เปิดข้อมูลฉาว แล็ปท็อป “ฮันเตอร์ ไบเดน” เขย่าเก้าอี้ ปธน.สหรัฐ

Loading

  หนึ่งปีหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เกิดเหตุการณ์อื้อฉาว และสร้างอับอาย หลังข้อมูลหลุดจากแล็ปท็อปของฮันเตอร์ ไบเดน ล่าสุด นิวยอร์ก ไทมส์ ออกมายืนยันเป็นเรื่องจริง   เหตุการณ์ข้อมูลหลุดจากแล็ปท็อปของฮันเตอร์ ไบเดน ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ เกิดขึ้นหลังมันถูกนำไปซ่อมที่เดลาแวร์ และดูเหมือนว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะเต็มไปด้วยความไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง ซึ่งมีการตั้งคำถามมากมายว่า ใช้ผลประโยชน์ทางการเมืองของครอบครัว และทักษะมาร์เก็ตติ้งของฮันเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางลับหรือไม่   แล็ปท็อปเจ้ากรรมได้สร้างปัญหาขึ้น เมื่อมันเสีย และถูกส่งซ่อม แต่แล้วเจ้าของก็ไม่ไปเอาเสียที ทำให้แล็ปท็อปตกเป็นกรรมสิทธิ์ของร้าน และเมื่อเจ้าของร้านเปิดข้อมูลภายในเครื่องได้พบการโต้ตอบอีเมล์มากกว่า 26,000 ฉบับ เช่น เนื้อหาการเต้าข่าวไม่มีมูลเกี่ยวกับรัสเซียอยู่เบื้องหลังการแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐ ปี 2563 รวมถึงหน่วยข่าวกรองของรัสเซียทำการแฮกข้อมูลของ SolarWinds ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อแฮกข้อมูลของบริษัทสหรัฐมากกว่า 100 แห่ง และเจาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล และเอกชน 18,000 แห่ง   สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การที่สหรัฐประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย เมื่อเดือนเมษายน ปีที่แล้ว!!   ถึงอย่างไร ข้อมูลที่หลุดจากแล็ปท็อปของฮันเตอร์ก็ยังไม่ชัดเจนว่า ประธานาธิบดีไบเดนจะมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ แต่ข้อมูลหลุดมาได้บ่งบอกถึงการกระทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี…

ส่องอาวุธที่ใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน

Loading

ปืนใหญ่อัตตาจร (เอพี)  ส่องอาวุธที่ใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน   การรุกรานยูเครนของรัสเซียเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงที่สุดในทวีปยุโรป นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัสเซียทำการโจมตีหลายเมืองทั่วประเทศยูเครน ซึ่งมีทั้งการยิงขีปนาวุธ การโจมตีทางอากาศ การทิ้งระเบิดและการยิงปืนใหญ่ ส่งผลให้มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และนี่คืออาวุธบางส่วนที่ใช้ในสงครามนี้   เครื่องบินรบและขีปนาวุธต่างๆ   ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์   ขีปนาวุธอิซคานเดอร์   ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง   เครื่องยิงขีปนาวุธอิซคานเดอร์     กองทัพรัสเซียมีการใช้ขีปนาวุธหลายชนิด หนึ่งในขีปนาวุธที่รัสเซียใช้คือ “ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์” อาวุธที่มีความแม่นยำ ซึ่งกองทัพรัสเซียใช้โจมตีสถานที่ราชการ และฐานทัพทหารหลายแห่งในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน และเมืองคาร์คีฟ เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ หลายครั้งอาคารเหล่านี้อยู่ใกล้กับย่านที่อยู่อาศัย จึงทำให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ขีปนาวุธดังกล่าวถูกติดตั้งบนเครื่องบินรบของรัสเซียด้วย เพื่อใช้โจมตีโครงสร้างพื้นฐานทางทหาร   อีกหนึ่งขีปนาวุธที่รัสเซียใช้เพื่อให้โจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ คือ “ขีปนาวุธอิซคานเดอร์” ซึ่งมีพิสัยไกลถึง 500 กิโลเมตร และขีปนาวุธนี้มีหัวรบที่ทรงพลังกว่ามากกว่าขีปนาวุธชนิดอื่น ซึ่งสามารถทำลายอาคารขนาดใหญ่ และอาคารที่มีการป้องกันเป็นอย่างดีได้ ทั้งนี้มีรายงานว่าขีปนาวุธอิสคานเดอร์บางลูกถูกยิงจากประเทศเบลารุส พันธมิตรของรัสเซีย ที่เป็นเหมือนพื้นที่เตรียมการสำหรับการบุกยูเครนของรัสเซีย    …

รู้จัก ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ที่รัสเซีย ใช้โจมตีคลังแสงยูเครน

Loading

  รู้จัก ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ที่รัสเซีย ใช้โจมตีคลังแสงยูเครน   จากกรณีรัสเซีย เปิดฉากใช้ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก “คินชาล” ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงโจมตีทำลายคลังแสงของกองทัพยูเครน ในแคว้นอิวาโน-ฟรานคิฟสค์ ของประเทศยูเครน ที่นับเป็นครั้งแรกที่รัสเซียใช้ขีปนาวุธล้ำยุคดังกล่าว   ขีปนาวุธดังกล่าวตั้งชื่อโดยวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดยคินชาล เป็นภาษารัสเซียแปลว่า “กริซ” มีความสามรถในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงถึง 10 เท่า และสามารถหลบหลีกระบบป้องกันขีปนาวุธได้ด้วย โดยคินชาล เป็นหนึ่งในอาวุธใหม่หลายๆอย่างของรัสเซียที่เปิดตัวเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา   บีบีซี เปิดเผยข้อมูลของขีปนาวุธ “คินชาล” หรือ “กริซ” ของรัสเซียเพิ่มเติมระบุถึงแสนยานุภาพของขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกของรัสเซียเพิ่มเติมโดยระบุว่า     เครื่องบินรบรัสเซียติดตั้งขีปนาวุธคินชาล ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ระหว่างการเดินสวนสนาม ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อปี 2561     – ขีปนาวุธที่มีความเร็วในระดับไฮเปอร์โซนิกสามารถบินเหนือชั้นบรรยากาศโลกได้ที่ความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงถึง 5 เท่า   – ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกสามารถหลบหลีกระบบต่อต้านขีปนาวุธได้ดีกว่าขีปนาวุธแบบเดิมๆ   –…

ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” ประเด็นปากท้อง-สุขภาพคนสนใจมากสุด

Loading

    ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” สัปดาห์นี้ พบคนสนใจประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพมากสุด เจอบ่อย “ออมสิน” ปล่อยกู้ดอกเบี้ยถูก – งดใช้ตู้ ATM กรุงไทย   วันที่ 19 มีนาคม 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ “ดีอีเอส” สรุปผลการมอนิเตอร์สถานการณ์รอบสัปดาห์ของศูนย์ต่อต้าน “ข่าวปลอม” พบ 10 อันดับ ข่าวที่ได้รับความสนใจมากสุด เกาะกลุ่มประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพ   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้ง “ข่าวปลอม” ประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม คัดกรองแล้วพบว่า มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 230 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 113 เรื่อง  …

ยูเครนกับสงครามนิวเคลียร์

Loading

    มีคำถามมาว่า สงครามในยูเครนมีโอกาสจะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ และไม่น่าจะพัฒนาไปสู่สงครามนิวเคลียร์เพราะประเทศคู่ขัดแย้ง คือ ยูเครนไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนรัสเซียซึ่งเป็นประเทศนิวเคลียร์ชั้นแนวหน้าก็คงมีความยับยั้งช่างใจ สหรัฐและสหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศนิวเคลียร์ก็คงไม่กล้านำมาใช้   แม้แต่รัสเซีย คู่ขัดแย้งโดยตรงกับยูเครน ซึ่งได้ประกาศเตรียมพร้อมทางนิวเคลียร์เต็มที่ ก็ประกาศเชิงป้องปรามเท่านั้น ในเชิงปรามสหรัฐว่าอย่าแม้แต่จะคิดใช้นิวเคลียร์ทีเดียวนะ ใครเริ่มต้นใช้ก็ตายกันทั้งโลก   อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธในเชิง “ป้องปราม” มากกว่า เพราะผู้นำประเทศนิวเคลียร์ต่างรู้ดีว่าหากนำมาใช้ก็ตายกันทั้งโลก คนที่มีคำสั่งให้ใช้ก็ตายด้วย ไม่เฉพาะตัวเองตายเท่านั้น ครอบครัวก็ตายด้วย ตายแล้วคงตกนรกขุมลึกที่สุดไม่ได้ผุดได้เกิด   จากสถิติของสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์แห่งกรุงสต็อคโฮล์ม เปิดเผยว่า ในปี 2563 ห้าประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์คือ สหรัฐ รัสเซีย สหราชอาณาจักร์ ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล และเกาหลีเหนือ มีหัวรบนิวเคลียร์รวมกัน 13,400 หัวรบ ซึ่งประจำการพร้อมที่จะใช้ทันที 3,720 หัวรบ และสำรองพร้อมใช้อีกประมาณ 1,800 หัวรบ   มากพอที่จะทำให้โลกทั้งใบพินาศ สิ่งที่มีชีวิตตายหมด ถ้าไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต…

‘เอ็ตด้า’ขู่ ‘แพลตฟอร์มดิจิทัล’ ต่างชาติต้องจดทะเบียน

Loading

    ‘เอ็ตด้า’ เสียงแข็งยันแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ต้องจดแจ้งในไทย ฝ่าฝืน ผิดกฎหมายมีบทลงโทษหนัก ดึงโมเดลกฎหมายญี่ปุ่น-ยุโรป มาปรับใช้ต่างใช้กฎหมายนี้แล้ว   นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า กล่าวว่า (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นผู้ให้บริการผิดกฎหมาย ไม่มีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ   โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อต้องการมาลงทุนในประเทศไทยก็ต้องดำเนินธุรกิจตามกฎหมายไทย และหากไม่จดแจ้งคนไทยก็ไม่ควรใช้บริการของแพลตฟอร์มต่างชาติ หรือ แพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่ทำผิดกฎหมาย   “หากไม่ทำจะมีตั้งคณะกรรมการร่วม โดยมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธาน และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน นอกจากนี้ยังมีกรรมการที่มาจากทั้งตัวแทนภาครัฐและเอกชนกว่า 20 คน ในการร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและส่งหนังสือไปยังสถานทูตในประเทศที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติตั้งสำนักงานใหญ่อยู่เพื่อเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฏหมายไทยด้วย”   เขา กล่าวว่า เอ็ตด้ามีหน้าที่ตั้งแต่ การจดแจ้ง,การขึ้นทะเบียน และการอนุญาต แต่กฎหมายฉบับนี้เอ็ตด้าให้ดำเนินการตามอำนาจเพียงการจดแจ้งเท่านั้นซึ่งนับว่าไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติที่ต้องมีการแจ้งรายได้ประจำปีต่อสำนักงานตามกม.นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติเพราะจัดอยู่ในมาตรา 32 เรื่องความเสี่ยง โดยความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์เป็น หนึ่งในความเสี่ยงที่ต้องแจ้งด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการคนไทย…