอกจากนั้น ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันดอกทานตะวันรายใหญ่ของโลก ซึ่งน้ำมันนี้นำไปใช้ประกอบอาหาร ปีการผลิต 2565 ผลผลิตข้าวสาลีลดลงอยู่แล้ว บวกกับการขึ้นภาษีส่งออกธัญพืช ซ้ำมาเจอกับมาตรการที่รัฐบาลรัสเซียห้ามส่งออก ยูเครนก็ส่งออกไม่ได้ ราคาข้าวสาลีและธัญพืชอื่นๆ ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก ปี 2564 ราคาข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 คาดว่าในปี 2565 ราคาจะเพิ่มขึ้นอีก น้ำมันดอกทานตะวันคาดว่าจะสูงขึ้นกว่าร้อยละ 60 สงครามทำให้การเลี้ยงปศุสัตว์และการผลิตผักผลไม้ ลดลงเช่นกัน ซึ่งหมายถึงว่าราคาในตลาดโลกก็จะสูงขึ้น ระบบการขนส่งก็ไม่สะดวก น้ำมันขึ้นราคา ค่าขนส่งก็ขึ้นด้วย…

‘นูทานิคซ์’ แนะเคล็ดลับ พิทักษ์ ‘ข้อมูล’ องค์กร

Loading

  องค์กรจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูลแบบครบวงจรและสมบูรณ์แบบ สามารถรักษาความปลอดภัยได้ทุกที่ ตลอดเวลา ไม่ว่าใช้งานอยู่ที่ใด การที่โลกต้องพึ่งพาและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วน ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่า… ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ เปิดมุมมองว่า ช่วงที่ผ่านมาได้เห็นกรณีศึกษาจำนวนมากที่นำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กรอย่างมาก แต่นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจ และเพิ่มความปลอดภัยในทุกมิติ ทว่ายังมีความท้าทายที่องค์กรต่างๆ ต้องรับมือกับการปฏิบัติตามข้อกำหนด การให้ความรู้ความเข้าใจกับบุคลากร การหาเครื่องมือเข้ามาช่วย การตรวจสอบ และปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PDPA ได้ จัดประเภท ‘ข้อมูลอ่อนไหว’ แม้ว่า PDPA จะบังคับใช้เต็มรูปแบบแล้ว และในขณะที่กฎหมายลูกยังไม่ครบสมบูรณ์ ผู้นำองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลขององค์กรด้วยตนเองด้วย โดยเฉพาะข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย รวมถึงต้องมีโซลูชันที่ช่วยสร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลและแอปพลิเคชันต่างๆ “องค์กรจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูลแบบครบวงจรและสมบูรณ์แบบ สามารถรักษาความปลอดภัยได้ทุกที่ ตลอดเวลา ไม่ว่าข้อมูลนั้นกำลังถูกใช้งานอยู่กับแอปพลิเคชัน หรือเป็นข้อมูลที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ บนเน็ตเวิร์ก บนอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน เก็บอยู่ในฐานข้อมูล และบนคลาวด์ ครอบคลุมตั้งแต่แกนหลักไปจนถึงเอดจ์ และปกป้องทั้งข้อมูลที่ไม่มีการใช้งาน ข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหว หรือกำลังถูกใช้งานอยู่” อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะเริ่มจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่อยู่ตามสภาพแวดล้อมที่หลากหลายในองค์กร ผู้รับผิดชอบด้านนี้ต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อมูลประเภทใด อยู่ในรูปแบบใด และลักษณะอื่นๆ…

