‘ก็อตแลนด์’ ด่านหน้าของสวีเดนที่จะรับมือรัสเซีย

Loading

ฐานทัพบนเกาะก็อตแลนด์ จุดยุทธศาสตร์สำคัญในการป้องกันสวีเดน และกลุ่มประเทศบอลติก สงครามในยูเครนบีบให้สวีเดนและฟินแลนด์ต้องทบทวนเรื่องความปลอดภัยอีกครั้ง ว่าพวกเขาจะสามารถอยู่อย่างปลอดภัยได้หรือไม่ หากไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต และไม่มีมาตรา 5 ที่ประเทศสมาชิกให้คำมั่นว่าจะปกป้องดินแดนของกันและกัน “การโจมตีประเทศสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งคือการโจมตีประเทศสมาชิกทั้งหมด” นั่นทำให้ทั้งสวีเดนและฟินแลนด์ต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) นอกจากนี้ ภายหลังจากที่รัสเซียเปิดปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ชาวสวีเดนและฟินแลนด์หันมาเข้าร่วมฝึกซ้อมทางทหารเพื่อเตรียมรับมือกับการรุกรานของรัสเซีย Reuters รายงานว่า อาสาสมัครชาวสวีเดนกำลังรวมตัวกันอยู่ที่เกาะก็อตแลนด์ เกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งจะเป็นด่านหน้าของสวีเดนหากเกิดการเผชิญหน้ากับรัสเซียในอนาคต เกาะดังกล่าวอยู่ห่างจากกองเรือบอลติกของรัสเซียเพียง 300 กิโลเมตร ซึ่งประจำการอยู่ในแคว้นคาลีนินกราด เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย คั่นกลางระหว่างลิทัวเนียและโปแลนด์ คามิลลา เซลานเดอร์ พนักงานร้านขายของชำชาวสวีเดนวัย 34 ปี หนึ่งในอาสาสมัครที่เข้าร่วมการฝึกทหารกับ Home Guard บนเกาะก็อตแลนด์ บอกกับ Reuters ในช่วงพักจากการซ้อมยิงปืนว่า “ผู้คนค่อนข้างกังวล แต่เราพยายามให้ทุกคนอยู่ในความสงบ เราพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้น แต่ก็บอกกันว่ามันจะผ่านไปได้ด้วยดี” โดยเกาะก็อตแลนด์ถูกมองว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันประเทศของสวีเดน และกลุ่มประเทศบอลติก ได้แก่ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย     เอริค ปีเตอร์สัน รองผู้บัญชาการกองทัพบกของเพนตากอนกล่าวกับหนังสือพิมพ์ Svenska Dagbladet…

รัฐบาลสหรัฐ ตั้งรางวัล นำจับ ‘แก๊งแรนซัมแวร์’

Loading

  สหรัฐฯแสดงความมุ่งมั่นในการปกป้องผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแรนซัมแวร์ทั่วโลก ทางการสหรัฐฯได้เสนอรางวัลมูลค่าหลายล้านดอลลาร์เพื่อแลกกับข้อมูลที่จะนำไปสู่การการจับกุมตัวการสำคัญและสมาชิกของแก๊ง Conti ransomware โดยหน่วยงานดูแลด้านโครงการรางวัลสำหรับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ หรือ the Department of State’s Transnational Organized Crime Rewards Program (TOCRP) ได้แบ่งเงินรางวัลออกเป็น 2 ส่วน คือ 10 ล้านดอลลาร์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวการใหญ่คนสำคัญของแก๊ง Conti หรือผู้พัฒนาของแรนซัมแวร์ และอีก 5 ล้านดอลลาร์สำหรับข้อมูลที่นำไปสู่การจับกุมใครก็ตามที่สมคบคิดโดยใช้มัลแวร์ในการโจมตีในเหตุการณ์ต่างๆ จากข้อมูลของ FBI ที่อ้างโดยกระทรวงการต่างประเทศ แก๊ง Conti เชื่อมโยงกับการโจมตีมากกว่า 1,000 ครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เหยื่อต้องสูญเงินมากกว่า 150 ล้านดอลลาร์ในการโจมกรรมของกลุ่มนี้ และนั่นทำให้ Conti ransomware เป็นแรนซัมแวร์ที่ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติกาล จากการรั่วไหลของข้อมูลภายในของแก๊ง Conti อาทิ แชทส่วนตัวและข้อมูลต่างๆ อย่างมากมาย ทำให้นักวิจัยได้ทราบถึงกระบวนการทำงานภายในกลุ่ม โดยกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าบริการ และเครื่องมือต่างๆ ปีละ…

‘สายลับ’ ในคราบ ‘มิชชันนารี’ การแทรกซึมและจารกรรมข้อมูลของอเมริกา ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

Loading

  หากกล่าวถึงสายลับของรัฐบาลอเมริกาในปัจจุบัน หลายคนอาจนึกถึงซีไอเอ (C.I.A. – Central Intelligence Agency) หรือสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ ที่มีบทบาทในฐานะตัวแทนสายลับรัฐบาลอเมริกา ซึ่งทำงานด้านการข่าวและการต่อต้านข่าวกรอง ซีไอเอมักมีบทบาทที่โดดเด่นด้านการต่อต้านการก่อการร้าย หรืออาชญากรรมร้ายแรงข้ามชาติ สายลับพวกนี้มักปฏิบัติการในต่างประเทศ โดยแฝงตัวอยู่ในรูปแบบหรืออาชีพอะไรก็ได้ อาทิ นักธุรกิจ นักการทูต หรือแม้กระทั่งประชาชนอเมริกาธรรมดา อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะมีการก่อตั้งซีไอเอในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหลักฐานที่น่าเชื่อว่า อเมริกาได้จัดตั้งสายลับหรือจารชนเข้ามาสอดแนมความเป็นไปของประเทศต่างๆ ที่พวกเขาให้ความสนใจ หรือมองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และความมั่นคงของอเมริกามานานแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้น เชื่อกันว่าสายลับอเมริการุ่นก่อนซีไอเอกลุ่มแรกๆ ที่แฝงตัวเข้ามา คือบรรดาผู้ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะทำงานหลังฉากเป็นสายลับได้ ผู้คนเหล่านั้นก็คือ หมอสอนศาสนา “บางคน” และจากข้อมูลในประวัติศาสตร์ จารชนชาวอเมริกันในคราบหมอสอนศาสนาที่มีหลักฐานมัดตัวมากที่สุด ได้แก่ “นายแคนแนต เพอรรี่ แลนดอน” (Kenneth Perry Landon) อดีตมิชชันนารีอเมริกัน ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอทับเที่ยง จังหวัดตรัง ซึ่งต่อมาเขาได้ข้ามไปดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประเทศไทย ประจำกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ไม่นาน…

‘กำหนดเป้าหมาย – เตรียมคน – เตรียมจัดการ’ 3 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำ Big Data

Loading

  หากเทียบกับในอดีตแล้ว ข้อมูลที่ถูกผลิตขึ้นในปัจจุบันนั้นมีทั้งรายละเอียด รูปแบบ และปริมาณที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้เปิดประตูมากมายให้กับธุรกิจในการเพิ่มประสิทธิภาพ แก้ปัญหา และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในตลาดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ในบทความนี้เราได้สรุปมุมมองจาก ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ถึงปัจจัยที่จะกำหนดความสำเร็จของธุรกิจในการนำข้อมูลไปใช้ เวลาเปลี่ยน ข้อมูลเปลี่ยน ข้อมูลนั้นเป็นสิ่งที่มีมานานแล้วในโลก และก่อนการเกิดของคำว่า Big Data ธุรกิจจำนวนมากก็มีการนำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินการเสมอ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันคือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทำให้เกิดข้อมูลรูปแบบใหม่ๆที่จะช่วยบอกเล่าเรื่องราวให้กับธุรกิจได้มากกว่าเดิม เช่น ข้อมูลจากเครือข่ายโซเชียล ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจในตัวลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากรูปแบบข้อมูลที่แตกต่างและละเอียดขึ้นแล้ว การประมวลผลข้อมูลยังมีความซับซ้อนและ “เก่ง” ขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น การใช้เทคนิค AI และ Machine Learning เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ใครๆ ก็อยากใช้ข้อมูล แต่ข้อมูลไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง ความสามารถของข้อมูลนั้นมีมากและช่วยธุรกิจได้จริง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าคำว่า Big Data หรือศัพท์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลจะได้รับความสนใจจากธุรกิจอย่างรวดเร็ว ทว่าหนึ่งมุมมองที่บิดเบือนไปคือการมุ่งหวังว่าพอนำข้อมูลเข้ามาใช้แล้ว ปัญหาจะหมดไป หรือธุรกิจจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จากมุมมองของ…

เปิดเมืองใต้ดินฟินแลนด์ รับภัยนิวเคลียร์จากรัสเซีย

Loading

  เมืองขนาดใหญ่สุดแข็งแกร่งที่ซ่อนอยู่ใต้เมืองหลวงของฟินแลนด์ บังเกอร์ใต้ดินในฟินแลนด์ได้รับความสนใจอีกครั้งหลังจากที่ฟินแลนด์ซึ่งเคยวางตัวเป็นกลางมาตลอด ตัดสินใจเปลี่ยนท่าทีเพื่อขอเข้าร่วมกลุ่มนาโต ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่รัสเซียอย่างมาก ทั้งยังลั่นวาจาว่าจะมีมาตรการตอบโต้กับฟินแลนด์ รวมถึงการย้ายนิวเคลียร์ให้เข้าใกล้ยุโรปมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าฟินแลนด์จะไม่สะทกสะท้านกับคำขู่ของปูติน ตามรายงานของ Daily Mail ชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเครือข่ายบังเกอร์นิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดินของประเทศฟินแลนด์ ลึกลงไปใต้ท้องถนนของเมืองหลวงเฮลซิงกิราว 25 เมตร มีเครือข่ายอุโมงค์และถ้ำขนาดใหญ่และแข็งแรง ที่สามารถทนทานต่อระเบิดนิวเคลียร์ พร้อมกับ 500 บังเกอร์ ซึ่งรองรับผู้คนได้กว่า 600,000 คน พวกเขาสามารถหลบภัยจากสงครามนิวเคลียร์อยู่ใต้ดินนี้ได้นานหลายเดือน บังเกอร์ใต้ดินสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1960 โดยได้มีการขุดพื้นหินด้านล่างของประเทศมากกว่า 9 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเพียงพอต่อการจัดเก็บรถโดยสารสองชั้นถึง 50,000 คัน     เจ้าหน้าที่ยังพูดถึงความแข็งแกร่งของบังเกอร์ที่สร้างขึ้นในช่วงสงครามเย็นนี้ว่าประตูของมันมีความทนทานชนิดที่ว่าระเบิดนิวเคลียร์ก็ไม่สามารถแม้แต่จะทำให้เกิดรอยบุ๋ม นอกจากนี้ที่นี่ยังได้รับการคุ้มครองจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นด้วย ขณะที่ประธานาธิบดีฟินแลนด์เตือนว่ารัสเซียอาจยกระดับการทำสงครามเทคโนโลยีกับฟินแลนด์ได้ หากข้อเสนอของนาโตได้รับไฟเขียวจากสมาชิก ในขณะที่เกิดการโจมตีทางทหารชาวฟินแลนด์กว่า 600,000 คน สามารถพักพิงในบังเกอร์หินแข็งแห่งนี้ ซึ่งนอกจากจะมีเสบียงอาหาร เครื่องนอน สุขาภิบาล หน่วยพยาบาล และเตียงสองชั้นอีกหลายพันหลังแล้ว ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นโรงจอดรถ สนามแข่งรถโกคาร์ท สนามซอฟต์บอล สระว่ายน้ำ โรงเรียน ร้านกาแฟ หรือแม้แต่ลานสเก็ตน้ำแข็งใต้ดิน…

การทูตของประชาชน

Loading

  ขณะนี้ เรื่องราวที่คนไทยที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองสนใจเป็นพิเศษ คือ การเดินทางไปเยือนสหรัฐของนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญเพื่อร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2565 ที่กรุงวอชิงตัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่เปิดเผยคือ ฉลอง 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐ สองฝ่ายจะร่วมกันกำหนด “ ทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างกันท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ “ เพื่อฟื้นฟูการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาคหลังโควิด 19   ก่อนหน้านี้ สหรัฐเคยเชิญผู้นำอาเซียนไปประชุมมาแล้ว แต่ต้องเลื่อนไปเพราะผู้นำกัมพูชาซึ่งเป็นประธานอาเซียนแจ้งไปว่า หลายคนติดธุระ ไม่ว่างที่จะมาพบตามวันเวลาที่กำหนด แต่ผู้นำสหรัฐก็เชิญมาอีกที ทำนองยืนยันว่าต้องมาพบกันให้ได้เป็นการแสดงพลัง ( แม้ว่าการประชุมผ่านวิดีโอสามารถทำได้และสะดวกกว่า )   ผู้นำที่ไปไม่ได้คงมีฟิลิปปินส์เพราะเพิ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่คนใหม่ต้องเข้าพิธีสาบานตนก่อนจึงจะทำงานได้ อีกประเทศหนึ่งที่ไม่ไปก็คือพม่า ส่วนที่เหลือจะไปโดยเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ต้องไป เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่มีกับสหรัฐ   เป็นที่รู้กันว่า ผู้นำสหรัฐต้องการใช้ “อาเซียน” เป็นตัวแสดงพลังหนุนท่าทีสหรัฐในประเด็นเฉพาะหน้าคือ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ตามที่เขาเคยประกาศว่า ประเทศประชาธิปไตยต้องช่วยกันประณามรัสเซีย ใครไม่ประณามรัสเซียก็เท่ากับไม่ใช่ประเทศประชาธิปไตย ส่วนระยะยาว เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการร่วมด้วยช่วยกันในการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคนี้…