หาก “โดนแฮก” ข้อมูลรั่วไหล เปิด 6 วิธี ทำยังไงได้บ้าง

Loading

  หาก “โดนแฮก” ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล เจอภัยร้ายยอดนิยมในโลกไซเบอร์แบบนี้ จะทำยังไงได้บ้าง ศปอส.ตร. แนะ 6 วิธี ทำตามนี้ก่อนสายเกินแก้ได้เลย “โดนแฮก” เฟซ โดน แฮก ทํา ไง ดี ข่าว แฮก ข้อมูล โดน แฮก ข้อมูล การโดนโจรกรรมข้อมูลผ่านทางโลกไซเบอร์นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งภัยร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยกับชาวเน็ตเป็นอย่างมาก แต่หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาแล้วจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้ไม่ให้เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้ งานนี้ทางด้าน ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ แนะแล้ว เพียงแค่ 6 วิธี ทำตามนี้ได้เลย ดูได้ที่นี่ TOP News เชื่อว่าถ้าหากใครที่เล่นโซเชียลอยู่เป็นประจำ ต้องเคยเจอเรื่องราวเตือนภัยจากเหล่าแฮกเกอร์ที่อาจจะมาแฮกข้อมูลส่วนตัวของเราอย่างแน่นอน ซึ่งปกติแล้วแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียต่าง ๆ นั้นก็มีความปลอดภัยในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่บางครั้งเหล่าแฮกเกอร์เองก็อาจอาศัยช่องโหว่บางอย่างมาดูดเอาข้อมูลส่วนตัวเราได้ จนบางคนอาจจะต้องสูญเสียเงินมหาศาล เพราะโดนแฮกเกอร์ดูดข้อมูลธุรกรรมทางการเงินไปนั่นเอง และหากป้องกันทุกวิถีทางแล้วข้อมูลยังถูกแฮก ยังรั่วไหล จะทำยังไงได้บ้าง ดูได้ที่นี่เลย โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก PCT Police ของ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ…

เพราะอะไรการโจมตีแบบ ‘Zero-click’ ถึงอันตราย(1)

Loading

  แอปรับส่งข้อความต่างๆ มักตกเป็นเป้าหมายในการโจมตี   การโจมตีแบบ Zero-click มีความแตกต่างจากการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบอื่นๆ เพราะไม่ต้องการการโต้ตอบใดๆ จากผู้ใช้งานที่ถูกกำหนดเป้าหมาย เช่น การคลิกลิงก์ การเปิดใช้มาโคร หรือการเปิดตัวโปรแกรมสั่งการ มักใช้ในการโจรกรรมทางอินเทอร์เน็ต และร่องรอยที่ทิ้งไว้มีน้อยมาก   จุดนี้เองที่ทำให้เป็นอันตราย เป้าหมายของการโจมตีแบบ Zero-click สามารถเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่สมาร์ตโฟนไปจนถึงคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแม้แต่อุปกรณ์ไอโอที   เมื่ออุปกรณ์ของเหยื่อถูกโจมตี เหล่าบรรดาแฮกเกอร์สามารถเลือกที่จะติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือการเข้ารหัสไฟล์และเก็บไว้เพื่อเรียกค่าไถ่ โดยทั่วไปแล้ว เหยื่อจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า อุปกรณ์นั้นถูกแฮกเมื่อไหร่และอย่างไร ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานแทบไม่สามารถป้องกันตัวเองได้เลย   การโจมตีแบบ Zero-click มีเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสปายแวร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งคือ Pegasus ของ NSO Group ซึ่งใช้ในการเฝ้าติดตามนักข่าว นักเคลื่อนไหว ผู้นำระดับโลก และผู้บริหารของบริษัท   แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าเหยื่อแต่ละรายตกเป็นเป้าหมายได้อย่างไร และแอพรับส่งข้อความต่างๆ มักตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีแบบนี้ เนื่องจากแอพเหล่านี้ได้รับข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่ไม่รู้จักโดยไม่ต้องดำเนินการใดๆ จากเจ้าของอุปกรณ์   ส่วนใหญ่แล้ว ผู้โจมตีจะใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องในวิธีการตรวจสอบหรือประมวลผลข้อมูลโดยการโจมตีมักอาศัยช่องโหว่ Zero-days ที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไม่รู้จัก โดยไม่ทราบว่ามีอยู่จริง ผู้ผลิตจึงไม่สามารถออกแพตช์ (patches)…